ลูกไม่ฟังคำสั่ง พ่อแม่ควรเปลี่ยนวิธีการสอนอย่างไร?
คุณคงจะถามตัวเองว่า เกิดอะไรขึ้นกับลูกน้อยที่แสนอ่อนหวานของคุณกันนี่ ทำไม ลูกไม่ฟังคำสั่ง เลยการเข้าโรงเรียนทำให้ลูกเปลี่ยนแปลงไปมากขนาดนี้เลยหรือ? คำตอบคือ ทั้งใช่และไม่ใช่
ทำไมลูกไม่ฟังเราเลย?
เมื่อลูกอายุได้ราว 5-6 ปี ลูกจะมีพัฒนาการเรื่องการใช้เหตุผลค่อนข้างมาก ลูกคุณจะใช้เวลาแต่ละวันที่โรงเรียน เรียนรู้วิธีการว่าสิ่งต่าง ๆ ทำงานหรือเป็นไปอย่างไร รวมถึงเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังแนวคิดแต่ละอย่าง กฎต่าง ๆ ของภาษา และอื่น ๆ อีกมากมาย นับเป็นเรื่องธรรมชาติที่ลูกจะตั้งคำถามว่าทำไมคุณต้องการให้ลูกทำสิ่งนี้สิ่งนั้น การเป็นคนช่างซักถามและโต้เถียงไม่ได้หมายความว่าลูกเริ่มดื้อซนไม่เชื่อฟัง (เอาน่า บางทีลูกก็ซนจริง ๆ นั่นแหละ) ลูกแค่อยากรู้ว่า “ทำไม” แค่นั้นเอง
ต้องจัดการเดี๋ยวนี้
สิ่งหนึ่งที่คุณต้องรู้คือทำไมลูกไม่ฟังหรือท้าทายคุณ แต่การรู้ว่าจะทำอย่างไรกับสิ่งนั้นมันก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำให้บ้านเป็นที่ ๆ การเคารพซึ่งกันและกันและเรื่องวินัยเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันปกติ นับเป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องเติบโตและเปลี่ยนแปลงไปพร้อม ๆ กับลูก ในฐานะพ่อแม่ คุณไม่อาจคิดว่าตัวเองเป็นเหยื่อของการเปลี่ยนแปลง คุณไม่สามารถรักษาสถานะของวินัยได้เพราะมันเป็นสิ่งที่คุณคุ้นเคย คุณต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในตัวของลูกทั้งการเติบโตทางอารมณ์และความคิดของลูก ความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นของลูกและเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับลูก ลองคิดแบบนี้สิ เมื่อลูกต้องเปลี่ยนจากที่นั่งเด็กเล็กมาเป็นเด็กโตในรถ คุณก็ไม่ได้ลังเลที่จะเปลี่ยนเลย
บทความใกล้เคียง: ทำโทษลูกอย่างไรถึงเหมาะสม
เมื่อต้องเปลี่ยนแปลง
เนื่องจากลูกของคุณตอนนี้มีความสามารถในการอนุมานและใช้เหตุผลได้พอควร ดังนั้นการทำโทษเพื่อสร้างวินัยลูกต้องมีเหตุผลเช่นเดียวกัน วิธีการที่เรากำลังจะแบ่งปันให้คุณต่อไปนี้เป็นวิธีการทำโทษเพื่อสร้างวินัยเด็กวัย 8-12 ปีที่คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ ท่านยอมรับว่าเป็นธรรมและได้ผล
มาตรการทำโทษเพื่อสร้างวินัยที่สร้างสรรค์และได้ผล
1) ลูกคุณทำตัวทะลึ่งตึงตังหรือใช้คำไม่เหมาะสมรึเปล่า? ให้ลูกสงบปากสงบคำเสียโดยการให้ลูกนั่งอยู่บนเก้าอี้ราว 2-4 นาที จับลิ้นเอาไว้ระหว่างนิ้วโป้งและนิ้วชี้ หรือให้ลูกยืนหน้ากระจกอ้าปากค้างไว้แล้วดูตัวเองแลบลิ้นออกมาสัก 2-4 นาที
2) ลูกของคุณทำเสียงหวีดร้องรึเปล่า? ถ้าใช่ก็อย่าตอบลูกเวลาลูกทำเช่นนั้น บอกลูกว่าคุณไม่เข้าใจว่าลูกกำลังพูดอะไรและบอกลูกว่าคุณจะคุยกับลูกก็ต่อเมื่อลูกพูดดี ๆ ชัด ๆ เป็นภาษาคนเท่านั้น
3) ลูกคุณปิดประตูกระแทกแรง ๆ รึเปล่า? ให้ลูกเปิดและปิดประตูเบา ๆ สัก 10-15 ครั้งสิ
4) ลูกของคุณงอแง (กระแทกเท้า ตะโกน ร้องไห้) รึเปล่า? จับลูกไว้ให้อยู่ในห้องตัวเองหรือในสวนแล้วปล่อยให้งอแงให้พอใจสัก 5-10 นาทีโดยที่ไม่มีใครสนใจหรือเฝ้าดู เมื่อไม่มีใครสนใจหรือการงอแงไม่ได้ก่อให้เกิดอะไร ลูกก็จะหมดสนุกเลิกทำไปเอง
5) ลูกของคุณเป็นเด็กไม่เรียบร้อยรึเปล่า? เป็นเด็กที่ไม่เก็บของเล่น เป็นเด็กที่ไม่เอาเสื้อผ้าใช้แล้วไปใส่ตะกร้าผ้ารึเปล่า? เอาสิ่งของต่าง ๆ ห่างจากลูกสักเดือนสองเดือนสิ ให้ลูกเหลือของเล่นแค่ไม่กี่อย่าง ไม่มีวีดีโอเกมให้เล่น ลูกก็จะเริ่มเรียนรู้และระวังมากขึ้นที่จะทำตัวเรียบร้อยมากขึ้น
6) เด็กไม่เรียบร้อยจะได้รับผลดีจากสิ่งที่เรียกว่าการทำซ้ำ ๆ เช่นเดียวกัน เมื่อลูกลืมเอาเสื้อผ้าใช้แล้วใส่ในตะกร้า คุณก็พาลูกเอาเสื้อผ้าไปใส่ในตะกร้าผ้า จากนั้นก็เอาเสื้อผ้าออกมาจากตะกร้ากลับไปที่ห้องนอนหรือห้องน้ำ (หรือที่ใดก็ตามที่ลูกลืมเสื้อผ้าเอาไว้) แล้วให้ลูกทำซ้ำ ๆ แบบนี้สัก 10 ครั้ง
7) หากลูกแก้ตัวกับคุณว่าลูกไม่ได้เอาอะไรสักอย่างออกมาหรือเล่นกับอะไรสักอย่างที่คุณขอให้ลูกเอาเก็บไป ภายใน 2-5 วันนับจากนี้ขอให้คุณล้างจาน ซักเสื้อผ้า หรือเตรียมอาหารให้กับแค่คุณและแฟนของคุณเท่านั้น ปล่อยให้ลูกดูแลรับผิดชอบตัวเองไป แต่หมายเหตุ คุณอาจจะจำกัดเรื่องอาหารไว้แค่วันเดียว คุณควรตั้งขอบเขตว่าลูกสามารถดูแลตัวเองเรื่องอาหารได้อย่างไรบ้างเพื่อความปลอดภัยของลูกและคุณจะได้แน่ใจว่าลูกได้กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ
8) สลับหน้าที่ระหว่างคุณกับลูกสักสองสามวัน ให้ลูกได้สวมบทบาทเป็นพ่อแม่แล้วให้คุณเป็นลูกบ้าง คุณต้องไม่ลืมหวีดร้อง เหวี่ยงวีนทุกสิ่งอย่าง พูดจาไม่น่ารัก ทำตัวทะลึ่งตึงตัง เถียงให้สุด ๆ เลย
ก่อนที่จะทำโทษเพื่อสร้างวินัย
ก่อนที่คุณจะใช้มาตรการใดก็ตาม คุณควรนำทักษะใหม่ของลูกในการใช้เหตุผลมาใช้ในเชิงบวก ใช้การพูดคุยกันในครอบครัว อธิบายให้ลูกฟังว่าคุณพ่อคุณแม่คาดหวังอะไร อธิบายให้ลูกเข้าใจว่ากฎของบ้านมีอะไรบ้าง (ลูกน่าจะต้องการเปลี่ยนแปลงกฎบางอย่างในเวลานี้) และเหตุผลว่าทำไมจึงมีกฏและความคาดหวังเหล่านี้ รวมถึงผลที่จะเกิดขึ้นหากลูกละเมิดกฎและความคาดหวังเหล่านี้
จำไว้เสมอว่า เป้าหมายคือคุณไม่ต้องทำโทษลูกเพื่อสร้างวินัยอีก แต่เมื่อคุณจำเป็นต้องทำ คุณต้องแน่ใจว่าจะเป็นการทำโทษเพิ่อสร้างวินัยที่ยุติธรรมและได้ผล
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
5 วิธีสอนลูกไม่ให้ขี้อิจฉา ทำยังไงดีให้ลูกเป็นเด็กดีไม่อิจฉาคนอื่น
10 วิธีในการสอนลูกของคุณให้มี ความซื่อสัตย์และมีน้ำใจ
เปิดใจสอนเรื่อง เซ็กส์กับลูก ที่กำลังก้าวสู่วัยรุ่นดีกว่าให้ลูกเรียนรู้แบบผิด ๆ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!