พัฒนาการการพูด – ลูกเริ่มพูดเมื่อไหร่? ลูกพัฒนาการช้ารึเปล่า?
การพูดเป็นหนึ่งในพัฒนาการของเด็ก ที่พ่อแม่ มักจะถามถึง การพูดเป็นหนึ่งในวิถีการสื่อสารโดยพื้นฐาน คำพูดแรกของลูก มักจะเป็นอะไรที่พ่อแม่ และ ผู้ปกครอง ทุกคน ต่างก็ ตั้งหน้า ตั้งตารอ วันนี้เราจะพามาดูเรื่อง พัฒนาการการพูด กันดีกว่า ว่า ลูกน้อยของเราจะเริ่มพูดตอนไหน เมื่อไหร่ เจ้าตัวน้อย จะเรียก พ่อจ๋า แม่จ๋า ซะทีนะ มาดูกันได้เลย
พัฒนาการการพูด – ลูกเริ่มพูดเมื่อไหร่?
เด็กทารก เริ่มหัดออกเสียง ต่าง ๆ จากนั้นจะค่อย ๆ หัดพูดเป็นคำ (อาจพูดคำว่า “พ่อ” หรือ “แม่” ได้ตั้งแต่อายุ 9-10 เดือน) เมื่ออายุครบ หนึ่งขวบ เด็ก จะเริ่มเลียนแบบเสียง ที่เขาได้ยินรอบ ๆ ตัว คุณอาจจะได้ยิน ลูกเริ่มพูด ภาษาของตัวเอง (ที่เด็กหนึ่งขวบคนอื่น ๆ อาจจะเข้าใจ)
หลังจากนั้น จะเป็นช่วงที่ เด็กเติบโต อย่างรวดเร็ว เด็กจะเริ่มจากพูดคำง่าย ๆ ไม่กี่คำ และ พัฒนาขึ้น เป็นการถามคำถาม บอกวิธีการ และ เล่าเรื่องที่เขา แต่งขึ้นเอง นี่คือ พัฒนาการการ พูดของเด็ก
สิ่งที่คุณจะได้ยิน
พัฒนาก ารการพูด
เมื่อเจ้าตัวเล็กรู้ศัพท์ มากขึ้น เขาก็จะเริ่มทดลอง ใช้คำต่าง ๆ ด้วยระดับ เสียงต่างกัน เขาอาจจะ ตะโกนทั้ง ๆ ที่ตั้งใจจะพูดปกติ และ พูดเสียงเบาเมื่อตอบ คำถาม แต่สักพัก เขาก็จะจับระดับเสียงที่พอดีได้
นอกจากนี้เขายังจะเริ่มคุ้นเคย กับ การใช้สรรพนาม อย่าง “ฉัน” และ “เธอ” ในช่วง 2-3 ขวบ เด็กจะรู้ศัพท์ เพิ่มขึ้นจาก 50 คำเป็น 300 คำ และสามารถแต่งประโยคง่าย ๆ แต่สมบูรณ์ได้ เช่น “หนูไปเดี๋ยวนี้”
พัฒ นาการการพูด
เมื่อเด็กอายุได้ สามขวบ เขาจะเริ่มพูดประโยค ที่ซับซ้อนขึ้นได้ สามารถสนทนาได้ยาว ๆ และปรับระดับเสียง การพูด คำศัพท์ ให้เหมาะสมกับคู่สนทนา ในสถานการณ์นั้น ๆ ได้
ในช่วงนี้ ผู้ใหญ่คนอื่น ๆ คนแปลกหน้า น่าจะเข้าใจในสิ่งที่เขาพูดได้เกินครึ่ง ซึ่งแปลว่าคุณก็จะแปลน้อยลง เด็กจะสามารถ บอก ชื่อ นามสกุลจริง และ อายุของตัวเองได้ชัดเจน
แก้ปัญหาลูกพูดติดอ่าง
คุณทำอะไรได้บ้าง?
พัฒนาก ารการพูด
การอ่านหนังสือ ให้ลูกฟังเป็นวิธีเพิ่มทักษะ ด้านภาษา และ กระตุ้น พัฒนาการการพูดให้แก่เด็กที่ดีเยี่ยม หนังสือ จะทำให้เด็กรู้ศัพท์ มากขึ้น รู้จักไวยกรณ์ และ รู้จักเชื่อมโยง ความหมายเข้ากับ รูปภาพ
การคุย กับ ลูกก็ช่วยได้เช่นกัน (พูดปกติโดยไม่ต้องใช้ภาษาทารก) การคุยกับลูกในระหว่างมื้อ อาหาร และ ก่อนนอน เป็นช่วงเวลาที่ผู้ปกครองหลายคนนิยม เพราะมักเป็นช่วงเวลาเดียว ของวันที่คุณมีเวลาว่าง และ สามารถฟังลูกได้จริงจัง
คุณอาจจะลองสอนภาษามือง่าย ๆ ให้กับลูก เด็กทารกสื่อสาร ด้วยท่าทาง ได้ก่อนที่พวกเขาจะรู้จักการ สื่อสารด้วยคำพูด ผลการวิจัยชี้ว่าการสื่อสารด้วยภาษามืออาจสามารถช่วยพัฒนาทักษะด้านภาษาได้
เด็กสองภาษา – ลูกเข้าใจก่อนพูดหรือไม่?
ข้อควรระวัง
ผู้ปกครองเป็นตัววัดระดับพัฒนาการด้านการพูดของลูกที่ดีที่สุด หากเด็กอายุได้สองขวบและยังไม่เริ่มพยายามพูดเลียนแบบคนอื่น ๆ ไม่ตอบสนองเมื่อคุณเรียก หรือไม่สนใจที่จะพูด เขาอาจจะมีปัญหาด้านพัฒนาการการพูด การได้ยิน หรือการออกเสียง
หากเด็กไม่สามารถออกเสียงสระได้เมื่ออายุสามขวบ หรือออกเสียงแต่สระโดยไม่ออกเสียงพยัญชนะ (เช่น “อา” แทนคำว่า “กา ) เขาอาจจะต้องอาศัยการบำบัดการพูด (ลองปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อให้แน่ใจว่าเด็กไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน)
นอกจากนี้ยังมีสัญญาณอันตรายอื่น ๆ เช่น เด็กไม่ยอมสบตา ไม่สามารถเรียกสิ่งของทั่วไปในบ้านได้ หรือไม่สามารถพูดวลีสั้น ๆ ได้
บางครั้งเด็กอาจมีช่วงที่พูดตะกุกตะกัก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะในช่วงที่เด็กพัฒนาการสื่อสารอย่างรวดเร็ว สมองจะมีการพัฒนานำหน้าความสามารถในการพูด บางครั้งเด็กพยายามที่จะถ่ายทอดความคิดออกมาอย่างรวดเร็วจนทำให้พูดติด ๆ ขัด ๆ
พัฒนาการการ พูด
แต่ถ้าเด็กพูดตะกุกตะกักต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือเริ่มมีอาการอื่น ๆ ร่วมเช่นกรามเกร็งในจังหวะที่พยายามจะพูด เราแนะนำให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการดังกล่าว
เมื่อลูกของคุณโตขึ้น คุณก็จะได้เพลิดเพลินไปกับการฟังลูกเล่าเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกิจกรรมที่เขาทำที่โรงเรียน เรื่องเพื่อน หรือเรื่องแม่มดใจร้ายในนิทาน และอีกร้อยแปดอย่างที่เขานึกออก แต่รับรองว่าคุณไม่มีวันเบื่อแน่นอน
พัฒนาก ารการพูด
ลูกพูดช้า น่ากังวลหรือไม่?
Source : theconversation
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :
90 ประโยคที่ควรพูดกับลูก ประโยคให้กำลังใจ เสริมสร้างพัฒนาการทางบวก
ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่พูดทั้งยังมี พัฒนาการทางภาษาช้า การแก้ไขปัญหาและสาเหตุ
14 คำที่ไม่ควรพูดกับพ่อแม่ คำพูดเล็กน้อย แต่ทำร้ายจิตใจไปทั้งชีวิต
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!