X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

มีลูกได้ไหม หลังเป็นมะเร็ง

บทความ 5 นาที
มีลูกได้ไหม หลังเป็นมะเร็ง

ข่าวดี ผลการศึกษาชี้ ผู้หญิงที่เคยเป็นมะเร็งในวัยเด็กสามารถมีลูกได้

มีลูกได้ไหม ? ถ้าเคยเป็นมะเร็ง - ตอบข้อสงสัยของหลายๆคน

มีลูกได้ไหม ? ถ้าเคยเป็นมะเร็ง – ตอบข้อสงสัยของหลายๆคน

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 10.30 น. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จัดงานเสาวนาวิชาการ “เป็นมะเร็งก็มีลูกได้” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับอุบัติการเกิดโรคมะเร็งและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการรักษามะเร็งในปัจจุบัน โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นประธานเปิดงานเสวนา ณ ห้องประชุมจรัญพัฒน์ ชั้น 6 อาคารอุปการเวชชกิจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ในปัจจุบันอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน ส่งผลให้การรักษามะเร็งมีประสิทธิภาพดีขึ้นทำให้ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวมากขึ้น รวมทั้งมีโอกาสหายจากมะเร็งได้ อย่างไรก็ตามการรักษามะเร็งด้วยวิธีมาตรฐาน เช่น การผ่าตัด รังสีรักษา หรือเคมีบำบัด มักส่งผลให้ผู้ป่วยทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงสูญเสียความสามารถในการเจริญพันธุ์และการมีบุตรภายหลังจากการรักษามะเร็งหายแล้ว หรือผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นมะเร็งแต่ต้องได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา หรือเคมีบำบัด ได้แก่ โรคทางระบบโลหิตวิทยา เช่น Systemic Lupus Erythematosus (SLE) เป็นต้น โดยผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะรังไข่หยุดทำงานและอาจจะไม่สามารถมีบุตรได้ในอนาคต

มีลูกได้ไหม ? ถ้าเคยเป็นมะเร็ง - ตอบข้อสงสัย ของหลายๆคน

มีลูกได้ไหม ? ถ้าเคยเป็นมะเร็ง – ตอบข้อสงสัย ของหลายๆคน

ด้วยความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์การแพทย์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะศาสตร์ทางด้านเทคโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ (Assisted Reproductive Technology; ART) ได้มีการพัฒนาวิธีการเก็บรักษาภาวะการเจริญพันธุ์ (Fertility Preservation) ของผู้ป่วยก่อนการรักษามะเร็ง ตัวอย่างเช่น การกระตุ้นไข่แล้วทำการเก็บแช่แข็งไข่หรือตัวอ่อน รวมถึงเนื้อเยื่อรังไข่ในผู้ป่วยหญิง หรือ การเก็บแข่แข็งเชื้ออสุจิและเนื้อเยื่ออัณฑะในผู้ป่วยชาย หรือในกรณีที่เป็นผู้ป่วยหญิงแสดงอาการมะเร็งทางนรีเวช เช่น มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มต้น สูตินรีแพทย์สามารถทำการผ่าตัดปากมดลูกโดยให้คงเหลือส่วนของมดลูกไว้สำหรับการตั้งครรภ์ในอนาคตได้ โดยฝ่ายสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีตัวอย่างความสำเร็จของการรักษาความสามารถในการเจริญพันธุ์ด้วยวิธีดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ กรณีศึกษาที่ 1 ในปี พ.ศ. 2558 สูตินรีแพทย์ ฝ่ายสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ให้คำปรึกษาและทำการรักษาภาวะการเจริญพันธุ์ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมก่อนผู้ป่วยได้รับการรักษามะเร็งด้วยวิธีเคมีบำบัด ด้วยวิธีการกระตุ้นไข่และแช่แข็งตัวอ่อนที่ได้จากกระบวนการปฏิสนธิภายนอกร่างกายหรือเด็กหลอดแก้ว จากนั้นในปี พ.ศ. 2561 ภายหลังผู้ป่วยได้รับการรักษาจากโรคมะเร็งและหายเป็นปกติ ผู้ป่วยได้รับการย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก สามารถตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรที่เป็นทารกฝาแฝดซึ่งมีสุขภาพแข็งแรงได้ กรณีศึกษาที่ 2 เป็นผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น และได้รับการผ่าตัดปากมดลูก ซึ่งต่อมาสามารถตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรได้ จากตัวอย่างความสำเร็จดังกล่าว จะเห็นได้ว่าในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งและอยู่ในช่วงวัยเจริญพันธุ์นั้น ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ก่อนทำการรักษามะเร็งด้วยวิธีมาตรฐาน

มีลูกได้ไหม ? ถ้าเคยเป็นมะเร็ง - ตอบข้อสงสัย ของ หลายๆคน

มีลูกได้ไหม ? ถ้าเคยเป็นมะเร็ง – ตอบข้อสงสัย ของ หลายๆคน

การศึกษานี้เป็นความหวังแก่สาวๆ ที่เคยเป็นมะเร็งมาก่อน โดยนักวิจัยจาก ศูนย์วิจัยมะเร็งเฟรด ฮัทชิสัน ที่ซีแอทเทิล สหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งในวัยเด็กมีโอกาสที่จะมีลูกได้ในอนาคต

ทีมวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า “ยาเคมีบำบัดสมัยใหม่ส่งผลกระทบของต่อโอกาสในการตั้งครรภ์เพียงเล็กน้อย”

ในทางกลับกัน ผู้ชายที่เคยเป็นมะเร็งจะมีลูกยากกว่า โดยเฉพาะคนที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

งานวิจัยบอกอะไรเราบ้าง

การศึกษาดังกล่าว มุ่งไปที่ผู้ป่วยมะเร็งที่เคยรักษาด้วยเคมีบำบัด ซึ่งไดรับการตีพิมพ์เมื่อเร็วๆ นี้ใน The Lancet Oncology

วัตถุประสงค์ในการศึกษา ทีมนักวิจัยรวบรวมข้อมูลจาก การศึกษาผู้รอดชีวิตจากมะเร็งในวัยเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 21 ปีในสหรัฐอเมริกาและแคนาดาระหว่างปี 1970 และ 1999

ข้อสังเกตหลักที่ทีมวิจัยค้นพบ ได้แก่

  • ร้อยละ 70 ของผู้หญิงที่เคยเป็นมะเร็ง สามารถตั้งครรภ์ได้ในอายุไม่เกิน 45 ปี ในขณะที่พี่น้องคนอื่นๆ โอกาสตั้งครรภ์มากกว่าร้อยละ 80
  • ร้อยละ 50 ของผู้ชายที่เคยเป็นมะเร็ง มีโอกาสที่จะมีลูกได้ ในขณะที่พี่น้องคนอื่นๆ โอกาสตั้งครรภ์อยู่ที่กว่าร้อยละ 80
  • ในผู้ชายที่เคยเป็นมะเร็ง หากได้รับยาเคมีบำบัดมาก โอกาสที่จะมีลูกจะน้อยลง
  • โดยรวม พบว่า ผู้หญิงที่เคยเป็นมะเร็ง จะมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับพี่น้องที่ไม่เป็นมะเร็ง แต่ก็ไม่ได้แตกต่างกันมาก
  • ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ชาย การได้รับยาเคมีบำบัดในผู้หญิงมีผลกระทบต่อการมีลูกน้อยกว่าผู้ชายมาก

นักวิจัยยังได้ศึกษาถึงผลกระทบจากปริมาณยาที่ใช้ในการรักษาด้วยเคมีบำบัดที่มีผลต่อการตั้งครรภ์และการให้กำเนิดทารก ในผู้ชายและผู้หญิงจำนวน 10,938 คนที่เคยเป็นมะเร็ง โดยเปรียบเทียบกับพี่น้อง 3,949 คน ผลการศึกษาพบว่า สอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้าที่ระบุว่า ผู้ชายที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดจะมีจำนวนสเปิร์มลดลง

ผลการศึกษานี้มีประโยชน์ต่อผู้ที่เคยเป็นมะเร็งอย่างไร

ทีมนักวิจัยซึ่งนำโดย ดร. เอริค โชว เปิดเผยว่า ผลการศึกษานี้สนับสนุนให้ผู้หญิงเข้ารับการรักษามะเร็งด้วยยาเคมีบำบัดตั้งแต่วัยเด็ก จะมีโอกาสมีลูกได้มากกว่า

วิธีตรวจหามะเร็งในเด็ก

การตรวจหามะเร็งในเด็กใครว่าไม่จำเป็น หากพบสัญญาณต่อไปนี้ (แนะนำโดยศูนย์ข้อมูลผู้ป่วยมะเร็งในเด็ก) ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการตรวจหามะเร็งทันที

  • น้ำหนักลดต่อเนื่อง โดยหาสาเหตุไม่ได้
  • ปวดศีรษะ และอาเจียนในตอนเช้าบ่อยๆ
  • บวม หรือปวดกระดูก ข้อต่อ หลัง หรือขา
  • พบก้อนเนื้อ โดยเฉพาะในช่องท้อง คอ อก กระดูกเชิงกราน หรือรักแร้
  • เกิดรอยจ้ำ มีเลือดออก หรือผื่น
  • มีการติดเชื้อบ่อยๆ
  • มีจุดสีขาวในลูกตาดำ
  • คลื่นไส้ หรืออาเจียนโดยไม่คลื่นไส้
  • เหนื่อยง่าย สังเกตได้ชัดว่า ซีดผิดปกติ
  • สายตา หรือการมองเห็นเปลี่ยนไปโดยฉับพลัน หรือต่อเนื่อง
  • มีไข้โดยไม่รู้สาเหตุบ่อยๆ

การตรวจหามะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ นอกจากจะได้ผลดีในการรักษาแล้ว ในอนาคตหากตรวจไม่พบรอยโรคมะเร็งหลงเหลือ และแน่ใจว่าจะไม่กลับมาเป็นซ้ำ ก็สามารถมีลูกได้ ตามที่ผลวิจัยได้กล่าวไว้ค่ะ

ที่มา www.theindusparent.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

มะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็กชนิด JMML โรคร้ายที่พ่อแม่ไม่ค่อยรู้จัก

แม่ช็อก! พบลูกเป็นมะเร็งจอตา (อีกโรคที่ไม่ควรมองข้าม)

บทความจากพันธมิตร
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
เริ่มต้นให้เหนือกว่า…เคล็ดลับสร้างสมองไวให้เด็กผ่าคลอด พร้อมเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ

TAP-ios-for-article-footer-with button

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • มีลูกได้ไหม หลังเป็นมะเร็ง
แชร์ :
  • แม่ป่วยให้นมลูกได้ไหม ลูกเสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

    แม่ป่วยให้นมลูกได้ไหม ลูกเสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

  • ท้องอยู่ให้นมลูกได้ไหม คนโตยังไม่หย่านม ลูกในท้องจะขาดสารอาหารหรือเปล่า

    ท้องอยู่ให้นมลูกได้ไหม คนโตยังไม่หย่านม ลูกในท้องจะขาดสารอาหารหรือเปล่า

  • เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

    เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

  • แม่ป่วยให้นมลูกได้ไหม ลูกเสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

    แม่ป่วยให้นมลูกได้ไหม ลูกเสี่ยงติดเชื้อหรือเปล่า

  • ท้องอยู่ให้นมลูกได้ไหม คนโตยังไม่หย่านม ลูกในท้องจะขาดสารอาหารหรือเปล่า

    ท้องอยู่ให้นมลูกได้ไหม คนโตยังไม่หย่านม ลูกในท้องจะขาดสารอาหารหรือเปล่า

  • เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

    เด็กหญิง 6 ขวบ อ้วกและสลบ หลังกินข้าวไข่คนมะเขือเทศ คาดเพราะมะเขือเทศไม่สุก !

  • โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

    โอ้ละพ่อ! เด็ก ป.1 หายตัวปริศนา แจ้งตามหากันให้วุ่น สรุปสุดท้าย อยู่ในห้องเรียนนั่นแหละ !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ