X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แม่กินเผ็ด น้ำนมจะเผ็ดด้วยไหม จะส่งผลต่อลูกน้อยหรือเปล่า ?

บทความ 5 นาที
แม่กินเผ็ด น้ำนมจะเผ็ดด้วยไหม จะส่งผลต่อลูกน้อยหรือเปล่า ?

คุณแม่ให้นมลูก ปกติชอบกินเผ็ด รสชาติยิ่งเผ็ดร้อน คุณแม่ยิ่งชอบ แต่ตอนนี้เป็นกังวล เพราะคิดว่าการที่ แม่กินเผ็ด น้ำนมจะเผ็ดด้วยไหม จะส่งผลต่อนมแม่ที่ทารกน้อยกินหรือไม่ การกินเผ็ดในตอนนี้จะทำให้น้ำนมแม่เผ็ดไหม ปัจจัยที่จะส่งผลให้ลูกน้อยได้รับผลกระทบ ขึ้นอยู่กับทารกน้อยแต่ละคนด้วย เกี่ยวข้องอย่างไร คุณแม่ให้นมลองอ่านบทความนี้ดู

 

แม่กินเผ็ด น้ำนมจะเผ็ดด้วยไหม

แม่กินเผ็ด น้ำนมจะเผ็ดด้วยไหม เป็นคำถามที่แม่หลายคนอยากรู้ ซึ่งโดยปกติแล้วน้ำนมแม่นั้น อาจมีรสชาติเปลี่ยนไปเหมือนกับอาหารที่คุณแม่กินเข้าไปในแต่ละวัน ยกตัวอย่างเช่น หากคุณแม่กินอาหารที่มีกระเทียม น้ำนมก็อาจมีรสของกระเทียมเล็กน้อย แต่ลูกของคุณก็อาจชอบ และกินนมแม่ได้มากขึ้น เพราะรสชาติของนมที่เปลี่ยนไปครับ แต่จริง ๆ แล้วความเผ็ดไม่มีผลทำให้น้ำนมแม่เผ็ดตามไปด้วยครับ แต่กลิ่นจากเครื่องเทศซึ่งมักจะมาพร้อมกับความเผ็ด จะทำให้น้ำนมมีกลิ่นและรสเปลี่ยนไป ซึ่งอาจจะมีผลทางอ้อมต่อลูกน้อยได้

Emma Pickett คณะกรรมการระหว่างประเทศผู้เชี่ยวชาญการให้น้ำนมกล่าวว่า “รสชาติของอาหารที่คุณแม่กินเข้าไปอาจถูกกลบด้วยความหวานตามธรรมชาติจากน้ำนมของแม่” Julie Mennella และ Gary Beauchamp ผู้เคยทำการวิจัยเปิดเผยว่า แม่ที่กินกระเทียมก่อนให้นมลูก เมื่อให้นมลูกก็จะมีกลิ่นกระเทียมผสมอยู่ในน้ำนม ลูกก็จะคุ้นเคยกับกลิ่นกระเทียม ซึ่งผลของกระเทียมก็จะทำให้ลูกน้อยกินนมได้นานขึ้น ดูดแรงขึ้นมากกว่าคุณแม่ที่ไม่กินกระเทียม

นอกจากนี้ หากคุณแม่กินอาหารรสชาติอื่น ๆ ในช่วงให้นม เมื่อลูกโตขึ้น ก็จะชอบรสชาตินั้นตามไปด้วยอย่างไรก็ตาม หากคุณพบว่าลูกน้อยของคุณมีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียว หรือหากตัวคุณเองมีอาการแสบร้อนกลางอก ให้ลองเปลี่ยนมาทานอาหารที่เผ็ดน้อยลง เพื่อให้เวลาลูกน้อยได้ปรับตัว และเพื่อเป็นการสังเกตดูว่าลูกน้อยของคุณมีอาการอย่างไร

บทความที่เกี่ยวข้อง : ท่าให้นมลูก อุ้มลูกให้นม เอาลูกเข้าเต้าอย่างถูกวิธี ดูดจ๊วบ ๆ น้ำนมไหลดี

 

วิดีโอจาก : Nurse Kids

 

กินเผ็ดปลอดภัยไหมถ้าต้องให้นมลูก ?

คุณแม่หลายท่านที่กินเผ็ดอยู่เป็นประจำ ตั้งแต่ก่อนท้อง ขณะตั้งครรภ์ หรือแม้แต่ตอนให้นมลูก ก็อาจไม่ส่งผลใด ๆ ต่อลูกน้อย แต่สำหรับบางท่านก็อาจมีผลทำให้ลูกน้อยมีอาการต่าง ๆ เนื่องจากภูมิต้านทานของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกันครับ เนื่องจากสาร Capsaicin ที่ทำให้เรารู้สึกเผ็ดจะไปละลายอยู่ภายในไขมันของน้ำนมแม่ สารดังกล่าวนี้ จึงไม่ได้ไปเกาะที่ปลายประสาทลิ้นของทารกน้อยแต่อย่างใด ทำให้ทารกก็จะไม่ได้รับรสเผ็ดจากน้ำนม

ที่สำคัญ คุณแม่ควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย เน้นอาหารครบ 5 หมู่ และมีคุณภาพ เลี่ยงอาหารที่ส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณแม่เอง เพื่อให้ลูกน้อยได้รับสารอาหาร และรสชาติที่หลากหลาย เพื่อเตรียมพร้อมรับการพัฒนาการของลูกน้อยที่จะเกิดขึ้นตามมา

 

จะรู้ได้อย่างไร หากลูกน้อยของคุณไม่ชอบอาหารเผ็ด

อย่างที่เราบอกไปแล้วว่าทารกแต่ละคนจะมีภูมิคุ้มกัน หรือร่างกายที่แตกต่างกัน บางคนอาจไม่แสดงอาการ ไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ แต่ถ้าหากลูกน้อยของคุณไม่ชอบอาหารเผ็ด ทารกน้อยมักจะแสดงอาการไม่พอใจต่าง ๆ ออกมา ที่คุณแม่ให้นมสามารถสังเกตได้ เช่น

 

  • หงุดหงิดหลังดื่มนม
  • นอนน้อยลง
  • ร้องไห้นานขึ้น
  • ดูไม่สบายตัว
  • สะดุ้งตื่นบ่อย

 

หากทารกแสดงอาการเหล่านี้ คุณแม่ไม่ควรนิ่งนอนใจ เพราะการที่ทารกไม่ชอบ อาจมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อตัวของทารกได้ คุณแม่ควรสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำในการทานอาหารเมนูโปรด โดยไม่ส่งผลกระทบต่อทารกได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารสำหรับแม่ลูกอ่อน ควรกิน & ไม่ควรกินอะไรในระยะให้นมลูก

 

แม่กินเผ็ด น้ำนมจะเผ็ดด้วยไหม

 

อาการอื่น ๆ ที่อาจเป็นสัญญาณอันตรายจากแม่กินเผ็ด

ทารกบางคนอาจมีปฏิกิริยาโต้ตอบที่รุนแรง ซึ่งเป็นกลุ่มอาการว่าการกินเผ็ดของคุณแม่ อาจอยู่ในกลุ่มที่ทำให้ทารกได้รับผลกระทบ หรืออาจเกิดจากวัตถุดิบในการปรุงอาหารก็ได้เช่นกัน หากมีอาการอันตราย ควรรีบพาทารกไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจให้เร็วที่สุด โดยผู้ปกครองสามารถสังเกตอาการรุนแรงได้ ดังนี้

  • หายใจดัง
  • ผิวเริ่มมีผื่น
  • อุจจาระเป็นมูกสีเขียว

 

อย่างไรก็ตาม อาการเหล่านี้อาจไม่ได้เป็นการบ่งบอกว่าการกินอาหารรสจัดจะส่งผลต่อลูกน้อยเสมอไป แต่ยังอาจเป็นอาการของการแพ้อาหารชนิดอื่นเช่น แป้งสาลี ข้าวโพด ถั่ว ได้อีกด้วย หากคุณกินอาหารเผ็ดแล้วเกิดอาการดังกล่าวขึ้นกับลูกน้อย ลองงดอาหารเผ็ดดูซัก 1 อาทิตย์ เพื่อสังเกตอาการของลูกน้อย หากลูกยังมีอาการหงุดหงิดหรืออาการแพ้อยู่ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดครับ

 

ถึงจะปลอดภัย แต่ยังต้องกังวลเรื่องมื้ออาหารอยู่

ถึงแม้การทานอาหารรสเผ็ดจะไม่ได้ส่งผลต่อทารกเสมอไป และไม่ได้ทำให้รสชาติของนมแม่เปลี่ยนแปลง แต่เครื่องเทศ หรือเครื่องปรุงบางชนิดในหลายเมนูอาหารที่คุณแม่ทาน อาจส่งผลต่อน้ำนมของคุณแม่ได้ ไม่ว่าจะทำให้สารอาหารเปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อลูกน้อยได้โดยตรง ดังนั้นเมื่อเป็นเช่นนี้ คุณแม่ที่ให้นมลูกอาจต้องใส่ใจมื้ออาหารมากกว่าที่เคยในช่วงให้นมบุตร 6 เดือนแรก ที่มีความสำคัญมาก หรือจนกว่าลูกน้อยจะกินนมผงได้  ในช่วงนี้หากคุณแม่ทานอาหารที่มีประโยชน์ เรื่องอาหารที่ส่งผลเสียต่อลูกน้อย จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยให้ดีขึ้นตามมาตรฐานอย่างแน่นอน ให้ถือว่าคุณแม่ยอมอดของโปรดก่อนเพื่อสุขภาพของลูกน้อย

 

theAsianparent Thailand เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ ช่วงไตรมาสแรกมาติดตามพัฒนาการของลูกอย่างใกล้ชิด ลูกโตขึ้นแค่ไหนกันนะ ไตรมาสที่ 2  มาฟังเสียงลูกน้อย นับว่าหนึ่งวันลูกดิ้นไหมนะ และลูกดิ้นวันละกี่ครั้งด้วยแอปพลิเคชัน theAsianparent นี่เป็นแค่ตัวอย่างกิจกรรมบนแอปพลิเคชันในส่วนแรก เพราะคุณแม่จะได้รับการดูแลทั้งอาหารการกินโดยการออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญว่าควรทานอะไรบ้างในแต่ละช่วงอายุครรภ์ ยาที่เป็นอันตรายชนิดไหนบ้างที่ไม่ควรทาน กิจกรรมใดบ้างที่ทำได้หรือทำไม่ได้ เคล็ดลับการตั้งชื่อลูกอย่างไรให้เป็นมงคลทั้งเด็กหญิงและเด็กชาย รวมถึงเตรียมแผนการล่วงหน้าถึงอนาคต การเตรียมคลอด การดูแลตนเองหลังคลอด ที่ครอบคลุมทุกช่วงเวลาที่คุณแม่ต้องการ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ให้นมลูกอย่างไร คุณแม่มือใหม่ควรให้นมยังไงในครั้งแรก เข้าเต้าแบบไหนดี ?

นมแม่ปั๊มเก็บไว้ได้กี่วัน ถ้าจะเก็บให้ได้นานขึ้นต้องเก็บอย่างไร

วิธีเก็บรักษานมแม่ เก็บนมแม่อย่างไรให้อยู่ได้นาน ลูกกินแล้วท้องไม่เสีย

ที่มา : 1, 2

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • แม่กินเผ็ด น้ำนมจะเผ็ดด้วยไหม จะส่งผลต่อลูกน้อยหรือเปล่า ?
แชร์ :
  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

  • คนท้องเป็นฝี อาการติดเชื้ออันตราย สังเกตและรักษาอย่างไร ?

    คนท้องเป็นฝี อาการติดเชื้ออันตราย สังเกตและรักษาอย่างไร ?

  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

    คนท้องเป็นวัณโรค เสี่ยงเชื้อส่งต่อทารกแรกเกิด มีความเสี่ยงรีบตรวจ

  • คนท้องเป็นฝี อาการติดเชื้ออันตราย สังเกตและรักษาอย่างไร ?

    คนท้องเป็นฝี อาการติดเชื้ออันตราย สังเกตและรักษาอย่างไร ?

  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ