ผู้หญิงหลายคนอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาหลาย ๆ อย่างเวลารับประทานยาคุม ไม่ว่าจะเป็นสิวขึ้น น้ำหนักขึ้น และอารมณ์แปรปรวน จนทำให้รู้สึกหงุดหงิด กังวลใจจนไม่อยากรับประทานยาคุมกำเนิด ไม่ต้องกังวลค่ะ วันนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จัก ยาคุมฮอร์โมนต่ำ ทางเลือกของสาว ๆ ยุคใหม่ที่ช่วยลดผลข้างเคียงได้ดีกว่ายาคุมแบบปกติ ว่าแต่จะเป็นยังไง ไปดูพร้อมกันเลยค่ะ
ยาคุมฮอร์โมนต่ำ คืออะไร?
ยาคุมฮอร์โมนต่ำ คือ ยาคุมกำเนิดที่มีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจนน้อยกว่ายาคุมกำเนิดแบบปกติ ซึ่งในตัวยาคุมฮอร์โมนต่ำนั้น อาจมีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจนเพียง 20 ไมโครกรัม หรือน้อยกว่านั้น โดยเมื่อเทียบกับยาคุมแบบปกติจะมีส่วนผสมของฮอร์โมนเอสโตรเจนประมาณ 30-50 ไมโครกรัม นอกจากนี้ยาคุมฮอร์โมนต่ำ ยังสามารถช่วยลดผลข้างเคียงได้ดีกว่ายาคุมกำเนิดแบบปกติ เช่น คลื่นไส้ ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก หรือโอกาสในการเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่เป็นอันตรายต่อชีวิต
ยาคุมฮอร์โมนต่ำให้ประสิทธิภาพเท่ายาคุมแบบปกติไหม?
ยาคุมฮอร์โมนต่ำ มีส่วนประกอบของฮอร์โมนสังเคราะห์โปรเจสเตอโรนตัวใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใส่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนน้อยลง เพื่อช่วยในการลดอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น ปวดศีรษะ เจ็บเต้านม รับประทานแล้วไม่อ้วน และยังให้ประสิทธิภาพอื่น ๆ เช่น ช่วยให้ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ ลดโอกาสในการเกิดมะเร็งไข่ ลดการปวดท้อง และยังให้ประสิทธิภาพเทียบเท่ายาคุมแบบปกติอีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง : ยาคุมลดสิว ยาคุมรักษาสิว ยาปรับฮอร์โมนลดสิว ช่วยได้จริงหรือ?
ข้อดีของยาคุมฮอร์โมนต่ำ
ยาคุมฮอร์โมนต่ำช่วยลดผลข้างเคียงได้ดีกว่ายาคุมแบบปกติ โดยสามารถช่วยลดผลข้างเคียง ได้ดังนี้
- ช่วยลดผิวมัน
- ช่วยลดอาการบวมน้ำ
- ลดโอกาสในการเกิดสิว
- ลดการแปรปรวนของฮอร์โมนเพศ
- ช่วยให้ประจำเดือนมาอย่างสม่ำเสมอ
- ป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์
- ให้ผลข้างเคียงที่น้อยกว่ายาคุมแบบปกติ
- ลดอาการปวดประจำเดือน และอาการอื่น ๆ ก่อนมีประจำเดือน
- ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ ชีสต์รังไข่ และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
ยาคุมฮอร์โมนต่ำมียี่ห้ออะไรบ้าง?
- Apri
- Aviane
- Levlen 21
- Levora
- Lo Loestrin Fe
- Lo/Ovral
- Ortho-Novum
- Yasmin
- Yaz
วิธีการใช้ยาคุมฮอร์โมนต่ำ
ในการรับประทานยาคุมฮอร์โมนต่ำ ผู้ใช้ควรรับประทานยาคุมติดต่อกันเป็นเวลา 21 วัน โดยจะเริ่มรับประทานยาคุมกำเนิดฮอร์โมนในช่วงวันที่ 1-5 ของรอบเดือน จากนั้นจึงรับประทานวันละ 1 เม็ดในเวลาเดียวกันทุกวัน โดยผู้ใช้ควรรับประทานก่อนนอน โดยกินจนครบ 21 เม็ด แล้วค่อยหยุดยาเป็น 7 วัน ซึ่งในช่วงที่หยุดยานั้น อาจมีอาการประจำเดือน แม้ว่าจะเป็นผู้ที่กำลังมีประจำเดือนอยู่ หรือหมดประจำเดือนแล้วก็ตาม เมื่อครบ 7 วันแล้ว ผู้ใช้สามารถรับประทานยาคุมฮอร์โมนต่ำต่อได้เลยค่ะ
ข้อควรระวังในการรับประทานยาคุมฮอร์โมนต่ำ
ในการรับประทานยาคุมฮอร์โมนต่ำ ผู้ใช้ควรระวังอาการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- คลื่นไส้ อาเจียน
- น้ำหนักเพิ่มขึ้น
- คัดเต้านม
- ความดันโลหิตสูง
- ท้องอืด
- ประจำเดือนไม่มาเป็นปกติ
- เลือดออกจากช่องคลอด
- อารมณ์แปรปรวน
- สำหรับแม่ให้นมอาจผลิตน้ำนมได้น้อยลง
- เวียนหัว ปวดศีรษะ
- มีปัญหาด้านสุขภาพ เช่น หัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง และลิ่มเลือดอุดตัน
อย่างไรก็ตาม อาการต่าง ๆ เหล่านี้อาจขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล สำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านม โรคตับ โรคไมเกรน โรคเส้นเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน ผู้หญิงที่มีอายุ 35 ปีขึ้น และคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานยาคุมกำเนิดฮอร์โมนแบบรวม
บทความที่เกี่ยวข้อง : กินยาคุมฉุกเฉินบ่อย มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง กินบ่อยไปแล้วควรทำอย่างไร ?
เมื่อไหร่ที่ควรเปลี่ยนไปใช้ยาคุมฮอร์โมนต่ำ?
ผู้หญิงหลายคนอาจลองผิดลองถูกในการเลือกใช้ยาคุมกำเนิด ดังนั้นจึงเป็นเรื่องปกติที่จะลองรับประทานยาคุมฮอร์โมนต่ำหลาย ๆ ยี่ห้อ ก่อนจะหาตัวยาที่ใช่ที่สุดค่ะ ผู้ใช้ยาคุมสามารถปรึกษากับแพทย์ และเภสัชกรก่อนเปลี่ยนไปทานยาคุมฮอร์โมนต่ำ เพราะอาจมีผลข้างเคียงต่าง ๆ ตามมาได้ โดยผู้ที่เหมาะสำหรับการใช้ยาคุมฮอร์โมนต่ำ มีดังนี้
- ผู้ที่มีอาการไมเกรน
- ผู้ที่สูบบุหรี่ในช่วงรับประทานยาคุมกำเนิด
- ผู้ที่มีอาการสิวขึ้น น้ำหนักขึ้น อารมณ์แปรปรวน ขณะรับประทานยาคุมแบบปกติ
- ผู้ที่มีผลข้างเคียง เช่น อาการปวดท้อง ประจำเดือนมาผิดปกติ และอาการอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ยาคุมฮอร์โมนต่ำ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับสาว ๆ ยุคใหม่ที่กำลังมองหายาคุมกำเนิดที่ส่งผลข้างเคียงน้อย ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดบวม ช่วยลดสิว หรือช่วยปรับอารมณ์ไม่ให้แปรปรวน และอาการแบบอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม การรับประทานยาคุมชนิดนี้ ผู้ใช้ควรปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรทุกครั้ง เพราะผู้ใช้บางกลุ่ม อาจมีโรคประจำตัว หรืออาการอื่น ๆ ที่หากรับประทานไปแล้วก็เป็นอันตรายต่อร่างกายได้
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาคุมกำเนิด ที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม
ยาคุมแบบแปะ สามารถคุมกำเนิดได้จริง หรือแค่ราคาคุย
ยาคุมกำเนิดแบบฉีด อีกหนึ่งทางเลือกป้องกันการตั้งครรภ์ที่ได้ผลดี!
ยาคุม28เม็ด ข้อควรรู้สำหรับสาวๆ ต้องทานอย่างไร ทำไมจึงทานเยอะกว่า?
ที่มา : hellokhunmor, healthline, medicalnewstoday