ไขข้อข้องใจ! ลูกอาเจียนบ่อย เป็นเรื่องปกติไหม? สงสารลูกน้อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

เมื่อลูกน้อยกำลังจะขย้อนสิ่งที่กลืนลงไปออกมา คุณแม่ก็แทบจะใจหาย การที่ทารกแหวะสิ่งที่กลืนไปแล้วออกมา เป็นได้ทั้งการอาเจียนและการแหวะนม สองอาการนี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ลูกอาเจียนบ่อย เป็นสัญญาณอันตรายอะไรหรือเปล่า ติดตามได้ในบทความนี้เลยค่ะ

 

น้ำลายไหล แหวะนม กับอาเจียน ต่างกันอย่างไร

บ่อยครั้งที่คุณแม่เข้าใจว่าอาการน้ำลายไหล แหวะนม หรืออาเจียนเป็นอาการเดียวกัน แต่จริง ๆ แล้วอาการทั้งหมดดังกล่าวนี้มีความแตกต่างกันอยู่หลายอย่าง

  • น้ำลายไหล

การน้ำลายไหลของลูก เป็นเรื่องปกติของเด็กแรกเกิด โดยลูกจะมีน้ำลายไหลออกจากบ่อย ๆ หรือตลอดทั้งวัน มีน้ำลายเปื้อนตามมุมปาก คาง หรือริมฝีปาก จะเป็นน้ำลายใส ๆ เพียงอย่างเดียว ไม่มีเมือกหรืออาหารปนอยู่ด้วย ซึ่งอาการน้ำลายไหลของเด็กอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การงอกของฟัน การอ้าปากของลูก ลิ้นลูกมีขนาดใหญ่ หรือความผิดปกติของระบบประสาท เป็นต้น อาการนี้จะหายไปเองเมื่อลูกโตขึ้น ไม่ต้องทำการรักษาใด ๆ คุณแม่จึงไม่ต้องเป็นกังวลเลยค่ะ

 

  • การแหวะนม

คือการที่อาหารไหลจากกระเพาะอาหารออกมาทางปาก มักจะเกิดขึ้นหลังจากคุณจับลูกเรอ เป็นเรื่องธรรมดาสำหรับทารกอายุต่ำกว่าหนึ่งปี ซึ่งจะเกิดวันละครั้งหรือสองครั้งหลังมื้ออาหาร โดยเกิดจากการที่ระบบย่อยอาหารของเด็กยังพัฒนาได้ไม่สมบูรณ์ ทำให้กล้ามเนื้อระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารปิดไม่สนิท ลูกจึงแหวะของเหลวออกมานั่นเอง

 

  • การอาเจียน

คือการขย้อนอาหารขึ้นมาจากกระเพาะอาหารมากกว่า เมื่อกล้ามเนื้อหน้าท้องและกะบังลมบีบตัว ในขณะที่ กระเพาะอาหารคลายตัว ส่งผลให้อาหารถูกผลักดันออกจากปากมาเป็นอาการอาเจียนนั่นเอง โดยการอาเจียนของลูกอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น แพ้อาหาร กรดไหลย้อน หรือการไออย่างรุนแรง เป็นต้น หากลูกอาเจียนเป็นบางครั้งก็อาจไม่เป็นอะไร แต่หากลูกอาเจียนบ่อยคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตลักษณะของคราบอ้วกด้วย

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ลูกน้อยอาเจียนหรือแหวะนมกันแน่

การแหวะนม เป็นเพียงการที่อาหารไหลจากกระเพาะอาหารออกมาทางปาก ซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังจากคุณจับลูกเรอ และเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับทารกอายุต่ำกว่าหนึ่งปี ในขณะที่การอาเจียนใช้พลังในการขย้อนอาหารขึ้นมาจากกระเพาะอาหารมากกว่า เมื่อกล้ามเนื้อหน้าท้องและกะบังลมบีบตัว ในขณะที่ กระเพาะอาหารคลายตัว ส่งผลให้อาหารถูกผลักดันออกจากปากมาเป็นอาการอาเจียนนั่นเอง

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

สาเหตุของการอาเจียนในทารกแรกเกิด

ในช่วง 2-3 เดือนแรก ลูกน้อยอาจมีอาการแหวะนมหรืออาเจียนหลังจากให้นมในแต่ละครั้ง เนื่องจากวาล์วที่หลอดอาหารที่เชื่อมต่อกับท้องของลูกน้อยยังพัฒนาไม่เต็มที่ จึงยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ วาล์วดังกล่าวจะเริ่มพัฒนาเมื่อลูกน้อยเข้าสู่เดือนที่ 4-5 และควรจะพัฒนาเต็มที่เมื่อลูกเข้าสู่วัย 1 ขวบ ฉะนั้นแล้ว หากลูกน้อยอายุราว ๆ 2 เดือน อ้วกบ่อยก็เป็นเรื่องปกติค่ะ ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดอาการอาเจียนในเด็กแรกเกิดนั้น มีดังนี้

  • ไอ
  • เป็นหวัด
  • หูติดเชื้อ
  • แพ้อาหาร
  • การเมารถ
  • อาหารไม่ย่อย
  • ไวรัสลงกระเพาะ
  • ร้องไห้มากเกินไป
  • การติดเชื้อต่าง ๆ เช่น ติดเชื้อในปัสสาวะ ติดเชื้อที่หูชั้นกลาง ปอดบวม หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

หากลูกน้อยของคุณแหวะนม อาเจียน หรือคุณพ่อคุณแม่รู้สึกว่าลูกอ้วกบ่อยมากกว่าห้าครั้งต่อวัน หรือไอหลังจากกินนมเสมอ คุณหมออาจพิจารณาให้ผสมยาลดกรดลงในนม ซึ่งจะช่วยลดกรดในท้องของลูกน้อยได้

 

ลูกอาเจียนบ่อย ลูกแหวะนมบ่อย ป้องกันอย่างไร

หากคุณต้องการที่จะลดความถี่ของการอาเจียนหรือการแหวะนมในทารกแรกเกิด เรามีขั้นตอนง่าย ๆ ที่คุณแม่สามารถนำไปปรับใช้ได้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  1. หลังจากให้นมลูกแล้ว ให้จับลูกตั้งตรงประมาณ 30 นาทีเพื่อให้แรงโน้มถ่วงช่วยให้นมไหลลงด้านล่างให้เรียบร้อย
  2. หลังจากให้นมแล้ว ไม่ควรมีให้อะไรมากดทับบนท้องลูกน้อย ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการรัดเข็มขัดคาร์ซีต อย่าเพิ่งวางลูกนอนคว่ำเป็นเวลาประมาณ 30 นาที
  3. ควรจับลูกเรอทุกครั้งหลังให้นม บางครั้งอาจอุ้มลูกเรอระหว่างการให้นมด้วยก็ได้ เพื่อเป็นการขับลมในท้องของลูกน้อย
  4. งดเล่นกิจกรรมใด ๆ ที่ใช้พลังทันทีหลังจากการให้นม และไม่ควรให้ลูกน้อยของคุณตื่นเต้นจนเกินไป

 

 

เลือกโภชนาการย่อยง่ายให้ลูกน้อย ช่วยลดอาการแหวะนมได้

ปกติแล้วการที่ลูกอาเจียนนั้น ไม่ว่าจะกินนมแม่หรือนมผงจากขวดก็มีโอกาสอาเจียนได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการกินนมและระบบย่อยอาหารของลูกน้อยที่ยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้น นมแม่ยังคงเป็นอาหารที่สำคัญสำหรับเด็กทารก เพราะนมแม่ดีที่สุด เป็นนมที่ย่อยง่ายและเหมาะสมกับระบบลำไส้ของลูก รวมทั้งนมแม่ยังมีสารอาหารสำคัญอย่าง MFGM และ DHA ที่ช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อเซลล์ประสาท ทำให้พัฒนาการสมองของลูกดียิ่งขึ้น

แต่สำหรับคุณแม่ไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมกับความต้องการของลูก โดยแพทย์อาจจะแนะนำโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วนหรือ PHP (Partially Hydrolyzed Protein) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่ย่อยง่าย เหมาะกับระบบย่อยอาหารของลูกน้อยเช่นกัน

 

ลูกน้อยอาเจียนบ่อยพาลูกไปหาหมอดีไหม

คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตสีของของเหลวที่ลูกอาเจียนหรือแหวะออกมา ถ้าหากลูกแหวะเป็นสีที่ผิดปกติไปจากนมแม่ เช่น ลูกแหวะเป็นสีเหลือง เขียว หรือมีเลือดเจือปน ลูกแหวะบ่อยมาก หลายครั้งใน 1 วัน รวมไปถึงหากสังเกตหรือกังวลว่ามีสิ่งผิดปกติอื่น ๆ ก็ควรพาลูกไปพบแพทย์ค่ะ

 

ลูกแหวะนม อาเจียนบ่อยเป็นกรดไหลย้อนหรือไม่

พ่อแม่ไม่ควรกังวลมากเกินไปเวลาที่ลูกน้อยแหวะนมบ่อย ถ้าลูกยังคงน้ำหนักขึ้นดี กินได้ นอนหลับปกติ ก็ไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง แต่ถ้าลูกน้อยอาเจียนและแหวะนม ไม่ยอมกินนม หงุดหงิด และร้องไห้ไม่หยุดในระหว่างหรือทันทีหลังจากให้นม แอ่นตัวบ่อย น้ำหนักไม่ขึ้นตามเกณฑ์ อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณว่าลูกน้อยอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน หรือ Gastroesophageal Reflux Disease (GERD) ซึ่งทารกที่เป็นโรคกรดไหลย้อนจะมีอาการต่อไปนี้

  • รู้สึกไม่สบายตัวและเจ็บปวด
  • มีปัญหาการหายใจ สำลัก ไอ หรือหายใจดังวี้ด
  • โรคปอดบวมเกิดจากการสูดดมอาหารจากกระเพาะอาหารเข้าไปในปอด
  • เติบโตช้า เนื่องจากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

หากคุณสังเกตเห็นว่าลูกน้อยของคุณมีอาการใด ๆ เหล่านี้ ควรพาลูกไปพบกุมารแพทย์เพื่อวินิจฉัยว่าอาการดังกล่าวเกิดจากโรคกรดไหลย้อนจริง ๆ หรือไม่ เมื่อลูกอายุครบ 1 ขวบ ลูกไม่ควรแหวะนมและอาเจียนหลังการให้นมอีกต่อไป

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

เมื่อไรที่ต้องกังวลเมื่อลูกน้อยอาเจียนบ่อย

แม้ว่าอาการอาเจียนจะเป็นเรื่องปกติสำหรับทารกแรกเกิด แต่หากลูกน้อยมีอาการใด ๆ ต่อไปนี้ คุณควรพาลูกไปพบแพทย์ทันที

  • หายใจเร็ว
  • กระหม่อมบุ๋ม
  • ไม่ยอมกินนม
  • ตัวเย็นหรือซีด
  • อาเจียนเ​​ป็นสีเขียว
  • ผิวหนัง ปาก และลิ้นแห้ง
  • ร้องไห้ไม่มีน้ำตาหรือมีน้อย
  • เลือดในอาเจียนหรือท้องเสีย
  • ปัสสาวะน้อยกว่า 5 ครั้งต่อวัน
  • ท้องเสียมากกว่าหกครั้งในหนึ่งวัน
  • อาเจียนไม่หยุดมานานกว่า 4-6 ชั่วโมง
  • ไข้มากกว่า 39 องศาเซลเซียสเป็นเวลามากกว่า 12 ชั่วโมง

 

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ควรเชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง หากลูกมีอาการอาเจียนบ่อย ต้องเช็กก่อนว่าเกิดจากสาเหตุใด ลูกอาเจียนบ่อยแค่ไหน และมีอะไรออกมาด้วยไหม เพื่อที่เวลาพาลูกไปหาแพทย์จะได้แจ้งให้หมอทราบถึงอาการที่ถูกต้อง

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ทารกอ้วก อาเจียนบ่อย แต่ไม่มีไข้ ลูกเป็นอะไรกันแน่?

อาการโคลิคในทารก เป็นอย่างไร ลูกร้องไห้ไม่หยุดทำไงถึงจะหาย

ลูกแหวะบ่อย สำรอกบ่อย ทำอย่างไรดี วิธีไหนช่วยไม่ให้ลูกแหวะนม

ที่มา : sg.theasianparent, chulalongkornhospital, salehere