X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

คัมภีร์ดูแลทารก เด็กแรกเกิดต้องดูแลแบบนี้นะ - theAsianparent.com

บทความ 3 นาที
คัมภีร์ดูแลทารก เด็กแรกเกิดต้องดูแลแบบนี้นะ - theAsianparent.com

วิธีดูแลเด็กแรกเกิด สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ มีอะไรบ้างนะ

คัมภีร์ดูแลทารก พ่อจ๋าแม่จ๋าไม่ควรพลาดวิธีดูแลเด็กแรกเกิด 

คัมภีร์ดูแลทารก

คัมภีร์ดูแลทารก

คุณพ่อคุณแม่มือใหม่หลายท่านคงต้องปวดหัวไม่น้อย และกังวลว่าจะดูแลเจ้าตัวน้อยอย่างไร ประสบการณ์ก็ไม่มี แต่ไม่ต้องเป็นกังวลใจไป เพราะเรามี คัมภีร์ดูแลทารก มาฝาก

วิธีดูแลเด็กแรกเกิด

วิธีดูแลเด็กแรกเกิด สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

วิธีดูแลลูกน้อย

การดูแลสะดือทารก

ปกติแล้วสะดือของเด็กแรกเกิดจะหลุดหลังคลอดประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ โดยก่อนที่สะดือจะหลุดนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรทำความสะอาดสะดือของลูกน้อยเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่สะดือ วิธีเช็ดสะดือทารก ทำได้ดังนี้ครับ

  1. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนเช็ดสะดือให้ลูก
  2. ใช้มือข้างหนึ่งยกสายสะดือขึ้น แล้วใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% พอชุ่ม เช็ดรอบสะดือทารกจากด้านในออกด้านนอก
  3. ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์อีกก้อนเช็ดจากโคนสะดือ ไปยังปลายสะดือ

ข้อควรระวัง

  1. ควรเช็ดสะดือลูกทุกวันหลังอาบน้ำจนกว่าสะดือของลูกจะหลุด
  2. หากพบว่าผิวรอบๆโคนสะดือของทารกบวม แดง มีน้ำเหลือง หนอง มีเลือดซึมหรือมีกลิ่นเหม็น ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ทันที
  3. ไม่ควรใช้แป้งหรือยาผงโรยสะดือเด็ก

การทำความสะอาดหลังขับถ่าย

คัมภีร์ดูแลทารก

คุณพ่อคุณแม่ควรทำความสะอาดตอนเปลี่ยนผ้าอ้อมทุกครั้ง เพื่อป้องกันความอับชื้น โดยวิธีดังต่อไปนี้

การทำความสะอาดหลังขับถ่ายสำหรับเด็กผู้ชาย

  1. ใช้กระดาษชำระเช็ดอุจจาระออกให้หมดจากด้านหน้าไปด้านหลัง
  2. ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว เช็ดหน้าท้อง ขาหนีบและต้นขา ในส่วนของอวัยวะเพศของลูกนั้น ให้ทำความสะอาดรอบๆ ไม่ต้องเปิดหนังหุ้มปลาย โดยเช็ดใต้อวัยวะรวมทั้งอัณฑะให้ทั่ว
  3. ยกขาลูกขึ้นเพื่อทำความสะอาดบริเวณก้น ขาหนีบ และรูก้นเป็นตำแหน่งสุดท้าย
  4. ล้างมือให้สะอาดหลังทำความสะอาดให้ลูก ใช้กระดาษชำระหรือผ้าสะอาดซับก้นลูก แล้วปล่อยให้ระบายอากาศจนแห้งสนิท แล้วจึงใส่ผ้าอ้อม โดยอาจใช้ครีมเด็กทาก่อนใส่ผ้าอ้อมโดยไม่ต้องโรยแป้งทับในส่วนที่ทาครีม

การทำความสะอาดหลังขับถ่ายสำหรับเด็กผู้หญิง

  1. ใช้กระดาษชำระเช็ดอุจจาระออกให้หมดจากด้านหน้าไปด้านหลัง
  2. ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว เช็ดหน้าท้อง ขาหนีบและต้นขา แล้วจึงเช็ดอวัยวะเพศโดยใช้สำลีก้อนใหม่เช็ดจากด้านหน้าไปด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคที่ก้นลูกย้อนมาเปื้อนด้านหน้า
  3. ยกขาลูกขึ้นแล้วใช้สำลีก้อนใหม่เช็ดบริเวณก้นเป็นลำดับสุดท้าย
  4. ซับบริเวณขาหนีบให้แห้ง ปล่อยให้ระบายอากาศสักพักจนแห้งสนิท ล้างมือของคุณแม่ให้สะอาด โดยอาจใช้ครีมเด็กทาก่อนใส่ผ้าอ้อมโดยไม่ต้องโรยแป้งทับในส่วนที่ทาครีม

ข้อควรระวัง

ถ้าลูกเริ่มเป็นผื่นแดงใต้ร่มผ้า คุณพ่อคุณแม่ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมให้ลูกบ่อยขึ้นนะครับ

วิธีดูแลเด็กอ่อน

การเช็ดตัวให้ทารก

ก่อนอื่นให้คุณพ่อคุณแม่เตรียมอุปกรณ์ได้แก่ อ่างใส่น้ำอุ่น อ่างใส่น้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว สำลี ฟองน้ำ สบู่/ยาสระผมสำหรับเด็ก ผ้าเช็ดตัว ผ้าขนหนูผืนเล็ก กระดาษชำระหรือผ้าซับแห้ง เสื้อผ้าสะอาด หลังจากเตรียมอุปกรณ์ครบแล้วก็สามารถเช็ดตัวให้ลูกได้ตามวิธีดั้งนี้

  1. ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว บีบพอหมาด เช็ดตาของทารกข้างหนึ่งจากหัวตาไปหางตา แล้วเปลี่ยนสำลีก้อนใหม่เพื่อเช็ดตาอีกข้างหนึ่ง
  2. ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว บีบพอหมาด เช็ดใบหูทีละข้างจากด้านนอกและด้านหลัง โดยไม่ต้องเช็ดภายในรูหู และเปลี่ยนสำลีก้อนใหม่สำหรับหูอีกข้าง
  3. ใช้ผ้าขนหนูผืนเล็ก ฟองน้ำชุบน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว บีบพอหมาด ค่อยๆเช็ดบริเวณใบหน้า รอบปาก จมูก แก้ม ใต้คาง และรอบๆคอ จากนั้นซับให้แห้ง
  4. เช็ดใต้รักแร้ มือ ซอกนิ้ว รวมทั้งบริเวณลำตัว หลัง แล้วซับให้แห้ง
  5. ทำความสะอาดอวัยวะเพศทารกด้วยน้ำอุ่น

คัมภีร์ดูแลทารก

การอาบน้ำให้ทารก

เตรียมอุปกรณ์เหมือนกับการเช็ดตัวให้ทารกจากนั้นเริ่มอาบน้ำให้ลูกด้วยวิธีการดังนี้

  1. ผสมน้ำอุ่นลงในอ่างอาบน้ำแล้วใช้หลังมือจุ่มเพื่อทดสอบความร้อน
  2. ถอดเสื้อผ้าของลูกออกแล้วห่อตัวลูกไว้ด้วยผ้าเช็ดตัวผืนใหญ่
  3. ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุก เช็ดตา หน้า ใบหู โดยเปลี่ยนสำลีก้อนใหม่ทุกครั้ง
  4. เริ่มสระผมให้ลูก โดยเริ่มต้นจากการอุ้มลูกโดยประคองท้ายทอยของทารกด้วยฝ่ามือ ให้ลำตัวของเด็กพาดอยู่กับแขนท่อนล่าง ใช้ข้อศอกหนีบส่วนขาของทารกเข้ากับลำตัว ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วกลางจากมือข้างเดียวกัน ปิดใบหูทั้งสองข้างเพื่อไม่ให้น้ำเข้าหูลูก จากนั้นใช้ฟองน้ำลูบให้ผมเปียกทั้งศีรษะ แล้วใช้น้ำยาสระผมเด็กค่อยๆสระเบาๆแล้วล้างออกจนหมด จากนั้นเช็ดผมให้แห้งด้วยผ้าขนหนู
  5. คลายผ้าห่อตัวออกแล้วเริ่มอาบน้ำให้ลูก ใช้ฟองน้ำชุบน้ำพอหมาดลูบไล้บริเวณลำตัวของลูก แล้วถูสบู่กับมือของคุณแม่ก่อนแล้วจึงค่อยเอามือของคุณแม่ลูบที่ลำตัว ซอกคอ รักแร้ และแขนขา จากนั้นค่อยๆวางลูกลงในอ่างใช้มืออ้อมหลังไปจับรักแร้ลูก และใช้แขนท่อนล่างรองส่วนศีรษะและบ่าของลูกไว้ ล้างสบู่ด้านหน้าออกให้หมด แล้วเปลี่ยนท่าให้ลำตัวด้านหน้าของลูกวางอยู่บนแขน ล้างสบู่ด้านหลังออกแล้วจึงนำลูกขึ้นจากอ่างน้ำ แล้วซับตัวให้แห้งทันทีโดยเฉพาะบริเวณข้อพับ ขาหนีบ และอวัยวะเพศ

 

คัมภีร์ดูแลทารก

 

ข้อควรระวัง

  1. อย่าปล่อยให้ทารกอยู่ในอ่างอาบน้ำตามลำพังโดยเด็ดขาด
  2. ไม่ควรให้ระดับน้ำในอ่างอยู่สูงเกินไปหรือไม่ควรเกิน 10 เซนติเมตร จากก้นอ่าง
  3. ห้ามเติมน้ำร้อนในขณะที่ลูกยังอยู่ในอ่าง

ลูกน้อยก็เหมือนแก้วตาดวงใจของพ่อและแม่ แน่นอนว่าสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่นั้น ในช่วงแรกๆหลังที่เจ้าตัวน้อยลืมตาออกมาดูโลกก็คงจะทำให้พ่อแม่เหน็ดเหนื่อยอยู่ไม่น้อย แต่เชื่อเถอะครับว่าความเหน็ดเหนื่อยเหล่านั้นจะหายไปเมื่อได้เห็นรอยยิ้มของเจ้าตัวน้อย ว่าไหมครับ…

ที่มา childrenhospital


The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว 

การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง

เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความจากพันธมิตร
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
LPR โพรไบโอติก เกรด A กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ลูกรักแข็งแรงพร้อมเรียนรู้
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
แม่รู้ไหม? พัฒนาการสมอง ของลูกเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เสริมด้วย สารอาหารสมอง และการนอนอย่างมีคุณภาพ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

เช็คด่วน! รูเล็กๆข้างหูของลูก สัญญาณร้ายที่ไม่ควรมองข้าม

เคล็ดลับจัดท่านอน ให้ลูกหัวสวย หัวทุย ไม่แบน ไม่นอนไหลตาย

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • คัมภีร์ดูแลทารก เด็กแรกเกิดต้องดูแลแบบนี้นะ - theAsianparent.com
แชร์ :
  • วีดีโอการดูแลทารกแรกเกิด

    วีดีโอการดูแลทารกแรกเกิด

  • เด็กแรกเกิด ก็เป็นงี้แหละ 20 อาการปกติ ของเด็กทารกแรกเกิด ที่ไม่น่ากังวล

    เด็กแรกเกิด ก็เป็นงี้แหละ 20 อาการปกติ ของเด็กทารกแรกเกิด ที่ไม่น่ากังวล

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • วีดีโอการดูแลทารกแรกเกิด

    วีดีโอการดูแลทารกแรกเกิด

  • เด็กแรกเกิด ก็เป็นงี้แหละ 20 อาการปกติ ของเด็กทารกแรกเกิด ที่ไม่น่ากังวล

    เด็กแรกเกิด ก็เป็นงี้แหละ 20 อาการปกติ ของเด็กทารกแรกเกิด ที่ไม่น่ากังวล

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ