รวมคำถามยอดฮิต ท่านอนสำหรับแม่ท้อง นอนท่าไหนปลอดภัย นอนวันละกี่ชั่วโมง
การตั้งครรภ์ เป็นเหมือนการผจญภัยอย่างหนึ่ง เต็มไปด้วยความตื่นเต้น ความกังวลเล็กน้อย และมีคำถามผุดขึ้นมามากมายระหว่างการเดินทาง หนึ่งในคำถามที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต่างสงสัยกันมากที่สุด มักจะเกี่ยวกับ ท่านอนสำหรับแม่ท้อง นอนท่าไหนปลอดภัย หากนอนไม่สบายตัวต้องทำอย่างไร สามารถแก้ไขด้วยวิธีไหน บทความนี้เราจะมาตอบข้อสงสัยเหล่านี้ กับคุณแม่ท้องทุกท่านค่ะ
หากคุณแม่นอนในท่านอนที่ไม่ถูกต้อง อาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ได้ เช่น การแท้งลูก ดังนั้น เราควรทำความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับ ท่านอนที่ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ท่าไหนสามารถนอนได้ ท่าไหนควรหลีกเลี่ยงอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ พวกเรา TheAsianparent ยังช่วยตอบคำถาม หรือ ข้อสงสัยเกี่ยวกับท่านอนปลอดภัยสำหรับคุณแม่ท้องไว้เรียบร้อยแล้ว ดังนั้น คุณแม่สามารถสบายใจได้ค่ะ
เรื่องราวของ ท่านอนสำหรับแม่ท้อง ทำไมคุณควรหลีกเลี่ยงการนอนหงายหลังระหว่างการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่3 ?
จากหลายการวิจัยพบว่า การนอนหงายหลังในช่วงการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 ( หลังจากสัปดาห์ที่ 28 ) จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งบุตรมากขึ้น
ดังนั้น คำแนะนำที่คุณหมอมักแนะนำคุณแม่ตั้งครรภ์ คือ นอนตะแคงข้าง ในทุกช่วงเวลาที่คุณแม่นอนทั้งตอนกลางวัน และกลางคืน หากปฎิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงในการแท้งบุตรมากขึ้น
หากคุณเข้านอนด้วยท่านอนตะแคง แต่คุณตื่นมากลางดึก แล้วพบว่า คุณนอนอยู่ในท่าหงายแล้วล่ะ ? จะส่งผลกระทบถึงลูกไหม ?
คำตอบ คือ ไม่ส่งผลกระทบถึงลูกค่ะ
รายงานการวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ลงในนิตยสารทางการแพทย์ The Lancet เผยว่า ท่านอนที่คุณเข้านอน จะเป็นตำแหน่งที่คุณนอนได้นานที่สุด ดังนั้นหากคุณตื่นมากลางดึกแล้วพบว่าตนเองนอนหงายอยู่จึงไม่ทรงผลกระทบมากนักเพราะคุณไม่ได้นอนในท่านั้นนานนัก
นอกจากนี้เมื่อคุณแม่มีครรภ์ที่ใหญ่ขึ้น เมื่อตื่นขึ้น ไม่ว่าจะด้วยความอึดอัด หรือ ทารกดิ้นในครรภ์ก็ตาม มักจะพบว่าตนเองนอนอยู่ในท่าหงาย แต่อย่าเพิ่งตกใจค่ะ เมื่อคุณแม่จะนอนต่อ เพียงแค่นอนตะแคงเท่านั้น
คุณแม่ต้องนอนนานแค่ไหน ? ใช้เวลากี่ชั่วโมง ?
ดร. เคที ลี ศาสตราจารย์ด้านการพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า การนอนหลับของคุณแม่มีความสำคัญอย่างมากในการตั้งครรภ์ ดังนั้น คุณแม่ท้องทุกคนควรนอนประมาณ 7- 8 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย
จากผลการวิจัย ดร.เคที กล่าวเสริมว่า หากคุณแม้ท้องแรกนอนต่ำกว่า 6 ชั่วโมง มีแนวโน้มที่จะมี C-section มากกว่า 4.5 เท่า เมื่อเทียบกับคุณแม่ท้องที่นอนมากกว่า 10 ชั่วโมง ดังนั้น ทางที่ดีที่สุด คุณแม่ต้องพักผ่อนมากกว่าก่อนที่ตนเองจะตั้งครรภ์
เคล็ดลับที่จะทำให้คุณนอนหลับอย่างเพียงพอ
- เข้านอนเร็วกว่าปกติ
- งดทานคาเฟอีนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ชา กาแฟ
- สร้างบรรยากาศ สำหรับผ่อนคลายก่อนนอน เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูหนัง หรือให้สามีของคุณช่วยนวดหลัง เป็นต้น
- เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นตะคริวระหว่างการนอนของคุณ ควรงดทานอาหารที่มีแม็กนีเซียมสูง เช่น ขนมปัง, พาสต้า, ถั่ว หรือ ผลไม้อบแห้ง
หากสามีวางแขน หรือขาบนท้องโดยบังเอิญ จะเป็นอะไรหรือไม่ ?
แม้ว่าคุณแม่อาจจะกังวลว่ามือของคุณพ่ออาจจะทับลูก ทำให้ลูกเจ็บหรือไม่นั้น จริงๆแล้วไม่ส่งผลกระทบถึงลูกขนาดนั้นนะคะ เพราะว่าในครรภ์ถูกปกคลุมหลายชั้นเลยค่ะ
หากเรานอนตกเตียง ลูกในครรภ์ จะเป็นอะไรหรือไม่ ?
จากที่กล่าวไปข้างต้น ว่าลูกน้อยในครรภ์ถูกปกคลุมหลายชั้น แต่คุณแม่ก็ไม่ควรไว้วางใจหากนอนตกเตียง
หากพบอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบคุณหมอนรีแพทย์ทันที
- มีเลือดออกทางช่องคลอด
- ปวดท้องอย่างรุนแรง
- รู้สึกวิงเวียนศรีษะอย่างรุนแรง
- หายใจถี่มากขึ้น
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่ และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และ ผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจาก ความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และ เด็ก โภชนาการแม่ และ เด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และ จิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และ มีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อ เสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มา : theasianparent
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
ทำไมการ นอนตะแคงระหว่างตั้งครรภ์ จึงสำคัญมาก ท่านอนคนท้อง นอนแบบไหนดี
รู้ก่อนพร้อมก่อน 5 สิ่งที่แม่ท้องทุกคนต้องรู้ก่อนผ่าคลอด และ เทคนิคดูแลแผลผ่าคลอดให้สวยเนียน
ดูแลคนท้องยังไง ในช่วงโควิด-19 ช่วงไวรัสระบาด จะดูแลแม่ท้องยังไง?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!