X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ดูแล ทารกคลอดก่อนกำหนด อย่างไร?

บทความ 5 นาที
ดูแล ทารกคลอดก่อนกำหนด อย่างไร?

ทารกที่คลอดก่อนอายุครรภ์ครบสัปดาห์ที่ 37 ถือว่าเป็นทารกคลอดก่อนกำหนด คุณแม่ที่ลูกน้อยคลอดก่อนกำหนดย่อมกลัวและวิตกกังวลมากเป็นธรรรมดา ทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะแทรกซ้อน ยิ่งทารกคลอดก่อนกำหนดมากเท่าไร ความเสี่ยงก็เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

วิธีดูแล ทารกคลอดก่อนกำหนด

ภาวะแทรกซ้อนของ ทารกคลอดก่อนกำหนด นั้นมีอยู่มากมาย โดยจะนับจากการคลอดก่อนอายุครรภ์ครบสัปดาห์ที่ 37 และทุกคนจะได้รับการดูแลรักษา โดยห้องอภิบาลทารกแรกเกิด  (NICU) ต่อไปนี้เป็นการอธิบายโดยสังเขปว่า การดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดประกอบไปด้วยอะไรบ้างค่ะ

 

ดูแลทารกคลอดก่อนกำหนด

วิธีดูแล ทารกคลอดก่อนกำหนด

ทำไมทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดจึงต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ

ทารกคลอดก่อนกำหนด ยังไม่พร้อมที่จะรับมือกับชีวิตในโลกอย่างเต็มที่ ร่างกายน้อย ๆ นั้นประกอบด้วย อวัยวะส่วนต่าง ๆ ที่ยังเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ดี ได้แก่ ปอด ระบบย่อย ระบบภูมิคุ้มกันและผิวหนัง โชคดีที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ ทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนด สามารถมีชีวิตอยู่รอดผ่านช่วงสองสามวันแรก หรืออาจจะนานหลายสัปดาห์ หรือหลายเดือนแรกของชีวิต จนกระทั่งทารกแข็งแรง พอจะอยู่ได้ด้วยตัวเอง

ทารกคลอดก่อนกำหนด

ทารกคลอดก่อนกำหนดจะได้รับการดูแลพิเศษ

ห้องอภิบาลทารกแรกเกิด (NICU) โดยย่อ

ห้องอภิบาลทารกแรกเกิด คือ สภาพแวดล้อมและบ้าน ที่จะปกป้องลูกน้อยแรกเกิดของคุณ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ จึงควรทำความคุ้นเคยกับห้องนี้ไว้ให้มากที่สุดค่ะ ห้องอภิบาลทารกแรกเกิด พร้อมสรรพด้วยเจ้าหน้าที่ดูแล ระบบเฝ้าติดตาม และสัญญาณเตือน อุปกรณ์ในการช่วยหายใจ และการกู้ชีพ สามารถติดต่อกุมารแพทย์เฉพาะทางได้ทุกสาขา บริการห้องแล็บตลอด 24 ชั่วโมง

อ่านต่อรายละเอียดเรื่องห้องอภิบาลทารกแรกเกิด

อะไรคือการดูแลททารกคลอดก่อนกำหนด แบบจิงโจ้ (Kangaroo Care)

การดูแลแบบจิงโจ้ เป็นเทคนิกที่นำทารกคลอดก่อนกำหนด มาวางบนหว่างอกของแม่ให้เนื้อแนบเนื้อ ท้องแนบท้อง โดยเอียงศีรษะของทารกให้หูแนบอยู่เหนือหัวใจแม่ งานวิจัยหลายชิ้นระบุว่า การดูแลแบบจิงโจ้นี้มีคุณประโยชน์หลายอย่าง คริสแอนน์ ลาริเมอร์ ผู้เขียนหนังสือ”แนบเนื้อกับปาฏิหาริย์น้อย ๆ ” (Kangarooing Our Little Miracle) ชี้ว่า การดูแลแบบจิงโจ้ สามารถช่วยทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนดในหลายด้าน ดังต่อไปนี้

– อุณหภูมิร่างกาย

งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า แม่มีอุณหภูมิร่างกายที่สัมพันธ์กับของลูก ถ้าลูกหนาว อุณหภูมิของแม่จะเพิ่มขึ้นเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ลูกและในทางกลับกันก็เช่นเดียวกัน

– การให้นมแม่

การดูแลแบบจิงโจ้ ทำให้ลูกเข้าถึงหน้าอกของแม่ได้ง่าย การสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อ ยังช่วยกระตุ้นให้มีการปล่อยน้ำนมออกมาอีกด้วย

– เพิ่มน้ำหนักตัวทารก

การดูแลแบบจิงโจ้ ทำให้ทารกหลับลึก จึงสามารถส่งพลังงานไปทำหน้าที่อื่น ๆ ในร่างกายได้มากขึ้น น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นของทารกยังหมายถึง การได้ออกจากโรงพยาบาลเร็วขึ้นอีกด้วย

– เพิ่มสายใยผูกพัน ระหว่างแม่กับลูก

การให้นมแม่ทารกคลอดก่อนกำหนด หน้าถัดไป >>>

การให้นมแม่

เราทุกคนต่างทราบดีว่า นมแม่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของลูกน้อย และเพิ่มสายสัมพันธ์ทางอารมณ์ระหว่างแม่และลูกได้ดีเพียงใด อย่างไรก็ตาม ในกรณีของทารกคลอดก่อนกำหนด คุณแม่อาจไม่ได้รับอนุญาตให้ให้นมลูกน้อยได้ ทารกแรกเกิดที่คลอดก่อนกำหนด (อายุครรภ์ระหว่าง 25-29 สัปดาห์) ส่วนมากจะได้รับสารอาหารทางสายน้ำเกลือ หรือสายยาง ดังนั้น ถ้าคุณแม่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ก็ขอให้แจ้งแพทย์และพยาบาลทันทีหลังคลอด จากนั้นก็เริ่มปั๊มและเก็บนมไว้รอเวลาที่ลูกน้อยพร้อมจะรับนมแม่เลยค่ะ ระบบย่อยและการควบคุมอิเล็กโทรไลต์ของทารก จะเป็นตัวตัดสินว่าเมื่อไรร่างกายถึงจะพร้อมย่อยนมแม่ผ่านทางสายยาง และเมื่อไรคุณแม่จึงจะใช้นมที่เก็บรักษาไว้ได้ เมื่อระบบหายใจของลูกเสถียรดีแล้ว คุณแม่ก็สามารถให้นมลูกได้โดยตรง ทารกส่วนใหญ่ที่เกิดหลังอายุครรภ์ครบ 35-37 สัปดาห์จะดื่มนมแม่ได้ทันทีหลังคลอดค่ะ

ทารกคลอดก่อนกำหนด

 

คุณพ่อคุณแม่ จะมีส่วนร่วมในห้องอภิบาลทารกแรกเกิด ได้อย่างไร

มีหลายวิธีที่ คุณพ่อคุณแม่สามารถมีส่วนร่วมในห้องอภิบาลทารกแรกเกิดได้ เจ้าหน้าที่ห้องอภิบาลฯ สนับสนุนให้ คุณพ่อคุณแม่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่มือใหม่อาจไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไร ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำคร่าว ๆ ค่ะ

ทารกคลอดก่อนกำหนด

1. สัมผัสลูกให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ คุณพ่อคุณแม่ควรแตะ หรือลูบตัวลูกเบา ๆ อย่างอ่อนโยน

2. พูดคุยกับลูก ลูกจดจำเสียงของคุณได้ และ จะรู้สึกอุ่นใจที่ได้ยินเสียงคุณ คุณอาจจะอ่านหนังสือ หรือ ร้องเพลงให้ลูกฟังก็ได้ค่ะ

3. เปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูก

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

4. มีส่วนร่วมในการอาบน้ำให้ลูกเป็นครั้งแรก คุณสามารถเลือกได้ระหว่าง การใช้ผ้า หรือฟองน้ำ ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของลูกค่ะ

5. วัดอุณหภูมิร่างกายของลูก

ทารกคลอดก่อนกำหนด

ที่มา: American Pregnancy

 

The Asianparent Thailand เว็บไซต์และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่นรวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงานและดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจและพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  The Asianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ ในครอบครัวไทย

 

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ทารกคลอดก่อนกำหนด เสี่ยงเสียชีวิตตั้งแต่เด็ก ต้องป้องกันตอนตั้งครรภ์ ก่อนลูกเข้าตู้อบ!

การให้นมแม่แก่ทารกคลอดก่อนกำหนด สำคัญแค่ไหนกับลูกตัวน้อย น้ำนมแม่ยาที่ดีที่สุด

พบกับทารกคลอดก่อนกำหนดที่มีขนาดตัวเล็กเท่าแหวนแต่งงาน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • ดูแล ทารกคลอดก่อนกำหนด อย่างไร?
แชร์ :
  • 9 ข้อควรจำ สำหรับการดูแลเด็กคลอดก่อนกำหนด

    9 ข้อควรจำ สำหรับการดูแลเด็กคลอดก่อนกำหนด

  • คลอดก่อนกําหนด เกิดจากสาเหตุอะไร ทำไมแม่ตั้งครรภ์ถึงคลอดก่อนกำหนด ?

    คลอดก่อนกําหนด เกิดจากสาเหตุอะไร ทำไมแม่ตั้งครรภ์ถึงคลอดก่อนกำหนด ?

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • 9 ข้อควรจำ สำหรับการดูแลเด็กคลอดก่อนกำหนด

    9 ข้อควรจำ สำหรับการดูแลเด็กคลอดก่อนกำหนด

  • คลอดก่อนกําหนด เกิดจากสาเหตุอะไร ทำไมแม่ตั้งครรภ์ถึงคลอดก่อนกำหนด ?

    คลอดก่อนกําหนด เกิดจากสาเหตุอะไร ทำไมแม่ตั้งครรภ์ถึงคลอดก่อนกำหนด ?

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ