X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฟองสบู่คืออะไร รู้ทันฟองสบู่ เพื่อการเงินที่ปลอดภัยในอนาคต (ฉบับเข้าใจง่าย)

บทความ 5 นาที
ฟองสบู่คืออะไร รู้ทันฟองสบู่ เพื่อการเงินที่ปลอดภัยในอนาคต (ฉบับเข้าใจง่าย)

ทั่วทั้งโลกต่างได้รับบทเรียนจากโศกนาฏกรรมทางการเงินครั้งใหญ่เมื่อปี 2551 ที่เกิดขึ้นจากภาคอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา

เรามา รู้ทันฟองสบู่ กันดีกว่า เราต่างก็คุ้นหูกัน และพูดติดปากกันว่า ณ ช่วงเวลานั้นได้เกิด “ฟองสบู่ตลาดอสังหาฯแตก” หลายคนทราบว่าเกิดอะไรขึ้นแต่ยังคงไม่รู้ที่มาที่ไป ของกลไกที่ทำให้เกิดวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์นี้ นอกจากปัจจัยด้านอสังหาฯ ที่ทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐล้มแล้วยังมีปัจจัยทางด้านผลิตภัณฑ์การลงทุนอย่างอื่นด้วย แต่แท้จริงแล้วคำว่าฟองสบู่คืออะไร สัญญาณอะไรที่บ่งบอกถึงสภาพฟองสบู่บ้าง รวมถึงปัจจัยอะไรบ้างที่สามารถก่อให้เกิดฟองสบู่ได้ บทความนี้เรามีคำตอบ

 

รู้ทันฟองสบู่

ฟองสบู่คืออะไร ฟองสบู่ตลาดอสังหา ฯ แตก ฟองสบู่แตก คือ

ฟองสบู่คืออะไร?

ขอยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเพื่อให้เห็นภาพกันง่าย ๆ ก่อน คำว่า “ฟองสบู่” เปรียบเสมือนการที่คุณซื้อของเล่นสมัยเด็กตัวที่ต้องเอาแท่งไม้จุ่มน้ำสบู่ลงในขวดเล็ก ๆ และเป่าออกมา เมื่อคุณเป่าไปเรื่อย ๆ จะพบว่าฟองที่คุณเป่านั้นใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถ้าคุณเป่าด้วยแรงที่มากเกินไป หรือเร็วเกินไปก็เสี่ยงที่จะทำให้ฟองสบู่ก้อนนั้นแตกเร็วขึ้นนั่นเอง

คำว่าฟองสบู่ในเศรษฐศาสตร์นั้นอาจจะดูคล้ายกับการเป่าฟองสบู่แบบข้างต้น โดยกฎการเกิดฟองสบู่พื้นฐานมีดังนี้ ประชาชนแห่กันซื้อสินค้า หรือสินทรัพย์ประเภทหนึ่งด้วยความคิดเดียวกันทั้งหมดว่า “ฉันจะต้องรวยจากการขายทำกำไรจากไอ้สิ่งที่ฉันซื้อแน่นอน” และการแห่ซื้ออสังหา ฯ ในสหรัฐช่วงก่อนวิกฤติก็ดูเหมือนว่าจะเป็นเช่นนี้ เพราะเพียงคิดว่าราคาจะทะยานขึ้นแน่นอนโดยปราศ จากการศึกษามูลฐานที่แท้จริงว่าสาเหตุอะไรที่ ทำให้ราคาของอสังหาฯ ปรับตัวขึ้นอย่างไร้เหตุผล

และ แน่นอนเมื่อมีดีมานด์การซื้อเกิดขึ้นย่อมต้องมีผู้อาศัยสภาพบวกของตลาด ในการป้อนซัพพลายเข้า ไปเพื่อขอส่วนแบ่งเค้กก้อนนี้ ซึ่งซัพพลายในที่นี้ก็คือตัว “อสังหาฯ” หรือ “ที่อยู่อาศัย” นั่นเอง คราวนี้เมื่อซัพพลายถูกอัดไปมาก ประกอบกับดีมานด์จากที่เคยร้อนแรงนั้นชะงักลง นำไปสู่สภาวะฟองสบู่แตกในท้ายที่สุดนั่นเอง หรือพูดง่าย ๆ คือ เมื่อไม่มีคนซื้อแต่พ่อค้าเอาของมาลงตลาดเยอะ สินค้าจึงเหลือขายบานนั่นเอง

Advertisement

 

แล้วมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดฟองสบู่?

ผู้ต้องหาในวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ในภาคส่วนเกี่ยวเนื่องกับอสังหา ฯ คือ “นโยบายรัฐ” และ “อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่ต่ำ” เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอะไรที่ได้มาง่าย ๆ นั้นตามสัญชาติญาณของคนเราแล้ว จะรีบคว้ามาไว้ก่อนโดยไม่ยอมวิเคราะห์ถึง ผลระยะยาวที่จะตามมาในอนาคต เช่น เดียวกันสมัยรัฐบาลของ จอร์ช ดับเบิลยู บุช มีนโยบายเอาใจประชาชนสหรัฐที่ฝันอยากมีบ้านแต่ ไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของดอกเบี้ยที่แพง หรือสถานะทางการเงินที่ ไม่ดีของผู้กู้ รัฐบาลได้สั่งให้ภาคการเงิน และธนาคารกลางสหรัฐ (FED: Federal Reserve Department) ปรับลดดอกเบี้ยกลางลงเพื่อที่ว่าธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ได้กู้เพื่อไปปล่อยเป็นสินเชื่อครัวเรือนต่อไปในอัตราที่ถูก พร้อมทั้งสั่งให้สถาบันการเงินต่าง ๆ ปรับลดคุณสมบัติทางด้านการเงิน ของลูกค้าที่เข้ามาขอกู้ลง

ยกตัวอย่างเช่น นาย เอ มีหนี้บัตรเครดิตอยู่ก็สามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านได้นั่นเอง และเนื่องจาก นาย เอ มีนิสัยสุรุ่ยสุร่ายจากบัตรเครดิตของตน ชอบซื้ออะไรที่ได้มาง่าย ๆ มีหรือครับที่ นาย เอ จะพลาดโอกาสทองแบบนี้ คุณลองคิดดูละกันว่า หากคนที่มีเครดิตอยู่อย่าง นายเอขอสินเชื่อที่อยู่อาศัยผ่านเป็น “ล้านราย” ความเสี่ยงของธนาคารจะเป็นเช่นไร (เราเรียกสินเชื่อที่ปล่อยกู้ให้คนที่เครดิตไม่ดีว่า Subprime Loan) นอกจากนี้ นาย เอ สามารถขอสินเชื่อกู้บ้านได้ 5 หลัง (ซึ่งเกิดขึ้นจริง) ไม่ต้องพูดถึงความเเละที่จะตามมา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ  : ออมเงินอย่างไร ให้ได้เงินล้าน เทคนิคออมเงิน ง่าย ๆ นำไปใช้ได้เลย

 

รู้ทันฟองสบู่

ฟองสบู่คืออะไร รู้ทันฟองสบู่ ฟองสบู่แตก คือ

ดีมานด์จอมปลอม (Artificial Demand) ที่นักลงทุนมองไม่เห็น

แน่นอนว่าเมื่อบ้านถูกจองจนหมดจากบรรดา “นายเอ” หลายล้านรายส่งผลให้ราคาของบ้านนั้นทะยานสูงขึ้นทันที นักลงทุนที่ขาดความระมัด ระวัง ในสมัยนั้นเมื่อเห็นว่าราคาบ้านมันขึ้นขนาดนี้ได้ มันก็ต้องไปต่อได้ ส่งผลให้ราคาบ้านมันยังไปได้ ต่ออีกผ่านการเก็งกำไรของนักลงทุนเหล่านี้ และเงินทุนจาก นักลงทุนบางรายก็มาจากเครดิตแย่ ๆ ในการเข้าถึงสินเชื่ออีกเช่นกัน ธนาคารที่ทำการปล่อยสินเชื่อไม่มีทางรู้ได้เลยว่าความจำนง ในการขอสินเชื่อของคุณนั้นมาจากคำว่า “ต้องการที่จะอยู่อาศัยจริง” หรือเพื่อ “ซื้อไว้เก็งกำไร” และตามกฎดีมานด์ซัพพลาย เมื่อมีความต้องการที่จะซื้อบ้าน ดีเวลลอปเปอร์จึงต่างขึ้นโครงการกันให้พรึ่บด้วยความคิดเช่นเดียวกันว่า “ยังไงฉันก็ต้องขายได้”

สามวิธีในการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ใด ๆ ของฟองสบู่

เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบของคำกล่าวนั้นก่อนอื่นเรามาสร้างฐานความเข้าใจร่วมกันโดยดูสามวิธีในการประเมินมูลค่าทรัพย์สินใด ๆ

  • The Greater Fool Theory

    ในอสังหาริมทรัพย์พวกเขาเรียกมันว่า “การขายที่เทียบเคียงกัน” และในสินทรัพย์กระดาษเช่นหุ้น และพันธบัตรเป็นธุรกรรมล่าสุด ความหมาย คือราคาตลาดปัจจุบันแสดงถึงมูลค่าตลาดที่ยุติธรรมเนื่องจากเป็นราคาที่ผู้ซื้อ และผู้ขายเต็มใจซื้อขายที่ ปัญหาคือมันไม่มีประโยชน์อย่างยิ่ง สำหรับการระบุฟองสบู่เพราะมันบอกคุณได้ว่าคนโง่คนอื่น ๆ ยินดีจ่ายอะไรบางอย่างเท่านั้น

 

  • สินทรัพย์

    ในอสังหาริมทรัพย์จะเป็นการวิเคราะห์ต้นทุนทดแทน หรือค่าใช้จ่ายในการสร้างโครงสร้างใหม่สุทธิจากค่าเสื่อมราคา ในหุ้นมูลค่าตามบัญชีหรือ Q-ratio เป็นตัวชี้วัดของสินทรัพย์อ้างอิงต่อหุ้น นี่เป็นการวัดความเสี่ยงที่สำคัญมาก เพราะจะบอกคุณถึงเบี้ยประกันภัย หรือส่วนลดที่คุณจ่ายโดยเทียบ กับมูลค่าของสินทรัพย์อ้างอิง เบี้ยประกันภัยที่มากนั้นเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาของการเติบโตอย่างไร้เหตุผล ซึ่งส่งผลให้มีความเสี่ยงสูง และส่วนลดมากจะเกี่ยวข้อง กับช่วงเวลาแห่งความกลัวความเสี่ยงที่ลดลง และ ผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงขึ้นในภายหลัง

 

  • รายได้

    ในรายได้อสังหาริมทรัพย์วัดเป็น NOI (รายได้จากการดำเนินงานสุทธิ) หรือในที่อยู่อาศัยรายย่อยมักวัดเป็นตัวคูณค่าเช่าขั้นต้น ในตลาดหุ้นคือ P / E หรืออัตราส่วนกำไรของราคาซึ่งวัดโดยทั่วไปผ่าน CAPE หรืออัตราส่วนรายได้ของราคาที่ปรับตามวงจร รายได้เป็นมาตรการประเมินมูลค่าที่ฉันชอบที่สุดในการระบุความเสี่ยงเพราะในที่สุดมูลค่าของสินทรัพย์ใด ๆ ก็คือมูลค่าปัจจุบันที่คิดลดของกระแสเงินสด นั่นเป็นศัพท์เฉพาะทางเศรษฐศาสตร์ที่บอกว่าสินทรัพย์คุ้มค่า กับสิ่งที่ได้รับ วัดมูลค่าปัจจุบันตามผลประโยชน์ในอนาคต ของการเป็นเจ้าของ

 

อะไรมีขึ้นย่อมต้องมีลง

เมื่อคนที่มีพฤติกรรมทางการเงินแย่ ๆ อย่างนายเอหลาย ๆ ล้านคนเพิ่งมาพบความจริงที่ว่าตนนั้น ไม่มีความสามารถที่จะมีบ้านเป็นของตัวเองได้ สิ่งที่เกิดขึ้น คือภาวะผิดชำระหนี้ (Default) ซึ่งจะทำอย่างไรได้นอกจากการหนีออกจากบ้านที่ติดค่างวดกับแบงก์ เพราะแบงก์เขามาตามทวงหนี้นั่นเอง เจ็บปวดที่สุดเห็นที่จะเป็นแบงก์ที่ปล่อยกู้ให้ นาย เอ ที่โดนเบี้ยวหนี้ คงจะไม่เสียหายเท่าไรหากแบ้งค์ปล่อยกู้ให้คนอย่าง นาย เอ เพียงแค่รายเดียว แต่ลองคิดดูหากเป็นหมื่น ๆ เคสต่อหนึ่งแบงก์สามารถส่งผลให้แบงก์ล้มได้เหมือนกัน ส่วน นาย เอ เขาแทบจะไม่สนใจเลยว่าคำว่า “บุคคลล้มละลาย” ที่ติดตัวเขานั้นคืออะไร

เมื่อข่าวด้านการผิดชำระหนี้ ของแบงก์ต่าง ๆ หลุดออกไป ส่งผลให้นักลงทุนมอง เห็นแล้วว่าดีมานด์ซื้อบ้านที่เกิดขึ้นในสหรัฐนั้นคือ “ดีมานด์จอมปลอม” (ลองนึกภาพตามว่าดีมานด์ประเภทนี้ คือแรงที่ถูกอัดเข้าสู่ฟองสบู่ที่ถูกเป่า ) ส่งผลให้ความต้องการซื้ออสังหา ฯ นั้นหยุดชะงักทันที ดีเวลลอปเปอร์รายต่าง ๆ เจ๊งเป็นแถบจากจำนวนซัพพลายที่เหลืออื้อซ่า … บู้ม ฟองสบู่ที่ถูกเป่าก็แตก ในทันใด ดังนั้นสองเหยื่อเคราะห์ร้ายของวิกฤตินี้คือ “ภาคธนาคาร” และ “ภาคอสังหาฯ” ซึ่งป็นสองส่วนสำคัญของเศรษฐกิจสหรัฐ เมื่อพังขึ้นมาเศรษฐกิจลุงแซมจึงล้มในที่สุดเกิดขึ้นเป็น “Hamburger Crisis” นั่นเอง

 

รู้ทันฟองสบู่

ฟองสบู่คืออะไร ฟองสบู่ตลาดอสังหา ฯ แตก ฟองสบู่แตก คือ

สรุป

จะเห็นได้ว่าโศกนาฏกรรม ทางการเงินดังกล่าวเกิดจากความหละหลวม ในเรื่องมาตรการทางการเงิน ส่งผลให้เกิดดีมานด์จอมปลอม ซึ่งนำไปสู่ราคาของสินทรัพย์ที่ขยับตัวสูงขึ้นตาม และเมื่อดีมานด์ประเภทนี้หยุดลงแต่สินทรัพย์ยังคงเหลือในตลาดอยู่เยอะ จึงเกิดเป็นภาวะฟองสบู่ในที่สุด นอกจากจะต้องศึกษาทั้งด้านดีมานด์และซัพพลายไม่ว่าก่อนที่จะซื้อบ้านหรือลงทุนในอสังหาฯแล้ว ต้องวิเคราะห์ให้ออกด้วยว่าดีมานด์ที่คนแห่ซื้อกันนั้นเกิดจากอะไร ยอดการซื้อและการจองของอสังหาฯที่คุณเล็งไว้เกิดจาก “ความต้องการอยู่จริง” หรือเพียงแค่ “เก็งกำไร” เชื่อว่าหากคุณใจเย็น และศึกษาประเด็นนี้ให้ดีคุณจะอยู่ในโซนปลอดภัยเมื่อเกิดฟองสบู่ขึ้นมาจริง ๆ

ขอบคุณที่มา ข่าวอสังหาฯ-บทความจาก DDproperty.com เว็บไซต์สื่อกลางอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

อยากจัดงานแต่งงานในฝันสักครั้งต้องเก็บเงินยังไง

เคล็ดลับจัดโต๊ะทำงาน ให้ดวงการงาน การเงิน ความรักพุ่งแรงฉุดไม่อยู่

วิธีเก็บเงินแบบแม่ญี่ปุ่น เก็บเงินอย่างไรให้เหลือเยอะๆ เคล็ดลับแม่บ้านญี่ปุ่น

 

บทความจากพันธมิตร
อย่าให้มะเร็งร้ายขโมยรอยยิ้มไปจากครอบครัว ประกันมะเร็ง ตรวจพบจ่ายสูงสุด 3,000,000 บาท
อย่าให้มะเร็งร้ายขโมยรอยยิ้มไปจากครอบครัว ประกันมะเร็ง ตรวจพบจ่ายสูงสุด 3,000,000 บาท
เทคนิค ออมเงินก่อนเกษียณ ต้องทำอย่างไร ให้มีเงินใช้สบายหลังเกษียณ
เทคนิค ออมเงินก่อนเกษียณ ต้องทำอย่างไร ให้มีเงินใช้สบายหลังเกษียณ
อยากทำประกันสุขภาพให้ลูก เลือกทำประกันสุขภาพเด็กแบบไหนดี ประกันแบบไหนคุ้มที่สุด
อยากทำประกันสุขภาพให้ลูก เลือกทำประกันสุขภาพเด็กแบบไหนดี ประกันแบบไหนคุ้มที่สุด
หมุนเงินไม่ทัน ค่าใช้จ่ายเพียบ ปัญหาหนักอกของพ่อแม่ช่วงลูกเปิดเทอม
หมุนเงินไม่ทัน ค่าใช้จ่ายเพียบ ปัญหาหนักอกของพ่อแม่ช่วงลูกเปิดเทอม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Tulya

  • หน้าแรก
  • /
  • การวางแผนการเงิน
  • /
  • ฟองสบู่คืออะไร รู้ทันฟองสบู่ เพื่อการเงินที่ปลอดภัยในอนาคต (ฉบับเข้าใจง่าย)
แชร์ :
  • 6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

    6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

  • 10 โรงเรียนนานาชาติ กรุงเทพ ปี 2025 ค่าเทอมไม่เกิน 300,000 บาท/ปี

    10 โรงเรียนนานาชาติ กรุงเทพ ปี 2025 ค่าเทอมไม่เกิน 300,000 บาท/ปี

  • เตรียมตัวมีลูก ต้องมีเงินเท่าไหร่ ? ประเมินค่าใช้จ่ายจริงที่คุณอาจคาดไม่ถึง

    เตรียมตัวมีลูก ต้องมีเงินเท่าไหร่ ? ประเมินค่าใช้จ่ายจริงที่คุณอาจคาดไม่ถึง

  • 6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

    6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

  • 10 โรงเรียนนานาชาติ กรุงเทพ ปี 2025 ค่าเทอมไม่เกิน 300,000 บาท/ปี

    10 โรงเรียนนานาชาติ กรุงเทพ ปี 2025 ค่าเทอมไม่เกิน 300,000 บาท/ปี

  • เตรียมตัวมีลูก ต้องมีเงินเท่าไหร่ ? ประเมินค่าใช้จ่ายจริงที่คุณอาจคาดไม่ถึง

    เตรียมตัวมีลูก ต้องมีเงินเท่าไหร่ ? ประเมินค่าใช้จ่ายจริงที่คุณอาจคาดไม่ถึง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว