X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคข้อเข่าเสื่อม อาการเป็นอย่างไร วิธีดูแล ป้องกัน และรักษาโรค

บทความ 5 นาที
โรคข้อเข่าเสื่อม อาการเป็นอย่างไร วิธีดูแล ป้องกัน และรักษาโรค

ลุกแล้ว เจ็บ นั่งแล้วเจ็บ เข่างอเมื่อไหร่เป็นอันต้องเจ็บ! สัญญาณแบบนี้ อย่านิ่งนอนใจ เพราะคุณอาจกำลังเป็น “โรคข้อเข่าเสื่อม” โรคนี้ไม่ใช่ว่าจะเกิดในผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ใคร ๆ ก็มีโอกาสเป็นได้ มาดูปัจจัยเสี่ยง อาการ และวิธีการรักษาโรคนี้ไปพร้อม ๆ กัน

 

โรคข้อเข่าเสื่อมคืออะไร?

โรคข้อเข่าเสื่อม เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมสภาพของกระดูก ซึ่งสาเหตุสำคัญ คือ เรื่องของอายุ ที่พบได้มากในวัยกลางคน ไปจนถึงผู้สูงอายุ หากไม่ได้รับการรักษา โรคนี้อาจเกิดเป็นโรคเรื้อรัง ทำให้เมื่อเคลื่อนไหว อาจเกิดความเจ็บปวด และเมื่อเคลื่อนไหวมาก ๆ จะเกิดการเสียดสี ทำให้เข่าสึก กร่อน รู้สึกฝืดที่ข้อเข่า ทำให้เข่าผิดรูปได้ มีผลอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

โรคข้อเข่าเสื่อม

 

สาเหตุของการเกิดข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม (Knee Osteoarthritis) เกิดจากกระดูกอ่อนของผิวข้อ เกิดการเสื่อม ทั้งในด้านของรูปร่าง การทำงานของกระดูกข้อต่อ โครงสร้างกระดูก และกระดูกต่าง ๆ บริเวณข้อ เกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้

 

หากมีอาการข้อเข่าเสื่อมเรื้อรัง กระดูกจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ แต่จะเกิดเป็นกระดูกขรุขระภายในข้อ ทำให้เมื่อเคลื่อนไหว จะมีการติดขัด และมีเสียง ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง จนมีอาการรุนแรง จะทำให้แนวแกนขาผิดปกติ อาจทำให้ขาโก่ง และทำให้การรับน้ำหนักของเข่า เกิดการผิดปกติ

 

ปัจจัยเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อม

  • อายุ เมื่อโรคข้อเข่าเสื่อม มีความเสี่ยงในการเกิดขึ้นเมื่อมีอายุที่มากขึ้น โดยความเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้น เมื่ออายุ 40 ปี เป็นต้นไป
  • เพศ โดยผู้หญิง จะมีโอกาสการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม ได้มากกว่าผู้ชาย
  • กรรมพันธุ์ ในผู้ป่วยบางราย อาจมีประวัติของคนในครอบครัวเป็นโรคมาก่อน
  • น้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ทำให้ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ อาจทำให้เกิดเป็นข้อเข่าเสื่อมได้
  • อาการบาดเจ็บ อาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บ จากการออกกำลังกาย อุบัติเหตุ เป็นต้น
  • โรคข้ออักเสบอื่น ๆ อาจทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเก๊าท์ เป็นต้น

โรคข้อเข่าเสื่อม

 

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม

ผู้ป่วยจะรู้สึกได้ เมื่อต้องเคลื่อนไหวร่างกาย หรือทำกิจกรรมต่าง ๆ อาจมีอาการเจ็บ ปวด และรู้สึกฝืดที่ข้อเข่า ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างปกติ รวมไปถึงเมื่อไม่ได้เคลื่อนไหวนาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บได้เช่นกัน นอกจากนี้ สัญญาณของโรคข้อเข่าเสื่อม อาจมีอาการอื่น ๆ ดังนี้

  • ปวดมากเมื่อมีการงอเข่า เช่น นั่งคุกเข่า นั่งพับเพียบ ลุก นั่ง และอาการจะดีขึ้น เมื่อมีการหยุดพัก
  • เมื่อขยับเข่า จะรู้สึกได้ถึงการเสียดสี หรือ มีเสียงเกิดขึ้นในเข่า
  • มีอาการฝืขัดที่บริเวณข้อเข่า โดยเฉพาะเมื่อเคลื่อนไหว หลังจากอยู่นิ่งเป็นเวลานาน
  • ข้อเข่าเกิดการติด ไม่สามารถเหยียดขอเข่าได้
  • กล้ามเนื้อขาลีบ เล็กลง
  • เมื่อข้อเข่าเสื่อมมากขึ้น จะมีอาการขาโก่ง หลวม หรือ มีการเบี้ยว ผิดรูป
  • กดแล้วเจ็บบริเวณข้อเข่า
  • ข้อเข่าอ่อนแรง เสียมวลกล้ามเนื้อ

 

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

  1. ปรับพฤิตกรรมการใช้ชีวิต

  • ควบคุมน้ำหนัก ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยการ ดูแลอาหารการกิน ออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะหากมีน้ำหนักตัวมาก อาจทำให้ข้อเข่าเสื่อมได้
  • บริหารข้อเข่า เพื่อให้ข้อเข่ามีความแข็งแรง โดยการเหยียด ยืดขา เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ให้สามารถพยุงข้อเข่าได้
  • ออกกำลังกาย แต่ให้เลี่ยงกิจกรรมออกกำลังกายที่เพิ่มความเครียดให้กับข้อ โดยให้ออกกำลังกายที่ข้อเข่า ไม่ต้องรับแรงกดดันมาก

 

2. การรักษาทางเลือก

  • การฝังเข็ม เป็นศาสตร์การรักษาตามแพทย์แผนจีน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความสมดุลให้มวลกระดูก และกระตุ้นการสร้างน้ำหล่อเลี้ยง
  • การใช้ครีมยาเฉพาะที่ เพื่อบรรเทาอาการปวด จากอาการข้อเข่าเสื่อม
  • ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะช่วยชะลอการแคบลงของข้อเข่า และลดอาการเจ็บได้

 

3. การใช้ยา

  • ยาแก้ปวด หรือ ยาแก้อักเสบ เช่น ยาอะเซตามิโนเฟน หรือ ไอบูโพรเฟน
  • ฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ ช่วยลดการอักเสบ และความเจ็บปวดได้ แต่ผู้ป่วยควรรับการฉีด ไม่ควรเกิน 3-4 ครั้ง ต่อปีเท่านั้น
  • ฉีดกรดไฮยาลูโรนิก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของน้ำในข้อต่อ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหล่อลื่นในข้อเข่า

 

4. การทำกายภาพบำบัด

เป็นวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วย ได้เรียนรู้วิธีที่ทำให้กล้ามเนื้อข้อเข่า มีความแข็งแรง และช่วยให้เรียนรู้วิธีการเพิ่มความยืดหยุ่น ให้กับข้อต่อ ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดดีขึ้น ปวดน้อยลง และสามารถเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น

 

5. การผ่าตัด

การผ่าตัดในรูแปปต่าง ๆ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาการรักษา การผ่าตัดมี 3 รูปแบบ ดังนี้

  • การผ่าตัดเพื่อให้ผิวข้อเข้ามาชิดกัน (Arthrodesis)
  • การศัลยกรรมเปลี่ยนข้อเข่า (Arthroplasty)
  • การตัดเปลี่ยนแนวกระดูก (Osteotomy)

 

โรคข้อเข่าเสื่อม อาจเกิดได้กับผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงทุกคน ไม่ใช่เพียงผู้สูงอายุเท่านั้น ซึ่งหากใครที่มีปัจจัยเสี่ยง ควรหมั่นสังเกตตนเอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค และหากใครที่กำลังเป็นโรคนี้ หากทำการรักษาด้วยตนเองเบื้องต้นแล้ว แต่ยังไม่หาย ควรไปปรึกษาแพทย์ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

 

ที่มาข้อมูล 1

บทความที่น่าสนใจ :

บทความจากพันธมิตร
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19

โรครูมาตอยด์ ไขข้ออักเสบ สาเหตุ อาการ และวิธีการรักษา

อาหารลดการเกิดโรคข้ออักเสบ อาหารและเครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยง 8 ชนิด

โรคเก๊าท์ หรือโรคข้ออักเสบ พันธุกรรมในเด็กที่ควรระวัง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Waristha Chaithongdee

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • โรคข้อเข่าเสื่อม อาการเป็นอย่างไร วิธีดูแล ป้องกัน และรักษาโรค
แชร์ :
  • เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

    เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

  • อัณฑะค้าง อัณฑะคาช่องท้อง ภาวะผิดปกติในทารกแรกเกิด ควรรักษาก่อน 1 ขวบ

    อัณฑะค้าง อัณฑะคาช่องท้อง ภาวะผิดปกติในทารกแรกเกิด ควรรักษาก่อน 1 ขวบ

  • สาเหตุที่ทำให้เกิด ภาวะไข้ไม่ทราบสาเหตุ คืออะไร มีวิธีการป้องกันหรือไม่?

    สาเหตุที่ทำให้เกิด ภาวะไข้ไม่ทราบสาเหตุ คืออะไร มีวิธีการป้องกันหรือไม่?

  • เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

    เด็กสายตาสั้น ต้องระวัง! อาจเป็นโรคซึมเศร้าและวิตกกังวลโดยไม่รู้ตัว

  • อัณฑะค้าง อัณฑะคาช่องท้อง ภาวะผิดปกติในทารกแรกเกิด ควรรักษาก่อน 1 ขวบ

    อัณฑะค้าง อัณฑะคาช่องท้อง ภาวะผิดปกติในทารกแรกเกิด ควรรักษาก่อน 1 ขวบ

  • สาเหตุที่ทำให้เกิด ภาวะไข้ไม่ทราบสาเหตุ คืออะไร มีวิธีการป้องกันหรือไม่?

    สาเหตุที่ทำให้เกิด ภาวะไข้ไม่ทราบสาเหตุ คืออะไร มีวิธีการป้องกันหรือไม่?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ