การตั้งครรภ์นับเป็นช่วงเวลาอันแสนพิเศษและตื่นเต้นสำหรับผู้หญิง และเป็นช่วงที่คุณแม่ต้องให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองอย่างดียิ่ง โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนแรก หรือ “ช่วงท้องอ่อน” เพราะตัวอ่อนกำลังเจริญเติบโตและมีความเปราะบางสูง การดูแลสุขภาพและปฏิบัติตามข้อห้ามต่าง ๆ การรับรู้สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำของแม่ท้องจึงต้องการความพิถีพิถันละเอียดอ่อนมากเป็นพิเศษตามไปด้วย เรามาทำความเข้าใจ Do & Don’t คนท้องอ่อน ไม่ควรทำอะไร พฤติกรรมไหนควรหลีกเลี่ยง แล้วควรทำอะไรในชีวิตประจำวันเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของทั้งแม่ท้องและลูกน้อยในครรภ์
“ช่วงท้องอ่อน” ของแม่ตั้งครรภ์ สำคัญยังไง?
การตั้งครรภ์ของคุณแม่นั้นจะแบ่งได้เป็น 3 ไตรมาสค่ะ โดยรวมระยะเวลาตั้งครรภ์ทั้งสิ้น 9 เดือน (40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน) ซึ่งในแต่ละไตรมาสจะมีความเสี่ยงของการตั้งครรภ์แตกต่างกัน สำหรับ คนท้องอ่อน คือมีระยะการตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนแรกนั้น ส่วนใหญ่มักมีอาการแพ้ท้องคลื่นไส้ อาเจียน และกินอาหารไม่ได้ ขณะเดียวกันอวัยวะสำคัญของลูกน้อยในครรภ์กำลังเริ่มพัฒนา หากคุณแม่ไม่ได้กินอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอก็อาจส่งผลให้ทารกในครรภ์ไม่ได้รับสารอาหารบำรุงสมองอย่างเพียงพอ รวมถึงตัวคุณแม่เองก็เสี่ยงที่จะเกิดภาวะขาดสมดุลของเกลือแร่และวิตามินด้วย
นอกจากนี้ ในช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ หากคุณแม่รับผลกระทบจากสิ่งใดก็ตาม ทั้งสารพิษ อาหารที่ไม่สะอาด ความเครียด ก็อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยและอาจนำไปสู่ภาวะแท้งได้ โดยพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารก “ช่วงท้องอ่อน” โดยทั่งไปมีดังนี้
- อายุครรภ์ 5-6 สัปดาห์ มีพัฒนาการของระบบประสาทส่วนกลางและไขสันหลัง
- อายุครรภ์ 8-12 สัปดาห์ ทารกมีขนาดยาว 5 เซนติเมตร หัวโต แขนขาพัฒนาขึ้นเห็นอย่างชัดเจน หัวใจเริ่มเต้นเป็นจังหวะ
|
คนท้องอ่อน ไม่ควรทำอะไร ความเสี่ยงที่ต้องระวังช่วงไตรมาสแรก
|
อาการแพ้ท้อง |
คุณแม่ที่แพ้ท้องอย่างหนักในช่วงไตรมาสแรก คลื่นไส้ อาเจียน กินอะไรแทบไม่ได้ หากละเลยการกิน จะเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารที่จำเป็น ส่งผลต่อทารกในครรภ์และภาวะสุขภาพของคุณแม่เอง หากแพ้ท้องมากควรปรึกษาแพทย์ |
เลือดออกทางช่องคลอด |
ภาวะเลือดออกทางช่องคลอด มีความเสี่ยงต่อชีวิตของทารกในครรภ์และคุณแม่ ถือเป็นอันตรายที่สามารถเกิดได้ทุกช่วงอายุครรภ์ ควรรีบพบแพทย์ทันที ไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด |
ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง |
แม่ท้องมักปวดท้องน้อยเป็นปกติ เนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกมีการขยายตัวเพื่อรองรับตัวอ่อนในครรภ์ แต่หากอาการปวดมากขึ้นจนผิดปกติ ปวดติดต่อกันยาวนาน ควรรีบพบแพทย์ |
Do เรื่องไหนที่แม่ท้องต้องใส่ใจ อะไรบ้างที่ คนท้องอ่อน ควรทำ
คนท้องอ่อน หรือช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ร่างกายของคุณแม่และลูกน้อยกำลังปรับตัวเข้าหากันค่ะ ดังนั้น การดูแลตัวเองให้ดีจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ลูกน้อยในครรภ์เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์และแข็งแรง ซึ่งสิ่งที่คุณแม่ท้องอ่อนควรใส่ใจเป็นพิเศษมีตั้งแต่เรื่องอาหารการกิน การใช้ยาขณะตั้งครรภ์อ่อนๆ การออกกำลังกาย ไปจนถึงการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ดูแลสุขภาพจิตให้ดี และติดตามการตั้งครรภ์กับแพทย์อย่างเคร่งครัด ดังนี้
- กินให้ครบ 5 หมู่ เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ และมีสารอาหารครบถ้วน เช่น ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และธัญพืช เพื่อส่งเสริมการพัฒนาของทารก
- ดื่มน้ำให้มากพอ ช่วยให้ร่างกายสดชื่น ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ดี และช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำ
- พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟู รวมถึงลดความเครียด ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาของทารก
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดย คนท้องอ่อน สามารถเลือกการออกกำลังกายเบาๆ อย่างเหมาะสม เช่น การเดิน หรือโยคะ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและลดความเครียด
- พบแพทย์ตามนัด การไปพบแพทย์เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของลูกน้อย เป็นภารกิจสำคัญที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องให้ความสำคัญ และทำอย่างตรงเวลา เพื่อรับทราบข้อมูลการเจริญเติบโต พัฒนาการของลูก และรับคำแนะนำในการดูแลตัวเองอย่างถูกต้องในแต่ละช่วงเวลาของการตั้งครรภ์
|
อาหารสำหรับ คนท้องอ่อน แม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรกกินอะไรดี
|
โปรตีน |
ควรเลือกกินโปรตีนที่หลากหลาย เน้นปลา เต้าหู้ ไข่ และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หรือดื่มนมวันละ 1-2 แก้ว |
วิตามิน |
เน้นกินผัก ผลไม้ เพื่อให้ได้วิตามินที่มีประโยชน์ ช่วยให้ร่างกายแม่ท้องมีความสมดุล เพิ่มความแข็งแรง เสริมสร้างพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารก รวมถึงมีไฟเบอร์ช่วยลดอาการท้องผูก |
แร่ธาตุต่างๆ |
โดยเฉพาะ ธาตุเหล็ก ที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงของทั้งแม่และลูกน้อย ได้จากการกินอาหารประเภทตับ เนื้อแดง ไข่แดง และนม |
โฟเลต |
จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของสมองและระบบประสาท แนะนำให้กินตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 3 เดือน โดยเน้นกินผักใบเขียว ถั่วเหลือง ส้ม กล้วย และนมเสริมโฟเลต |
แคลเซียม |
จำเป็นในการพัฒนาการสร้างกระดูกและฟัน ได้จากการกินนมและอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น กระดูกอ่อน ปลาเล็กปลาน้อย |
น้ำ |
แม่ท้องอ่อนควรดื่มน้ำให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้ระบบการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ช่วยแก้ปัญหาอาการท้องผูก และป้องกันภาวะขาดน้ำ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก |
Don’t คนท้องอ่อน ไม่ควรทำอะไร
“การแท้ง” เป็นสิ่งที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในช่วงของการตั้งครรภ์ระยะแรก มากกว่าการตั้งครรภ์ในระยะอื่นๆ ดังนั้น จึงมีสิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ควรหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะแท้ง มาดูกันค่ะว่าข้อห้ามที่เป็นเรื่อง Don’t คนท้องอ่อน ไม่ควรทำอะไร มีเรื่องไหนบ้าง
เพราะการยกของหนักอาจทำให้เกิดแรงกดดันที่ไม่จำเป็นต่อครรภ์ ทำให้เกิดการบาดเจ็บ อาจส่งผลต่อการตั้งครรภ์ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งได้
โดยเฉพาะการเดินทางที่ต้องนั่งหรือนอนในท่าเดียวกันนานๆ อาจทำให้ คนท้องอ่อน เหนื่อยล้า และเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้ง
อาหารดิบ ไม่สุก หรือสุกๆ ดิบๆ เช่น ปลาดิบ เนื้อดิบ ไข่ดิบ อาจยังมีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายเจือปนอยู่ เช่น ซาลโมเนลลา หรือทอกโซพลาสมา ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่ทำให้อาหารเป็นพิษ เชื้อโรคนี้จะมุ่งเข้าสู่เซลล์น้ำเหลืองของลำไส้เล็กและเจริญแบ่งตัว และอาจแพร่เข้าสู่กระแสเลือด กระจายสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เสี่ยงต่อการมีเลือดออกในลำไส้เล็ก และลำไส้ทะลุ
โดยเฉพาะการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีรุนแรง เช่น ยาย้อมผม หรือยาทาเล็บที่มีสารเคมีอันตราย สารเคมีในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ยาฆ่าแมลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ได้ อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
อาหารแปรรูปมักมีโซเดียมสูงเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง นอกจากนั้งมีสารกันบูดที่อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ด้วย
เช่น ซาวน่า ห้องอบไอน้ำ มีส่วนทำให้ร่างกายของคุณแม่ร้อนเกินไป อาจส่งผลต่อการพัฒนาของทารกได้
การมีความเครียดมากเกินไปสามารถส่งผลต่อสุขภาพของแม่และลูก คนท้องอ่อน จึงไม่ควรปล่อยให้ตัวเองเกิดภาวะเครียด แต่ควรหาเวลาพักผ่อนให้เพียงพอ และทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เพื่อรักษาสุขภาพจิตและร่างกายให้แข็งแรง
คนท้องอ่อนที่ออกกำลังกายหนักอาจทำให้เกิดแรงกดดันที่ไม่จำเป็นต่อครรภ์ ควรเลือกออกกำลังกายเบาๆ เดิน โยคะ ว่ายน้ำ และควรฟังร่างกายของตัวเอง หยุดพักเมื่อรู้สึกเหนื่อยหรือไม่สบาย ป้องกันการบาดเจ็บและภาวะแทรกซ้อน หรือปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มโปรแกรมการออกกำลังกาย เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัยสำหรับตัวเองและลูกน้อย
แม่ท้องที่นอนไม่พอจะมีอาการอ่อนเพลีย อารมณ์แปรปรวน ภูมิคุ้มกันต่ำ เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะครรภ์เป็นพิษ นอกจากนี้ยังทำให้ทารกในครรภ์อาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลให้มีน้ำหนักตัวน้อย และมีพัฒนาการเติบโตช้ากว่าปกติ
จริงๆ แล้วในช่วงตั้งครรภ์แม่ท้องสามารถมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยได้ค่ะ แต่ไม่ควรให้มีแรงกระแทกบริเวณท้องมากเกินไป
-
สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
สารนิโคตินและแอลกอฮอล์เป็นอันตรายต่อทั้งคุณแม่และลูกน้อย อาจทำให้เกิดภาวะแท้ง น้ำหนักตัวน้อยเกินไป และความผิดปกติของทารกในครรภ์ นอกจากนี้ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากอาจทำให้เกิดภาวะพิการแต่กำเนิดได้
สารเสพติดทุกชนิดมีผลเสียต่อการพัฒนาของทารก และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น การแท้งหรือการคลอดก่อนกำหนด
คาเฟอีนในกาแฟ ชา โซดา และเครื่องดื่มชูกำลัง อาจทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง และนอนไม่หลับส่งผลต่อการตั้งครรภ์ได้
ยาบางชนิดอาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ แม่ท้องจึงไม่ควรใช้ยาเองสุ่มสี่สุ่มห้า แต่ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ทุกครั้งก่อนการใช้ยา เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
สัญญาณอันตรายที่ คนท้องอ่อน ต้องรีบไปพบแพทย์
ในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ มีอาการผิดปกติ หรือพบสัญญาณอันตรายอะไรบ้างที่ คนท้องอ่อนต้องรู้ และควรรีบไปพบแพทย์หากเกิดอาการขึ้น มาดูกันค่ะ
- มีเลือดออกทางช่องคลอด อาจเป็นสัญญาณของการแท้งหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
- รู้สึกเวียนหัวหรือเป็นลม อาจเป็นไปได้ว่าคุณแม่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น
- ปวดท้องอย่างรุนแรง เป็นสัญญาณของความเสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูก
- มีไข้สูง อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ ที่สามารถส่งผลอันตรายต่อทั้งแม่ท้องและลูกน้อยในครรภ์
การดูแลตัวเองในช่วงตั้งครรภ์อ่อนๆ นั้นสำคัญอย่างยิ่งนะคะ ทั้งการกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเบาๆ สม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่วิตกกังวลจนเกินไป นอกจากนี้สิ่งที่ไม่ควรละเลยคือ การฝากครรภ์ เพื่อตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงการปฏิบัติแบบ Do & Don’t คนท้องอ่อน ไม่ควรทำอะไร ที่เรานำมาฝากกันด้วยนะคะ เพื่อให้การตั้งครรภ์เป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัยทั้งคุณแม่และลูกน้อยค่ะ
ที่มา : www.rattinan.com , www.samitivejhospitals.com , www.intouchmedicare.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
คนท้องแพ้ท้อง อ้วกเป็นเลือด อ้วกเป็นฟอง อ้วกแบบไหนอันตรายต้องพบแพทย์ ?!?
อาการคนท้อง ฉี่สีอะไร บ่งบอกสุขภาพแม่ท้องได้ไหม
ฝากครรภ์ที่ไหนดี ท้องกี่วันถึงฝากครรภ์ได้ มีค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์เท่าไหร่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!