NAS หรือ Neonatal Abstinence Syndrome คือ การที่ทารกแรกเกิดมีอาการขาดยา ไม่ใช่โรคใหม่ค่ะ แถมยังเป็นที่พูดถึงกันพอๆ กับซิก้าด้วยซ้ำ สาเหตุของอาการนี้โดยปกตินั้นมาจากคุณแม่ที่ใช่สารเสพติดประเภทเฮโรอีนระหว่างการตั้งครรภ์ และการใช้ยาบรรเทาอาการปวดหรือยาแก้ปวด
NAS ค่อนข้าง MASS เหมือนกัน
ในประเทศอเมริกา อัตราการเกิดของโรคนี้สูงที่สุด จาก 1.5 ต่อ 1000 ในปี 1999 เป็น 6.0 ในปี 2013 และสูงที่สุดในเวอร์มอนท์ เวสท์ เวอร์จิเนีย และเมน ซึ่งมากกว่าเด็กที่เกิดมาเป็นออทิสติกถึง 2 เท่าเดียวกัน โดยเด็กๆ จะเป็น 30 ใน 1,000 คน โดยอาการขาดยาจะเกิดขึ้นหลังจากที่เด็กคลอดออกมาแล้วเพียงไม่กี่นาที และอาจเป็นต่อเนื่องจนถึงอายุ 14 วัน หรืออาจจะเป็นแค่ 3 วันก็ได้ ซึ่งอาการดังกล่าวมีทั้งที่แสดงอาการอย่างหนักจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตจากการชักได้
โรค NAS จะทำให้ลูก…
- มีไข้
- อาเจียน
- ท้องเสีย ท้องร่วง
- มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย
- กระสับกระส่าย งอแง
- เกิดอาการชัก
แม้จะยังไม่มีการเก็บข้อมูลบ่งชี้ที่ครอบคลุมว่าในระยะยาว เด็กทารกที่เคยเป็น NAS ส่งผลต่อเรื่องอะไรบ้างเมื่อโตขึ้น แต่สิ่งที่พบได้บ่อยคือ
- มีปัญหาด้านกระบวนการรับรู้ กระบวนการคิด และสุขภาพจิต
- พัฒนาการช้า
- บกพร่องทางด้านการเรียนรู้
- ความรู้สีกยึดติดกับสิ่งต่างๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว
ต้นตอของปัญหาคือโรคเสพติดยาของคุณแม่
ซึ่งทำให้ภาครัฐและสังคมสงเคราะห์สูญเสียค่าใช้จ่ายไปกับเรื่องนี้เพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากคนอเมริกัน 9 ใน 10 กินยาแก้ปวดเป็นประจำ หลายหน่วยงานพยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งจากการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์ ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์โดยใช้ยาแก้ปวด พวกเธอให้สัมภาษณ์ว่า เธอยินดีสละชีวิตของเธอเพื่อลูกโดยไม่ลังเล แต่เธอทำไม่ได้ถ้าจะไม่กินยาพวกนี้ มันไม่เกี่ยวว่าเธอไม่รักลูก หรือไม่มีทางเลือก หรือเธอไม่เข้มแข็งพอ แต่มันเป็นโรคๆ นึง
จากงานวิจัยชิ้นล่าสุดเมื่อเดือนมีนาคมปี 2016 ที่ใช้เวลาวิจัยถึง 5 ปีด้วยกัน ได้ทำการล้างพิษที่ตกค้างคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ พบว่าสามารถลดอัตราการเกิด NAS ลงได้ และเห็นผลดีขึ้นอีกเมื่อทำควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรมของเด็กๆ เป็นอีกหนึ่งความหวังที่ยิงปืนนัดเดียวได้นกเป็นฝูง เพราะนอกจากจะทำให้เด็กทำนวนมากไม่ต้องทนทนมานกับ NAS แล้ว คุณแม่ยังได้รับการบำบัดจนทำให้ใช้ชีวิตได้ปกติ ไม่จำเป็นต้องพึ่งยา ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม และสิ่งที่กระทบเป็นวงกว้างนั้นคือ งบของรัฐบาลที่ไม่ต้องสูญเสียไปกับโรคนี้อีกต่อไป
แต่ทางป้องกันที่ดีที่สุด คือการวางแผนมีลูกค่ะ เพราะคุณแม่ต้องผ่านขั้นตอนการเตรียมตัว ตรวจสุขภาพ และได้รับการอบรมการเลี้ยงลูกและปฐมพยาบาลที่ถูกต้องค่ะ
ที่มา huffingtonpost.com
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด ป้องกันได้ไหม?
โรคลิ้นหัวใจรั่วในทารกแรกเกิด โรคที่พ่อแม่ควรรู้จัก
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!