สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ การตรวจหาเชื้อกลุ่ม GBS ระหว่างตั้งครรภ์ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ เพราะมันคือ เชื้อแบคทีเรีย Streptococcus agalactiae ที่อยู่ภายในลำไส้ ช่องคลอด หรือทวารหนักของคนปกติ ซึ่งจะไม่เกิดอันตรายกับคนที่มีร่างกายแข็งแรง แต่เชื้อ GBS กลับเป็นภัยเงียบของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะสามารถส่งผ่านเชื้อ GBS ไปยังลูกได้ ทั้งในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์และระหว่างที่ทำการคลอด ดังนั้น หากไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือรักษาอาจส่งผลให้ทารกทุพพลภาพ หรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ เนื่องจากการติดเชื้อ GBS ที่ได้รับมาจากคุณแม่
ทำไมไม่ควรมองข้าม การตรวจหาเชื้อกลุ่ม GBS ระหว่างตั้งครรภ์ ?
เนื่องจากเชื้อ Group B Streptococcus (GBS) หรือ Streptococcus agalactiae เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในทารกแรกคลอดได้ง่าย ทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเริ่มจากอาการช้า ๆ ซึ่งในบางสายพันธุ์ทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบในทารกได้ด้วย ซึ่งหลัก ๆ แล้วเชื้อนี้จะเกิดโรครุนแรงได้ใน 3 กลุ่ม ได้แก่
1. คนที่มีอายุมากกว่า 65 ปี
ในกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากโรคประจำตัวที่มีอยู่แล้ว เช่น โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคตับ เป็นต้น ซึ่งโรคประจำตัวต่าง ๆ ที่กล่าวมาส่วนใหญ่แล้วมักทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดแบบรุนแรง โดยอาการติดเชื้อมันสัมพันธ์กับอัตราการเจ็บป่วยและอาจจะทำให้เสียชีวิตได้แม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแล้วก็ตาม
2. หญิงตั้งครรภ์และหลังคลอด
การติดเชื้อ GBS รุนแรงในคุณแม่ตั้งครรภ์ มันสัมพันธ์กับการเกิดการแท้งบุตรหรือไม่ก็อาจจะต้องคลอดก่อนกำหนด เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้ค่ะ ซึ่งเชื้อ GBS ทำให้เกิดการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อของระบบสืบพันธุ์ส่วนบน ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบหลังคลอด ปอดอักเสบติดเชื้อ รวมไปจนถึงการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือดแบบไม่เฉพาะเจาะจงอีกด้วย
3. ทารกแรกเกิด
การติดเชื้อ GBS ของทารกแรกเกิด จะถูกแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ตามอายุที่เกิดอาการของโรค ได้แก่
- Early-onset GBS สำหรับกลุ่มแรกจะมีอาการภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด และยังเกิดได้ภายใน 6 วันหลังการเกิด และโรคที่มักพบได้บ่อย ๆ คือ การติดเชื้อในกระแสเลือดแบบแพร่กระจาย ปอดอักเสบติดเชื้อ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และอาการในทารกมักไม่เฉพาะเจาะจง
- Late-onset GBS กลุ่มนี้จะเกิดอาการใน 4-5 สัปดาห์หลังคลอด โรคที่พบได้ในระยะนี้ คือ ติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และการติดเชื้อเฉพาะที่
- Late,late-onset GBS จะเกิดในทารกที่มีอายุมากกว่า 3 เดือน และมักจะเจอในทารกที่คลอดก่อนกำหนด หรืออายุครรภ์ได้ 28 สัปดาห์ หรือไม่ก็ในเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกแรกเกิดเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง โรคที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด แม่ต้องรู้และคอยระวัง
การตรวจหาเชื้อกลุ่ม GBS ระหว่างตั้งครรภ์ ดียังไง ?
อย่างที่เกริ่นไปข้างต้นว่า GBS นั้นเป็นภัยเงียบของแม่ท้องอย่างมาก หากไม่ตรวจเช็กอาจจะอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะการมีเชื้อ GBS บริเวณช่องคลอดและทวารหนักของคุณแม่ในช่วงระหว่างการรอคลอด ถือเป็นปัจจัยหลักของการเกิดการติดเชื้อ GBS แบบ Early onset ในทารกได้ค่ะ ซึ่งแบคทีเรีย GBS มันสามารถเกิดขึ้นได้เองตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ลำไส้ ทางเดินปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์ ซึ่งเชื้อนี้ไม่สามารถติดต่อจากคนสู่คนหรือจากการแบ่งอาหารการกินของกันได้ และยังไม่แน่ใจว่าทำไมแบคทีเรียถึงแพร่กระจายได้ และเชื้อดังกล่าวก็ค่อนข้างอันตรายอย่างมากกับทารกหรือผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
อาการของการติดเชื้อ GBS เป็นอย่างไร ?
อาการ GBS ส่วนใหญ่แล้วคนทั่วไปมักจะไม่พบอาการ แต่อาจจะเกิดกับผู้สูงอายุหรือคนที่มีโรคประจำตัว ดังนั้น ไม่ว่าจะตกขาวหรือไม่ หรือจะมีปัสสาวะผิดปกติหรือไม่ก็ตาม คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ทุกคนควรได้รับการตรวจหาเชื้อ GBS เพราะอาจจะมีการติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการได้ และถ้าเกิดว่ามีเชื้อแล้วยังไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างรุนแรงได้ค่ะ และในบางกรณี GBS อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ โดยมีอาการส่วนใหญ่ ได้แก่ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว และอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ถ้าเกิดว่าคุณแม่มีอาการดังกล่าว ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที เนื่องจากการติดเชื้อนี้ อาจจะนำไปสู่การคลอดก่อนกำหนดได้ค่ะ
การติดเชื้อ Group B streptococci (GBS) หรือเชื้อ Streptococcus agalactiae ถือเป็นเชื้อที่มีความรุนแรงต่อทารกแรกเกิดอยู่ไม่น้อยเลยค่ะ อ้างอิงจากงานวิจัยที่ผ่านมาพบว่า คุณแม่ตั้งครรภ์ร้อยละ 10-30 มีเชื้อนี้แฝงอยู่ที่ช่องคลอดและทวารหนัก ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อของเยื่อบุโพรงมดลูกได้ ทำให้เกิดการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูกระหว่างคลอดได้ค่ะ เพราะผ่านช่องคลอดที่มีเชื้อ GBS แฝงอยู่
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 35
8 การตรวจที่คุณแม่ไม่ทำก็ได้ ตลอดการตั้งครรภ์
แม่รู้ไหม ตรวจเลือดตั้งครรภ์ ทำให้รู้ความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนดได้
ที่มา : healthsmile
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!