TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

กรมแพทย์เตือนภัย 4 โรคหน้าร้อน พบบ่อยใน "เด็ก" โรคหน้าร้อนในเด็ก

บทความ 5 นาที
กรมแพทย์เตือนภัย 4 โรคหน้าร้อน พบบ่อยใน "เด็ก"  โรคหน้าร้อนในเด็ก

อากาศเปลี่ยนแปลง ร้อนเกิน ร้อนจัดในปีนี้ จนกรมแพทย์เตือนภัย 4 โรคหน้าร้อน พบบ่อยใน "เด็ก" โรคหน้าร้อนในเด็ก มีอะไรบ้างมาดูเลย

เมื่ออากาศเริ่มเปลี่ยนแปลง เรื่องของสุขภาพร่างกายก็เป็นอะไรที่น่ากังวลมาก ๆ โดยเฉพาะอากาศร้อน และยิ่งประเทศไทย เป็นประเทศที่ร้อนมาก ๆ จนขนาดกรมแพทย์ออกมาเตือนโรคที่เกิดขึ้นกับเด็กในช่วงนี้ กรมแพทย์เตือนภัย 4 โรคหน้าร้อน พบบ่อยใน “เด็ก” โรคหน้าร้อนในเด็ก

กรมแพทย์เตือนภัย 4 โรคหน้าร้อน พบบ่อยใน เด็ก  โรคหน้าร้อนในเด็ก

 

กรมการแพทย์ ได้เตือนผู้ปกครองระวังโรคหน้าร้อนในเด็ก ไม่ว่าจะเป็นท้องร่วง อาหารเป็นพิษ โรคภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก และฮีทสโตรก โดยช่วงนี้แนะนำให้หลายบ้านปรุงอาหารสุกใหม่ รักษาความสะอาดร่างกาย และหลีกเลี่ยงการอยู่ในอากาศร้อนจัดไม่ถ่ายเท

โดยเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 นายแพทย์สกานต์ บุนนาค รองอธิบดีกรมการแพทย์  เผยว่าในช่วงต้นเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน จากสภาพอากาศที่ร้อนจัด อุณหภูมิที่สูง เชื้อโรคต่าง ๆ สามารถเจริญเติบโตได้ง่าย และสามารถแพร่กระจายได้เร็วกว่า ซึ่งเชื้อโรคเหล่านี้จะมาปะปนกับอาาหาร และน้ำดื่ม แนะนำให้พ่อแม่ผู้ปกครองระมัดระวังเรื่องสุขอนามัย ความสะอาด โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเล็ก เพราะเด็กมีภูมิต้านทานร่างกายที่น้อยกว่าผู้ใหญ่ ส่งผลให้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย

นายแพทย์อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เล่าต่อว่า โรคหน้าร้อนที่พบบ่อยในเด็กมีมากมาย โดยจะมาทั้งหมด 4 ประเภทดังนี้

กรมแพทย์เตือนภัย 4 โรคหน้าร้อน พบบ่อยใน “เด็ก” โรคหน้าร้อนในเด็ก

1.โรคท้องร่วง

โรคท้องร่วงเกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย โปรโตซัว พยาธิ โดยสามารถติดจากการรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีเชื้อโรคเข้าไป โดยจะพบอาการถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวัน ถ่ายเป็นน้ำ หรือมีมูกเลือดปน และเมื่อเชื้อเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ติดเชื้อในเลือดและเสี่ยงต่อชีวิตได้

2.โรคอาหารเป็นพิษ 

โรคอาหารเป็นพิษเกิดจากเชื้อต่าง ๆ ที่มาจากพิษแบคทีเรีย เชื้อรา สารเคมีที่เข้ามาปนเปื้อน โดยส่วนใหญ่พบจากอาหารที่ไม่สุกสะอาด ทำให้เกิดอาการมีไข้ ปวดท้อง อาเจียน คลื่นไส้ และถ่ายอุจจาระบ่อยครั้ง

 

กรมแพทย์เตือนภัย 4 โรคหน้าร้อน พบบ่อยใน เด็ก  โรคหน้าร้อนในเด็ก

 

3.โรคภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก 

โรคภูมิแพ้ผิวหนังเป็นโรคที่พบบ่อยในหน้าร้อน อากาศร้อน โดยอาการของโรคคือผิวหนังจะแห้ง คัน และไวต่อสารภายนอกที่มาสัมผัส ซึ่งก่อให้เกิดผื่นขึ้นเป็นลักษณะ เป็น ๆ หาย ๆ สามารถป้องกันโดย เลือกสวมเสื้อผ้าเนื้อนุ่ม ใช้สบู่อ่อน และใช้ครีมบำรุงผิวเป็นประจำ

4.โรคลมแดดหรือฮีตสโตรก

อากาศที่ร้อนเกินไปทำให้ร่างกายปรับสมดุลอุณหภูมิไม่ได้ จนทำให้เกิดอาการฮีตสโตรก โดยอาการที่พบได้แก่ ปวดศรีษะ หน้ามืด เพ้อ ชัก ไม่รู้สึกตัว หายใจเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรืออาจจะช็อกจนเสียชีวิตได้

ผู้ปกครอง พ่อแม่ ควรระมัดระวังในเรื่องสุขภาพ และความสะอาดให้แก่เด็ก ๆ โดยมีหลักสำคัญคือ ทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ รักษาความสะอาดในร่างกาย หลีกเลี่ยงอากาศร้อน หากร้อนควรพยายามลดความร้อน โดยอาบน้ำ เปิดแอร์ เปิดพัดลมให้ลูก และพยายามให้เด็กอยู่ในอากาศที่ถ่ายเทได้ดี ดื่มน้ำให้มากในวันอากาศร้อนจัดเพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ และดูแลสุขอนามัยเพื่อให้ปลอดภัยจากโรคในหน้าร้อน

นอกจาก 4 โรคหน้าร้อนที่กรมแพทย์ออกมาเตือน ก็ยังมีโรคหน้าร้อนสำหรับเด็กที่ควรระมัดระวังเพิ่มเติมได้แก่
  • เลือดกำเดาไหล

คุณแม่อาจตกใจที่จู่ๆ ก็มีเลือดกำเดาไหลออกมาจากจมูกของลูกเมื่ออากาศร้อนจัด ในกรณีที่ลูกเป็นภูมิแพ้นั้น เลือดกำเดาไหลมีโอกาสเกิดขึ้นได้บ่อยๆ ซึ่งคุณแม่ควรเตรียมการรับมือเอาไว้

อากาศเปลี่ยนแปลงเป็นสาเหตุของเลือดกำเดาไหล

อาจารย์นายแพทย์อนัญญ์ เพฑวณิช ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้เลือดกำเดาไหลเมื่ออากาศร้อนไว้ว่า ผู้ที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้จะมีปัญหาเรื่องการปรับตัวของเยื่อบุจมูก คือจมูกจะไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไม่ว่าจะเป็นอากาศร้อนหรือเย็น โดยจะมีอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล คันจมูก ชอบขยี้จมูกจนเกิดรอยบริเวณสันจมูก มีเสมหะในคอ และอาจพบอาการคันตา แสบตา น้ำมูกไหล คันหู หูอื้อ รวมถึงเลือดกำเดาไหลบ่อยด้วย

วิธีดูแลเมื่อลูกเลือดกำเดาไหล

ผศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน  ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล แนะวิธีปฐมพยาบาลเมื่อลูกน้อยเลือดกำเดาไหล ดังนี้

  1. ให้ลูกก้มหน้าลง ใช้ใช้นิ้วชี้และหัวแม่มือบีบปีกจมูกทั้งสองข้างให้แน่นเป็นเวลา 5–10 นาที ระหว่างนี้ให้หายใจทางปากแทน
  2. หลังเลือดกำเดาไหล 24-48 ชั่วโมงแรก ควรหลีกเลี่ยงการสั่งน้ำมูกแรงๆ การแคะจมูก การออกแรงมากๆ หรือการกระทบกระเทือนบริเวณจมูก เพราะอาจทำให้มีเลือดออกได้
  3. เมื่อเลือดหยุดแล้วควรนอนพัก ยกศีรษะสูง นำน้ำแข็งหรือ coldpack มาประคบบริเวณหน้าผากหรือคอ ประมาณ 10 นาที แล้วจึงเอาออกประมาณ 10 นาที แล้วค่อยประคบใหม่เป็นเวลา10 นาที ทำเช่นนี้สลับกันไปเรื่อย ๆ
  4. ถ้าเลือดออกไม่หยุดหรือออกมากผิดปกติ ควรรีบไปโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์ทันที

 

  • ไข้หวัดแดด

นพ.ศักดา อาจองค์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ไข้หวัดแดดเกิดจากเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่ถูกกระตุ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ เช่น เมื่ออยู่ในบ้านอากาศเย็นแล้วออกนอกบ้านเจอกับอากาศร้อนในทันที หรืออยู่นอกบ้านอากาศร้อนแล้วเข้าห้างเจอแอร์เย็นๆ ทันที นอกจากนี้การดื่มน้ำเย็นจัดในขณะที่อากาศร้อนจัด ก็มีผลให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เมื่อร่างกายปรับตัวไม่ทันก็ทำให้มีอาการเหมือนเป็นไข้ขึ้นมาได้

ไข้หวัดแดดมีอาการอย่างไร

อาการของไข้หวัดแดดไม่ต่างจากหวัดในฤดูกาลอื่น คือจะมีไข้ ปวดเมื่อยตัว ปวดหัว อ่อนเพลีย เบื่ออาหารมีอาการไอ จาม เสมหะ น้ำมูก และอาจตามมาด้วยอาการเจ็บคอ ฯลฯ ส่วนความรุนแรงจะต่างกันไปอยู่ที่การรับเชื้อและสุขภาพร่างกายของเด็กแต่ละคน

วิธีการดูแลเมื่อลูกเป็นไข้หวัดแดด

หากลูกเป็นไข้ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ ทานอาหารร้อน ๆ เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น ทานยาลดไข้ และนอนพักผ่อน หากไม่ดีขึ้นควรพบแพทย์

วิธีป้องกันไข้หวัดแดด

  • หลีกเลี่ยงแดดร้อนจัด
  • หลีกเลี่ยงสถานที่มีผู้คนแออัด เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ตลาด เพื่อป้องกันการรับเชื้อไวรัส
  • รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ หมั่นล้างมือให้สะอาด และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

  • ลมแดด

เภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล อธิบายเกี่ยวกับโรคลมแดดไว้ว่า โรคลมแดดเกิดจากอุณหภูมิรอบๆ ตัวสูงจัด ทำให้อุณภูมิในร่างกายสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังระบบการเต้นของหัวใจ และระบบหลอดเลือด ทำให้มีอาการตั้งแต่เป็นผื่นแดงๆ ตามร่างกาย ไปจนถึงเป็น ลมหมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย แต่เกิดได้ง่ายในเด็ก  เพราะร่างกายของเด็กมีการเผาผลาญพลังงานที่สูงกว่าวัยอื่นๆ แต่ระบบระบายความร้อนในร่างกายเด็กยังมีขนาดเล็ก

สังเกตอาการเมื่อลูกเป็นลมแดด

ลูกจะมีอาการตัวจะเริ่มร้อน ชีพจรเต้นเร็วแรง หิวน้ำบ่อยๆ และหายใจกระชั้นถี่ เหมือนคนพึ่งออกกำลังกายเสร็จ

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

วิธีดูแลเมื่อลูกเป็นลมแดด

ควรรีบพาลูกเข้าไปในที่ร่มที่อากาศถ่ายเทสะดวก ถอดเสื้อออกเพื่อให้ความร้อนระบาย ให้ลูกนอนหงาย ขายกสูงเพื่อให้ระบบการไหลเวียนของเลือดคล่องตัวมากขึ้น หาผ้าขนหนูก็ชุบน้ำมาเช็ดตัวจะช่วยให้อุณหภูมิเย็นลงเร็วขึ้น

วิธีป้องกันโรคลมแดด

ในวันที่อากาศร้อนจัด พยายามให้ลูกดื่มน้ำเยอะๆ ประมาณ 8-10 แก้ว ใส่เสื้อผ้าบางๆ หากออกนอกบ้านควรใส่หมวก ไม่ควรให้ลูกเล่นกลางแดดจัดๆ หรือจำกัดเวลาการเล่นกลางแจ้ง

ข้อมูลอ้างอิงจาก : Thairath, Mahidol

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

หมอเตือน! ดูจอมากเกินไป ระวังเสี่ยง โรคจอประสาทตาเสื่อมก่อนวัย

11 หมอผิวหนังเด็ก หมอผิวหนังเด็กเก่งๆ คัดมาให้แล้ว หมอที่ถูกแนะนำว่าดี

11 หมอฟันเด็ก หมอฟันเด็กเก่งๆ คุณหมอใจดี มือเบา แม่ๆ แนะนำ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

bossblink

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • กรมแพทย์เตือนภัย 4 โรคหน้าร้อน พบบ่อยใน "เด็ก" โรคหน้าร้อนในเด็ก
แชร์ :
  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

    ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

powered by
  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

  • วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

    วิทยาศาสตร์ยืนยัน! แค่ได้ยินเสียงลูกร้อง สมองของแม่ ก็เปลี่ยนแปลงทันที

  • ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

    ลูกน้ำมูกไหลหลังว่ายน้ำ เกิดจากอะไร? ป้องกันยังไงไม่ให้ลูกป่วย?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว