X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ลูกกินยาสีฟัน อันตรายหรือไม่

บทความ 3 นาที
ลูกกินยาสีฟัน อันตรายหรือไม่ลูกกินยาสีฟัน อันตรายหรือไม่

คุณแม่อาจเป็นกังวลเมื่อเห็นคำเตือนที่หลอดยาสีฟันระบุไว้ว่า  “เด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี ไม่ควรกลืนหรือกิน” กลัวว่า ลูกกินยาสีฟัน บ่อยๆ จะเป็นอันตรายกับลูกหรือไม่ ก็ยาสีฟันของเด็กทั้งหอมทั้งอร่อย เด็กๆ จะอดใจไหวได้อย่างไร  

ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ เป็นตัวช่วยเสริมให้ฟันแข็งแรง ป้องกันฟันผุ ใช้ได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย เพราะการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เป็นการทำให้ฟลูออไรด์ได้สัมผัสกับผิวฟันโดยตรง ซึ่งจะให้ผลในการป้องกันฟันผุได้ที่สุด คือผลเฉพาะที่

จากการศึกษาพบว่า การแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ที่ความเข้มข้น 1000 ppm จะสามารถป้องกันฟันผุได้มากถึงร้อยละ 30 แต่สำหรับเด็กเล็กปริมาณความเข้มข้นของฟลูออไรด์จะต้องลดลงมาตามอายุ ดังนี้

ปริมาณยาสีฟันที่เหมาะสมสำหรับเด็กแต่ละวัย

- ฟันซี่แรกถึงอายุน้อยกว่า 3 ขวบ : ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 500 ppm แตะเป็นชั้นบางๆ บนแปรงสีฟัน คำนวณแล้วมีปริมาณฟลูออไรด์ 0.05 มิลลิกรัม ผู้ปกครองแปรงฟันให้และเช็ดฟองออก

- 3 ขวบ-6 ขวบ : ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 500 หรือ 1000 ppm ขนาด 5 มิลลิเมตรหรือเท่าเม็ดถั่วเขียว คำนวณแล้วมีปริมาณฟลูออไรด์ 0.1 มิลลิกรัม ผู้ปกครองบีบยาสีฟันให้และช่วยแปรง

- มากกว่า 6 ขวบ : ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ 1000 ppm ขึ้นไป ขนาด 1-2 เซนติเมตร คำนวณแล้วมีปริมาณฟลูออไรด์ 0.5 มิลลิกรัม ให้เด็กแปรงฟันเอง แต่ผู้ปกครองควรตรวจซ้ำและช่วยแปรงซ้ำบริเวณที่ลูกแปรงไม่สะอาด

ควรเริ่มแปรงฟันให้ลูกด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เมื่อไร

ทันตแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยแนะนำให้แปรงฟันลูกด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ได้ตั้งแต่ซี่แรกโดยใช้ปริมาณน้อยแค่พอแตะปลายขนแปรงในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำ เช็ดฟองออก ในกรณีที่ลูกยังบ้วนปากไม่เป็น

ลูกกินยาสีฟันอันตรายหรือไม่

มีการพบว่า เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี จะกลืนยาสีฟันเข้าไปถึง 1 ใน 3 ของยาสีฟันที่อยู่บนแปรงสีฟันโดยไม่ตั้งแต่  ทั้งนี้เพราะยาสีฟันสำหรับเด็กมักแต่งกลิ่นเติมรสอร่อย เพื่อให้เด็กชอบและอยากแปรงฟัน ทำให้เด็กเอร็ดอร่อยและเผลอกลืนยาสีฟันเข้าไปบ่อยๆ

หากคุณแม่กังวลว่าปริมาณฟลูออไรด์ในยาสีฟันที่ใช้จะมากเกินจนทำให้ฟันตกกระหรือเปล่า สามารถคำนวณดังนี้

แต่ละวันเด็กควรได้รับฟลูออไรด์ต่ำกว่า 0.05-0.07 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม สมมติเด็กอายุ 1 ขวบหนัก 10 กิโลกรัม ควรได้รับฟลูออไรด์ต่ำกว่า 0.5-0.7 มิลลิกรัมต่อวัน หากใช้ปริมาณยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ตามที่แนะนำ ซึ่งเมื่อคำนวณแล้วมีปริมาณฟลูออไรด์ 0.05 มิลลิกรัม แปรงวันละ 2 ครั้งเท่ากับ 0.1 มิลลิกรัม ซึ่งน้อยกว่าปริมาณสูงสุดที่ควรได้รับถึง 7 เท่า

หากคุณแม่ให้ลูกใช้ยาสีฟันในปริมาณที่เหมาะสม ถึงลูกจะเผลอกลืนลงไปก็ไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตามหากได้รับฟลูออไรด์เกินขนาดจะเกิดอันตรายอย่างไรบ้าง คลิกหน้าถัดไป>>

อันตรายจากการได้รับฟลูออไรด์เกินขนาด

ทพญ.นราวัลภ์ เชี่ยววิทย์ งานทันตกรรม โรงพยาบาลศิริราช ระบุว่า การได้รับฟลูออไรด์เกินขนาดอาจเป็นอันตรายได้ 2 รูปแบบ

  1. การเกิดพิษชนิดเฉียบพลัน เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์เกินขนาด มักเกิดจากการรับประทานฟลูออไรด์ที่มีอยู่ในยาสีฟัน ยาบ้วนปาก ยาฟลูออไรด์โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งจะมีอาการรุนแรงเพียงใด ขึ้นกับปริมาณฟลูออไรด์ที่ได้รับเข้าไป ตั้งแต่คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย จนกระทั่งถึงตายได้
  2. การเกิดพิษชนิดเรื้อรัง เกิดจากการได้รับฟลูออไรด์ในขนาดที่เกินกว่าขนาดที่สมควรจะได้รับเป็นระยะเวลาติดต่อกันเป็นเวลานาน อาการที่แสดงออกได้แก่ ฟันตกกระ (ฟันแท้มีสีขาวขุ่น ในเด็กที่เป็นรุนแรงผิวฟันเป็นหลุมอาจมีสีดำหรือน้ำตาล) และอาจปวดข้อมือ ข้อเท้า ลุกลามไปยังกระดูกสันหลังทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ หายใจลำบากและเสียชีวิตที่สุด มักพบในผู้ที่ดื่มน้ำบาดาลในภาคเหนือ

จะป้องกันลูกกินยาสีฟันได้อย่างไร

คุณพ่อคุณแม่ควรสอนลูกบ้วนปาก  บางคนสามารถหัดได้ตั้งแต่ขวบครึ่ง บางคน  2 ขวบครึ่ง  ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเด็กแต่ละคน เริ่มที่วิธีการ ดังนี้ค่ะ

  • คุณแม่เอาน้ำดื่มใส่แก้วน่ารักให้ลูก
  • บอกให้ลูกอมและบ้วนออกมา โดยแม่ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
  • คุณแม่อาจทำเสียงกลั้วปากตลกๆ ให้ลูกสนุกและอยากทำตาม
  • ตอนแรกลูกอาจยังกลืนลงไปก็ไม่เป็นไร ฝึกบ่อยๆ ลูกก็จะบ้วนได้เอง
  • คุณแม่อาจกระตุ้นด้วยการชวนลูกแข่งกันบ้วนน้ำใครบ้วนได้ไกลกว่ากัน เป็นเกมส์ระหว่างอาบน้ำแปรงฟัน
  • อย่าลืมให้รางวัลเมื่อลูกให้ความร่วมมือด้วยนะคะ

ที่มา เนื้อหาบางส่วนจาก เพจฟันน้ำนม, https://www.si.mahidol.ac.th/

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

การดูแลช่องปากและฟันสำหรับเด็ก

13 ประโยชน์สุดเริ่ดจากยาสีฟัน ที่คุณไม่เคยรู้มาก่อน

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ลูกกินยาสีฟัน อันตรายหรือไม่
แชร์ :
  • ลูกชอบกลืนยาสีฟัน ทำไงดี อันตรายไหมแบบนี้ มีผลร้ายไหม?

    ลูกชอบกลืนยาสีฟัน ทำไงดี อันตรายไหมแบบนี้ มีผลร้ายไหม?

  • ไขข้อข้องใจ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้ลูกเริ่มใช้ได้เมื่อไร

    ไขข้อข้องใจ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้ลูกเริ่มใช้ได้เมื่อไร

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

app info
get app banner
  • ลูกชอบกลืนยาสีฟัน ทำไงดี อันตรายไหมแบบนี้ มีผลร้ายไหม?

    ลูกชอบกลืนยาสีฟัน ทำไงดี อันตรายไหมแบบนี้ มีผลร้ายไหม?

  • ไขข้อข้องใจ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้ลูกเริ่มใช้ได้เมื่อไร

    ไขข้อข้องใจ ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ให้ลูกเริ่มใช้ได้เมื่อไร

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ