ป้อนกล้วยทำให้เด็กตาย โซเชียลแชร์ข้อความ ผู้ใหญ่ให้หลานกินกล้วยบด จนติดเชื้อในลำไส้ ก่อนเด็กจะเสียชีวิตในที่สุด จากกรณีสื่อสังคมออนไลน์ แชร์ข้อความระบุว่า มีญาติผู้ใหญ่ให้หลานกินกล้วยบด โดยอ้างว่าเป็นความเชื่อสมัยโบราณนั้น จนทำให้เด็กติดเชื้อในลำไส้ต้องเข้าโรงพยาบาล กระทั่งสุดท้ายเด็กได้เสียชีวิต เป็นความจริงหรือไม่ ที่การป้อนกล้วยเด็ก ทำให้ถึงตาย
ป้อนกล้วยทำให้เด็กตาย จริงหรือ?
ป้อนกล้วยทำให้เด็กตาย จริงหรือ
แพทย์ เผย ป้อนกล้วยเด็กก่อน 6 เดือน อันตรายถึงชีวิต
พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์เชี่ยวชาญด้านทารกแรกเกิด อธิบายในประเด็นนี้ว่า คุณพ่อคุณแม่หลายครอบครัวอาจจะเคยเผชิญความขัดแย้งของความรู้ที่ได้รับจากโรงพยาบาลที่สนับสนุนนมแม่ กับความรู้ หรือภูมิปัญญาจากรุ่นคุณปู่ย่าตายาย ซึ่งมองว่าความขัดแย้งนี้ เป็นเรื่องปกติ เนื่องจากความรู้ที่ญาติผู้ใหญ่ได้รับมาจากหมอรุ่นก่อน ๆ ตอนที่ความรู้เรื่องนมแม่ ยังมีไม่มาก ย่อมไม่เหมือนกับความรู้ในปัจจุบัน ทั้งนี้ คำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ให้เริ่มอาหารอื่นที่ไม่ใช่นมหลังเด็กอายุ 6 เดือน เนื่องจากก่อน 6 เดือนเด็กยังมีกระเพาะอาหาร และลำไส้ไม่แข็งแรงเต็มที่ ระบบการย่อยยังไม่สมบูรณ์ หากกินอาหารอื่นที่ไม่ใช่นมเข้าไป อาจมีความผิดปกติได้ เช่น ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก ท้องเสีย แพ้อาหารเนื่องจากเยื่อ บุลำไส้ยังอยู่กันหลวม ๆ ทำให้โปรตีนแปลกปลอม เล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือด ไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างสารต่อต้านโปรตีนแปลกปลอม แล้วนำไปสู่การเกิดโรคภูมิแพ้ได้ในอนาคต
จะเกิดอะไรขึ้นหากให้อาหารเสริมก่อน 6 เดือน
พญ.สุธีรา เผยว่า มีทั้งเด็กที่เป็นอันตราย และไม่ได้เป็นอันตราย อย่างล่าสุด มีกรณีที่ผู้ใหญ่เอากล้วยป้อนเด็ก ซึ่งมีอายุเพียงไม่กี่เดือน จนเด็กมีอาการตาเขียวคาดว่าน่าจะสำลัก เพราะว่าเด็กยังมีการเคี้ยวการกลืนได้ไม่ดี และก้อนกล้วยไปติดลมหายใจ หลอดลม เมื่อไปถึงโรงพยาบาลก็อยู่ได้เพียง 2 วัน ก่อนจะเสียชีวิต ส่วนเด็กที่กินกล้วยก่อนอายุ 6 เดือน แล้วปกติดี ไม่เป็นอะไร ก็ถือว่าโชคดี น่าจะเป็นเพราะไม่ได้ป้อนเยอะเกิน ไปจนเกิดปัญหา แต่เวลาที่ให้เด็กกินกล้วย อยากให้สังเกตด้วยว่า ระบบขับถ่ายเป็นอย่างไร เพราะเด็กบางคนกินกล้วยแล้ว ท้องผูก แต่เด็กบางคนกินกล้วยแล้ว ถ่ายง่ายนิ่ม เป็นปกติ
เวลาที่ให้เด็กกินกล้วย อยากให้สังเกตด้วยว่า ระบบขับถ่ายเป็นอย่างไร เพราะ เด็กบางคนกินกล้วยแล้วท้องผูก แต่เด็กบางคนกินกล้วยแล้วถ่ายง่ายนิ่มเป็นปกติ
หากป้อนกล้วยให้แก่ทารกเร็วเกินไป ส่งผลอะไรบ้าง?
แม้ว่าผู้ใหญ่รุ่นเก่า ๆ จะบอกว่าเลี้ยงลูกหลานมาก็ ป้อนกล้วยตั้งแต่เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนทั้งนั้น ซึ่งก็จัดว่าที่โชคดีเด็กเหล่านั้นไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง แต่ถ้าหากลูกของเราโชคไม่ดีขึ้นมา จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง มาดูกันค่ะ
เนื่องจากกล้วยที่ทานเข้าไปไม่สามารถย่อย และดูดซึมในกระเพาะอาหาร และลําไส้ของทารกได้ จึงไปขัดขวางการทำงานของลำไส้ ทำให้ลําไส้อุดตัน ซึ่งถ้ารุนแรงมาก อาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดลําไส้ หากรักษาไม่ทัน อาจเกิดลำไส้แตกทะลัก เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
2. ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ
เกิดจากเด็กทารกอายุน้อย ยังไม่พร้อมในการทาน และการกลืนอาหารเสริม ทำให้สำลักกล้วยที่ป้อน ทำให้เกิดภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ สมองขาดออกซิเจน อาจทำให้ถึงแก่ชีวิต กลายเป็นเจ้าหญิง หรือเจ้าชายนิทรา หรือเป็นปอดอักเสบติดเชื้อรุนแรงได้
เนื่องจากเด็กวัยแรกเกิดถึง 6 เดือน ควรจะได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนจากนมแม่เป็นหลัก หากให้ทานกล้วยจนอิ่มมากเกินไป จะทำให้เด็กทานนมได้น้อย และขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตได้ค่ะ
การป้อนกล้วยเด็กอายุต่ำกว่า 6เดือน ซึ่งกระเพาะยังไม่แข็งแรง อาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
อาหารที่เด็กเล็กไม่ควรกิน อย่างเด็ดขาด
บทความ : อาหารที่เด็กเล็กไม่ควรกิน อาหารอันตรายกินแล้ว ลูกเสี่ยงตาย-พัฒนาการช้า
1. อาหารสุกๆ ดิบๆ
ปลาดิบ ซูซิ ซาชิมิ หรืออาหารกึ่งสุกกึ่งดิบต่างๆ แม้กระทั้งไข่ต้มยางมะตูม หรือไข่ดาวออนเซนก้ห้ามค่ะ ถึงแม้ว่าจะเป็นเมนูที่ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ว่ามันเป็นอันตรายสำหรับทารกและเด็กเล็ก ซึ่งทางคณะกรรมการอาหารและยาของอเมริกา (FDA) ได้ระบุว่า พ่อแแม่ไม่ควรให้ลูกน้อยได้กินปลา หอย หรืออาหารดิบๆ เพราะมันมีความเสี่ยงสูงที่ในอาหารนั้นจะปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย และเกิดการสำลักได้ค่ะ หากพ่อแม่อยากลองให้ลูกน้อยได้กินอาหารดิบต้องรอจนกว่าอายุ 5-6 ปีก่อน เพื่อให้หนูน้อยได้พัฒนาระบบภูมิต้านทานของร่างกายให้แข็งแรงก่อนค่ะ
2. น้ำผึ้ง
ถึงแม้น้ำผึ้งจะมีสรรพคุณมากมาย แต่คุณรู้หรือไม่ว่าน้ำผึ้งมันประกอบไปด้วยสปอร์หรือเซลล์สืบพันธ์ุของแบคทีเรียที่เรียกว่า คลอสตริเดียม โบทูลินัม (Clostridium botulinum) ซึ่งเป็นเชื้อโรคที่ทำให้เกิดสารพิษในร่างกาย แถมยังเป็นสารพิษที่มีความรุนแรงมากที่สุดด้วย ในเด็กทารกอาจพบโรคภาวะโบทูลิสมในเด็กทารก (Infant botulism) ได้ หากมีการติดเชื้อ Clostridium botulinum เข้าไป เพราะเชื้อนี้จะเข้าไปสร้างสารพิษโบทูลิสมในทางเดินอาหารของทารก ดังนั้น พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงให้ทารกที่อายุต่ำกว่า 1 ขวบทานน้ำผึ้งค่ะ
3. อาหารที่เสี่ยงต่อการติดคอ
ลูกน้อยของคุณแม่ที่กำลังงอยู่ในช่วงเรียนรู้ และพัฒนาร่างกาย แม้กระทั่งการกินอาหารในช่วงขวบปีแรก เด็กๆ จะค่อยเรียนรุ้การกินอาหารแข็งขขึ้นทีละนิดๆ เช่น ไส้กรอก แครอท แอปเปิ้ล ข้าว หรือผลไม้ต่างๆ ซึ่งก่อนที่พ่อแม่จะหยิบยื่นอาหารหรือของว่างอะไรก็แล้วแต่ควรดูให้ดีว่าขนาดเล็กหรือใหญ่เกินไปหรือไม่ ลูกกินแล้วจะไม่มีอะไรทำให้ลงไปติดคอจนเป็นอันตรายต่อชีวิลูกได้
4. นมดิบ
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของอเมริกา (CDC) กลล่าวว่า เด็กเล็กไม่คววรดื่มนมสดที่ไม่มีการผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อโรคก่อน รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมดิบอบ่าง ชีส และไอศกรีมด้วย เพราะว่าจะมีความเสี่ยงสูงต่อการเจ็บป่วยที่รุนแรง เช่น ท้องร่วง ไตวาย และถ้ารุนแรงที่สุด อาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียจนทำให้เกิดเสียชีวิตได้ และถ้าลูกน้อยเกิดอ่อนแอเจ็บป่วยง่ายอยู่แล้ว จะทำให้ติดเชื้อและป่วยได้ง่ายขึ้นไปอีกค่ะ
5. น้ำตาล
เด็กทารกมักจะเกิดมาพร้อมกับอาหารรสชาติหวานๆ การที่พ่อแม่ให้ลูกกินของหวานตั้งแต่เด็กๆ โดยเฉพาะสองปีแรกไม่ใช่เรื่องดี เพราะจะทำให้ลูกน้อยได้รับสารอาหารที่ต้องการไม่เพียงพอ แถมยังทำให้ลูกติดอาหารรสชาตินั้นๆ ไปอีกค่ะ ดังนั้น ในช่วงที่ลูกมีอาายุต่ำกวา 2 ปี ควรหลีกเลี่ยงอาหารหวานๆ ไปก่อนจะดีกว่า แล้วเน้นให้ลูกได้ทานอาหารที่ให้ครบ 5 หมู่ โดยที่ไม่ต้องปรุงรสมากนักจะดีที่สุดค่ะ
6. ไขมันต่ำ หรือไขมันพร่องมันเนย
เด็กทารกยังคงต้องการไขมันในอาหารอยู่ เนื่องจากไขมันพวกนี้ยังจำเป็นสำหรับกาารเจริญเติบโตทางร่างกายและสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสองปีแรก ถ้าลูกของคุณมีน้ำหนักตัวที่อยู่ในเกณฑ์ ไม่มีน้ำหนักมากไป และไม่เสี่ยงต่อโรคอ้วน แต่ประวัติครอบครัวมีความเสี่ยงต่อโรคหัวใจหรือโรคอ้วน หรือลูกมีน้ำหนักตัวที่มากเกินเกณฑ์ค่อยให้ลูกกินนมที่ไขมันต่ำค่ะ
ข้อมูลจาก : www.thairath.co.th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
พบกับ 9 เมนูอาหารเสริมสำหรับลูกวัย 6-9 เดือนพร้อมวิธีทำสุดง่ายจากคุณแม่ทางบ้าน!
ลูกลำไส้ติดเชื้อ เพราะการสัมผัสจากคนแปลกหน้า
เรื่องต้องระวังจากของกินหน้าโรงเรียน ตอนที่ 1
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!