X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีปลดหนี้บัตรเครดิต ปลดพันธะชีวิตครอบครัว

บทความ 5 นาที
วิธีปลดหนี้บัตรเครดิต ปลดพันธะชีวิตครอบครัววิธีปลดหนี้บัตรเครดิต ปลดพันธะชีวิตครอบครัว

มาดูวิธีปลดหนี้บัตรเครดิต ปลดพันธะชีวิตครอบครัว ด้วย 6 ขั้นตอนปลดหนี้บัตรเครดิต ที่ได้ผลที่สุด

“จ่ายขั้นต่ำ – เงินชําระหนี้ต่อเดือนได้เกิน 40% – เริ่มกู้มาเพื่อชําระเงินกู้” ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็น สัญญาณที่บ่งบอกว่า คุณกําลังขุดหลุมฝังตัวเองอยู่ทั้งสิ้น และคุณไม่มีทางชําระหนี้ได้หมดง่ายๆ แน่ หากยังคงขยันก่อหนี้เพิ่มอยู่ตลอดเวลา หลายคนอาจคิดว่ามันไม่ใช่เรื่องยากหากคิดจะปลดหนี้ แต่ในความเป็นจริงแล้วมันเป็นเรื่องที่อยากมากเพราะดอกเบี้ยที่คุณต้องเสียเพิ่มขึ้นทุกวันๆ แต่เมื่อที่คุณรู้ตัวว่ากําลังตกอยู่ในบ่อหนี้สิ่งแรกที่คุณควรทํา คือ การหยุดสร้างหนี้ และตั้งสติให้ดี เพราะไม่งั้นอาจทําให้คุณจมลงไปลึกกว่าเดิม เราจึงนำแนวทางในการปลดหนี้ ที่ได้ผลจริง และดีที่สุด 6 ขั้นตอน ให้คุณได้ไปลองทำตามกันดู

 

หยุดก่อหนี้ ลดรายจ่ายฟุ่มเฟือย

การตัดสินใจ “หยุด” ที่ว่านี้ ไม่ใช่ เรื่องง่ายเลย สําหรับคนที่เสพติดการเป็นหนี้ไปแล้ว อย่างไรที่เรียกว่า “เสพติด” การเป็นหนี้ดูง่ายๆ ครับ ลองสังเกตเวลาที่เงินไม่พอใช้ดูสิว่า สมอง คุณคิดอะไร ถ้าทุกครั้งที่เงินไม่พอใช้แล้วคุณตั้งคําถามกับตัวเองว่า “จะกู้ไหนดี” หรือ “คิดจะยืมใครดี” นั่นแหละ เรียกว่า การเสพติดการเป็นหนี้ ถ้าอยากจะแก้ปัญหาหนี้ เพื่อจะได้มีอิสรภาพทางการเงินก็จงหยุดก่อหนี้ ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยทำให้ให้คุณแปลกใจว่าเงินคุณเพิ่มมาจากไหนตั่งเยอะ คิดหาวิธีลดรายจ่ายอื่นๆ แทนการก่อหนี้ และเมื่อคุณเปลี่ยนวิธีคิดได้แล้ว ก็สามารถปลดหนี้ได้เร็วเช่นกัน

 

เช็คยอดหนี้ทั้งหมด

ดูว่าคุณมีบัตรกี่ใบ เช่น มี 4 ใบ A, B, C , D แต่ละใบมียอดหนี้เท่าไหร่? ดอกเบี้ยของแต่ละบัตรต่อปีเท่าไหร่? ชำระขั้นต่ำเท่าไหร่? จากนั้นให้ทำรายการหนี้ที่มีทั้งหมด เมื่อรู้แล้วว่าตัวเองเป็นหนี้เท่าไหร่ และเป็นหนี้เจ้าที่ไหนบ้างแล้ว จากนั้นก็แบ่งประประเภท ตามจำนวนยอดของหนี้ เพื่อจะได้รู้ว่ายอดรวมเท่าไหร่ และเราจะแบ่งสัดส่วนค่าใช้จ่ายทั้งหมดยังไง จะได้รู้ว่าเราจะมีค่าใช้จ่ายเหลือต่อเดือนเท่าไหร่ นี่เป็นการกำหนดการใช้จ่ายของคุณอีกทาง

 

โปะหนี้ก้อนไหนก่อน?

เมื่อได้เงินก้อนมาแล้ว ก็ให้เลือกชําระหรือปิดกับหนี้ที่มีดอกเบี้ย สูงสุด และต้นต่ำก่อนเป็นลําดับแรก ถ้ามีดอกเบี้ยสูงสุดเท่ากันสองรายการ ให้เลือกนําเงินไปปิดหนี้ที่มีวงเงินเหลือน้อยกว่าก่อน หัวใจสำคัญของการ “โป๊ะ” คือการต้องปิดหนี้ทีละรายการ อย่ากระจ่ายเงินใส่หนี้หลายๆ ก้อน เพราะนั่นจะทําให้จํานวน รายการหนี้ไม่ได้ลดลง และเป็นภาระกับเราอยู่ดี นําเงินก้อนไปจ่ายเฉพาะหนี้ที่ลดต้นลดดอกก่อน หนี้ที่อัตราดอกเบี้ยคงที่ อย่างเช่น หนี้กู้ซื้อรถยนต์มีการคิดดอกเบี้ยล่วงหน้าไปในยอดผ่อนอยู่แล้ว

ดังนั้นถ้ายังมีหนี้อื่นๆ ให้จ่ายหนี้อื่นที่ ลดต้นลดดอกก่อน บางคนเลือกปิดหนี้บัตรเครดิต A จากตัวอย่างก่อน เพราะจํานวนเงินที่เป็นหนี้เหลือน้อยที่สุด เนื่องจากต้องการลดจํานวนเจ้าหนี้ลง เพื่อลดปัญหาลดการกระจายหนี้ ถ้ามองในมุมนี้ก็ไม่ได้ถือว่าผิดแต่อย่างใด แต่ก็ไม่ถือว่าถูกที่สุดเพราะดูจากตารางหนี้แล้ว โป๊ะ “สินเชื่อส่วนบุคคล C ที่มียอดหนี้ 45,000 ดอกเบี้ย 24 %” จะดีที่สุดนั้นก็เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่สูงนั่นเองนั่นเอง

 

พยายามรวมหนี้ให้เป็นก้อนเดียว

วิธีการนี้ใช้หลักการเดียวกับการรีไฟแนนซ์หรือทําสัญญากู้ใหม่ โดยการนําหนี้หลายก้อนที่ยังค้างชําระมา รวมเป็นก้อนเดียว หรือการคิดง่ายๆ คือการ กดเงินจากบัตรหนึ่ง มาปิดหนี้ของทุกๆ บัตรอะไรประมาณนี้ก็ได้ แต่ก็มีหลักสําคัญของการรีไฟแนนซ์ อยู่คือ

1. ดอกเบี้ยที่กดหรือกู้ยืมมาจะต้องน้อยกว่า หรือไม่เกินกว่าเดิม

2. จํานวนเงินที่ต้องผ่อนชําระต่อเดือนจะต้องต่ำลง เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับตัวเอง หรือเพื่อให้หนี้มารวมกันก้อนเดียว

 

หลายครั้งที่ลูกหนี้จํานวนไม่น้อยมองข้ามเรื่องสําคัญนี้เวลาถูกติดตามทวงมากๆ ก็คิดแต่ว่าหาเงินมา ให้ได้ก่อน ดอกเบี้ยเท่าไหร่ไม่สน ขอให้มันผ่านไปอีกเดือนก็พอ ทำให้บางคนไปกู้เงินนอกระบบ ดอกเบี้ยร้อยละ 10-20 ต่อเดือน (ประมาณ 120-240% ต่อปี) เพราะจากที่เดิมเป็นหนี้บัตรเครดิตดอกเบี้ย 20 เปอร์เซ็นต์ต่อปี ซึ่งดอกเบี้ยมันเพิ่มขึ้นจากเดิม 100 – 200 % เลยนะ ซึ่งมันไม่ใช่ทางรอด แต่เป็นตัวเร่งให้คุณตายไวกว่าเดิมนั่นเอง ก่อนรีไฟแนนซ์ หรือหาเงินกู้มาใช้หนี้ก็ต้องจำหลักสำคัญ 2 ข้อนี้ไว้ให้ดี

 

หาช่องทางในการมีเงิน

ขั้นต่อมาคือการเริ่มต้นมองหาหนทางชําระหนี้ แนวทาง คือมองหาเงินก้อนเพื่อมาโปะให้หมดไป โดยลองสํารวจดูสิว่า ตัวคุณมีโอกาสที่จะได้รับเงินก้อนหรือไม ถ้ามีให้วางแผนกันเงินก้อนนี้บางส่วนเผื่อไว้สําหรับชําระหนี้ หรือถ้าไม่มีเงินก้อนก็แนะให้นำทรัพย์สินบางอย่างที่แปลงเป็นเงินได้ก็อาจนําไปขายบางส่วน เพื่อนําเงินมาชําระหนี้ด้วยก็เป็นได้ นั้นก็แล้วแต่คุณจะหาวิธี แต่ต้องไม่ไม่ขัดกับหลักสำคัญ 2 ข้อ ที่กล่าวไว้ข้างต้นนั่นเอง

 

วางแผนชําระหนี้แบบเป็นขั้นตอน

ถ้าเงินก้อนก็ไม่มีแถมรีไฟแนนซ์ก็ไม่ได้ก็ต้องมาวางแผนชําระหนี้ด้วยเงินคงเหลือของตัวเอง หลักคิดของวิธีการนี้คือ ทยอยปิดหนี้ทีละรายการด้วยเงินคงเหลือในแต่ละเดือน โดยให้เน้นชำระเกินจากขึ้นต่ำเพราะเงินส่วนเพิ่มที่เรานําไปชําระหนี้ ส่วนที่เกินจากขั้นต่ำ จะถูกนําไปตัดเงินต้น และด้วยวิธีการนี้จะทําให้หนี้หมดเร็วขึ้น

 

วิธีการก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก แค่ต้องจัดลําดับหนี้ที่ต้องชําระ ด้วยการนํายอดหนี้คงค้างตั้ง หารด้วยยอดเรียกชําระขั้นต่ำ ผลลัพธ์ของหนี้รายการใดต่ำกว่า ก็ให้ปิดหนี้รายการนั้นๆ ก่อน ถ้าอัตราส่วนที่คํานวณได้เท่ากัน ให้เลือกปิดหนี้รายการที่วงเงินคงเหลือต่ำสุดก่อน

 

ตามแบบตัวอย่างด้านบนก่อนจะเห็นว่า A กับ B จะมียอดที่เท่ากัน แต่มี A ยอดหนี้ที่ต่ำกว่าทำให้ เน้น จ่ายที่ยอด A เป็นหลัก และจ่ายยอดของ B – C เป็นขั้นต่ำ ทั้งนี้เพื่อลดจำนวนบัตรที่จะต้องเฉลี่ยในทุกๆ เดือนนั่นเอง

 

เราสามารถแก้ไขปัญหาการเงินนี้ได้ด้วยความมีวินัย และความอดทนเพราะทุกอย่างต้องใช้เวลา ก็ถือว่าเป็นการนำเงินในอนาคตมาใช้ตอนนี้ก็ถึงเวลต้องชดใช้กรรมเท่านั้นเอง แต่อย่างน้อยการมีรูปแบบและขั้นตอนในการผ่อนชำระ ก็ทำให้คุณไม่ต้องปวดหัวกับการใช้หนี้ มีน้อยใช้ในอยู่อย่างพอเพียงกันนะครับอย่าทำตัวรวยต้นเดือนแล้วจะหาว่าไม่เตือน

 

บทความจากพันธมิตร
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!
เผยเคล็ดลับการเรียนออนไลน์ที่จะทำให้ลูกตั้งใจเรียนมากขึ้น!

ขอบคุณ ข่าวอสังหาฯ-บทความจาก DDproperty.com เว็บไซต์สื่อกลางอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

รู้ทันฟองสบู่ เพื่อการเงินที่ปลอดภัยในอนาคต (ฉบับเข้าใจง่าย)

5 พันธุ์ไม้ปลูกได้ภายในบ้าน เพิ่มความสดชื่นให้ทุกครอบครัว

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • วิธีปลดหนี้บัตรเครดิต ปลดพันธะชีวิตครอบครัว
แชร์ :
  • ปัญหาชีวิตคู่ คืออะไร? รู้ให้ทันก่อนสายเกินแก้และต้องแยกทาง

    ปัญหาชีวิตคู่ คืออะไร? รู้ให้ทันก่อนสายเกินแก้และต้องแยกทาง

  • คุยแชทอย่างไรไม่ให้นก รวมข้อผิดพลาดทั้ง 7 ที่อาจทำให้โดนเทไม่รู้ตัว

    คุยแชทอย่างไรไม่ให้นก รวมข้อผิดพลาดทั้ง 7 ที่อาจทำให้โดนเทไม่รู้ตัว

  • 6 วิธีที่ต้องทำเมื่อต้อง “พาลูกไปที่ทำงาน” ลดโอกาสปั่นป่วนให้มากที่สุด

    6 วิธีที่ต้องทำเมื่อต้อง “พาลูกไปที่ทำงาน” ลดโอกาสปั่นป่วนให้มากที่สุด

app info
get app banner
  • ปัญหาชีวิตคู่ คืออะไร? รู้ให้ทันก่อนสายเกินแก้และต้องแยกทาง

    ปัญหาชีวิตคู่ คืออะไร? รู้ให้ทันก่อนสายเกินแก้และต้องแยกทาง

  • คุยแชทอย่างไรไม่ให้นก รวมข้อผิดพลาดทั้ง 7 ที่อาจทำให้โดนเทไม่รู้ตัว

    คุยแชทอย่างไรไม่ให้นก รวมข้อผิดพลาดทั้ง 7 ที่อาจทำให้โดนเทไม่รู้ตัว

  • 6 วิธีที่ต้องทำเมื่อต้อง “พาลูกไปที่ทำงาน” ลดโอกาสปั่นป่วนให้มากที่สุด

    6 วิธีที่ต้องทำเมื่อต้อง “พาลูกไปที่ทำงาน” ลดโอกาสปั่นป่วนให้มากที่สุด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ