X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ตามใจไปถึงไหน เลี้ยงลูกอย่างไรให้ป่วยเป็น "โรคเอาแต่ใจตัวเอง"

บทความ 3 นาที
ตามใจไปถึงไหน เลี้ยงลูกอย่างไรให้ป่วยเป็น "โรคเอาแต่ใจตัวเอง"ตามใจไปถึงไหน เลี้ยงลูกอย่างไรให้ป่วยเป็น "โรคเอาแต่ใจตัวเอง"

ไม่มีพ่อแม่คนไหนที่ต้องการอยากให้ลูกตัวเองลงไปนั่งร้องไห้หรือดิ้นไปมากับพื้นกลางห้างเพื่อจะเอาของเล่นชิ้นนั้นให้ได้ เพียงเพราะพ่อแม่ไม่ยอมซื้อให้ สุดท้ายก็ต้องยอมจำนนกับอารมณ์ลูกขี้วีน เอาแต่ใจ ปัญหาแบบนี้ปล่อยทิ้งไว้ ส่งผลทำให้ลูกกลายเป็นเด็กเอาแต่ใจไปโดยไม่รู้ตัวนะคะ

การเลี้ยงลูกตามใจเกินเหตุ อาจส่งผลทำให้ลูกป่วยเป็น โรคเอาแต่ใจตัวเอง ถึงไม่ร้ายแรงทางกายแต่ก็ส่งผลให้ลูกติดนิสัยเอาแต่ใจ ขี้วีน ก้าวร้าว และไม่มีเหตุผลไปได้จนถึงโต

เลี้ยงลูกอย่างไรให้เป็น โรคเอาแต่ใจตัวเอง

รศ.นพ.ศิริไชย หงส์สงวนศรี จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลรามาธิบดี ได้อธิบายถึงอาการเอาแต่ใจของเด็กว่ามีอยู่ 3 ระดับ คือ ระดับปกติ ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทั่วไป ระดับมีปัญหาเล็กน้อย และระดับที่มีปัญหารุนแรง ซึ่งระดับที่ 3 นี้ จิตแพทย์ทั่วโลกจะมีเกณฑ์การวินิจฉัยว่า เป็นโรค Oppositional Defiant Disorder หรือ "โรคเอาแต่ใจ" ส่วนใหญ่พบในเด็ก 3 ขวบขึ้นไป และเกิดในเด็กผู้ชายมากกว่าผู้หญิง คิดเป็นสัดส่วน 9:1

เด็กที่เป็นโรคเอาแต่ใจตัวเอง จะมีอาการดื้อต่อต้านอย่างรุนแรง พ่อแม่พูดก็ไม่ฟัง อารมณ์หงุดหงิด โมโหง่าย จนบางครั้งก็อาละวาดถึงขั้นที่ทำร้ายหรือรังแกผู้อื่น ทำลายข้าวของในบ้านได้ หากสังเกตว่าลูกมีอาการดังกล่าวในระยะเวลานาน 6 เดือน ถือว่าป่วยเป็นโรคเอาแต่ใจแล้ว

โรคเอาแต่ใจตัวเอง

ปัจจัยที่ทำให้ลูกเป็นโรคเอาแต่ใจได้นั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เด็กบางคนเกิดมาเลี้ยงง่ายหรือเลี้ยงยาก ซึ่งเกิดจากสมองส่วนหน้าที่ควบคุม ยับยั้งอารมณ์ และพฤติกรรมทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ หรือปัจจัยด้านการเลี้ยงดูที่มีผลต่อสภาวะจิตใจ ที่ทำให้เด็กมีพฤติกรรมต่อต้าน ดื้อ และก้าวร้าว อาจเป็นเพราะพ่อแม่ยุคใหม่ที่ยังขาดทักษะและแนวคิดในการเลี้ยงลูกอย่างถูกต้อง พ่อแม่บางคนเข้าใจผิดว่าถ้าไปขัดใจลูกก็จะทำให้ลูกหงุดหงิดง่ายอารมณ์ไม่ดี จึงยอมตามใจ หรือพ่อแม่แบบที่เลี้ยงลูกด้วยการใช้ความรุนแรง ชอบบังคับ ก็จะทำให้เด็กมีนิสัยก้าวร้าว เอาแต่ใจตัวเองได้

ยิ่งในปัจจุบัน พ่อแม่ส่วนใหญ่มีเวลากับลูกน้อยลง ทำให้ความผูกพันทางอารมณ์ ความใกล้ชิดระหว่างพ่อแม่และลูกลดลงตามไปด้วย โดยเฉพาะในช่วงวัย 2-3 ขวบ ที่พ่อแม่บางคนปล่อยให้ลูกอยู่กับพี่เลี้ยง ดูแต่ทีวีตามลำพัง หรือชดเชยด้วยสิ่งของ ซึ่งทำให้ลูกคิดว่าสิ่งของคือความรักที่พ่อแม่มีให้ ถ้าอยากได้ความรักก็คือเรียกร้องที่จะเอาสิ่งของ เมื่อไม่สมหวัง ก็จะเกิดภาวะทางอารมณ์ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเอาแต่ใจตัวเองได้

ดังนั้นหนทางที่ดีก่อนให้ลูกป่วยเป็นโรคเอาแต่ใจ พ่อแม่ควรมองให้เห็นถึงความต้องการของลูกทั้งด้านกายภาพและจิตใจ มีการสร้างบรรยากาศภายในบ้านให้เกิดความผูกพันระหว่างกันและกัน ด้วยการสร้างเวลาคุณภาพให้พ่อแม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับลูกมากที่สุด พยายามหากิจกรรมที่ทำร่วมได้ พร้อมกับสอดแทรกคำแนะนำหรือคำสอนลูกไปในตัว โดยใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ฝึกใช้เหตุผลกับลูกจนเกิดเป็นนิสัย

สิ่งสำคัญที่คุณหมอได้ให้แง่คิดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกของพ่อแม่ในยุคนี้ว่า “ควรระลึกอยู่เสมอว่าสิ่งที่ลูกต้องการจริง ๆ นั้นไม่ใช้สิ่งของหรือของเล่นราคาแพง แต่เป็นความรัก ความผูกพันที่พ่อแม่มอบให้กับลูก การดูแลของพ่อแม่อย่างใกล้ชิดและถูกต้อง จะทำให้ลูกห่างไกลจากโรคเอาแต่ใจนี้ได้แน่นอน"


ที่มา : www.manager.co.th

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

เลี้ยงลูกอย่างไรให้ออกมาดี 10 วิธีที่ทำให้พ่อแม่เข้าใจลูกสมัยนี้ได้ไม่ยาก

เลี้ยงลูกอย่างไร ให้เป็นอัจฉริยะ

parenttown

บทความจากพันธมิตร
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ตามใจไปถึงไหน เลี้ยงลูกอย่างไรให้ป่วยเป็น "โรคเอาแต่ใจตัวเอง"
แชร์ :
  • 6 วิธีหยุดลูกไม่ให้เอาแต่ใจก่อนจะเสียคน

    6 วิธีหยุดลูกไม่ให้เอาแต่ใจก่อนจะเสียคน

  • วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ก่อนจะสายเกินแก้

    วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ก่อนจะสายเกินแก้

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

app info
get app banner
  • 6 วิธีหยุดลูกไม่ให้เอาแต่ใจก่อนจะเสียคน

    6 วิธีหยุดลูกไม่ให้เอาแต่ใจก่อนจะเสียคน

  • วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ก่อนจะสายเกินแก้

    วิธีแก้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง เลี้ยงลูกยังไงให้พอดีในยุคโซเชียล ก่อนจะสายเกินแก้

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ