หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด มักไม่ถูกรายงานในข่าวรายวันของศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 รายวัน แต่เรามักจะเห็นเมื่อมีการเสียชีวิตของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือทารกแรกเกิดเสียมากกว่า ในความเป็นจริงแล้วมี หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิด 19 ทั่วประเทศทะลุ 420 คนแล้ว ถือว่ากำลังอยู่ในสถานการณ์น่าเป็นห่วง
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขได้รวบรวมยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดบุตร 6 สัปดาห์ และทารกแรกเกิด เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ประชาชนทั่วไปได้ทราบข้อมูล โดยมีการเก็บข้อมูลสถิติตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งแบ่งผู้ติดเชื้อตามเขตสุขภาพ 12 แห่ง และ กทม. อีก 1 แห่ง มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
|
เขตสุขภาพ |
จังหวัด |
เขตที่ 1 |
เชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน |
เขตที่ 2 |
ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ |
เขตที่ 3 |
กำแพงเพชร ชัยนาท พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี |
เขตที่ 4 |
นครนายก นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง |
เขตที่ 5 |
กาญจนบุรี นครปฐม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สุพรรณบุรี |
เขตที่ 6 |
จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง สระแก้ว สมุทรปราการ |
เขตที่ 7 |
กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด |
เขตที่ 8 |
นครพนม บึงกาฬ เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี |
เขตที่ 9 |
ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ |
เขตที่ 10 |
มุกดาหาร ยโสธร ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ |
เขตที่ 11 |
กระบี่ ชุมพร นครศรีธรรมราช พังงา ภูเก็ต ระนอง สุราษฎร์ธานี |
เขตที่ 12 |
นราธิวาส ปัตตานี พัทลุง ยะลา สงขลา สตูล |
บทความที่น่าสนใจ : การปฏิบัติตัวตอนตั้งครรภ์ วิธีดูแลตัวเองตอนท้อง เพื่อสุขภาพของทารกในครรภ์
การติดเชื้อโควิด 19 ของหญิงตั้งครรภ์
กรมอนามัย ได้มีการรายงานตัวเลขของหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิดรวมทั่วประเทศ 12 เขตพื้นที่สุขภาพและกทม. รวม 420 คน แบ่งออกเป็นชาวไทยจำนวน 268 และชาวต่างชาติจำนวน 152 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2564) โดยมีการสามารถแบ่งผู้ติดเชื้อเป็นเขตได้ทั้งต่อไปนี้
- เขตสุขภาพที่ 1 : หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิดจำนวน 7 คน เป็นชาวไทยทั้งหมด รักษาตัวอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ทั้งหมด
- เขตสุขภาพที่ 2 : หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิดจำนวน 11 คน เป็นชาวไทย 3 คน และชาวต่างชาติ 3 คน รักษาตัวอยู่ที่จังหวัดตากทั้งหมด
- เขตสุขภาพที่ 3 : หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิดจำนวน 5 คน เป็นชาวไทยทั้งหมด รักษาตัวอยู่ที่จังหวัดพิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท และกำแพงเพชร
- เขตสุขภาพที่ 4 : หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิดจำนวน 36 คน เป็นชาวไทย 30 คน และชาวต่างชาติ 6 คน รักษาตัวอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี พระนครศรีอยุธยา นครนายก สระบุรี และอ่างทอง
- เขตสุขภาพที่ 5 : หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิดจำนวน 117 คน เป็นชาวไทย 37 คน และชาวต่างชาติ 80 คน รักษาตัวอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี นครปฐม เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรสาคร สุพรรณบุรี และปทุมธานี
- เขตสุขภาพที่ 6 : หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิดจำนวน 37 คน เป็นชาวไทย 28 คน และชาวต่างชาติ 9 คน รักษาตัวอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ จันทบุรี ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี และสระแก้ว
- เขตสุขภาพที่ 7 : หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิดจำนวน 5 คน เป็นชาวไทยทั้งหมด ขณะนี้รักษาหายทุกรายแล้ว
- เขตสุขภาพที่ 8 : หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิดจำนวน 9 คน เป็นชาวไทยทั้งหมด ขณะนี้รักษาหายทุกรายแล้ว
- เขตสุขภาพที่ 9 : หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิดจำนวน 9 คน เป็นชาวไทยทั้งหมด ขณะนี้รักษาหายทุกรายแล้ว
- เขตสุขภาพที่ 10 : หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิดจำนวน 5 คน เป็นชาวไทย 3 คน ชาวต่างชาติ 2 คน ขณะนี้รักษาหายทุกรายแล้ว
- เขตสุขภาพที่ 11 : หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิดจำนวน 18 คน เป็นชาวไทย 15 คน ชาวต่างชาติ 3 คน เหลือรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 1 คนที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เขตสุขภาพที่ 12 : หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิดจำนวน 48 คน เป็นชาวไทย 37 คน ชาวต่างชาติ 11 คน รักษาตัวอยู่ที่จังหวัดพัทลุง ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และตรัง
- เขตสุขภาพ กทม. : หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิดจำนวน 113 คน เป็นชาวไทย 75 คน ชาวต่างชาติ 38 คน
หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อโควิดรวมทั่วประเทศ 12 เขตพื้นที่สุขภาพและกทม. รวม 420 คน แบ่งออกเป็นชาวไทยจำนวน 268 และชาวต่างชาติจำนวน 152 คน
อาการของหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อเป็นอย่างไร
การติดเชื้อโควิดของหญิงตั้งครรภ์นั้นมีอาการที่เหมือนกับผู้ติดเชื้อรายอื่น ๆ หญิงตั้งครรภ์ติดโควิด นั้นมีอายุครรภ์เฉลี่ยอยู่ที่ 30 สัปดาห์ ซึ่งสามารถแบ่งอัตราการติดเชื้อตามอาการของคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ดังต่อไปนี้
- ติดเชื้อแต่ไม่พบอาการใด 43.6%
- พบอาการเล็กน้อย (มีน้ำมูก เวียนศีรษะ มีไข้สูง) 27.9%
- เชื้อลงปอด ทำให้ปอดอักเสบ แต่ไม่ได้ใช้เครื่องช่วยหายใจ 27.1%
- ปอดอักเสบและใส่ท่อช่วยหายใจ (อาการรุนแรง) 1.4%
เนื่องจากหญิงตั้งครรภ์นั้นมีอัตราการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะการตั้งครรภ์ที่มากขึ้น และใกล้คลอดจึงทำให้หญิงตั้งครรภ์บางรายได้มีการคลอดบุตรระหว่างการเข้ารักษาตัว ซึ่งการคลอดบุตรมีทั้งการผ่าคลอด และการคลอดเองโดยธรรมชาติในสัปดาห์ที่ 34-41 โดยมีสถิติการคลอดดังต่อไปนี้
- อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ 50.2%
- ผ่าตัดคลอด 25.2%
- คลอดเองโดยธรรมชาติ ทางช่องคลอด 22.1%
- คลอดและบุตรเสียชีวิต 1.2%
- แท้งบุตร 0.5%
- ทารกเสียชีวิตระหว่างผ่าคลอด 0.2%
ทั้งนี้จึงทำให้มีทารกจากการผ่าคลอด หรือการคลอดโดยธรรมชาติจากหญิงตั้งครรภ์ติดโควิด หลังคลอดแล้วเป็นจำนวน 20 คน แต่อาการที่พบในทารกแรกเกิดนั้นไม่ได้มีการอาการติดเชื้ออย่างรุนแรง ส่วนใหญ่จะพบว่ามีอาการปอดอักเสบแต่ไม่ได้ใช้เครื่องหายใจ สืบเนื่องมาจากทารกบางคนนั้นคลอดก่อนกำหนด จึงทำให้อวัยวะบางส่วนยังทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ และร่างกายยังไม่แข็งแรงมากเพียงพอ ส่วนทารกที่ไม่ได้มีอาการอักเสบของปอดก็มีอาการเพียงเล็กน้อย และเด็กบางคนก็ไม่แสดงอาการ
บทความที่น่าสนใจ : ค่าคลอดอัพเดท 64 คลอดเองหรือผ่าคลอด ควรเลือกที่ไหนดี
ไม่ใช่เด็กทุกคนจะติดเชื้อจากแม่หลังคลอด
แม่ติดเชื้อ ลูกติดเชื้อ แล้วให้นมอย่างไร?
อย่างที่ทราบกันดีว่าโควิด 19 นั้นมีการติดเชื้อผ่านการกระจายตัวของเชื้อผ่านสารคัดหลั่งต่าง ๆ ดังนั้นการที่หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อโควิดก็ไม่ได้หมายความว่าทารกที่เกิดมานั้นจะติดเชื้อด้วย จึงเป็นเหตุทำให้คุณแม่ และทารกนั้นจะต้องมีข้อปฏิบัติที่พิเศษกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้ติดเชื้อและคลอดทารก ดังต่อไปนี้
- คุณแม่แยกกันอยู่คนละห้องกับทารก 84.5%
- แม่และลูกพักฟื้นอยู่ในห้องเดียวกัน 6.5%
- คุณแม่และทารกแรกเกิดพักอยู่ห้องเดียวกัน แต่เว้นระยะห่าง 2 เมตร
- ทารกแรกเกิดและคุณแม่แยกกันอยู่คนละโรงพยาบาล 0.5%
- คุณแม่และทารกแยกกันอยู่กันในบางเวลา 0.5%
บทความที่น่าสนใจ : แม่ติดโควิด ยังสามารถให้นมลูกได้หรือไม่
ทั้งนี้จึงทำให้การให้นมแก่บุตรของคุณแม่นั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ที่ต้องระวังแบบนี้จึงต้องการให้นมผสมร่วมกับนมจากคุณแม่ เพื่อป้องกันการติดเชื้อระหว่างคุณแม่และทารกแรกเกิดที่ร่างกายยังไม่แข็งแรงมากเพียงพอ โดยสามารถแบ่งการให้นมของบุตรได้ดังต่อไปนี้
- ทารกกินนมผสม 77%
- คุณแม่ให้นมบุตรจากเต้าตนเอง 9%
- ทารกกินนมจากเต้าคุณแม่ และนมผสม 7.5%
- คุณแม่ปั๊มนม และให้พยาบาลป้อน 3%
- ทารกโดยงดน้ำและอาหาร 0.5%
ยุคของการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดนี้ ทางเราก็อยากให้คุณแม่ระวังตัวเองเป็นอย่างดีนะคะ อย่าพาตนเองไปพื้นที่เสี่ยง สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่อยู่นอกบ้าน หมั่นล้างมือ หลีกเลี่ยงการพบปะผู้คนจำนวนมาก หรือใกล้ชิดกับผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด ด้วยความปรารถนาดี
บทความที่น่าสนใจ :
วัคซีนโควิด-19 แบบสูดดม นวัตกรรมใหม่จากจีน ได้ผลกว่าแบบเดิม
คนท้องฉีดวัคซีนโควิดได้ไหม ฉีดแล้วอันตรายหรือเปล่า ฉีดได้ตอนไหน
ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ให้นมลูกได้ไหม ส่งผลกระทบถึงลูกหรือไม่
ที่มา : กรมอนามัย
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!