X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

จริงแค่ไหน ลูกตัวเหลืองเพราะกินนมแม่

บทความ 3 นาที
จริงแค่ไหน ลูกตัวเหลืองเพราะกินนมแม่

จริงแค่ไหน ลูกตัวเหลืองเพราะกินนมแม่ แล้วอย่างนี้จะยังให้นมแม่ต่อไปได้ไหม หรือต้องงดนมแม่ไปก่อน แล้วเมื่อไหร่ลูกถึงจะหายตัวเหลือง

จริงแค่ไหน ลูกตัวเหลืองเพราะกินนมแม่

จริงแค่ไหน ลูกตัวเหลืองเพราะกินนมแม่ บางคนเขาว่าเพราะกินแต่นมแม่ ลูกก็เลยตัวเหลือง ต้องกินนมผง อ้าวเป็นงั้นไป มันใช่เหรอ

นมแม่ทำลูกตัวเหลืองแน่เหรอ

อาการตัวเหลืองจากนมแม่ หรือที่รู้จักกันในชื่อ Breastmilk jaundice คืออาการผิดปกติที่พบได้ในทารก 3-6 สัปดาห์ เด็กจะมีอาการตัวเหลืองอย่างเห็นได้ชัด โดยแพทย์จะให้คุณแม่งดนม 24-48 ชั่วโมง เพื่อให้แน่ใจว่านมแม่เป็นหรือไม่เป็น สาเหตุของอาการตัวเหลืองของลูก พิสูจน์ว่าเป็นอาการตัวเหลือจากนมแม่หรือไม่นั่นเองค่ะ

สารสีเหลือง หรือที่รู้จักกันในชื่อ บิลิรูบิน นี้ เกิิดจาดเม็ดเลือดแดงแตกตัวออก เมื่อเด็กตัวเหลือง นั่นหมายความว่ามีสารนี้อยู่ในอวัยวะต่างๆ ทำให้ผิวหนังและตาขาว สีออกไปทางเหลืองอ่อนๆ

เด็กแข็งแรงก็ตัวเหลืองได้

อาการตัวเหลืองของเด็กๆ ที่ไม่ใช่ Breastmilk jaundice ไม่ได้หมายความว่าเด็กจะมีสุขภาพที่ไม่ดีเสมอไปค่ะ เพราะเด็กที่มีสุขภาพดีก็ตัวเหลืองได้ เด็กที่ตัวเหลือง อาจเป็นเพราะได้รับนมแม่ไม่เพียงพอ จนอาจทำให้เด็กมีร่างกายที่เหลือไปจนถึงสัปดาห์ที่สองและสามหลังคลอดนะคะ

ดังนั้นจึงไม่อาจบอกได้ว่า เด็กทารกที่มีอายุ 2 หรือ 3 สัปดาห์ มีอาการตัวเหลืองเพราะกินนมแม่ค่ะ แต่ในกรณีที่สาเหตุตัวเหลืองมาจากนมแม่ เมื่อลองหยุดนมแม่สัก 2 – 3 วัน สารบิลิรูบินจะลดลงมาก เป็นการพิสูจน์ว่าภาวะเหลืองเกิดจากนมแม่ หลังจากนั้นให้นมแม่ต่อได้เพราะเด็กจะไม่เหลืองมากไปกว่าเดิม และไม่เกิดภาวะสารบิลิรูบินไปจับที่สมอง อาการของเด็กในภาวะนี้จะปกติไม่ซึม

อาการเหลืองจากนมแม่เกิดเมื่อเด็กอายุหลังสัปดาห์ที่ 1 จนถึงสัปดาห์ที่ 2 – 3 หรืออาจนานกว่านั้นก็ได้ ซึ่งต้องแยกจากตัวภาวะเหลืองเนื่องจากนมแม่มีน้อย ซึ่งเกิดในช่วงอายุ 2 – 3 วันแรก ปัญหาหลังนี้เกิดจากลำไส้ของเด็กยังเคลื่อนตัวไม่ดี แต่จะดีขึ้นเมื่อให้ดูดนมแม่บ่อยๆทั้งกลางวันและกลางคืน ส่วนภาวะเหลืองจากนมแม่ หากเหลืองมากจะดีขึ้นได้จากการรักษาด้วยการส่องไฟ

กลับกันสำหรับอาการตัวเหลืองที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากนมแม่ การกินนมแม่ที่เพียงพอ ก็จะทำให้เด็กๆ อึบ่อย และค่าสารเหลืองจะลดลงได้รวดเร็ว การกินนมผงหากเด็กๆ กินแล้วท้องผูกสารเหลืองจะขับออกได้ช้ากว่า หากชงเจือจางก็จะทำให้อิ่มน้ำ มีแต่ฉี่ออกมา ไม่มีอึ ก็จะไม่ช่วยลดค่าเหลืองค่ะ

ตัวเหลืองมากแค่ไหนถึงอันตราย

เด็กบางคนค่าตัวเหลืองมากกว่าเด็กคนอื่น พบได้ในกรณี กรุ๊ปเลือดแม่กับลูกไม่เข้ากัน หรือ เป็นพาหะของธาลัสซีเมีย หรือ ขาดเอนไซม์ G6PD หรือตับทำงานช้ากว่าชาวบ้านเขา เช่น ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือ ทารกมีปัญหาติดเชื้อ

ดังนั้น การรักษาเหลืองที่เกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดง นอกจากการตากแดดอ่อนๆ การส่องไฟ หรือการถ่ายเลือดแล้ว ก็ต้องให้ลูกดูดนมแม่ให้เยอะที่สุด เพื่อให้อึบ่อยที่สุด ไม่ใช่ให้นมผงหรือน้ำเปล่า

เด็กทารกที่คลอดครบกำหนด หากค่าสารเหลืองเกิน 13, 17, 20 ภายใน 1-3 วันแรก ถือว่าเป็นเคสเหลืองมากรุนแรง ต้องรักษาโดยการถ่ายเลือดค่ะ เพราะการเหลืองมากขนาดนี้ จะทำให้สารเหลืองซึมเข้าสู่สมอง มีผลทำให้สมองทำงานผิดปกติ เน้นอีกครั้งค่ะ กรณีเหล่านี้ เกิดจากการแตกของเม็ดเลือดแดงที่มากผิดปกติอย่างมาก

เด็กครบกำหนด หากระดับอยูที่ 8,12,15 ในวันที่ 1,2 และ 3 หลังคลอด รักษาโดยการส่องไฟ หากต่ำกว่านั้น สามารถนำลูกกลับบ้านไปตากแดดอ่อนๆที่บ้านได้ และเน้นย้ำให้ลูกกินนมแม่ให้มากที่สุด เพื่อให้อึบ่อยที่สุด ค่าเหลืองจะลดลงได้เร็วที่สุด

อย่างไรก็ตามก่อนที่จะสรุปว่าเหลืองจากสารในนมแม่ ต้องดูว่าไม่ได้เหลือง จากสาเหตุอื่น เช่น โรคท่อน้ำดีอุดตัน โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคขาดฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งต้องรักษาที่สาเหตุ ไม่ใช่รักษาโดยการส่องไฟเท่านั้น หรือ รักษาโดยการเปลี่ยนจากนมแม่เป็นนมผงแต่อย่างใด

ที่มา ibconline และ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ

บทความที่น่าสนใจ

ไม่อยากให้ลูกคลอดมาตัวเหลือง แม่ท้องต้องทำอย่างไร

ลูกโง่+เตี้ย ตัวเหลือง ป่วยบ่อย น้ำหนักน้อย เพราะกินนมแม่ มันใช่เหรอ

parenttown

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • จริงแค่ไหน ลูกตัวเหลืองเพราะกินนมแม่
แชร์ :
  • ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง แบบไหนเรียกว่ารุนแรง พร้อมวิธีสังเกตและการรักษา

    ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง แบบไหนเรียกว่ารุนแรง พร้อมวิธีสังเกตและการรักษา

  • ลูกตัวเหลืองอันตรายไหม ทารกแรกเกิดตัวเหลือง แบบไหนต้องพาไปพบหมอ

    ลูกตัวเหลืองอันตรายไหม ทารกแรกเกิดตัวเหลือง แบบไหนต้องพาไปพบหมอ

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง แบบไหนเรียกว่ารุนแรง พร้อมวิธีสังเกตและการรักษา

    ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง แบบไหนเรียกว่ารุนแรง พร้อมวิธีสังเกตและการรักษา

  • ลูกตัวเหลืองอันตรายไหม ทารกแรกเกิดตัวเหลือง แบบไหนต้องพาไปพบหมอ

    ลูกตัวเหลืองอันตรายไหม ทารกแรกเกิดตัวเหลือง แบบไหนต้องพาไปพบหมอ

  • ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

    ชี้เป้า 10 เครื่องฟอกอากาศห้อยคอ ช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณ!

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ