ทราบไหมคะ ? ว่าเด็กทารกจะเริ่มมีพัฒนาการทางด้านสมองเมื่อพวกเขาอายุครบ 1 ปี แน่นอนว่าคุณพ่อคุณแม่หลายคน จึงเริ่มคิดว่าจะ ‘สอนลูกให้รู้จักชื่อตัวเองได้อย่างไร’ เพื่อให้พวกเขาได้คุ้นเคยกับชื่อตัวเอง และสามารถโต้ตอบเสียงเรียกจากพ่อแม่ได้ สำหรับการพัฒนาทักษะด้านภาษาของเด็กนั้น จะเกิดขึ้นในช่วง 4 – 9 เดือน แต่ไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะสามารถจำชื่อตัวเองได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ และสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดู วันนี้ TheAsianparent Thailand ได้รวบรวมเทคนิคสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ที่จะช่วยให้ลูกสามารถจำชื่อตัวเองได้ พร้อมแล้ว ไปอ่านกันได้เลยค่ะ
สัญญาณที่ลูกเริ่มรู้เริ่มรู้จักชื่อตัวเอง
คุณพ่อคุณแม่หลายคน อาจเริ่มสังเกตการจำชื่อของลูกได้การจากการสบตา หรือส่งเสียงร้อง ของพวกเขา เมื่อเรียกชื่อ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ยังควรพิจารณาจากช่วงอายุของลูก หากลูกอายุ 4-6 เดือน คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถเรียกชื่อลูกบ่อย ๆ เพื่อให้พวกเขาจำชื่อตัวเองได้ รวมถึงให้สังเกตการตอบโต้ของลูกอย่างสม่ำเสมอ หากลูกเริ่มสบตา หันมามอง หรือส่งเสียงร้อง แสดงว่าพวกเขาเริ่มคุ้นเคยกับชื่อของตัวเองแล้ว
ปัจจัยที่ช่วยให้ลูกสามารถจำชื่อตัวเองได้
การรู้จักชื่อตัวเองของเด็ก เป็นจุดเริ่มต้นในการเรียนรู้ของพวกเขา หากลูก ๆ สามารถจำชื่อของตัวเองได้ก่อนเข้าสู่ช่วงเนอสเซอรี่ ก็จะช่วยให้พวกเขาเริ่มเข้าใจการเรียนรู้ และการจดจำสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ สำหรับปัจจัยที่ทำให้ลูกสามารถรู้จักชื่อของตัวเองได้นั้น มีดังนี้
อย่างที่ได้กล่าวไปในข้างต้น คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูก ๆ จดจำชื่อตัวเองได้ โดยการเรียกชื่อพวกเขาบ่อย ๆ เพื่อให้พวกเขาเริ่มคุ้นชินกับชื่อตัว โดยเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น ก็จะเริ่มรู้จักตัวอักษร หรือพยัญชนะต่าง ๆ คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้ตัวอักษรเหล่านี้ ช่วยให้ลูกได้รู้จักชื่อ และวิธีการเขียนที่ถูกต้องได้
เมื่อเด็ก ๆ สามารถจดจำชื่อของตัวเองได้แล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจเริ่มใช้วิธีการพูด และการสะกดคำ เพื่อเป็นการฝึกฝนให้พวกเขาออกเสียง และท่องชื่อของตัวเองได้ถูกต้อง คุณพ่อคุณแม่สามารถสะกดชื่อลูกด้วยการออกเสียงให้ฟัง เช่น “พอ-ลอ-ออ-ยอ พลอย” เป็นต้น จะช่วยให้พวกเขาเริ่มรู้จักวิธีการเรียกชื่อตัวเองได้ถูกต้อง
นอกจากการจดจำ และการสะกดนั้น การเขียนยังเป็นปัจจัยที่สามารถช่วยให้ลูกรู้จักชื่อตัวเองได้ พยายามให้ลูกจับดินสอสี หรือดินสอไม้บ่อย ๆ เพื่อสร้างความคุ้นชินให้กับพวกเขา คุณพ่อคุณแม่อาจเขียนชื่อของลูกลงกระดาษ แล้วลองให้ลากเส้นตาม ก็ช่วยให้ลูกเริ่มจำชื่อของตัวเองได้ ถือเป็นการฝึกการพัฒนากล้ามเนื้อมือ และข้อมือของลูกไปพร้อมกัน
บทความที่เกี่ยวข้อง : พ่อแม่ต้องรู้! เสริมพัฒนาการเด็ก 5 เดือน วิธีเสริมพัฒนาการวัย 5 เดือน
เทคนิค สอนลูกให้รู้จักชื่อตัวเองได้อย่างไร
สำหรับเทคนิคการสอนลูกให้รู้จักชื่อตัวเองนี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปใช้เพื่อให้ลูกได้รู้จักชื่อ การสะกด และวิธีการเขียนชื่อของเด็กที่ถูกต้องได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าเด็กทุกคนจะสามารถเรียนรู้ชื่อของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ และสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดูอีกด้วย โดยเทคนิคในการสอนลูกให้รู้จักชื่อตัวเองนั้น สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. เรียกชื่อบ่อย ๆ : แน่นอนว่าการเรียกชื่อของลูกบ่อย ๆ ช่วยให้พวกเขาคุ้นเคยชื่อของตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ให้พยายามเรียกชื่อของลูกพร้อมประโยคสนทนา เช่น น้องพลอยหิวแล้วหรอลูก หรือ ได้เวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมแล้วพลอย ก็ช่วยให้ลูกได้เริ่มคุ้นชินกับชื่อเรียกของตัวเองได้
2. สังเกตการตอบโต้ของลูก : คุณพ่อคุณแม่อาจลองพาลูกไปในห้องเงียบ ๆ แล้วลองเรียกชื่อของพวกเขา หากลูกสบตา มองหน้า หรือส่งเสียงร้องเวลาเรียกชื่อ ก็แปลว่าลูกเริ่มจำชื่อของตัวเองได้แล้วนั่นเอง
3. ใช้น้ำเสียงอ่อนโยน : การพูดด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยนสามารถช่วยให้ลูกรู้สึกสบายใจได้ ลองพยายามเปลี่ยนน้ำเสียงเมื่อเรียกลูก หรืออาจใช้วิธีร้องเพลง กระซิบ หรือหยอกล้อ เพื่อดึงดูดความสนใจของพวกเขาได้ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกเริ่มสนใจ และคุ้นเคยกับชื่อของตัวเองได้เช่นกัน
4. ให้ลูกดูรูปตัวเอง : อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ลูกจำชื่อตัวเองได้ คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้รูปถ่ายเด็ก ให้พวกเขาดู แล้วลองเรียกชื่อ เช่น อุ้ย ! นั่นน้องพลอยเอง น้องพลอยน่ารักจัง เพื่อช่วยให้ลูกเริ่มเรียนรู้การเรียกขานชื่อของตัวเอง
5. สะกดชื่อให้ลูกฟัง : การสะกดชื่อของลูกช่วยให้เด็กรู้จักชื่อตัวเองได้ง่ายขึ้น ลองหากระดาษแล้วเขียนชื่อของลูกลงไป แล้วเริ่มจากการสะกดชื่อเล่นของลูกให้ฟัง เช่น “พอ-ลอ-ออ-ยอ พลอย” เป็นต้น เมื่อลูกเริ่มคุ้นเคย ก็สามารถเปลี่ยนไปสะกดเป็นชื่อจริง เพื่อให้เขารู้จักการเรียกชื่อที่ถูกต้อง
6. ให้ลูกเขียนชื่อตัวเอง : การให้ลูกเขียนชื่อตัวเอง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถฝึกให้พวกเขาจดจำ และเขียนชื่อของตัวเองเป็นได้ ให้ลองเขียนชื่อของลูกบนกระดาษ แล้วให้ลูกใช้ดินสอสีลากเส้นตาม ก็จะช่วยให้เด็กรู้จักวิธีการเขียนชื่อตัวเอง และจดจำชื่อตัวเองได้เช่นกัน
7. ติดสติกเกอร์ชื่อลูก : วิธีสุดท้ายที่จะช่วยให้เด็กจดจำชื่อตัวเองได้ คือการใช้สติกเกอร์ หรือแผ่นป้ายชื่อลูกติดไว้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ หรือตามผนัง แล้วบอกลูกว่า “นั่นไงชื่อของหนู พลอย” เป็นต้น เมื่อเด็กเริ่มสังเกต และมองบ่อย ๆ ก็จะทำให้ลูกสามารถจดจำชื่อของตัวเองได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : แบบฝึกหัด ลากเส้นง่าย ๆ เส้นพื้นฐาน สร้างเสริมพัฒนาการ
เมื่อไหร่ที่ลูกจะรู้จักชื่อตัวเอง?
ในช่วงอายุ 1 ขวบ ลูก ๆ สามารถจดจำ และคุ้นเคยกับชื่อของตัวเองได้ แม้ว่าจะไม่รู้จักวิธีการสะกดชื่อก็ตาม แต่เด็กก็สามารถที่จะจดจำการเรียกชื่อจากคุณพ่อคุณแม่ได้ โดยภายในช่วง 4-6 เดือน เด็กจะเริ่มมีการพัฒนาทางด้านสมอง ทำให้เริ่มจำชื่อตัวเองได้ในช่วงนั้น หรือไม่เด็กบางคนก็อาจใช้เวลาที่นานกว่านั้น บางคนอาจใช้เวลา 18-24 เดือน เมื่อลูกเริ่มโตขึ้น ก็จะสามารถพูดชื่อเล่นของตัวเองได้ถูกต้องโดยอาจต้องรอถึงอายุ 2-3 ขวบ ทั้งนี้ การเรียกชื่อลูกด้วยชื่อเล่น จะง่ายกว่าการใช้ชื่อจริงเสมอ ให้ค่อย ๆ เริ่มเรียกชื่อลูกจากชื่อเล่นก่อน แล้วเปลี่ยนไปเรียกชื่อจริงภายหลัง
คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจว่า ไม่ใช่เด็กทุกคนที่จะสามารถจดจำ และรู้จักชื่อของตัวเองได้ตั้งแต่วัยทารก บางครั้งอาจต้องใช้เวลา และการเรียนรู้จากประสบการณ์ เพื่อจะช่วยสร้างความคุ้นชิน ให้พวกเขาได้รู้จักชื่อของตัวเองนั่นเอง
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
44 ชื่อลูกที่แปลว่าราชินี งดงาม สุดอลังการ ตั้งชื่อลูกสาว เพราะ ๆ
50 ชื่อเล่นลูกจากสุดยอดเกมแห่งปี ชื่อลูกแบบสากลโกอินเตอร์
50 ชื่อลูกที่ได้รับแรงบันดาลใจ One Piece มาเป็นราชาโจรสลัดกันเถอะ!
ที่มาข้อมูล : Healthline , playtolearnpreschool
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!