โอเมก้า 6 อันตรายต่อคนท้องจริงหรือไม่ ? แม่ท้องควรระวัง กันไว้ดีกว่าแก้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สารอาหารอย่าง โอเมก้า 6 หนึ่งในกรดไขมันที่เรามักจะได้ยินว่าเป็นส่วนผสมหนึ่งของผลิตภัณฑ์นมต่าง ๆ มาดูกันดีกว่าความจริงแล้ว โอเมก้า 6 นั้นดีจริงหรือไม่ และมีผลกระทบอะไรต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ หรือทารกหรือเปล่า เพื่อที่จะได้รู้เท่าทันก่อนที่จะรับประทาน ไปดูกัน

 

กรดไขมัน โอเมก้า 6 คืออะไร ?

โอเมก้า 6 หรือ Omega-6  เป็นไขมันอิ่มตัวชนิดหนึ่งที่พบในน้ำมันพืช ถั่ว และเมล็ดพืช หากทานในปริมาณที่เหมาะสมนั้นสามารถทดแทนไขมันอิ่มตัวที่พบในสัตว์และผลิตภัณฑ์นมได้ สำหรับผู้ที่ทานมังสวิรัติ โดยร่างกายของมนุษย์เรานั้นไม่สามารถสร้างกรดไขมันโอเมก้า 6 ได้ เช่นเดียวกับกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งทั้งสองจัดอยู่ในประเภทกรดไขมันที่จำเป็น (EFA) และอยู่ในกลุ่มของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (PUFAs) นั่นเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง : โอเมก้า 3 ดีต่อคุณแม่และทารกในครรภ์อย่างไร? พบในอาหารประเภทไหน?

 

ร่างกายของเราต้องการโอเมก้า 6 มากแค่ไหน?

สำหรับการรับประทานโอเมก้า 6 นั้นปริมาณในการทานเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากกรดไขมันโอเมก้า 6 เป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนจึงต้องเลือกรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้

  • ผู้หญิงอายุ 19-50 ปี ควรบริโภค 12 กรัมต่อวัน
  • ผู้ชายอายุ 19-50 ปี ควรบริโภค 17 กรัมต่อวัน
  • ผู้หญิงอายุ 51 ปีขึ้นไป ควรบริโภค 11 กรัมต่อวัน
  • ผู้ชายอายุ 51 ปีขึ้นไป ควรบริโภค 14 กรัมต่อวัน

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาหารใดบ้างที่มีกรดโอเมก้า 6

เนื่องจากร่างกายของเราไม่สามารถสร้างโอเมก้า 6 ได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นจะต้องรับประทานอาหารเพื่อให้ได้รับโอเมก้า 6 รวมถึงกรดไลโนเลอิกที่พบในกรดไขมันโอเมก้า 6 และ 3 ด้วย มาดูกันดีกว่าอาหารประเภทไหนบ้างที่มีโอเมก้า 6

  • วอลนัต

พืชตระกูลถั่วที่เป็นที่นิยม และอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญ อาทิ ไฟเบอร์ และแร่ธาตุต่าง ๆ อย่าง แมงกานีส ทองแดง ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม และกรดไขมันโอเมก้า 6

  • น้ำมันดอกคำฝอย

น้ำมันดอกคำฝอย เป็นน้ำมันสำหรับปรุงอาหารประเภทผัด และยังสามารถใช้ประกอบอาหารอย่างอื่นได้ อาทิ ขนมอบ น้ำสลัด และซอสต่าง ๆ โดยน้ำมันดอกคำฝอยนั้นมีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูง หรือมีปริมาณโอเมก้า 6 สู้งนั่นเอง

  • เต้าหู้

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากถั่วเหลืองที่ให้สารอาหารสำคัญหลายชนิด โดยเต้าหู้นั้นอุดมไปด้วยโปรตีน ธาตุเหล็ก แคลเซียม แมงกานีส และโอเมก้า 6

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : เต้าหู้สุดยอดอาหารสำหรับเด็ก จริงเหรอ? กินได้ตั้งแต่เล็กจนโต

 

 

  • เมล็ดทานตะวัน

เมล็ดทานตะวันถือเป็นเมล็ดพืชชนิดหนึ่งที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญต่าง ๆ รวมถึงมีวิตามินอี และซีลีเนียมที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ป้องกันความเสียหายของเซลล์ การอักเสบ และโรคเรื้อรังได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • เนยถั่ว

ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากถั่วลิสง ที่อุดมไปด้วยโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ และสารอาหารอื่น ๆ เช่น ไนอาซิน แมงกานีส วิตามินเอ แมกนีเซียม และโอเมก้า 6 ที่พบในพืชตระกูลถั่ว

  • เม็ดมะม่วงหิมพานต์

พืชตระกูลถั่วอีกชนิดหนึ่งที่อุดมไปด้วยทองแดง แมกนีเซียม และฟอสฟอรัส และวิตามินอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่แล้วพืชตระกูลถั่วส่วนใหญ่มักมีส่วนผสมของไขมันอิ่มตัวอย่างโอเมก้า 3 และ 6 อยู่ด้วยเช่นกัน

  • ไข่

แหล่งรวมของสารอาหารที่จะขาดไม่ได้ เพราะนอกจากจะมีโปรตีน ซีลีเนียม ไรโบฟลาวิน และวิตามินอื่น ๆ แล้วยังอุดมไปด้วยโอเมก้า 6 เรียกได้ว่าทานอย่างเดียวได้ครบเกือบทุกสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเลยทีเดียว

 

สิ่งที่คุณเข้าใจผิดเกี่ยวกับกรดไขมันโอเมก้า 6

 

1. โอเมก้า 6 ไม่ได้ช่วยเรื่องโรคหัวใจ

การรับประทานโอเมก้า 6 หรือการได้รับในปริมาณที่สูงนั้นไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ หรืออาการไม่พึงประสงค์ของความเสี่ยงเกี่ยวกับหัวใจได้ นอกจากนี้ในบางกรณีโอเมก้า 6 ชนิดต่าง ๆ อาจส่งผลต่อหัวใจและหลอดเลือดและทำให้เกิดความเสี่ยงต่าง ๆ เสียมากกว่า

 

2. ไม่สามารถป้องกันโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งได้

นอกจากโอเมก้า 6 จะไม่ได้ช่วยเสริมพัฒนาการทางสมองของทารกแล้ว อีกหนึ่งที่คนมักเข้าใจผิดคือกรดไขมันโอเมก้า 6 ไม่สามารถป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) หรือโรคเอ็มเอส (MS) ได้เช่นกัน

 

3. ไม่ได้ช่วยให้อาการสมาธิสั้นดีขึ้น

โรคสมาธิสั้น หรือ ADHD : Attention Deficit Hyperactivity Disorder นั้นไม่ได้สามารถรักษา หรือเยียวยาได้ด้วยการทานอาหารเสริมกรดโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ร่วมกันวันละ 2 ครั้งเป็นเวลาติดต่อกัน 3-6 ได้

 

4. ไม่ได้ช่วยเสริมพัฒนาการของทารก

การรับประทานโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 หรือที่เรียกว่า โดโคซาเฮกซาอีโนอิก (Docosahexaenoic acid : DHA) ในนมผงสำหรับทารก และในช่วงของการตั้งครรภ์นั้นไม่ได้ช่วยให้พัฒนาการทางสมอง การมองเห็น หรือการเจริญเติบโตของทารกนั้นดีขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง : DHA ดีต่อคนท้องอย่างไร? ช่วยเสริมให้ทารกในครรภ์ฉลาดจริงหรือไม่

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

5. ไม่ได้ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเปลือกตาอักเสบ

ผู้ที่รับประทานกรดไขมันโอเมก้า 6 ในปริมาณที่เหมาะสมพอดีนั้นสามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเปลือกตาอักเสบได้ แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานในปริมาณที่มากจนเกินไปอาจไม่ได้ส่งผลต่อการเกิดโรค โดยการเสริมโอเมก้า 6 นั้นเพียงแค่ช่วยให้อาการอักเสบต่าง ๆ ดีขึ้นได้เท่านั้น

 

6. ไม่ได้ช่วยเรื่องโรค DCD ในเด็ก

ความบกพร่องในการประสานสัมพันธ์ของร่างกาย หรือ Developmental Coordination Disorder (DCD) ในเด็กนั้นไม่สามารถรักษาได้ด้วยการรับประทานกรดไขมันโอเมก้า 6 และ 3 ร่วมกันเป็นเวลาติดต่อกันได้ เพียงแต่สามารถปรับปรุงในเรื่องของการอ่าน การสะกดคำ และพฤติกรรมบางอย่างได้

 

7. ไม่ลดความเสี่ยงการเป็นเบาหวาน

ผู้ที่มีปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 6 ในร่างกายสูงกว่าคนปกติทั่วไปนั้นมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคเบาหวานน้อยกว่าคนที่มีประมาณต่ำ แต่การได้รับโอเมก้า 6 ในจำนวนที่มากขึ้นจากอาหารเสริม หรือการรับประทานอาหารนั้นไม่ได้ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคเบาหวาน

 

8. ลดความเสี่ยงความดันโลหิตสูง

คนที่มีสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ที่มีการรับประทานอาหารเสริมโอเมก้า 6 ในปริมาณที่มากนั้นมีความเสี่ยงต่อการเกิดความดันโลหิตสูงน้อยลง แต่การบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 6 ของผู้ที่เป็นโรคเบาหวานนั้นอาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของความดันโลหิตที่สูงมากขึ้น

 

9. ไม่มีส่วนช่วยเรื่องความจำเสื่อม

โรคความจำเสื่อม และทักษะการคิดการตัดสินใจช้านั้นมักจะเกิดขึ้นตามวัยของมนุษย์ จากผลการวิจัยหนึ่งพบว่าการรับประทานโอเมก้า 6 ในปริมาณที่มากกว่าที่มีในอาหารนั้น ไม่สามารถช่วยป้องกัน หรือชะลอโรคความจำเสื่อมได้

 

 

ผลข้างเคียงของโอเมก้า 6 ในคนท้องและทารกคืออะไร?

ไม่ใช่ว่าการทานกรดไขมันโอเมก้า 6 นั้นจะปลอดภัยหรือไม่ปลอดภัย แต่ทุกอย่างย่อมมีผลข้างเคียง โดยปกติแล้วเรามักจะได้รับโอเมก้า 6 นั้นเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่เรารับประทานต่อวันอยู่แล้วประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ของแคลอรีต่อวัน ซึ่งหากมีร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ หรืออยู่ในช่วงของการให้นมบุตรนั้นได้รับปริมาณกรดไขมันโอเมก้า 6 มากจนเกินไปนั้นอาจส่งผลต่อทารก ดังต่อไปนี้

 

  • ทารกตัวเล็ก : หรือน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์เมื่อคลอด หรือทารกอาจเป็นโรคผิวหนังอักเสบได้
  • โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง : (Chronic Obstructive Pulmonary Disease : COPD) กรดไขมันโอเมก้า 6 อาจทำให้หายใจลำบากขึ้น หากคุณแม่หรือทารกมีอาการของโรคดังกล่าวไม่ควรรับประทานอาหารเสริมเด็ดขาด
  • โรคเบาหวาน : การบริโภคโอเมก้า 6 ในปริมาณมากในอาหารนั้นสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดความดันโลหิตสูงในผู้ป่วย หรือคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานได้
  • ไตรกลีเซอไรด์สูง : หากคุณเป็นคนที่มีค่าไตรกลีเซอไรด์สูงอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากโอเมก้า 6 จะทำให้มีค่าสูงขึ้นไปอีก

 

 

ถึงอย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าโอเมก้า 6 นั้นจะเป็นอันตรายต่อร่างกายเพียงอย่างเดียว ในทางกลับกันหากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสมก็มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราได้เช่นกัน แต่ถึงอย่างไรก็ตามสำหรับคุณแม่ที่กำลังต้องการทานอาหารเสริมโอเมก้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โอเมก้า 3 หรือโอเมก้า 6 ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัยของตนเอง และทารกในครรภ์นะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ประโยชน์ของแมกนีเซียม ดีต่อคนท้องอย่างไร ? ส่งผลต่อทารกอย่างไรบ้าง

แมงกานีส ทำไมคนท้องต้องกิน ดีอย่างไร หาทานได้จากอาหารชนิดไหนบ้าง

วิตามินบี 1 ขาดแล้วอาจเสียชีวิตจริงไหม แล้วดีต่อแม่ท้องอย่างไร?

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวกับโอเมก้า 6 ได้ที่นี่ !

โอเมก้า 6 คืออะไรคะ พบได้ในอาหารประเภทไหนบ้าง

ที่มา : webmd, nutricia, rxlist, mayoclinic, healthline

บทความโดย

Siriluck Chanakit