X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รับมือปู่ย่าตายายเรื่องป้อนอาหารอย่างไรดี

บทความ 5 นาที
รับมือปู่ย่าตายายเรื่องป้อนอาหารอย่างไรดี

ผู้หลักผู้ใหญ่ ชอบบอกให้เราป้อนน้ำ ป้อนกล้วย ป้อนอาหารทะเล ป้อนไข่ ป้อนถั่ว ให้ทารก บอกว่าอันตรายก็ไม่เชื่อ เราจะมี รับมือคนเก่าคนแก่เรื่องป้อนอาหารอย่างไรดี

รับมือปู่ย่าตายายเรื่องป้อนอาหารอย่างไรดี

จากข่าวที่เราได้เห็นกันอยู่ทุกวี่ทุกวัน เกี่ยวกับอันตรายที่เกิดขึ้นกับเด็กทารก บางคนถึงขนาดต้องเสียชีวิต เพียงเพราะป้อนน้ำ ป้อนกล้วย ยิ่งบ้านไหนมีผู้สูงอายุที่หวังดี กลัวว่าหลานจะไม่อิ่ม กลัวว่าหลานจะไม่โต ก็เลยให้ป้อนทั้งกล้วย ให้ป้อนทั้งน้ำ จนเด็กมีอาการลำไส้อุดตันบ้าง ไม่ถ่ายบ้าง ท้องเสียบ้าง และที่ร้ายแรงเลยก็คือถึงขั้นเสียชีวิต พอเราบอกว่าจะให้ลูกกินนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ที่หวังดีก็กลับบอกว่าฉันก็เลี้ยงเธอมาแบบนี้ ไม่เห็นเป็นไร เรามาดูกันว่า เราจะ รับมือปู่ย่าตายายเรื่องป้อนอาหารอย่างไรดี

อาหารป้อนลูกน้อย

คำพูดที่ได้ยินบ่อยๆ

คำพูดที่คุ้นหู ที่เรามักจะได้ยินกันอยู่บ่อยๆคงหนีไม่พ้นคำพูดเหล่านี้

  • ฉันก็เลี้ยงเธอมาแบบนี้ ไม่เห็นเป็นอะไร
  • เห็นกินนมไปแปบเดียว เห็นร้องไห้ นึกว่าหิว กินกล้วย กินไข่ จะได้อยู่ท้อง
  • ให้ชิมนิดเดียว จะได้รู้รส
  • ก็หลานร้องจะกิน ไม่เป็นไรหรอก

แต่อย่าลืมว่า ความปลอดภัยของเด็ก เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด คุณแม่ตั้งท้องมานาน 9 เดือน ถ้าต้องรอป้อนอาหารอีก 6 เดือน แล้วลูกได้กินนมแม่ สร้างเสริมพัฒนาการและภูมิคุ้มกัน มันก็คุ้มกับการที่จะต้องรอ คงไม่มีใครอยากให้ลูกตัวเองต้องเสี่ยงกับอันตราย ดังนั้น ป้องกันไว้ก่อน ดีกว่ามานั่งเสียใจทีหลังจะดีที่สุด  แม้ว่าบางคนจะบอกว่ากินแล้วไม่เป็นอะไร แต่ถ้าเกิดอะไรขึ้นจริงๆ เถียงกันไปก็คงไม่มีประโยชน์ ถ้าเด็กโตพอที่จะกินอาหารแข็งได้ ถ้าจะมีคนมาช่วยป้อนอาหาร ก็มาช่วยป้อนเอาตอนนั้นก็ยังไม่สาย

รับมือปู่ย่าตายายเรื่องป้อนอาหารอย่างไรดี3

รับมือปู่ย่าตายาย เรื่องป้อนอาหารอย่างไรดี3

วิธีรับมือปู่ย่าตายายเรื่องป้อนอาหาร

 

#1. หาข่าวให้อ่าน

เอาข่าวในหนังสือพิมพ์ให้อ่าน ว่าการป้อนอาหารก่อน 6 เดือนแล้วจะเกิดอะไรขึ้น แต่วิธีนี้ บางครั้งพออ่านเสร็จ ปู่ย่าตายายก็จะบอกว่า ข่าวมั่วน่ะสิ แค่กินกล้วย จะตายได้ไง ส่วนเราก็ได้แต่ยืนฟังแบบงง ๆ

#2. ให้คุณหมอช่วย

หากไม่ไหวจริง  ๆ คงต้องพึ่งคุณหมอ โดยให้คุณหมออธิบายถึงผลเสีย และยกเคสตัวอย่างให้ฟัง แต่บางครั้ง พอกลับมาบ้าน ปู่ย่าตายายก็บอกว่า ไม่ต้องไปเชื่อหมอมากหรอก ส่วนเราก็ได้แต่คิดในใจ ว่าถ้าไม่เชื่อหมอ แล้วจะไปเชื่อใครดีล่ะทีนี้

#3. พึ่งหมอดู

คนสมัยก่อน (รวมถึงคนสมัยนี้) มักจะเชื่อหมอดู หากคุณหมอที่โรงพยาบาลพูดแล้ว คุณปู่ย่าตายายยังไม่เชื่อ คงต้องลองพึ่งหมอดูกันบ้าง ยิ่งหมอดูชื่อดัง หรือมีหมอดูเจ้าประจำแล้วยิ่งง่ายเลย แต่อย่าลืมคุยกับหมอดูก่อนนะ ว่าป้อนสิ่งนั้นสิ่งนี้ให้หลาน แล้วจะมีอันตราย ดวงไม่ดี หรืออะไรก็ว่าไป แต่ถ้าหมอดูคนเดียวทัก แล้วยังไม่ได้ผล ก็ลองพาไปหาสัก 3 – 4 คนไปเลย ยิ่งทักเรื่องเดียวกันหมด รับรองเชื่อแน่นอน

รับมือปู่ย่าตายายเรื่องป้อนอาหารอย่างไรดี2

รับมือปู่ย่าตายาย เรื่องป้อนอาหารอย่างไรดี2

#4. พึ่งคนรอบข้าง

ใช้วิธีเดียวกัน กับตอนพึ่งหมอดูเลย คือให้คนรอบข้างช่วยกันพูด ช่วยกันทัก ว่ามันมีอันตรายอย่างไร เพราะบางครั้ง ปู่ย่าตายายก็มักจะเชื่อคนอื่น มากกว่าเชื่อลูกหลานตัวเองอยู่บ่อยๆ

#5. พึ่งพาจิตแพทย์

ไม่จำเป็นต้องพาปู่ย่าตายาย ไปพบจิตแพทย์ เพื่อเกลี่ยกล่อมให้พวกท่านยอมทำตามนะ แต่คุณพ่อคุณแม่นั่นแหละ ที่ต้องไปหาจิตแพทย์ เพื่อเล่าปัญหาให้ฟัง และขอคำแนะนำเชิงจิตวิทยา เพื่อนำไปใช้กับผู้ใหญ่ที่บ้าน

รับมือปู่ย่าตายายเรื่องป้อนอาหารอย่างไรดี1

รับมือปู่ย่าตายาย เรื่องป้อนอาหารอย่างไรดี1

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเราจะกลุ้มใจ เป็นห่วงลูกแค่ไหน แต่อีกฝั่งก็เป็นพ่อแม่เรา ถึงแม้ว่าเราจะไม่เห็นด้วย แต่ก็ต้องระวังเรื่องกิริยาอาการ และคำพูดที่ใช้พูดกับท่านด้วย เพราะผู้ใหญ่ในวัยนี้ มีความอ่อนไหวมาก อาจทำให้ท่านน้อยอกน้อยใจได้ หากท่านใดมีประสบการณ์ หรือวิธีดีๆ ที่จะรับมือกับเรื่องเหล่านี้ ก็อย่าลืมมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ได้ ในช่องแสดงความคิดเห็นด้านล่างนี้เลย

The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และทวีปเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอด ที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้ และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

รับมือปู่ย่าตายายเรื่องป้อนอาหารอย่างไรดี4

รับมือปู่ย่าตายายเ รื่องป้อนอาหารอย่างไรดี4


ที่มา :

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

ลำไส้กลืนกัน อุทาหรณ์ป้อนกล้วยลูกหลานก่อนวัยอันควร

แม่โพสต์เล่า ลูกโดนป้อนน้ำจนลำไส้ติดเชื้อ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำคนเป็นแม่ใจจะขาด

ป้อนกล้วยทำเด็กตาย หมอบอกมาป้อนกล้วยเด็กก่อน 6 เดือนอันตรายถึงชีวิต

อากาศร้อน ทารกกินน้ำ ได้ไหม ?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • รับมือปู่ย่าตายายเรื่องป้อนอาหารอย่างไรดี
แชร์ :
  • รับมือ “ปู่ย่าตายาย” เรื่องป้อนอาหารลูกยังไง ให้ได้ผล

    รับมือ “ปู่ย่าตายาย” เรื่องป้อนอาหารลูกยังไง ให้ได้ผล

  • ลูกตาย เพราะยายป้อนกล้วย หลังเกิดมาได้แค่ 10 วัน ต้องอีกกี่รายถึงจะยอมเชื่อ

    ลูกตาย เพราะยายป้อนกล้วย หลังเกิดมาได้แค่ 10 วัน ต้องอีกกี่รายถึงจะยอมเชื่อ

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • รับมือ “ปู่ย่าตายาย” เรื่องป้อนอาหารลูกยังไง ให้ได้ผล

    รับมือ “ปู่ย่าตายาย” เรื่องป้อนอาหารลูกยังไง ให้ได้ผล

  • ลูกตาย เพราะยายป้อนกล้วย หลังเกิดมาได้แค่ 10 วัน ต้องอีกกี่รายถึงจะยอมเชื่อ

    ลูกตาย เพราะยายป้อนกล้วย หลังเกิดมาได้แค่ 10 วัน ต้องอีกกี่รายถึงจะยอมเชื่อ

  • กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

    กรุ๊ปเลือดแม่-ลูกไม่ตรงกัน มีผลกับสุขภาพลูกด้วยหรือ?

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ