ไข้หวัดใหญ่ในเด็ก พ่อแม่ควรระวัง! โรคติดเชื้อทางเดินหายใจที่พบบ่อย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) หรือที่เรียกว่า “ไข้หวัด” เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ส่งผลต่อจมูก ลำคอ และปอด เด็ก ๆ มีความเสี่ยงต่อการเป็นไข้หวัดใหญ่เป็นพิเศษ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา วันนี้ทาง theAsianparent จึงอยากพาคุณพ่อคุณแม่มาทำความรู้จักกับ ไข้หวัดใหญ่ในเด็ก รู้ก่อน ป้องกันก่อน เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีของลูกน้อยของคุณ 

 

ไข้หวัดใหญ่ในเด็ก (Influenza in Children)

สิ่งที่ควรสำหรับคุณพ่อคุณแม่เกี่ยวกับ ไข้หวัดใหญ่ หรือ ไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจของปอด โรคนี้สามารถแพร่กระจายได้ง่ายและทำให้เกิดอาการป่วยหลายประการ เช่น ไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว ไอ และอื่น ๆ ทั้งนี้ไข้หวัดใหญ่ เป็นหนึ่งในโรคไวรัสที่พบบ่อยและรุนแรงที่สุดในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว เด็กส่วนใหญ่จะป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ประมาณ 1 สัปดาห์ แต่บางรายอาจมีอาการรุนแรงและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล นอกจากนี้ไข้หวัดใหญ่ยังอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรง เช่น ปอดบวม หรือเสียชีวิตได้

 

สาเหตุของไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

ไข้หวัดในเด็กเกิดจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้:

  • ไข้หวัดใหญ่ชนิด A และ B

ไวรัสสองชนิดนี้เป็นสาเหตุหลักของการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว มักส่งผลให้ผู้ป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลและเสียชีวิตมากกว่าไวรัสชนิดอื่น ดังนั้นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจึงให้ความสำคัญกับการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสชนิด A และ B เป็นอย่างมาก และนอกจากนี้สาเหตุหนึ่งที่ทำให้การควบคุมไวรัสเป็นเรื่องยากคือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ชนิด A และ B มีการกลายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา หมายความว่าผู้คนต้องเผชิญกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอในแต่ละปี

  • ไข้หวัดใหญ่ชนิด C

ไข้หวัดใหญ่ชนิด C มักจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่มีความรุนแรงน้อยกว่าชนิด A และ B โดยส่วนใหญ่จะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยทางเดินหายใจแบบไม่รุนแรง และมีโอกาสน้อยที่จะทำให้เกิดการระบาดใหญ่ พบได้บ่อยในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ และสามารถพบได้ตลอดทั้งปี

บทความที่น่าสนใจ: วัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ 2567 ทำไมต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

วิธีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในเด็กสามารถแพร่กระจายได้หลายวิธี ดังนี้

การสัมผัสโดยตรงกับละอองฝอย

เมื่อเด็กที่ป่วยไอ จาม หรือพูด ละอองฝอยที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสจะกระจายสู่อากาศ ส่งผลทำให้เด็กอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้ชิดอาจสูดละอองฝอยเหล่านี้เข้าไปและติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ไปด้วย นอกจากนี้ลูกน้อยของคุณอาจติดเชื้อได้จากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของเด็กที่ป่วย เช่น การสัมผัสใบหน้าหรือการใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น ของเล่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขนหนู หรือแก้วน้ำ เป็นต้น 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

การสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อน

เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถมีชีวิตอยู่บนพื้นผิวที่แห้งได้นานถึง 48 ชั่วโมง ซึ่งลูกน้อยของคุณอาจติดเชื้อได้จากการสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัส เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ลูกบิดประตู ของเล่น หรือโทรศัพท์มือถือ หลังจากนั้นเด็กนำมือมาสัมผัสใบหน้า ดวงตา หรือปาก เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่ร่างกาย

 

การอยู่รวมกันในสถานที่แออัด

เด็ก ๆ มีโอกาสติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ง่ายในสถานที่แออัด เช่น โรงเรียน สถานเลี้ยงดูเด็ก สนามเด็กเล่น ศูนย์การค้า หรือรถโดยสารสาธารณะ หรือในสถานที่เด็ก ๆ อยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นมากขึ้น ทำให้มีโอกาสสัมผัสละอองฝอยหรือพื้นผิวที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสได้ง่าย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

เด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ มักจะมีอาการปรากฏทันที โดยมีอาการดังต่อไปนี้:

  • มีไข้ อุณหภูมิร่างกายอาจสูงถึง 39.4°C – 40.5°C
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย อาการปวดอาจรุนแรง
  • ปวดศีรษะ
  • เจ็บคอ
  • ไอ อาการไอจะแย่ลงเรื่อย ๆ
  • เหนื่อยล้า
  • น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก

ในบางกรณี เด็กอาจมีอาการเพิ่มเติม เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียร่มด้วย ทั้งนี้โดยทั่วไป เด็กที่ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่จะใช้เวลา ประมาณ 1 สัปดาห์ ในการฟื้นตัว แต่บางรายอาจรู้สึกอ่อนเพลียเป็นเวลา 3-4 สัปดาห์ เพื่อแยกแยะระหว่างหวัดกับไข้หวัดใหญ่ สังเกตอาการดังนี้

 

อาการ หวัด ไข้หวัดใหญ่
ไข้ อาจมีไข้ แต่ไม่สูงมาก
ไข้สูง (39.4°C – 40.5°C)
ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเมื่อยเล็กน้อย ปวดเมื่อยรุนแรง
ปวดศีรษะ ปวดศีรษะเล็กน้อย ปวดศีรษะมาก
เจ็บคอ เจ็บคอเล็กน้อย เจ็บคอมาก
ไอ ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ
ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ แต่จะแย่ลง
น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก น้ำมูกไหลใส
น้ำมูกไหลใสหรือข้น
อาการอื่นๆ อาจมีอาการคัดจมูกหรือตาแดง
อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย

 

ทั้งนี้ไข้หวัดมักไม่รุนแรงและมักหายไปหลังจากผ่านไป 2-3 วัน แต่ไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดอาการรุนแรงและนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ เช่น โรคปอดบวมถึงขั้นเสียชีวิตได้ และอาการไข้หวัดใหญ่หลายอย่างอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกน้อยของคุณเป็นไข้หวัดธรรมดาหรือไข้หวัดใหญ่ควรพาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและทำการรักษา 

บทความที่น่าสนใจ: แพ็กเกจฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2567 โรงพยาบาลชั้นนำ

 

 

วิธีรักษาไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

การรักษาไข้หวัดใหญ่ในเด็กนั้น ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อาการ อายุ สุขภาพโดยรวม และความรุนแรงของโรค โดยเป้าหมายหลักของการรักษาคือ บรรเทาอาการและช่วยให้เด็กหายป่วยเร็วขึ้น ซึ่งอาจใช้วิธีการรักษาดังต่อไปนี้ 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา
  • ยาแก้ปวดและลดไข้

ยาแก้ปวดและลดไข้ที่พบบ่อยสำหรับเด็ก ได้แก่ พาราเซตามอลและไอบูโพรเฟน

เป็นยาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสำหรับการลดไข้และบรรเทาอาการปวดในเด็ก มักมีจำหน่ายในรูปแบบยาน้ำ และยาเม็ด ซึ่งการให้พาราเซตามอลแก่เด็กควรให้ตามน้ำหนักตัว และโปรดอ่านฉลากอย่างละเอียดก่อนใช้ยาเสมอ รวมถึงอย่าให้ยาเกินปริมาณที่แนะนำ

    • ไอบูโพรเฟน 

เป็นยาอีกชนิดหนึ่งที่สามารถใช้ลดไข้และบรรเทาอาการปวดในเด็กได้ มักมีจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ดและยาน้ำ ไอบูโพรเฟนไม่ควรให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน และควรใช้ด้วยความระมัดระวังในเด็กที่มีปัญหาสุขภาพบางอย่าง โปรดอ่านฉลากอย่างละเอียดก่อนใช้ยาเสมอ

 

  • ยาต้านไวรัส

ยาเหล่านี้สามารถช่วยลดระยะเวลาการป่วย บรรเทาอาการ และลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อหู หรือการต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ยาต้านไวรัสจะมีประสิทธิภาพสูงสุดหากเริ่มทานภายใน 48 ชั่วโมงหลังจากเริ่มมีอาการ แต่ก็ยังสามารถทานได้แม้จะเริ่มมีอาการป่วยนานกว่า ทั้งนี้แล้วยาปฏิชีวนะไม่ได้ผลกับโรคไข้หวัดใหญ่ซึ่งเกิดจากไวรัส แพทย์จะสั่งยาปฏิชีวนะเฉพาะกรณีที่เด็กเกิดโรคแทรกซ้อนจากแบคทีเรียเท่านั้น 

 

  • การพักผ่อนที่เพียงพอ

สิ่งสำคัญที่สุดคือให้เด็กได้รับการพักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับจะช่วยให้ร่างกายของเด็กต่อสู้กับการติดเชื้อและฟื้นตัวได้เร็วขึ้น เด็กเล็กควรนอนหลับ 10-13 ชั่วโมงต่อวัน วัยรุ่นและผู้ใหญ่ควรนอนหลับ 8-10 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากการนอนหลับแล้ว ยังมีกิจกรรมพักผ่อนอื่น ๆ ที่เด็กที่เป็นไข้หวัดใหญ่สามารถทำได้ เช่น

    • อ่านหนังสือ การอ่านหนังสือเป็นวิธีที่ดีในการผ่อนคลายจิตใจและช่วยให้เด็กมีสมาธิ
    • เล่นเกมเงียบ ๆ เช่น การต่อจิ๊กซอว์ หรือ การระบายสี จะช่วยให้เด็กไม่เบื่อและช่วยให้จิตใจสงบ
    • ฟังเพลง การฟังเพลงที่ผ่อนคลาย ช่วยให้เด็กรู้สึกสบายใจและลดความเครียด
    • ดูหนังหรือรายการทีวี การดูหนังหรือรายการทีวี อาจช่วยให้เด็กผ่อนคลาย แต่ควรจำกัดเวลาในการดูหน้าจอ

สิ่งสำคัญคือต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ใช้พลังงานมาก เช่น การเล่นกีฬา การวิ่งเล่น หรือการปีนป่าย กิจกรรมเหล่านี้ อาจทำให้เด็กเหนื่อยล้า และทำให้ร่างกายอ่อนแอลง

 

 

วิธีการป้องกันไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไข้หวัดใหญ่ในเด็ก วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และช่วยลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ปอดอักเสบ และหัวใจวาย เด็กทุกวัยที่มีอายุ 6 เดือนขึ้นไปควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี เด็กบางกลุ่มอาจจำเป็นต้องได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 2 โดส

นอกจากการฉีดวัคซีนแล้ว ยังมีวิธีอื่น ๆ ที่สามารถช่วยป้องกันไข้หวัดใหญ่ในเด็กได้อีกดังนี้

  • สอนให้ลูกของคุณล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสบู่เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที โดยเฉพาะหลังจากใช้ห้องน้ำ ไอ จาม หรือก่อนรับประทานอาหาร
  • สอนให้ลูกของคุณไอหรือจามใส่ทิชชู่ ทิ้งทิชชู่ที่ใช้แล้วลงถังขยะที่มีฝาปิดทันที และล้างมือให้สะอาด
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่
  • สอนให้ลูกของคุณไม่เอามือแตะตา จมูก หรือปาก เมื่อสัมผัสกับสิ่งสกปรก
  • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวสัมผัส บ่อย ๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ ของเล่น และลูกบิดประตู
  • ให้ลูกของคุณนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

หากลูกของคุณมีอาการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ โปรดพาเด็กไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด การรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะช่วยลดระยะเวลาของอาการป่วยและป้องกันโรคแทรกซ้อนร้ายแรงได้ รวมถึงการดูแลและป้องกันที่เหมาะสมของคุณพ่อคุณแม่ก็สามารถช่วยให้ลูกของคุณปลอดภัยจากไข้หวัดใหญ่ได้เช่นกัน

 

ที่มา: www.hopkinsmedicine.org, www.samitivejhospitals.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ: 

10 อาการ RSV ในทารก และเด็กเล็ก สัญญาณเตือนที่พ่อแม่ควรรู้

10 โรคหน้าฝนในเด็ก 2024 โรคหน้าฝนสุดฮิตที่เด็กมักเป็น คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง

โรคเด็กโตก่อนวัย เป็นอย่างไร? เมื่อลูกเป็นแบบนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องทำอย่างไร

บทความโดย

Siriluck Chanakit