X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

สังเกตอาการ "โอไมครอนในเด็ก" และการป้องกันที่ถูกต้อง

บทความ 5 นาที
สังเกตอาการ "โอไมครอนในเด็ก" และการป้องกันที่ถูกต้องสังเกตอาการ "โอไมครอนในเด็ก" และการป้องกันที่ถูกต้อง

ไวรัส Covid-19 มีการกลายพันธุ์อยู่แทบจะตลอดเวลา และในช่วงนี้ก็มีสายพันธุ์ที่อันตรายต่อจากเดลต้านั่นคือ สายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) สำหรับ โอไมครอนในเด็ก มีผลการศึกษาบางส่วนได้ให้ข้อมูลว่ามีความเสี่ยงมากกว่าผู้ใหญ่ ด้วยสาเหตุหลายประการ อย่างไรก็ตาม หากสามารถป้องกันตามมาตรการได้อย่างถูกต้อง ความเสี่ยงในเด็กก็จะสามารถลดลงได้ด้วยเช่นกัน

 

ทำไมเด็กจึงมีความเสี่ยงติดโอไมครอนกว่าปกติ

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนจึงต้องมีความระมัดระวังในเด็กมากเป็นพิเศษ เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ ที่เคยมีมา จากข้อมูลของ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยว่าประเทศที่พบการระบาดหนักแถบแอฟริกาใต้นั้น ได้มีการให้ข้อมูลว่าพบความเสี่ยงที่มากขึ้นในเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งถือว่ามากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ G, เบต้า หรือเดลต้า

 

ถึงแม้ว่า โอไมครอนในเด็ก จะดูมีความเสี่ยง จนทำให้เด็กหลายคนต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล แต่สำหรับในวัยผู้ใหญ่แล้วยังถือว่าไม่มีความแตกต่างมากนัก และเสี่ยงพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลน้อยกว่าเด็ก อย่างไรก็ตามข้อมูลชุดนี้นั้นเป็นข้อมูลจากประเทศแอฟริกาเท่านั้น อาจต้องรอผลการยืนยันรายงานการวิจัยจากประเทศอื่น ๆ ร่วมด้วย

 

 

ในขณะที่ประเทศอังกฤษได้รายงานว่าหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เด็กมีความเสี่ยงมากขึ้นอาจเป็นเพราะ เด็ก ๆ เหล่านั้นยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หรือประสิทธิภาพของวัคซีนที่ฉีดอาจยังไม่ดีพอ ต้องรอการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิมในอนาคต

บทความที่เกี่ยวข้อง : Covid-19 ต่างจากหวัด ธรรมดาอย่างไร วิธีสังเกต จะรู้ได้ยังไง?

 

อาการโอไมครอนในเด็ก

จากข้อมูลของสาธารณสุขในประเทศอังกฤษ  หรือ National Health Service: NHS ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการเมื่อเด็กมีความสุ่มเสี่ยง ที่จะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนไว้ว่าอาการส่วนมากจะคล้ายกับสายพันธุ์หลัก แต่ในเด็กจะมีความแตกต่างตรงอาการผื่นขึ้นตามผิวหนัง มีอาการเหนื่อยหอบ และเด็กจะรู้สึกเบื่ออาหาร นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตอาการอื่น ๆ ได้ด้วย ดังนี้

 

  • อุณหภูมิสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
  • มีอาการไข้ คัดจมูก และน้ำมูกไหล
  • ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามส่วนต่าง ๆ ร่างกาย
  • เจ็บ หรือระคายเคืองบริเวณคอ
  • การรับกลิ่น หรือการรับรสไม่เหมือนเดิม บางรายอาจสูญเสียไปในช่วงที่มีอาการ
  • มีอาการไออย่างหนัก มักไอบ่อยใน 1 ชั่วโมง

 

ควรฉีดวัคซีนให้เด็กเป็นการกระตุ้นอย่างไร

จากข้อมูลของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แนะนำให้สร้างภูมิคุ้มกันหมู่สำหรับทุกคน ด้วยการฉีดวัคซีนอย่างต่ำ 2 เข็ม ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หรือผู้ใหญ่ กรณีได้รับการฉีดเข็มที่ 2 แล้วนานกว่า 3 เดือน สามารถกระตุ้นเข็มที่ 3 ได้ เพื่อเป็นการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ในช่วงเวลาที่โอไมครอนกำลังระบาดในขณะนี้

 

โอไมครอนในเด็ก 2

 

จะป้องกันโอไมครอนในเด็กได้อย่างไร

ก่อนการป้องกันใด ๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจว่าไวรัสโควิด-19 จะไม่สามารถถูกรักษาให้หายไปจากโลกใบนี้ได้ในเร็ววัน จึงมีความจำเป็นที่ทุกคนจะต้องเรียนรู้วิธีการที่จะอยู่กับไวรัสชนิดนี้ และสามารถยอมรับความเสี่ยงที่อาจเจอ จนสามารถรับมือเมื่อเกิดการติดเชื้อได้ แน่นอนว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับไวรัสตัวนี้ผู้ปกครองควรบอกให้เด็ก ๆ ทราบว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่า หากเราไม่ได้อยู่กับลูกในบางโอกาส เด็กจะรู้ถึงความเสี่ยง และการป้องกันตนเองในเบื้องต้นได้

 

ในส่วนของการป้องกันนั้นไม่ได้แตกต่างจากการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 แบบสายพันธุ์อื่น แต่ความยากคือพฤติกรรมของเด็กบางอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยง ซึ่งสามารถช่วยลูกป้องกันได้ ดังนี้

 

  • อย่าลืมหน้ากากอนามัย : การสวมหน้ากากอนามัย ถือเป็นมาตรฐานใหม่ในชีวิตประจำวัน แต่ในช่วงเวลาก่อนสถานการณ์โอไมครอนระบาดในประเทศไทย หลายคนอาจละเลยไปบ้าง และให้ความสำคัญน้อยลง เช่น ร้านค้าต่าง ๆ ที่สวมหน้ากากจริง แต่ไม่ได้ปิดปาก เป็นต้น หากเราไม่สามารถบังคับใครได้ ก็ควรป้องกันเด็กด้วยการให้เด็กสวมหน้ากากอนามัยอยู่เสมอ
  • ให้เด็กพกเจลแอลกอฮอล์ติดตัว : นอกจากการให้เด็กใส่หน้ากากอนามัยแล้ว การให้เด็กพกเจลแอลกอฮอล์ตัวไว้ตลอดเพื่อให้เด็กได้ใช้ก็สำคัญไม่แพ้กัน เนื่องจากบางครั้งเด็กอาจอยู่กับบุคคลบ้าง หรือห่างจากสายตาของผู้ปกครอง  จะได้สามารถหยิบออกมาใช้ได้เลย
  • ลดการสัมผัสสิ่งของ : ความเสี่ยงจะมากขึ้นหากอยู่ในที่สาธารณะ หรือเดินทางแบบสาธารณะ เนื่องจากเชื้อไวรัสอยู่ได้หลายจุด โดยไม่จำเป็นต้องรับมาจากผู้ที่เป็นพาหะเท่านั้น เชื้อไวรัสเหล่านี้สามารถอยู่ตามพื้นผิวต่าง ๆ ได้ ดังนั้นหากไม่จำเป็นก็ไม่ควรจับสิ่งของใด ๆ หรือหากจำเป็นต้องจับ ก็ควรให้เด็กล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งด้วย
  • ลดการสัมผัสร่างกาย : หากการจับสิ่งของที่อาจมีเชื้อข้างต้น แล้วไม่ได้รับการทำความสะอาดนั้น ความเสี่ยงจะมากขึ้นไปอีกจากพฤติกรรมทั่วไปของเด็ก นั่นคือการจับหน้าจับตาของตนเอง ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงมาก คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังในเรื่องนี้ด้วย และควรตักเตือนลูกทุกครั้ง เพื่อให้เข้าใจถึงความเสี่ยง
  • รักษาระยะห่างกับผู้อื่น : ไม่ควรให้เด็กเข้าใกล้ใครมากเกินไปในระยะอย่างต่ำประมาณ 2 เมตร ซึ่งการเว้นระยะห่างนี้เองสามารถช่วยป้องกัน หรือลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้รวมไปถึงสายพันธุ์โอไมครอนด้วยเช่นกัน
  • เลี่ยงสถานที่ชุมชน : เชื้อไวรัสทุกชนิดไม่ใช่แค่โอไมครอน สามารถติดจากคนสู่คนผ่านชุมชนที่มีความแออัดได้เป็นปกติอยู่แล้ว โอไมครอนในเด็ก ที่มีความอันตรายนั้นยิ่งไม่ควรมองข้าม หากไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปสถานที่ชุมชน ก็ควรงดให้เด็กอยู่กับบ้านจะดีที่สุด เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ยากจะควบคุม

 

นอกจากจะคอยป้องกันลูกแล้ว โอไมครอนในเด็ก นั้นอาจไม่สามารถป้องกันได้ 100 % คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นตรวจดู สังเกตอาการของลูกอยู่เสมอ ว่ามีอาการผิดปกติใด ๆ บ้างหรือไม่ หากมีอาการที่เสี่ยงจะได้พาลูกไปตรวจเพื่อยืนยันผล และเตรียมการรักษาเด็ก และป้องกันคนในบ้านได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

 

บทความที่น่าสนใจ

ศูนย์ควบคุมโรคแนะ คนท้องเป็นโควิด-19 คลอดลูกเสร็จควรห่างจากลูก 1 สัปดาห์!

สั่งของ รับของ อย่าประมาท ล้างมือด้วย สธ.บอกอาจ ติดโควิด จากถุงใส่ของ ได้!

วิจัยชี้ ! หลังหายโควิด เกินกว่าครึ่งมีอาการผิดปกติระยะยาว

 

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

ที่มาข้อมูล : 1 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Sutthilak Keawon

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • สังเกตอาการ "โอไมครอนในเด็ก" และการป้องกันที่ถูกต้อง
แชร์ :
  • เด็กกระดูกหัก รับมืออย่างไร ลูกเล่นซนจนกระดูกหักรักษานานไหม?

    เด็กกระดูกหัก รับมืออย่างไร ลูกเล่นซนจนกระดูกหักรักษานานไหม?

  • ลูกเป็นลม หมดสติ รับมืออย่างไร เด็กหน้ามืดจะเป็นอันตรายไหม?

    ลูกเป็นลม หมดสติ รับมืออย่างไร เด็กหน้ามืดจะเป็นอันตรายไหม?

  • ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง

    ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง

app info
get app banner
  • เด็กกระดูกหัก รับมืออย่างไร ลูกเล่นซนจนกระดูกหักรักษานานไหม?

    เด็กกระดูกหัก รับมืออย่างไร ลูกเล่นซนจนกระดูกหักรักษานานไหม?

  • ลูกเป็นลม หมดสติ รับมืออย่างไร เด็กหน้ามืดจะเป็นอันตรายไหม?

    ลูกเป็นลม หมดสติ รับมืออย่างไร เด็กหน้ามืดจะเป็นอันตรายไหม?

  • ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง

    ทำความเข้าใจ Baby Blue ทำไมหลังคลอด คุณแม่ไม่ร่าเริง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ