X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คำชมทรงพลัง! 4 วิธีชมลูก ที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกอยากพัฒนาตัวเอง

บทความ 5 นาที
คำชมทรงพลัง! 4 วิธีชมลูก ที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกอยากพัฒนาตัวเอง

วิจัยเผย! วิธีชมลูก มีผลต่อความสำเร็จของเด็ก วิธีการชมที่แตกต่าง ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่าง ชมลูกอย่างไร ให้ลูกอยากพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้น มาดูกัน

“เก่งมาก!” “ทำได้ดี!” คำชมเหล่านี้ที่เราคุ้นเคย อาจไม่ได้สร้างแรงกระตุ้นให้ลูกอยากพัฒนาตัวเองอย่างแท้จริง บทความนี้ เราจะมาเรียนรู้ วิธีชมลูก เพื่อให้คำชมนั้นเป็นแรงผลักดันให้ลูกกล้าเผชิญความท้าทาย เรียนรู้จากความผิดพลาด และพร้อมจะพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

วิจัยเผย! วิธีชมลูก มีผลต่อความสำเร็จของเด็ก

งานวิจัยของ Dr.Carol Dweck จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด แสดงให้เห็นว่า วิธีชมลูก มีผลต่อความสำเร็จของเด็ก เด็กที่มี Growth Mindset เชื่อว่าความสามารถของตัวเองพัฒนาได้ เด็กกลุ่มนี้มักจะประสบความสำเร็จมากกว่าเด็กที่มีแนวคิดแบบ Fixed Mindset ซึ่งอาจทำให้ลูกคิดว่า ตัวเองเป็นคนเก่ง และคนเก่งจะต้องไม่เกิดความผิดพลาด ยิ่งกลัวผิดพลาด ก็ยิ่งหลีกเลี่ยงที่จะทำสิ่งใหม่ ก็จะไม่เกิดการพัฒนา

วิธีการชมที่แตกต่าง ทำให้เกิดผลลัพธ์ที่แตกต่าง

  • คำชมที่ไม่ดี คือ การชมที่ความสามารถ ผลลัพธ์ หรือพรสวรรค์ของลูก ซึ่งอาจทำให้เด็กมีแนวคิดแบบ Fixed Mindset โดยไม่รู้ตัว 
  • คำชมที่ดี คำชมเชยที่ได้ผลและส่งเสริมแนวคิดแบบ Growth Mindset ในเด็ก ควรมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ ได้แก่ คำชมเชย พฤติกรรมที่เราเห็นว่าดีและอยากให้เกิดมากขึ้น  และผลลัพธ์เชิงบวกที่เกิดขึ้นจากพฤติกรรมนั้น

วิธีชมลูก

 

คำชมแบบ “Fixed Mindset” คืออะไร

เรามักจะพูดชมเด็กๆ ว่า “เก่งจัง!” หรือ “ฉลาดมาก!” ด้วยความรักและชื่นชม แต่เมื่อเวลาผ่านไป คำชมเหล่านี้อาจสร้างปัญหาโดยไม่ตั้งใจ เพราะคำชมแบบนี้อาจสร้างความคาดหวังให้เด็กๆ ต้องรักษามาตรฐานที่สูงไว้ตลอดเวลา เพื่อให้สมกับคำชมที่ได้รับ

ถ้าลูกเจอกับความยากลำบากหรืออุปสรรค อาจรู้สึกว่าตัวเองล้มเหลว หรือรู้สึกว่าตัวเองไม่ฉลาด หรือ ไม่มีพรสวรรค์ อย่างที่เคยเชื่อ

ตัวอย่างคำชมแบบ Fixed Mindset 

คำชมเหล่านี้เน้นที่ความสามารถที่มีอยู่แล้ว ซึ่งอาจทำให้เด็กๆ กลัวความล้มเหลวและไม่กล้าลองสิ่งใหม่ๆ

  • “ลูกฉลาดมาก!”
  • “ลูกมีพรสวรรค์ในเรื่องนี้”
  • “ลูกเก่งคณิตศาสตร์มาแต่เกิด”
  • “ลูกเกิดมาเพื่อเป็นนักเขียน”
  • “ลูกเป็นศิลปินที่เก่งที่สุดในห้อง!”
  • “ลูกเข้าใจถูกแล้ว ลูกต้องเก่งเรื่องนี้มากแน่ๆ!”
  • “ลูกไม่ต้องพยายามเลย มันง่ายสำหรับลูก”
  • “ลูกเป็นอัจฉริยะ!”
  • “ลูกเก่งเรื่องนี้มาตลอด”
  • “น่าทึ่งมากที่ลูกทำได้โดยไม่ต้องฝึกเลย”

ปัจจุบัน คุณพ่อคุณแม่จึงหันมาชมลูกโดยใช้แนวคิดแบบ Growth Mindset ซึ่งเน้นที่ความพยายาม กระบวนการ และความสามารถในการพัฒนาและเรียนรู้ของลูก จะเป็นประโยชน์มากกว่า

Advertisement

 

คำชมแบบ “Growth Mindset” คืออะไร

การชมลูกแบบ Growth Mindset คือ การชมที่เน้นไปที่กระบวนการมากกว่าผลลัพธ์ ชมที่ความพยายาม ความอดทน และพัฒนาการของลูกที่เกิดขึ้น เมื่อลูกได้รับคำชมแบบนี้ ลูกจะเข้าใจว่าความท้าทายเป็นเรื่องปกติในการเรียนรู้ และพวกเขาสามารถพัฒนาได้ด้วยความทุ่มเทและความพยายาม สิ่งนี้จะกระตุ้นให้เด็กยอมรับความท้าทาย มุ่งมั่นเมื่อเจอปัญหา และมองว่าความพยายามคือหนทางสู่การพัฒนา

ตัวอย่างคำชมแบบ Growth Mindset 

  • “แม่เห็นว่าลูกตั้งใจทำเรื่องนี้มากๆ เลย” 
  • “ที่ลูกทำโครงงานสำเร็จได้ เพราะลูกอดทนพยายามจริงๆ” 
  • “แม่ภูมิใจที่ลูกรับมือกับความยากลำบากได้ดีขนาดนี้”
  • “ลูกฝึกฝนมาตลอด และแม่เห็นได้ชัดเลยว่าลูกพัฒนาขึ้นมาก” 
  • “วิธีแก้ปัญหาของลูกได้ผลดีมากๆ เลยนะ”
  • “แม่เห็นว่าลูกไม่ยอมแพ้เลย ถึงแม้ว่ามันจะยากแค่ไหนก็ตาม”
  • “แม่ดีใจที่เห็นลูกเก่งขึ้นเรื่อยๆ จากความพยายามทั้งหมดของลูก” 
  • “ความตั้งใจและสมาธิของลูกช่วยให้ลูกพัฒนาตัวเองได้ดีมากๆ” 
  • “ลูกเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ดีขึ้นทุกวันเลยนะ”
  • “แม่ชอบที่ลูกนำคำแนะนำไปปรับปรุงตัวเองนะ” 

วิธีชมลูก

 

4 วิธีชมลูก ที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกอยากพัฒนาตัวเอง

หากคุณพ่อคุณแม่ไม่รู้ว่าควรชมลูกยังไงให้ได้ผล ไม่กดดันลูกจนท้อ และไม่ชมมากไปจนเหลิง แต่อยากจะให้เกิดแรงฮึดสู้ เกิดความพยายามอยากทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป จะชมลูกอย่างไร เรามี 4 วิธีชมลูก มาฝากค่ะ

1. ชื่มชมอย่างจริงใจ

คำชมต้องออกมาจากใจจริง ลูกจะสัมผัสได้ถึงความจริงใจจากสีหน้า แววตา น้ำเสียง และเนื้อหาที่พูด พ่อแม่ต้องเป็นคนที่ลูกเชื่อถือได้เสมอ อย่าชมพร่ำเพรื่อ เพราะคำชมที่ไม่จริงใจ นอกจากจะไม่ช่วยให้ลูกพัฒนาแล้ว ยังทำให้ความเชื่อใจและความเชื่อมั่นที่ลูกมีต่อพ่อแม่ลดลง 

ตัวอย่างคำชม Fixed Mindset vs. Growth Mindset
Fixed Mindset  Growth Mindset 
  • “ลูกเป็นคนขยันมาก!”
  • “ลูกฉลาดมาก!”
  • “ลูกเป็นผู้ช่วยที่ดีมาก!”
  • “แม่เห็นว่าลูกตั้งใจทำงานนี้มากๆ เลยนะ” 
  • “วิธีแก้ปัญหาของลูกได้ผลดีมากๆ เลยนะ แม่ประทับใจมาก” 
  • “แม่ชอบที่ลูกช่วยเก็บหนังสือนะ ลูกมีน้ำใจมากๆ เลย” 

2. ชื่นชมที่กระบวนการ ไม่ใช่แค่ผลลัพธ์

ปลูกฝังให้ลูกเห็นคุณค่าของขั้นตอนการทำงาน ไม่ใช่แค่ผลลัพธ์สุดท้าย ระหว่างทางหากเกิดข้อผิดพลาด การไตร่ตรองจะช่วยให้ลูกเข้าใจว่าการทำผิดไม่ใช่เรื่องผิด ถ้าเราได้เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้น 

ตัวอย่างคำชม Fixed Mindset vs. Growth Mindset
Fixed Mindset  Growth Mindset 
  • “ลูกพัฒนาขึ้นแล้ว!”

  • “ลูกเขียนได้ดีขึ้นมาก!”
  • “พอเทียบกับงานของลูกเมื่อเดือนที่แล้ว เห็นได้ชัดเลยว่าลูกปรับปรุงเทคนิคได้ดีขึ้น”
  •  “แม่สังเกตว่าลูกเพิ่มคำเชื่อมในการเขียน ทำให้เนื้อหาไหลลื่นขึ้นเยอะเลย”

และเมื่อลูกพยายามทำอะไรสักอย่าง แต่ผลลัพธ์อาจจะยังไม่สวยงามในสายตาเรา ให้ชมที่ความพยายามและสิ่งดีๆ ที่เราเห็นในระหว่างที่ลูกทำ

ตัวอย่างคำชม Fixed Mindset vs. Growth Mindset
Fixed Mindset  Growth Mindset 
  • “ทำไมสีมันแปลกๆ”
  • “ทำไมมันไม่เหมือนพิซซ่าเลย” 
  • “แม่ว่าลูกผสมสีขาวกับสีแดงออกมาเป็นสีชมพูได้สวยมากเลยนะ”
  • “ตรงนี้ลูกปั้นเป็นหน้าพิซซ่า แล้วยังปั้นพริกชิ้นเล็กๆ ได้ละเอียดมากเลยนะ”

 

3. เน้นความพยายาม ไม่ใช่ความสามารถ

หัวใจสำคัญของแนวคิดแบบ Growth Mindset คือความเชื่อว่าความสามารถของคนเราพัฒนาได้เมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น การชมที่ความพยายามจะช่วยให้ลูกเปลี่ยนจากการคิดว่าตัวเอง “ฉลาด” ไปเป็นการคิดว่าตัวเองมีความ “พากเพียร”

ตัวอย่างคำชม Fixed Mindset vs. Growth Mindset
Fixed Mindset  Growth Mindset 
  • “เรียงความของลูกสุดยอดมาก!”
  • “ลูกมีความสามารถมากจริงๆ!”

  • “ลูกมีพรสวรรค์ที่น่าทึ่ง!”
  • “แม่เห็นเลยว่าลูกทุ่มเทเวลาและความตั้งใจกับการเขียนมาก และมันคุ้มค่าจริงๆ!” 
  • “จำได้ไหมว่าตอนที่ลูกยังไม่เข้าใจเรื่องนี้ ลองดูตอนนี้สิว่าความพยายามทำให้ลูกพัฒนาไปได้ไกลแค่ไหนแล้ว!”
  • “แม่สังเกตว่าลูกวาดรูปทุกวันหลังเลิกเรียน และมันแสดงออกมาให้เห็นในภาพวาดของลูกจริงๆ!”

4. ปรับคำชมให้เหมาะกับวัยของลูก

สำหรับเด็กเล็ก: ใช้คำชมสั้นๆ ง่ายๆ เช่น “เก่งจังเลย!” (พร้อมปรบมือและยิ้ม) “ทำได้ดีมาก!” (พร้อมกอด) “สวยจังเลย!” (เมื่อลูกวาดรูปขีดเขียน) “น่ารักจังเลย!” (เมื่อลูกทำท่าทางน่ารัก) หรือ “ดีมาก!” (เมื่อลูกทำตามคำสั่งง่ายๆ) ยังคงใช้ได้ค่ะ แต่ต้องเป็นการชมอย่างจริงใจ พร้อมแสดงความจริงใจผ่านภาษากาย เช่น ยิ้ม กอด สัมผัส เป็นต้น

สำหรับเด็กโต: ให้ชมโดยระบุรายละเอียด เพื่อให้ลูกเข้าใจชัดเจนว่าอะไรที่ทำได้ดี เน้นที่ความพยายาม กระบวนการ พัฒนาการ พฤติกรรมที่น่าชื่นชม และอะไรที่พัฒนาได้อีก โดยกระตุ้นให้ลูกคิดและอธิบาย เช่น

  • “แม่เห็นว่าลูกตั้งใจวาดรูปนี้มากเลยนะ สีที่ลูกเลือกใช้สวยจัง” 
  • “ลูกพยายามต่อเลโก้จนสำเร็จ เก่งมากเลยที่ลูกไม่ยอมแพ้” 
  • “วิธีที่ลูกแก้โจทย์เลขข้อนี้ดีมากเลย ลูกอธิบายให้แม่ฟังได้ไหมว่าลูกคิดยังไง” 
  • “แม่สังเกตว่าลูกช่วยเพื่อนเก็บของเล่น น่าชื่นชมมากเลยนะ”
  • “ลูกเล่านิทานได้สนุกมากเลยนะ น้ำเสียงของลูกทำให้แม่รู้สึกเหมือนอยู่ในเรื่องเลย” 

คำชมของพ่อแม่ไม่เพียงแต่ให้กำลังใจ แต่ยังช่วยให้เด็กๆ เชื่อมั่นในตัวเองมากขึ้นด้วยค่ะ คำชมที่ดี วิธีชมลูก ที่เหมาะสมทำให้ลูกมีแรงบันดาลใจในการพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้นต่อไป เด็กจะเชื่อว่าความสามารถของตัวเองไม่มีขีดจำกัด ขึ้นอยู่กับความพยายามและความตั้งใจของพวกเขาเท่านั้น

ที่มา : littleyellowstarteaches , เพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา , เพจหมอแพมชวนอ่าน

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

10 เคล็ดลับ สร้างวินัยให้ลูก ฝึกทั้งที ฝึกให้ถูกวิธีดีกว่า

10 วิธีเลี้ยงลูกให้มีสุขภาพจิตดี ที่สำคัญยิ่งกว่าผลการเรียนเกรด A

ควรชมลูกว่าฉลาด หรือไม่ ? 7 วิธีชมลูกแบบใหม่ ที่ไม่ใช่แค่ “เก่ง” หรือ “ฉลาด”

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • การเลี้ยงลูก
  • /
  • คำชมทรงพลัง! 4 วิธีชมลูก ที่ช่วยกระตุ้นให้ลูกอยากพัฒนาตัวเอง
แชร์ :
  • 5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

    5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

  • 6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

    6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

  • EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

    EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

  • 5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

    5 หัวใจสำคัญของการ เลี้ยงลูกสองภาษา วางกลยุทธ์ ฝึกยังไงให้ได้ผล

  • 6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

    6 วิธีเก็บเงินให้ลูก ต่อยอดเงินเก็บให้งอกเงย โตไปมีเงินก้อนไว้ใช้

  • EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

    EQ ต่ำ ไม่ใช่เรื่องไกลตัว: 3 พฤติกรรมเล็ก ๆ บนโต๊ะอาหารที่พ่อแม่ควรรู้ทัน

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว