ให้ลูกทานยาอย่างไร ถึงจะหายป่วย
เมื่อคุณหมอมี การวินิจฉัยโรคแล้ว สั่งยาให้กลับไปทานที่บ้าน ให้ลูกทานยาอย่างไร คุณพ่อคุณแม่ก็จะต้องเตรียมยา ให้ลูกทานด้วยตนเอง ตามเวลาที่ระบุไว้ในฉลาก บ่อยครั้งที่การเตรียมยา เก็บรักษา หรือวิธีการให้ยา ไม่เป็นไปตามข้อควรปฏิบัติของยา ทำให้ลดประสิทธิภาพของตัวยาลง ส่งผลให้ลูกน้อย ได้รับยาไม่ตรงตามขนาดที่ควรได้ อาการป่วยที่ควรจะดีขึ้น ก็จะยาวนานออกไปครับ
ให้ลูกทานยาอย่างไร ถึงจะหายป่วย
1. การเตรียมยา
ให้ลูกท านยาอย่างไร
ยาในเด็ก มักจะเป็นยาน้ำที่มีตัวยาผสมกับน้ำเชื่อมรสต่าง ๆ เพื่อให้เด็กทานยาได้ง่าย โดยมีขนาดยาเป็นช้อนชา หรือเป็นซีซี ควรใช้ช้อนชาที่ได้รับมาพร้อมกับยาในการวัดปริมาณ หากระบุเป็นซีซี ควรใช้หลอดฉีดยาแบบไม่มีเข็ม ที่มีตัวเลขเป็นซีซีอยู่ข้างหลอด เมื่อรับยาจากเภสัชกร ควรถามขนาดยาให้แน่ใจ และขอรับช้อนหรือ หลอดฉีดยามาด้วยครับ ยาน้ำบางชนิดจะอยู่ในรูปผงยาบรรจุขวดซึ่งต้องเติมน้ำเองก่อน ควรอ่านฉลากว่าต้องเติมปริมาณเท่าใด ซึ่งมักจะมีขีดระบุไว้บนฉลาก
2. การรับประทานยาเม็ด
ให้ลู กทานยาอย่างไร
เมื่อเด็กอายุหรือน้ำหนักมากเกินกว่าที่จะทานยาน้ำ คุณหมอจะจ่ายยาให้เป็นยาเม็ด คุณพ่อคุณแม่อาจจะพบปัญหาเรื่อง ลูกการทานยายาก ทำให้ต้องบดยาเม็ดผสมน้ำหรือผสมในอาหาร โดยเฉพาะยาแคปซูลที่มักมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ทำให้คุณพ่อคุณแม่แก้ปัญหาด้วยการแกะแคปซูล เพื่อนำผงยาออกมาละลายน้ำ ซึ่งวิธีการเหล่านี้ไม่ควรทำในตัวยาหลาย ๆ ชนิดเนื่องจากจะลดประสิทธิภาพของยาลง ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษากับเภสัชกรว่ายาที่ได้รับมาสามารถใช้วิธีการเหล่านี้ได้หรือไม่
3. ยาก่อนอาหาร – หลังอาหาร
ยาก่อนอาหาร มักจะให้ทานก่อนอาหารประมาณ 30 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง เนื่องจาก ยาประเภทนี้อาจถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยลงเมื่อมีอาหารไปรบกวน ส่วนยาหลังอาหาร มักจะให้ทานหลังจากทานอาหารไปแล้ว 15 ถึง 30 นาที ยาบางชนิด มีการระบุช่วงเวลาเป็นพิเศษ ในการทานยา ซึ่งเภสัชกรจะแจ้งให้ทราบ ตอนที่ได้รับยาครับ และไม่ควรผสมยาลงไปในอาหาร หรือนมโดยตรง เมื่อลืมให้ลูกทานยา ไม่ควรให้ทานเป็นสองเท่าในมื้อถัดไป ยาก่อนอาหาร สามารถให้หลังจากทานอาหารได้ เมื่อผ่านไปแล้วสองชั่วโมง ส่วนยาหลังอาหาร ให้ลูกทานขนม หรือของว่างก่อนทานยาได้ครับ แต่ควรข้ามไปมื้อถัดไป หากนึกได้ในเวลาที่ใกล้จะต้องทานอีกมื้อหนึ่ง
บทความแนะนำ: ยาอันตรายสำหรับเด็ก
4. หากอาเจียนยา
ให้ลูกทาน ยาอย่างไร
ถ้าลูกอาเจียนทันทีที่ทานยา หรือภายใน 30 นาทีหลังทานยา ให้ทานใหม่ ในปริมาณยาเท่าเดิม หากเกินกว่านั้น ให้ยาในมื้อถัดไปได้เลยครับ
5. ทานยาให้ครบ
ให้ลูกทานยา อย่างไร
โดยเฉพาะยาฆ่าเชื้อโรค – แอนติไบโอติค (antibiotics) หรือที่มักเรียกกันติดปากว่า ยาแก้อักเสบ (ซึ่งจริง ๆ แล้ว ไม่ควรเรียกว่า ยาแก้อักเสบ เพราะจะทำให้ สับสนกับยาแก้อักเสบประเภทอื่น ๆ) ควรให้ลูกทานให้ครบ ตามจำนวนวันที่คุณหมอแจ้งให้ทราบ การทานยาฆ่าเชื้อโรคครบ จะช่วยลดการกลับเป็นซ้ำ และไม่ทำให้เกิดการดื้อยา ของเชื้อโรค
อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่า การให้ยาที่เหมาะสม ไม่ได้ทำให้ลูกมีอาการดีขึ้น ควรพาลูกไปพบคุณหมออีกครั้ง ในบางโรคอาการจะค่อย ๆ เปิดเผยออกมาตามลำดับเวลา ดังนั้น หากลูกมีอาการเปลี่ยนไป นอกเหนือไปจากยาที่ได้รับ หรืออาจมีอาการแย่ลง อย่าเพิ่งตกใจ พาไปพบคุณหมอใหม่อีกครั้ง เพื่อให้ประเมินการวินิจฉัยและ การรักษาใหม่นะครับ
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและ สังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุด ในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอด ที่ครอบคลุมที่สุดและ ผู้ใช้งานสูงสุด ในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัว อย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
นายแพทย์กฤษณ์ ศรีธิหล้า
แพทยศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ประสบการณ์การทำงาน: แพทย์ทั่วไป โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส และโรงพยาบาลป่าตอง จังหวัดภูเก็ต
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เมื่อลูกกลัว การไปโรงพยาบาล
เมื่อไหร่ถึง ควรพาลูกไปหาหมอ
5 สัญญาณอันตราย รีบพาลูกไปโรงพยาบาล ทันที
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!