น้ำหนักคนท้องตามเกณฑ์ ระหว่างตั้งครรภ์ เป็นเรื่องที่คุณแม่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะน้ำหนักตัวของแม่ท้องนั้น มีความสัมพันธ์ต่อการเจริญเติบโตและการคำนวณสารอาหารที่ได้รับ ว่าแต่ละสัปดาห์ รวมไปถึงแต่ละช่วงของไตรมาสว่าควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ อีกทั้งยังบ่งบอกถึงสุขภาพที่แข็งแรงและความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์อีกด้วย
น้ำหนักคนท้องตามเกณฑ์ คุณแม่ควรให้ความสำคัญแค่ไหน
โดยเฉลี่ยตลอดการตั้งครรภ์ น้ำหนักคนท้อง ควรเพิ่มขึ้นประมาณ 10-15 กิโลกรัม ซึ่งน้ำหนักของแม่ท้องมีความสำคัญต่อคุณแม่และลูกน้อย เนื่องจากเป็นเกณฑ์ชี้วัดถึงสุขภาพของคุณแม่ที่ส่งผลถึงการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทั้งนี้ น้ำหนักของคุณแม่ยังบ่งบอกพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ทำระหว่างตั้งครรภ์ว่าดูแลตัวเองอย่างไร เช่น
- หากคุณแม่มีน้ำหนักน้อย ไม่ค่อยใส่ใจเรื่องโภชนาการ จะทำให้ทารกที่เกิดมามีน้ำหนักน้อยลงไปด้วย
- การสูบบุหรี่ก็ส่งผลถึงน้ำหนักตัวของทารกในครรภ์
- ถ้าคุณแม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากกว่าเกณฑ์ จะทำให้ไขมันสะสมและทำให้ลดน้ำหนักหลังคลอดยาก
- หากมีน้ำหนักตัวมาก อาจเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
- ถ้าคุณแม่มีน้ำหนักตัวเพิ่มมากเกินไป แพทย์อาจจำเป็นต้องผ่าคลอด ไม่สามารถคลอดธรรมชาติได้
บทความที่เกี่ยวข้อง : ความสำคัญของ น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ น้ำหนักก่อนท้อง สำคัญยังไง?
น้ำหนักคนท้องในไตรมาสแรก (อายุครรภ์ 1-3 เดือน)
ในช่วงไตรมาสแรก ลูกน้อยในครรภ์ ยังคงมีขนาดตัวเล็กอยู่ อาจจะมีความยาวเพียง 5 เซนติเมตรเท่านั้น นั้นหมายความว่า ช่วงนี้น้ำหนักอาจจะยังไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก และ น้ำหนักตัวของแม่บางคน อาจจะลดลงด้วยซ้ำ เพราะอาการแพ้ท้อง เนื่องจากทานอะไรก็อาเจียนออกมา ในช่วงนี้คุณแม่ไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่อง ลูกน้อยในครรภ์ ว่าจะไม่ได้รับสารอาหาร เพราะตัวอ่อนจะมีอาหารของเขาอยู่ในถุงน้ำคร่ำ และยังไม่ได้รับสารอาหาร ผ่านทางสายรกจากคุณแม่ ดังนั้น ในช่วงไตรมาสแรก น้ำหนักของแม่ท้องอาจจะเพิ่มไม่เกิน 2 กิโลกรัม เป็นช่วงที่ดูออกยากว่าท้องหรือเปล่า
น้ำหนักคนท้องไตรมาสที่ 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน)
ในช่วงไตรมาสที่สอง ลูกน้อยในครรภ์ เริ่มมีพัฒนาการเติบโตอย่างจริงจัง โดยน้ำหนักของคุณแม่จะค่อย ๆ ขึ้นเรื่อย ๆ ประมาณ 4-5 กิโลกรัม ซึ่งในช่วงไตรมาสนี้ คนรอบข้างจะเริ่มสังเกตออกแล้วว่า คุณแม่อาจจะดู อวบขึ้น แต่ยังสามารถใส่เสื้อผ้าได้ตามปกติ สำหรับแม่ท้องบางท่านอาจจะมีน้ำหนักขึ้นมามาก รู้สึกอึดอัด จนต้องเปลี่ยนไปใส่ชุดคลุมท้อง โดยไตรมาสที่สอง แม่ท้องควรเพิ่มปริมาณ อาหาร และแคลอรี อย่างช้า ๆ โดยเพิ่ม ประมาณ 340 แคลอรีต่อวัน โดยคำบอกเล่าจาก ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (the Centers for Disease Control and Prevention) แต่จำนวนก็จะแตกต่างออกไปจากร่างกายของแม่ท้อง เพราะฉะนั้นควรเพิ่มตามร่างกายของตัวเองนะคะ
น้ำหนักคนท้องไตรมาสที่ 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน)
ในไตรมาสที่สาม ลูกน้อยในครรภ์ จะได้รับอาหารของแม่ท้องอย่างเต็มที่ เพราะฉะนั้น สำคัญมากที่แม่ท้องควรจะ รับประทานอาหาร ที่เหมาะสมกับโภชนาการของทารกในครรภ์ เนื่องจากลูกน้อยจำเป็นต้องได้รับสารอาหารในการพัฒนาตัวเอง ซึ่งองค์การแพทย์ของสหรัฐอเมริกา (US doctor) แนะนำให้แม่ท้องกินเพิ่ม 110 แคลอรี เพิ่มจาก อาหารปกติ เช่น หากแต่ก่อนแม่ท้องรับประทานอาหาร 1,800 กิโลแคลอรีในช่วงไตรมาสแรก ดังนั้นไตรมาสที่สาม แม่ท้องควรรับประทานอาหาร 2,400 แคลอรีต่อวัน ด้วยเหตุผลที่สำคัญมาก สำหรับแม่ท้องไตรมาสนี้คือ เพื่อให้คุณแม่มีสุขภาพที่ดี ไม่ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์
บทความที่เกี่ยวข้อง : น้ำหนักแม่น้อยไปไหม? น้ำหนักตั้งครรภ์ควรขึ้นเท่าไหร่ น้ำหนักคนท้องควรขึ้นกี่กิโล
ปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นหากน้ำหนักคนท้อง เพิ่มมากเกินไป
ทราบหรือไม่ว่า หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีน้ำหนักมากเกินไป ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหา สุขภาพของแม่และทารกในครรภ์ได้ เช่น
- โรคความดันโลหิตสูงที่อาจจะเกิดในคุณแม่
- โรคเบาหวาน หากคุณแม่รับประทานคาร์โบไฮเดรตและของหวานมากเกินไป
- เพิ่มความเสี่ยงต่อการผ่าตัดคลอดลูกออกทางหน้าท้อง
- อาจส่งผลให้ลูกน้อยมีโอกาสเสี่ยงเกิดการคลอดติดไหล่
- คุณแม่อาจมีความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด
- เกิดภาวะโรคอ้วน
หากน้ำหนักคงที่ จะเป็นอันตรายต่อลูกในท้องไหม?
สำหรับช่วงไตรมาสแรก น้ำหนักไม่ขึ้นนั้นอาจจะไม่มีผลอะไรมากมาย และ ไม่สำคัญเท่าในช่วงไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 เนื่องจากสองไตรมาสสุดท้าย ลูกน้อยจำเป็นต้องได้รับสารอาหารจากแม่ถ้าคุณแม่เกิดอาการแพ้ท้อง หรือ น้ำหนักลดลง ลองรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย หรือ อาหารที่ชอบดู และถ้าน้ำหนักลดโดยไม่มีทีท่า ว่าจะขึ้นเลย ควรปรึกษาแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินอะไรลูกฉลาด อาหารที่ดีที่สุดสำหรับการพัฒนาสมองของทารก
อาหารที่คุณแม่กินจะไปหล่อเลี้ยงส่วนใดในร่างกาย | |
ทารก | ประมาณ 3.6 กิโลกรัม |
รก | ประมาณ 0.9-1.3 กิโลกรัม |
น้ำคร่ำ | ประมาณ 0.9-1.3 กิโลกรัม |
เนื้อเยื่อบริเวณหน้าอก | ประมาณ 0.9-1.3 กิโลกรัม |
เลือดหล่อเลี้ยงร่างกาย | ประมาณ 1.8 กิโลกรัม |
ไขมันและน้ำนมเพื่อลูก | ประมาณ 2.2 – 4 กิโลกรัม |
มดลูก | ประมาณ 0.9-2.2 กิโลกรัม |
การดูแลเรื่องโภชนาการคนท้อง
- ควรกินอาหารจากธรรมชาติทำสดใหม่ ปรุงสุก เพื่อคงคุณค่าทางโภชนาการให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารแปรรูป จำพวกอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารกระป๋อง
- เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรรับสารอาหารเพิ่มวันละ 500 แคลอรีต่อวัน จากเดิมที่เคยรับประทาน
- อย่ารับประทานอาหารทีละมาก ๆ ให้แบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ วันละ 5-6 มื้อ เพื่อให้กระเพาะย่อยง่ายขึ้น เนื่องจากไตรมาสที่ 3 คุณแม่จะเริ่มท้องใหญ่ขึ้น กระเพาะจะไปเบียดอวัยวะส่วนล่าง ทำให้ขับถ่ายยาก
- ต้องรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ เพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาสมองของลูกน้อย
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรควบคุมน้ำหนักให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งจะทำความลำบากและอันตรายต่อแม่และลูกน้อยเวลาคลอด ทั้งเรื่องการคลอดที่อาจยากลำบากและน้ำหนักของทารกแรกเกิด อีกทั้งหากคุณแม่มีน้ำหนักเกิน ก็อาจส่งผลต่อโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน และยากต่อการลดน้ำหนักหลังคลอดอีกด้วย
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
11 เคล็ดลับ ลดน้ำหนัก ไม่ลดอาหาร ผอมลงได้ไม่ต้องเครียดเรื่องกิน
7 นิสัยก่อนนอน ช่วยลดน้ำหนัก คลอดแล้วทำไมเหมือนยังท้องอยู่? มีวิธีแก้!
คนท้องกินอะไรให้ลูกขาว ผิวสวย ผิวเนียนนุ่น คนท้องอยากให้ลูกผิวดีต้องทำยังไง?
แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวกับน้ำหนักคนท้องตามเกณฑ์ ได้ที่นี่!
น้ำหนักคนท้อง ตามเกณฑ์แต่ละไตรมาส ควรจะหนักเท่าไรคะ
ที่มา : businessinsider, rakluke