ภาวะมีบุตรยากในชาย หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้หญิงไม่ยอมท้อง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ปัญหาการมีบุตรยาก เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้หลายคู่เลิกรากัน หลายคนอาจเข้าใจว่าการที่มีลูกยากนั้นเกิดจากผู้หญิงเพียงฝ่ายเดียว แต่รู้หรือไม่ว่า ภาวะมีบุตรยากในชาย ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ฝ่ายหญิงไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ ซึ่งปัจจุบันก็มีวิธีรักษาที่ปลอดภัยที่จะช่วยเพิ่มโอกาสของการมีลูก วันนี้เราจะพาไปดูสาเหตุของการมีบุตรยากในเพศชาย พร้อมวิธีการป้องกันภาวะนี้ค่ะ

 

ภาวะมีบุตรยากในชาย คืออะไร

ภาวะมีบุตรยากในเพศชาย คือ การที่ผู้ชายไม่สามารถทำให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ได้สำเร็จ หรือมีคุณภาพของสเปิร์มต่ำกว่าที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ ซึ่งงานวิจัยได้เผยว่าสาเหตุที่มีบุตรยากในเพศชายนั้นสูงถึง 20-50% โดยสาเหตุที่พบมากที่สุดคือการมีคุณภาพของสเปิร์มผิดปกติ

หลายคนมักมองว่าภาวะมีบุตรยากในเพศชายนั้นเกิดขึ้นได้ยาก และมักจะไปสนใจฝ่ายหญิงมากกว่า ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด และเกิดปัญหาการมีลูกยากรวมถึงปัญหาชีวิตคู่ตามมา ดังนั้น หากเรารู้ว่าสาเหตุของการมีบุตรยากในเพศชายเกิดจากอะไร ก็จะช่วยให้สามารถวางแผนการมีบุตรได้ถูกต้อง

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในชาย

การที่ผู้ชายมีลูกยากเกิดจากภาวะเจริญพันธุ์ร่างกาย และการใช้ชีวิตประจำวันที่ส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนเพศ เรามาดูกันว่ามีสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ผู้ชายเกิดภาวะนี้

 

1. มีความผิดปกติทางกายภาพ

ผู้ป่วยบางคนอาจมีความผิดปกติทางกายภาพ เช่น เส้นเลือดขอด อัณฑะไม่ลงถุง หรือการอุดตันที่ท่อนำอสุจิ เป็นต้น ซึ่งความผิดปกติเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้มีบุตรยาก เพราะทำให้ร่างกายผลิตอสุจิในปริมาณน้อย และไม่สามารถหลั่งอสุจิออกได้ตามปกติ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

2. เกิดจากการทำงานผิดปกติของต่อมใต้สมอง

หน้าที่ของต่อมใต้สมองมีความสำคัญต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศชายเป็นอย่างมาก เพราะจะหลั่งฮอร์โมน FSH, LH และ Prolactin ออกมา หากต่อมใต้สมองทำงานผิดปกติ ก็จะส่งผลให้การทำงานของฮอร์โมนเพศชายผิดปกติไปด้วย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ต่อมใต้สมองทำงานผิดปกตินั้น เกิดจาก Kallmann Syndrome หรือ Hyperprolactinemia เป็นต้น อีกทั้งยังส่งผลให้ผู้ชายไม่มีอารมณ์ทางเพศ หรือเกิดภาวะนกเขาไม่ขันอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : อยากท้องทำไงดี ทำไมถึงมีลูกยาก เคลียร์ทุกปัญหาคาใจ พร้อมวิธีแก้ไข

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

3. การใช้ชีวิตประจำวัน

ทราบหรือไม่คะว่าการใช้ชีวิตประจำวัน ย่อมส่งผลต่อการเจริญพันธุ์ของผู้ชายด้วย เพราะพฤติกรรมบางอย่างจะส่งผลเสียต่อการเจริญพันธุ์ และทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก เช่น การสูบบุหรี่ที่ส่งผลต่อ DNA ของสเปิร์มโดยตรง การใช้สารเสพติด การรับประทานอาหารบางชนิด โดยเฉพาะอาหารในกลุ่มไขมันทรานส์ ความเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงความร้อนบริเวณถุงอัณฑะ

 

4. สภาพสิ่งแวดล้อม

อีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก คือ สภาพสิ่งแวดล้อม เพราะสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีย่อมส่งผลกระทบต่อการสร้างสเปิร์มและคุณภาพของสเปิร์ม เช่น สาร BPA/Phthalates ยาฆ่าแมลง รังสี และสารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่มีผลต่อการสร้างสเปิร์มและคุณภาพของสเปิร์มนั่นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

5. การสร้างสเปิร์ม

การสร้างสเปิร์มน้อย หรือสเปิร์มที่ไม่มีคุณภาพ มักเกิดจากสาเหตุที่ไม่แน่ชัด แต่เมื่อปริมาณของสเปิร์มหรือคุณภาพของสเปิร์มมีปัญหา ก็อาจเกี่ยวข้องกับความผิดปกติด้านอื่นด้วย เช่น ความผิดปกติของการสร้างน้ำอสุจิ ความผิดปกติของการเดินทางของน้ำอสุจิ และการทำงานของฮอร์โมนเพศผิดปกติ เป็นต้น

 

 

6. การติดเชื้อจากโรค

การติดเชื้อจากโรคบางชนิด อาจทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในเพศชายได้ เช่น การติดเชื้อที่ถุงอัณฑะ การติดเชื้อที่ทางเดินท่ออสุจิ การติดเชื้อคางทูม และการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น

 

7. การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์

นอกจากการติดเชื้อจากโรคแล้ว การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ก็ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น HPV ซิฟิลิส พยาธิในช่องคลอด โรคคลามีเดีย โรคหนองใน และโรคเริม การติดเชื้อเหล่านี้อาจไม่แสดงอาการใด ๆ อาจต้องตรวจโดยแพทย์ก่อนถึงจะสามารถตรวจเจอได้

 

8. การได้รับเคมีบำบัด

การใช้ยาเคมีบำบัดบางชนิด ส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากในเพศชายได้เช่นกัน เช่น ยา Cisplatin, Procarbazine, Cyclophosphamide และ Ifosfamide รวมถึงยาบางชนิดที่ส่งผลเสียแก่ร่างกาย เช่น 5-fluorucil, Bleomycin และ Methorexate เป็นต้น

 

9. โรคประจำตัว

ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางชนิด ก็อาจมีภาวะมีบุตรยากได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ โรคเม็ดเลือดขาวรูปเคียว หรือโรคตับ เป็นต้น เพราะโรคเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์โดยตรง

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

บทความที่เกี่ยวข้อง : เส้นเลือดขอดในถุงอัณฑะ ของคุณผู้ชาย อีกปัจจัยทำให้ มีลูกยาก

 

 

การตรวจวินิจฉัย

การตรวจวินิจฉัยภาวะมีบุตรในชาย จะเริ่มด้วยการซักประวัติการรักษา และการตรวจร่างกายของผู้ป่วย อาจมีการตรวจเลือดเพื่อดูความผิดปกติของฮอร์โมนและโรคอื่น ๆ แล้วส่งตรวจทางรังสีวินิจฉัย นอกจากนี้ ยังมีการเก็บตัวอย่างน้ำอสุจิเพื่อนำมาตรวจสอบปริมาณน้ำอสุจิและความสามารถในการเคลื่อนไหวของอสุจิ วิธีการตรวจดังกล่าวนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสม

 

การรักษาภาวะมีบุตรยากในชาย

การรักษาภาวะมีบุตรยากในเพศชายมีอยู่หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคู่สามีภรรยาประมาณ 15-20% สามารถตั้งครรภ์ได้เลยโดยไม่ต้องรักษาใด ๆ แต่สำหรับผู้ชายที่มีภาวะมีบุตรยากนั้น อาจต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • ทำเด็กหลอดแก้วหรือ ICSI
  • เข้ารับการบำบัดในด้านฮอร์โมน
  • รักษาอาการเส้นเลือดของที่ลูกอัณฑะ
  • ผ่าตัดการทำหมันแบบผูก ด้วยการเชื่อมท่อนำเชื้ออสุจิ
  • ใช้วิตามินกลุ่มต้านอนุมูลอิสระเพื่อเพิ่มคุณภาพของสเปิร์ม
  • รักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศด้วยยาหรือการผ่าตัด

บทความที่เกี่ยวข้อง : 7 อาหารบำรุงสามีสำหรับคนอยากมีลูก ให้ปึ๋งปั๋งตลอดเวลา

 

 

การป้องกันภาวะมีบุตรยากในชาย

เพื่อป้องกันภาวะมีบุตรยาก เราสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างเพื่อป้องกันภาวะนี้ โดยอาจใช้วิธีการปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

  • ตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ
  • เข้ารับการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • รับประทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริมไลโคปีน
  • หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนหรือแช่น้ำร้อนนาน ๆ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งมีพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันลูกอัณฑะขณะออกกำลังกาย
  • สวมใส่กางเกงที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป เช่น บ็อกเซอร์
  • งดการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่จำกัด
  • รับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิกอย่างเพียงพอ และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

 

ภาวะมีบุตรยากในชาย เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เพราะฉะนั้นหากคุณมีแนวโน้มมีบุตรยาก ควรเข้ารับการตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุใด เพื่อจะได้เข้ารับการรักษาที่เหมาะสมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง ก็จะช่วยป้องกันและเพิ่มโอกาสของการมีบุตรในอนาคตได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

5 เคล็ดลับ เปลี่ยนฮวงจุ้ยคุณแม่มีลูกยาก เปลี่ยนปุ๊บท้องปั๊บ

10 สิ่งที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ และ พฤติกรรมที่ทำให้มีลูกยาก

การฉีดน้ำเชื้อ เข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง (IUI) ทางเลือกการรักษาภาวะมีลูกยาก

ที่มา : drnoithefamily, bumrungrad, nakornthon

บทความโดย

Sittikorn Klanarong