ลูกกลัวเข็ม เห็นกี่ทีก็ร้องไห้งอแง แก้ปัญหาเรื่องนี้ยังไงดี?

ลูกกลัวเข็ม เห็นกี่ทีก็ร้องไห้งอแง แก้ปัญหาเรื่องนี้ยังไงดี?

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

ลูกกลัวเข็ม เป็นเรื่องปกติของเด็ก ๆ ทุกบ้านที่เวลาไปหาคุณหมอทีไรก็จะต้องร้องไห้งอแงทุกที ในบางคนความกลัวเข็มก็ติดตัวพวกเขามาจนพวกเขาโตเป็นคุณพ่อคุณแม่ซะเอง เรามาลองดูกันดีกว่าอะไรที่ทำให้พวกเขาเกิดความกลัว และเราควรแก้ไขเรื่องนี้อย่างไรดี

 

อะไรที่ทำให้ลูกกลัวเข็ม ?

การกลัวเข็ม หรือการที่ลูกกลัวเข็มนั้น เชื่อกันว่ามีปัจจัยมาจากหลายอย่าง อาทิ พันธุกรรม ประสบการณ์ และอาการโดยธรรมชาติของแต่ละบุคคล เป็นต้น ซึ่งถ้าหากลองย้อนกลับไปดูประวัติครอบครัวแล้วหละก็ คุณอาจจะพบใครสักคนที่มีสายเลือดเดียวกันที่มีอาการกลัวเข็มเหมือนกัน หรือแม้แต่ประสบการณ์ที่ไม่น่าจดจำในวัยเด็กเกี่ยวกับการฉีดยา หรือการให้น้ำเกลือที่แสนทรมานทั้งของตนเอง และการได้มีประสบการณ์ร่วมกับผู้อื่น โดยโรคกลัวเข็มจะแสดงอาการเมื่อเห็นเข็ม หรือถูกใช้เข็มกับร่างกายของตนเอง ซึ่งทำให้อัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และค่อย ๆ ลดลงในเวลาต่อมา ดังนั้นการที่ลูกกลัวเข็มจนเป็นลมพับไปก็ไม่ใช่เรื่องแปลก ดังนั้นเวลาที่เด็ก ๆ กำลังจะถูกฉีดยา คุณสามารถให้เขานอนลง และตรวจสอบว่าขาของเขายกสูงเหนือหัวใจ หรืออยู่ในท่าที่คุณหมอหรือพยาบาลแนะนำ และสามารถเริ่มลงมือฉีดยาได้ เพื่อป้องกันการล้ม หรือเป็นลม หากเสร็จการใช้เข็มผ่านไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าลูกของคุณจะนอน หรือนั่ง ควรให้เขาลุกขึ้นอย่างช้า ๆ เพราะเขาอาจเกิดอาการหน้ามืดได้

บทความที่ย่าสนใจ : ลูกขี้กลัว ทำอย่างไรดี? วิธีช่วยลูกจัดการ และก้าวข้ามความกลัว

 

 

ทำไมการช่วยให้ลูกเลิกกลัวเข็มถึงสำคัญ ?

เด็ก ๆ หลายคนเมื่อได้ยินคำว่าฉีดยา หรือการที่พวกเขาจะต้องรับวัคซีนนั้นทำให้พวกเขารู้สึกหวาดกลัวทุกครั้ง และอาจนำไปสู่การหลบหนี หรือการร้องไห้แบบไม่มีที่สิ้นสุด มีการศึกษาพบว่า เด็กช่วงอายุ 6-12 ปี มีอาการกลัวเข็มมากถึงร้อยละ 63 ซึ่งการที่ลูกกลัวเข็มนั้นส่งผลทำให้พวกเขาเหล่านั้นปัญหาด้านสุขภาพเกี่ยวกับการรับวัคซีนพื้นฐานที่จำเป็นต่อร่างกายของพวกเขา ซึ่งวัคซีนขั้นพื้นฐานที่พวกเขาต้องได้รับ ประกอบไปด้วยวัคซีนป้องกัน 12 โรค มีดังต่อไปนี้

  1. วัณโรค
  2. ตับอักเสบบี
  3. ไอกรน
  4. คอตีบ
  5. บาดทะยัก
  6. โปลิโอ
  7. ไข้สมองอักเสบเจอี
  8. หัด / หัดเยอรมัน
  9. คางทูม
  10. มะเร็งปากมดลูกจากเชื้อเอชพีวี
  11. วัคซีนรวมป้องกันโรคคอตีบ
  12. ตับอักเสบบี-ฮิบ (DTP-HB-Hib)

หมายเหตุ : หากวัคซีนทุกชนิดไม่สามารถเริ่มให้ตามกำหนดได้ ก็ให้เริ่มทันทีที่พบแพทย์ครั้งแรก และสำหรับวัคซีนที่ต้องให้มากกว่า 1 ครั้ง สามารถให้วัคซีนได้ในครั้งต่อไป โดยที่ไม่จำเป็นต้องเริ่มนับใหม่ตั้งแต่ต้น ซึ่งในกรณีที่เด็กได้รับวัคซีนไม่ครบถ้วน หรือล่าช้า เด็กควรจะได้รับวัคซีนตามกำหนดภายในระยะเวลา 1 ปี หลังจากให้วัคซีนต่อเนื่องตามที่กำหนดจนครบในการให้วัคซีนปกติ โดยผู้ปกครองสามารถให้เด็ก ๆ ได้รับวัคซีนตามแผนงานสร้างภูมิคุ้มกันโรค กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กระทรวงวัฒนธรรม หรือดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข (www.moph.go.th/)

บทความที่น่าสนใจ : วัคซีนเด็กมีอะไรบ้าง 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

กำหนดการให้วัคซีนตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2564

 

วิธีรับมือกับ ลูกกลัวเข็ม

การไปหาหมอนั้นถึงแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ดูน่ากลัวสำหรับเด็ก ๆ ที่กลัวเข็ม บางครั้งที่พวกเขาอาจแค่เกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย หรือการไปเยี่ยมผผู้ป่วย เขาก็ไม่อยากที่จะไปโรงพยาบาล หรืออนามัย เพราะกลัวว่าตนเองจะโดนฉีดยา เรามาหาวิธีรับมือกับลูกที่กลัวเข็มกันดีกว่า โดยมีวิธีดังต่อไปนี้

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

1. สร้างความไว้วางใจ

บางครอบครัวมักใช้ความกลัวของลูก หรือแม้แต่กิจกรรมที่ดูเหมือนว่าพวกเขาน่าจะรู้สึกไม่สบายใจการขู่พวกเขาเวลาเขาดื้อ อย่างเช่น “ถ้าดื้อแม่จะให้หมอฉีดยา” ซึ่งคำเหล่านี้อาจส่งผลทำให้พวกเขากลัวเข็มได้ ดังนั้นคุณไม่ควรพูดขู่เด็ก ๆ แบบนั้น และทำให้เขาไว้วางใจว่าคุณจะคอยอยู่ข้างเขาเวลาที่เขาได้รับการตรวจจากคุณหมอ หรือฉีดยาก็ตาม

บทความที่น่าสนใจ : ขู่ลูกมากระวังลูกเป็นเด็กขี้กลัว ระวังให้ดีการขู่ลูกอาจจะทำให้ลูกเก็บตัว

 

2. เตือนพวกเขาล่วงหน้า

การเตือนให้เด็ก ๆ รู้ตัวล่วงหน้าก่อนที่คุณหมอจะทำการแทงเข็มไปที่ผิวหนังของเด็ก ๆ นั้นถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ คุณควรเริ่มเตือน หรือบอกพวกเขาในครั้งแรก หรือครั้งที่สองของการพาพวกเขาไปฉีดยา เพื่อให้เขาทราบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร และจดจำว่าสิ่งนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

3. ทำให้การฉีดยานั้นเป็นเรื่องปกติ

ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการฉีดยาเพื่อรักษาอาการป่วย แต่เป็นการฉีดวัคซีนพื้นฐานที่พวกเขาควรได้รับ โดยเด็ก ๆ จำเป็นที่จะต้องฉีดวัคซีนพื้นฐานให้ครบ หากเด็ก ๆ กลัวที่จะไปรับการฉีดยาแล้วหละก็ คุณควรทำตารางการฉีดยาขึ้นมาให้เป็นเหมือนการเล่นเกมผ่านด่าน อาจทำให้การฉีดยานั้นกลายเป็นมิชชั่นที่พวกเขาต้องผ่านไปให้ เพื่อให้เขารู้สึกผ่อนคลาย และไม่กลัวการฉีดยานั่นเอง

 

4. ทำให้พวกเขารู้สึกสบายใจมากที่สุด

สำหรับเด็กกลัวเข็ม การฉีดยาเป็นสิ่งสุดท้ายที่พวกเขาจะยอมทำ แต่หากถึงเวลาที่พวกเขาโตมากพอที่จะรู้ว่าการฉีดยานั้นเป็นวิธีที่พวกเขาจะหายจากอาการป่วยที่แสนจะทรมานได้เร็วที่สุด พวกเขาก็จะทำมัน เพราะว่าจะได้กลับไปใช้ชีวิตแบบปกติได้เร็ว ๆ แต่ในการฉีดยาในแต่ละครั้งก็แสนจะยากลำบาก คุณควรจัดท่านั่ง หรือท่าที่พวกเขารู้สึกสบายใจมากที่สุด เพื่อให้เขายอมรับการฉีดยา ไม่ว่าจะเป็นการนั่งบนตักของคุณ หรือแม้แต่การกอดเอว หรือแขนของคุณไว้ตลอดการฉีดยานั่นเอง

 

5. การให้รางวัล

ไม่มีเด็กคนไหนไม่ชอบการได้รับรางวัล หรือการชมเชยจากผู้ปกครอง ซึ่งแน่นอนว่านอกจากคุณที่เป็นผู้ปกครองแล้ว คุณหมอบางคนก็มีรางวัลเพื่อปลอบใจให้กับการโดยฉีดยาที่แสนเจ็บปวดให้เขาพวกเขาเหมือนกัน ซึ่งรางวัลนี้ไม่ได้ตอบแทนความเจ็บปวดที่พวกเขาได้รับ แต่เป็นรางวัลสำหรับความกล้าหาญที่พวกเขายอมฉีดยาต่างหาก คุณอาจให้เป็นขนมที่มีประโยชน์ ของเล่นชิ้นเล็ก หรือแม้แต่อ้อมกอดที่ทำให้เขารู้สึกว่าเขาได้รับความรัก แค่นี้ก็ถือว่าเป็นรางวัลสำหรับพวกเขาแล้ว

 

บทความที่น่าสนใจ : ทำไมเราไม่ควรใช้ขนมเป็นรางวัล ลูกทำดี อย่าให้อาหารเป็นรางวัลเพราะอะไร?

 

6. พยายามเอาชนะความกลัว

การที่เราได้ทำ หรือได้ฝึกทำอะไรบ่อย ๆ นั้นสามารถทำให้เราชินกับสิ่งนั้น ๆ โดยนักจิตวิทยาเด็กเชื่อว่า การที่พวกเขาได้รับการฉีดวัคซีนอย่างสม่ำเสมอ อาจทำให้พวกเขาเลิกกลัวเข็มได้ และส่งผลทำให้การฉีดวัคซีนอื่น ๆ หรือแม้แต่การฉีดยาเพื่อรักษาโรคนั้นผ่านไปได้อย่างง่ายได้ เพราะเด็ก ๆ ได้รับการฝึกฝน และชินกับการฉีดยาแล้ว

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

 

ถึงแม้ว่าการที่เราเห็นลูกของเราที่ถูกฉีดยา และพวกเขาร้องไห้ออกมาด้วยความเจ็บปวดทรมาน จนทำให้คุณรู้สึกเจ็บปวดหัวใจเป็นอย่างมาก แต่การฉีดยา หรือการได้รับวัคซีนต่าง ๆ เหล่านั้นทำให้ลูกของคุณมีภูมิต้านทานที่แข็งแรงขึ้น เราห้ามให้ลูกเจ็บป่วยไม่ได้ แต่เราสามารถป้องกันมันได้ อย่าลืมพาเด็ก ๆ ไปฉีดวัคซีนกันด้วยนะคะ ถ้าหากเด็ก ๆ คนไหนมีอาการกลัวเข็มแล้วหละก็ลองเอาวิธีต่าง ๆ นี้ไปลองใช้ดูนะคะ และหวังว่าสักวันเขาจะเลิกกลัวเข็ม และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขด้วยร่างกายที่แข็งแรงนะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ :

ลูกป่วยกระทันหัน มีผื่น ตัวร้อนมาก เซื่องซึม ต้องทำอย่างไร

ลูกแพ้ขนสัตว์ควรจัดการอย่างไร? เมื่อมีสัตว์เลี้ยงในบ้าน?

 

ที่มา : Abc.net.au, Todaysparent, Thechildren, Usatoday

บทความโดย

Siriluck Chanakit