X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

วิธีการสนับสนุนพนักงานที่ตั้งครรภ์ สิ่งที่สถานประกอบการต้องรู้

บทความ 5 นาที
วิธีการสนับสนุนพนักงานที่ตั้งครรภ์ สิ่งที่สถานประกอบการต้องรู้

การค้นพบว่าคุณกำลังท้อง เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและน่ายินดีเป็นอย่างมาก แต่แน่นอนว่า เมื่อคุณเห็นเส้นสีชมพูปรากฏขึ้นบนที่ตรวจครรภ์ของคุณ นอกเหนือจากความสุขแล้ว มันก็คงจะมีความรู้สึกมากมายหลายอย่าง พุ่งเข้ามาในหัวของคุณ หนึ่งในสิ่งที่คุณกังวล ก็อาจเป็นเรื่องงาน ที่คุณคงยังไม่รู้ว่าบริษัทจะมีวิธีการสนับสนุนพนักงานที่ตั้งครรภ์ให้กับคุณแม่อย่างคุณอย่างไรบ้าง ในกรณีนี้ คุณจะต้องเข้าสู่ระยะเวลา 9 เดือน แห่งความพิเศษ ที่ต้องปลอดความเครียดจากการทำงาน เพื่อสุขภาพครรภ์ที่ดีของคุณแม่เอง ซึ่งเป็น วิธีการสนับสนุนพนักงานที่ตั้งครรภ์ อย่างหนึ่ง

 

แม้ในปัจจุบันนี้ สถานประกอบการส่วนใหญ่จะมีผู้หญิงเป็นผู้นำ แต่ก็ยังคงมีการเลือกปฏิบัติในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อยู่เสมอ ๆ และยังคงเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการแก้ไข การศึกษายังพบว่า ไม่ใช่เพียงแค่ในตะวันออกเฉียงใต้ของเอเชียเท่านั้น ที่ต้องเจอกับปัญหานี้ แต่ฝั่งแถบตะวันตก ก็มีการเลิกจ้างผู้หญิงตั้งครรภ์ อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน และก็ยังมีการคาดการณ์ว่าผู้หญิงก็ถูกปฏิเสธเช่นกัน นี่จึงเป็นสาเหตุที่บังคับให้ผู้หญิง ต้องลาออกจากงานหลังจากคลอดลูกแล้ว

 

องค์กรจะสามารถยื่นมือเข้าช่วยได้อย่างไร?

คำตอบค่อนข้างจะตรงไปตรงมา เพียงแค่องค์กรเรียนรู้ที่จะสนับสนุนผู้หญิงตั้งครรภ์ ก็เพียงพอแล้ว จากบางการศึกษาก็พบว่าบางองค์กรมีการดำเนินการด้านนี้อยู่แล้ว

 

ถ้าจะให้พูดโดยรวม องค์กรเองก็สามารถสนับสนุนได้เพียงแค่เริ่มต้นที่จะลองเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการทำงานกับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และ สร้างสิ่งแวดล้อมการทำงาน ให้มีความเท่าเทียมในเรื่องของเพศ ด้วยเช่นกัน

วิธีการสนับสนุนพนักงานที่ตั้งภรรภ์ สิ่งที่สถานประกอบการต้องรู้

วิธีการสนับสนุนพนักงานที่ตั้งครรภ์ องค์กรควรทำอย่างไร

1. เพิ่มผลประโยชน์

นอกเหนือจากเอกสารต่าง ๆ ที่ทำให้แม่ท้องเกิดอาการเครียดได้แล้ว ควรให้แม่ท้องได้มีโอกาสเลือกรับผลประโยชน์ได้ เพียงแค่ลองทำรายการง่าย ๆ ในหัวข้อ “ฉันเป็นคนท้อง” และเพิ่มรายการ เกี่ยวกับวิธีการใช้ เพื่อเป็นวิธีเริ่มการสนทนา ในหัวข้อบนเว็บไซต์ภายในของคุณ

 

ขั้นตอนแรก คุณควรใส่ฟังก์ชันการจองเวลาเพื่อให้แม่ท้อง ได้พูดคุยกับฝ่ายทรัพยากรบุคคล จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการการให้คำแนะนำแก่คุณแม่ท้อง ซึ่งหัวข้อการสนทนา จะต้องครอบคลุมหัวข้อตั้งแต่ ผลประโยชน์ในการคลอดบุตร การลาคลอด การจ่ายค่าจ้าง และรวมถึงระยะเวลาในการกลับมาทำงานอีกครั้ง

 

เมื่อองค์กรเข้าใจ และรู้ถึงวิธีการสนับสนุนพนักงานที่ท้องแล้ว ควรให้ฝ่ายทรัพยากรณ์บุคคล สามารถติดต่องานได้ตลอด เพื่อให้ข้อมูลง่าย ๆ และเข้าถึงคุณแม่ท้องได้บ่อย ๆ

 

2. สร้างเครือข่ายสนับสนุน

วิธีที่ง่าย ๆ ที่จะช่วยให้แม่ท้องทำงานร่วมกับองค์กรของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การสร้างเครือข่ายสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือฝ่ายใดก็ตามในองค์กร

 

พนักงานคนอื่น ๆ สามารถได้รับประโยชน์จากการสนับสนุน แน่นอนว่าความคิดริเริ่มนี้ อาจถูกคาดหวังจากพนักงาน นี่อาจเป็นไอเดียที่ดีที่จะเริ่มต้นการสร้างแพลตฟอร์ม และช่องทางสำหรับคุณแม่ และผู้ปกครองในองค์กรได้ สิ่งนี้จะสามารถช่วยให้คนในองค์กร สามารถปรึกษาพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาอย่างเป็นส่วนตัวได้

 

บางองค์กรอาจมีที่ประชุมสำหรับกลุ่มผู้ปกครอง ซึ่งจัดการโดยพนักงานที่มีลูกแล้ว และยังสามารถพาลูก ๆ มาที่ทำงาน พร้อมทั้งแชร์เรื่องราว ประสบการณ์เกี่ยวกับการเป็นผู้ปกครองแก่กันและกันได้ ไอเดียนี้จะช่วยสร้างสังคมของผู้ปกครอง ที่จะช่วยให้ครอบครัว ที่กำลังจะได้เป็นผู้ปกครอง ได้ร่วมแชร์ประสบการณ์ และขอการสนับสนุน จากพนักงานคนอื่น ๆ ได้

วิธีการสนับสนุนพนักงานที่ตั้งภรรภ์ สิ่งที่สถานประกอบการต้องรู้

3. จัดทำห้องสำหรับคุณแม่ หรือ ห้องให้นมลูกในออฟฟิศ

ในปัจจุบันมีหลากหลายออฟฟิศ ที่ริเริ่มการทำห้องสำหรับคุณแม่ หรือ ห้องให้นมลูกในออฟฟิศ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่มือใหม่ได้รู้สึกสบายใจ ที่จะให้นมลูก และไม่ต้องกังวลว่าจะมีสายตาจับจ้องหรือไม่

 

ขั้นแรก องค์กรควรพิจารณาพื้นที่สำหรับการออกแบบ เพื่อจะเป็นห้องปั๊มนม หรือ ห้องให้นมลูก ซึ่งควรจะอยู่ใกล้กับห้องครัว ต้องสะอาด และมีพื้นที่เพียงพอสำหรับคุณแม่ เพื่อให้คุณแม่ได้นั่งอย่างสบาย อีกทั้งยังควรมีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน อย่าง โต๊ะ เก้าอี้ที่มีล้อ อ่างล้างมือ และควรมีตู้เย็น สำหรับใส่นมแม่โดยเฉพาะ

 

อย่าลืมที่จะเตรียมเครื่องปั๊มนม และไมโครเวฟ สำหรับทำความสะอาดอุปกรณ์ต่าง ๆ และห้องสำหรับคุณแม่ ควรเป็นห้องที่น่าเข้า ดูสะอาด สบาย ไม่น่ากลัว เพื่อให้คุณแม่รู้สึกสบาย ขณะให้นมลูก

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

 

สุดท้ายนี้ โชว์ห้องให้คุณแม่มือใหม่ได้รู้ และแนะนำให้ทุก ๆ คนในองค์กรได้รับรู้ถึงสวัสดิการนี้ และทำให้การปั๊มนม การให้นมลูก เป็นเรื่องปกติ ที่สามารถทำที่ออฟฟิศก็ได้

 

4. สอนพนักงานในเรื่องของการตั้งคำถามเกี่ยวกับการท้อง

ลองคิดดูว่า หากมีบางคนเดินไปที่หน้าผู้หญิงคนหนึ่ง แล้วถามกับเธอว่า คุณตั้งท้องรึเปล่า ต่อหน้าห้องประชุม ซึ่งนี่คงจะเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง และดูเหมือนว่ามันจะไม่เหมาะกับสถานที่เอาเสียเลย เพราะนั่นจะทำให้ผู้หญิงคนนั้น ถูกสนใจ โดยที่เธอไม่ต้องการเลย ซึ่งเธออาจกำลังหาเวลาที่เหมาะสม ที่จะบอกเรื่องนี้กับคนอื่นอยู่

 

อย่างไรก็ตาม มันมีทางที่จะช่วยไม่ให้เรื่องลักษณะนี้เกิดขึ้น โดยเริ่มแรก องค์กรควรจะให้ความรู้กับพนักงาน ว่าคนท้องไม่สมควรได้รับการดูแลเหมือนกับคนป่วย ที่มีสุขภาพร่างกายอ่อนแอ เพราะมันเป็นเรื่องปกติของชีวิต และไม่ควรถูกมองเป็นอย่างอื่น

 

5. ให้กำลังใจ และ สนับสนุนด้านจิตใจ

ช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ อาจเป็นเวลาแห่งความเครียด ฮอร์โมนของคุณแม่กำลังผันผวน และต้องเจอกับอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ บางครั้ง ปัญหาทางกายภาพ ก็อาจทำให้ยากต่อคุณแม่ ที่จะต้องนั่งประชุมเป็นเวลานาน ๆ เช่นกัน ในอีกทางหนึ่ง องค์กรควรมีการสนับสนุนแม่ท้อง ทั้งในด้านกายภาพและด้านจิตใจ

 

อีกสิ่งหนึ่งที่องค์กรคุณควรทำคือ บอกให้ทีมทรัพยากรบุคคล คอยหมั่นตรวจสอบพนักงาน ว่าสามารถจัดการกับงานได้หรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้งานเยอะเกินไป เพื่อให้การสนับสนุน และช่วยเหลือ

 

6. พูดคุยถึงขั้นต่อ ๆ ไป

วิธีการสนับสนุนแม่ท้องอาจไม่มีอยู่ในคู่มือ แต่คุณสามารถทำให้มันเป็นการเดินทางที่แสนง่าย ด้วยการพูดคุยถึงแผนปัจจุบัน และอนาคตร่วมกัน ในแง่ของนโยบายสนับสนุนการตั้งครรภ์ คุณอาจได้รับวิธีการแนะนำ ในเรื่องของ การคลอด การลา และ ระยะเวลาที่จะกลับมาทำงาน

 

องค์กรควรเปิดเผย และ ซื่อตรง ในบางประเทศจะมีนโยบายจากรัฐ ที่สนับสนุนให้มีการลาคลอด และมีระเบียบข้อบังคับที่ชัดเจน ซึ่งหากพนักงานของคุณไม่ทราบเรื่องนี้ คุณควรแจ้งให้ทราบด้วยเช่นกัน

 

ในบางครั้งพนักงานของคุณ ก็อาจมีปัญหาและข้อจำกัดในการทำงาน ขณะที่ตั้งครรภ์ หากองค์กรต้องเจอกับปัญหานี้ ควรปรึกษาและวางแผนร่วมกัน เกี่ยวกับการทำงาน หรือ การโยกย้ายตำแหน่ง หากเป็นไปได้

 

7. ทำให้การกลับมาทำงานเป็นเรื่องง่าย

องค์กรควรมีนโยบายง่าย ๆ สำหรับการให้กลับมาทำงาน และควรบอกให้แม่ท้องทราบ ก่อนที่เธอจะลางานไป โดยคุณแม่ ควรทำการตรวจสอบนโยบายของรัฐ เกี่ยวกับกระบวนการลาคลอดต่าง ๆ สำหรับพนักงาน

 

สุดท้ายนี้ วิธีการสนับสนุนพนักงานที่ตั้งครรภ์ องค์กรควรทำให้มั่นใจว่า สถานที่ทำงานมีสิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นมิตรกับแม่ท้อง หากคุณสังเกตเห็นพนักงานที่ตั้งครรภ์มีปัญหา ให้รู้เอาไว้ว่าคำติชมเชิงบวกที่สามารถทำให้องค์กร ต่อยอดไปได้ไกล

 

ที่มาข้อมูล 1

บทความที่น่าสนใจ

คนท้องทำงานหนัก ต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง? ทำงานอย่างไรให้ปลอดภัย

คนท้องทำงาน นั่งนาน ยืนนาน แม่ท้องทำงานหนัก นอนน้อย นอนดึก เครียด ส่งผลกับทารกในครรภ์

คนท้องทำงานอะไรได้บ้าง งานบ้านแบบไหนไม่เป็นอันตรายต่อลูกในท้อง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Waristha Chaithongdee

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • วิธีการสนับสนุนพนักงานที่ตั้งครรภ์ สิ่งที่สถานประกอบการต้องรู้
แชร์ :
  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

    คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

  • วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

    วิตามินบี 9 คนท้อง จำเป็นต้องกินไหม วิตามินบี 9 คือโฟเลตหรือโฟลิก หรือเปล่า ?

  • คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

    คนท้องกินวาฟเฟิลได้ไหม ไปไหนก็เจอทั้งหอมทั้งหวาน กินมากไม่ดี

  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

    ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ คนท้อง เป็นอย่างไร อันตรายต่อลูกน้อยในครรภ์แค่ไหน?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ