โรคเก๊าท์ หรือโรคข้ออักเสบ พันธุกรรมในเด็กที่คุณพ่อคุณแม่ควรระวัง

-

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง เกิดจากการที่ร่างกายมีกรดยูริกมากกว่าปกติ และตกตะกอนอยู่ภายในข้อ ทำให้เกิดอาการอักเสบ โรคเก๊าท์มักเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์และเพศ ซึ่งพบมากในเพศชายมากกว่าเพศหญิง และยังเป็นโรคไม่ทราบสาเหตุในเด็ก โดยทั่วไปโรคเก๊าท์จะมีอาการเจ็บข้อ บวม และข้อติด ไม่สามารถบอกสาเหตุของการเกิดโรคได้ อาการที่เกิดในเด็ก ทั่วไปมักพบว่าโรคเก๊าท์จะต้องเกิดขึ้นก่อนเด็กคนนั้นมีอายุ 16 ปี โดยทั่วไปโรคเก๊าท์เป็นผลมาจากภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) ซึ่งเป็นภาวะของร่างกายที่มีการสะสมของกรดยูริกในปริมาณที่มากเกินไป ทำให้เกิดการตกผลึกตามข้อต่าง ๆ จนเกิดอาการปวดบวมตามข้ออย่างรุนแรงและอาการอื่น ๆ ของโรคตามมา

 

อาการโดยทั่วไปของโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ จะมีอาการปวดอย่างรุนแรงตามข้อต่อเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุด โดยเฉพาะนิ้วหัวแม่เท้า แต่ก็สามารถเกิดกับข้อต่อหลายส่วนตามร่างกายได้ เช่น ข้อเท้า ข้อศอก หัวเข่า ข้อต่อกระดูกมือ หรือข้อมือ อาการปวดจะรุนแรงในช่วง 4-12 ชั่วโมงแรก จากนั้นจะเริ่มปวดน้อยลงและมีอาการดีขึ้นภายใน 7-10 วัน แต่ในผู้ป่วยโรคเก๊าท์บางรายอาจมีอาการปวดได้นานหลายวันจนถึงหลายสัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นได้ เช่น

  • ข้อต่อเกิดการอักเสบและติดเชื้อ อาจเกิดขึ้นกับข้อต่อเพียงข้อเดียวหรือหลายข้อต่อ จนทำให้ผิวหนังบริเวณนั้นเป็นสีแดง บวมแดง และแสบร้อน
  • เคลื่อนไหวร่างกายได้ไม่สะดวกจากภาวะข้อติด ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกความรุนแรงของโรคที่เพิ่มมากขึ้น
  • ผิวหนังบริเวณข้อต่อเกิดการลอกหรือคันหลังจากอาการของโรคดีขึ้น

 

กรดยูริก คืออะไร?

กรดยูริก เกิดจากร่างกายสร้างขึ้นเอง ประมาณ 80 % และอีก 20 % ที่เหลือเกิดจากการที่เรารับประทานอาหารที่มีสารพิวรีน (Purines) สูงมากจนเกินไป ซึ่งสารพิวรีนจะพบในสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ พืชผักบางชนิด และอาหารทะเลบางอย่าง โดยปกติร่างกายสามารถขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะได้ คนเป็นโรคเก๊าท์ส่วนใหญ่จึงไม่แตะต้องสัตว์ปีกเลย แต่บางคนร่างกายไม่สามารถขับกรดยูริกออกได้หมด ทำให้มีกรดยูริกสะสมอยู่ตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณข้อและกระดูก ผนังหลอดเลือด และไต ซึ่งเป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคเก๊าท์ อย่างไรก็ตาม ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคเก๊าท์ แต่พบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น

  • การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
  • การรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนมากเกินไป เช่น สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ยอดผัก กุ้งเคยหรือกะปิ ปลาซาร์ดีน หอยแมลงภู่ สารสกัดจากยีสต์
  • ได้รับวิตามินซีไม่เพียงพอ โดยคนเราควรรับวิตามินซีวันละ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน
  • การดื่มน้ำอัดลมเกินปริมาณที่พอดีต่อวัน ซึ่งมีการศึกษาพบว่าการดื่มน้ำอัดลมประเภทที่มีน้ำตาลฟรุกโตสอาจเพิ่มการสะสมกรดยูริกในเลือดได้สูงถึง 85% นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผลไม้และน้ำผลไม้บางชนิดที่มีน้ำตาลฟรุกโตสอยู่มาก
  • อาการเจ็บป่วยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเซลล์ในร่างกายอย่างรวดเร็ว เช่น โรคสะเก็ดเงินขั้นรุนแรง หรือความผิดปกติทางเลือดบางอย่าง
  • ยาบางประเภทที่ส่งผลต่อระดับกรดยูริกในร่างกาย เช่น ยาขับปัสสาวะ  ยาเคมีบำบัดบางชนิด ยาแอสไพริน และยาลดความดันโลหิตบางชนิด
  • โรคประจำตัวหรือสภาวะของร่างกายบางอย่างสามารถทำให้เกิดโรคเก๊าท์ได้ เช่น ภาวะอ้วน โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดผิดปกติ ไตทำงานผิดปกติ โรคเบาหวาน โรคพร่องเอนไซม์ ความผิดปกติของไขกระดูก โรคหลอดเลือดผิดปกติ
  • มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเก๊าท์ โดยพบว่า 1 ใน 5 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะมีบุคคลในครอบครัวเจ็บป่วย

บทความที่เกี่ยวข้อง : ยารักษาโรคเก๊าท์  10 วิธีบรรเทาอาการโรคเก๊าท์ทำได้ง่ายๆที่บ้าน

 

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

โรคเก๊าท์ไม่ทราบสาเหตุในเด็กคืออะไร?

โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กเป็นโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง หมายความว่า เป็นโรคที่ไม่หายถึงแม้จะรักษาด้วยยาที่เหมาะสมแล้วก็ตาม แต่สามารถทำให้อาการของผู้ป่วยโรคเก๊าท์มีผลทางห้องปฏิบัติการดีขึ้นได้ อีกทั้งโรคนี้เมื่อได้รับการวินิจฉัยแล้ว จะไม่สามารถเดาหรือรับรองได้ว่าเด็กจะเจ็บป่วยนานแค่ไหน

 

โรคเก๊าท์ในเด็กพบบ่อยแค่ไหน?

โรคเก๊าท์หรือโรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็ก เป็นโรคที่พบได้น้อย พบประมาณ 1-2 รายต่อประชากรเด็ก 1,000 ราย ซึ่งสาเหตุของโรคเก๊าท์ เกิดจากในภาวะปกติระบบภูมิคุ้มกันของเราจะปกป้องเราจากการติดเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น เชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย ภูมิคุ้มกันของร่างกายจะมีความสามารถในการแยกแยะได้ว่าอะไรที่เป็นสิ่งแปลกปลอมที่อันตรายจะมาทำลายเซลล์

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

อาการอักเสบของโรคเก๊าท์

เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของคนเราไม่สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนที่เป็นสิ่งแปลกปลอมและสิ่งไหนที่เป็นเซลล์ของเราเอง ภูมิคุ้มกันจึงทำลายส่วนที่เป็นของเราเอง ทำให้เกิดการอักเสบขึ้น เช่น การอักเสบที่เยื่อบุข้อ ด้วยเหตุผลนี้ โรคข้ออักเสบไม่ทราบสาเหตุในเด็กจึงถูกเรียกว่าโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง

 

โรคเก๊าท์เป็นโรคทางพันธุกรรมหรือไม่?

โรคเก๊าท์อาจไม่ใช่โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม 100 % เนื่องจากไม่ได้ส่งต่อจากพ่อหรือแม่สู่ลูก อย่างไรก็ตามมีปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่างที่ยังไม่ค้นพบซึ่งเกี่ยวข้องกับโรคเก๊าท์หรือโรคข้ออักเสบชนิดต่าง ๆ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าโรคนี้เป็นผลจากสองปัจจัย ได้แก่ ความผิดปกติทางพันธุกรรมและการกระตุ้นด้วยปัจจัยแวดล้อมบางอย่าง เช่น ภาวการณ์ติดเชื้อ ถึงแม้จะมีปัจจัยทางพันธุกรรมมาเกี่ยวข้อง แต่การพบว่ามีเด็กสองคนในครอบครัวเดียวกันป่วยเป็นโรคนี้นั้นพบได้น้อยมาก

 

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

การวินิจฉัยโรคเก๊าท์ในเด็ก

การวินิจฉัยโรคเก๊าท์ได้ เมื่อพบว่ามีการอักเสบของข้อเป็นระยะเวลานาน และต้องตัดสาเหตุหรือโรคอื่นเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะจากการซักประวัติ ตรวจร่างกายหรือตรวจทางห้องปฏิบัติการ โรคเก๊าท์จะเกิดขึ้นเมื่อเด็กมีอายุน้อยกว่า 16 ปี และอาการจะคงอยู่นานถึง 6 สัปดาห์ และต้องตัดสาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดข้ออักเสบทิ้งไป สาเหตุที่ต้องใช้ 6 สัปดาห์เป็นเกณฑ์เนื่องจากมีภาวะที่เกิดข้ออักเสบชั่วคราวจากสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ เช่น การติดเชื้อต่าง ๆ เป็นต้น

บทความที่เกี่ยวข้อง: โรคทางพันธุกรรม ที่ลูกอาจติดจากพ่อแม่ มีอะไรบ้าง จะรับมืออย่างไร

 

 

ทำไมโรคเก๊าท์จึงอยู่ในประเภทโรคข้ออักเสบเมื่อปรากฏในเด็ก?

ต้องทำความเข้าใจว่า ไม่ว่าโรคเก๊าท์มักจะพบในวัยผู้ใหญ่ และพบน้อยมากในเด็ก แต่ก็ควรระวังเพราะเยื่อบุข้อที่เป็นเยื่อบาง ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของปลอกหุ้มข้อต่อ ซึ่งในภาวะข้ออักเสบเยื่อนี้จะหนาตัวขึ้น ตามมาด้วยเซลล์ และเนื้อเยื่อที่อักเสบ ซึ่งนำไปสู่การสร้างน้ำในข้อ ทำให้ข้อบวม ปวด และขยับได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น อาการที่บ่งบอกถึงภาวะข้ออักเสบอาการหนึ่งก็คือ ภาวะข้อติดซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงเช้า อาการนี้มักจะเกิดภายหลังจากพักข้อเป็นเวลานาน

สำหรับเด็กที่ป่วยเป็นโรคเก๊าท์สามารถลดการปวดข้อโดยงอข้อนั้น ๆ โดยแพทย์จะบำบัดเบื้องต้นโดยใช้ท่าลดปวด ถ้าไม่รักษาอย่างถูกต้อง การอักเสบของข้อจะทำให้เกิดการทำลายข้อผ่านสองกระบวนการ หนึ่งคือเยื่อบุข้อหนาตัวจนมีลักษณะคล้ายก้อน (หรือที่เราเรียกกันว่า pannus) และมีการหลั่งสารต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการทำลายกระดูก และกระดูกอ่อน ทำให้เด็กที่ป่วยเป็นโรคเก๊าท์อยู่ในท่าทางเป็นเวลานาน จนทำให้กล้ามเนื้อลีบ

 

การวินิจฉัยโรคเก๊าท์โดยทั่วไป

ขั้นแรกแพทย์จะสอบถามอาการ ประวัติการเป็นโรคเก๊าท์ของบุคคลในครอบครัว การตรวจร่างกายทั่วไป ตลอดจนดูสัญญาณบ่งบอกของโรคอื่น ๆ เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วยในการวินิจฉัยโรค หลังจากนั้นจะมีการตรวจพิเศษเพิ่มเติมอื่น ๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ เช่น

  • การเจาะข้อ มักถูกใช้เป็นวิธีหลักในการตรวจวินิจฉัยโรคเก๊าท์ แพทย์จะนำเข็มเจาะบริเวณข้อที่มีอาการ เพื่อดูดเอาน้ำในข้อออกมาตรวจดูการสะสมของผลึกยูเรต (Urate Crystals) ภายใต้กล้องจุลทรรศน์
  • การตรวจเลือด เมื่อการตรวจวินิจฉัยโดยการเจาะข้อไม่สามารถทำได้ แพทย์อาจจะให้มีการเจาะเลือด เพื่อตรวจวัดระดับของกรดยูริกและสารครีเอตินินว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ แต่วิธีนี้อาจเกิดความผิดพลาดได้ เช่น ผู้ป่วยบางรายมีระดับกรดยูริกสูงผิดปกติ แต่อาจไม่เป็นโรคเก๊าท์ หรือบางรายที่มีอาการของโรคก็อาจตรวจพบระดับกรดยูริกได้ในระดับปกติ
  • การเอกซเรย์ การถ่ายเอกซเรย์บริเวณข้อที่มีอาการ เพื่อตรวจดูว่าเกิดการอักเสบตามข้อหรือไม่
  • การอัลตราซาวนด์ จะช่วยตรวจพบการสะสมของผลึกยูเรตตามข้อจนเป็นปุ่มนูนหรือก้อนที่เรียกว่า “โทฟี่” (Tophi)
  • เอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน เพื่อตรวจหาการสะสมของผลึกยูเรตตามข้อ แต่มักเป็นวิธีที่ไม่ค่อยนิยม และมีค่าใช้จ่ายสูง
  • การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูกรดยูริกที่ปะปนในน้ำปัสสาวะ ที่เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีกรดยูริกสูงมากในเลือด สะสมมาเป็นระยะเวลานาน จนกรดยูริกนั้นตกตะกอนอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย อาจใช้เวลานานถึง 10 ปี กว่าจะแสดงอาการข้ออักเสบ ปวดแดงร้อนที่ข้อ ถ้ากรดยูริกสะสมตามผิวหนังจะทำให้มีปุ่มนูนขึ้นตามผิวหนัง แต่ถ้ากรดยูริกไปตกตะกอนที่ไตจะทำให้เกิดนิ่วในไตและไตเสื่อมได้ในที่สุด

 

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์สามารถพัฒนาอาการของโรคให้รุนแรงมากขึ้นเมื่อไม่มีการรักษาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของโรคบ่อยมากขึ้นไปจนถึงการเกิดก้อนโทฟี่หรือปุ่มนูนใต้ผิวหนังในหลายส่วนของร่างกาย เช่น ตามนิ้วมือ เท้า ข้อศอก หรือเอ็นร้อยหวาย แต่โดยปกติมักไม่ก่ออาการเจ็บปวด แต่เมื่ออาการของโรคกำเริบอาจทำให้เกิดการติดเชื้อ ปวดตามข้อ ข้อต่อบิดเบี้ยวจนผิดรูปไปจากเดิม นอกจากนี้ยังมีโอกาสเกิดนิ่วในไตจากการสะสมของผลึกยูเรตในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ซึ่งอาจนำไปสู่การทำงานของไตที่ปกติหรือเกิดภาวะไตวาย

Loading...
You got lucky! We have no ad to show to you!
ติดต่อโฆษณา

 

10 ข้อที่สังเกตได้ และควรปฏิบัติเมื่อเป็นโรคเก๊าท์

  1. การรักษาโรคเก๊าท์ในระยะแรก

เมื่อมีอาการเฉียบพลัน คือ ปวดบวมแดงร้อน สามารถใช้ยาแก้ปวดเพื่อลดอาการ ดูแลตัวเอง และป้องกันไม่ให้เกิดอาการซ้ำอีก โดยการงดเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทานอาหารที่มีพิวรีนให้น้อยลง ดื่มน้ำเยอะ ๆ สามารถช่วยขับกรดยูริกออกมาทางปัสสาวะได้หรือการดื่มนมสดก็ช่วยลดกรดยูริกได้เช่นกัน แต่ถ้ากินยาแก้ปวดและดูแลตัวเองแล้ว ยังมีอาการกำเริบบ่อยกว่า 2-3 ครั้งต่อปี จะต้องใช้ยาลดกรดยูริก การรักษาโรคเก๊าท์แบบไม่ใช้ยา โดยการควบคุมอาหาร สามารถช่วยลดอาการปวดได้ แต่การควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับการรักษาโรคเก๊าท์ให้หายขาดได้

 

  1. ไม่ควรนวดเพื่อบรรเทาอาการปวด

ถ้ามีอาการปวดห้ามบีบนวดเด็ดขาด เพราะการบีบนวดจะทำให้กรดยูริกวิ่งเข้ามาในข้อเยอะมากขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น แต่ควรจะพักการใช้งานของข้อ ให้นอนพัก และประคบเย็นเท่านั้นก็เพียงพอโดยใช้น้ำแข็งประคบเมื่อมีอาการปวดตามข้อเพื่อลดอาการปวด และถ้าปวดที่เท้าให้ยกเท้าสูง เพื่อช่วยลดการอาการบวม

 

  1. โรคเก๊าท์ รักษาให้หายขาดได้

โรคเก๊าท์สามารถรักษาให้หาขาดได้ โดยการกินยาเพื่อควบคุมระดับกรดยูริกไม่ให้สูง แต่ผู้ป่วยต้องกินยาอย่างสม่ำเสมอ ไปพบแพทย์สม่ำเสมอ อย่างน้อยใช้เวลาประมาณ 5-10 ปี และปรับพฤติกรรมการกิน ถ้าหายขาดแล้ว ก็ไม่ควรมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเหมือนเดิม เพราะจะกลับไปเป็นโรคเก๊าท์ได้อีก

 

  1. ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควรออกกำลังกายหรือไม่

เวลาที่ข้ออักเสบ ปวด บวม ไม่ควรออกกำลังกาย ควรพักผ่อนให้เพียงพอ รักษาให้ดีขึ้นก่อนแล้วค่อยเริ่มออกกำลังกายทีละนิด ออกกำลังกายทั่วไปที่ไม่เน้นหนักไปที่ข้อมากจนเกินไปนัก เพราะข้อที่อักเสบบ่อย ๆ จะทำให้ข้อเสื่อมได้ ช่วงปกติให้ออกกำลังกายธรรมดาตามวัย

 

  1. โรคเก๊าท์เป็นได้ทุกวัย

โรคเก๊าท์สามารถพบได้ตั้งแต่เด็ก แต่ส่วนใหญ่จะพบในเพศชายอายุ 30-40 ปี ขึ้นไป เพราะโรคเก๊าท์จะต้องใช้เวลาในการสะสมกรดยูริกนานเป็น 10 ปีกว่าจะแสดงอาการ และสาเหตุที่ผู้ชายเป็นโรคเก๊าท์มากกว่าผู้หญิงถึง 10 เท่า เพราะผู้ชายดื่มแอลกอฮอล์มากกว่าผู้หญิง

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารลดการเกิดโรคข้ออักเสบ อาหารและเครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยง 8 ชนิด

 

 

  1. ผู้หญิงส่วนใหญ่จะไม่เป็นโรคเก๊าท์

ไม่แน่นอนเสมอไป หากผู้หญิงถึงวัยหมดประจำเดือน ผู้หญิงก็สามารถเป็นโรคเก๊าท์ได้ และส่วนใหญ่จะพบในวัยหมดประจำเดือนไปแล้ว เนื่องจากช่วงที่มีประจำเดือนอยู่นั้นจะมีฮอร์โมนเอสโตรเจน ซึ่งจะช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกาย ดังนั้นผู้หญิงก่อนวัยหมดประจำเดือนจะไม่เป็นโรคเก๊าท์ แต่พอหลังประจำเดือนหมดไปประมาณ 5-10 ปี ก็จะเริ่มมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้

 

  1. คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีกรดยูริกสูง

ควรรีบปรึกษาแพทย์ และใส่ใจสุขภาพมากขึ้น เลือกรับประทานอาหารที่ดี งดแอลกอฮอล์ไปก่อน ตรวจสุขภาพทุกปี เพื่อดูค่ายูริกว่าสามารถควบคุมได้หรือไม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นโรคเก๊าท์

 

  1. อันตรายของโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์ไม่ส่งผลถึงกับเป็นอัมพาตแต่คล้ายเป็นอัมพาต เพราะปวดข้อมากตลอดเวลาต้องนอนอยู่บนเตียงตลอด เดินไม่ได้ เดินไม่ไหว ในบางรายอาจจะมีอาการไตวายด้วย เพราะมีการสะสมของกรดยูริกที่ไต หรือการที่ผู้ป่วยปวดข้อมาก ๆ แล้วซื้อยาแก้ปวดมาทานเอง การทานยาแก้ปวดนาน ๆ ในการรักษาการปวดข้อโดยไม่ขจัดต้นตอของโรค ก็จะทำให้ไตวายได้

 

  1. อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

เนื่องจากกรดยูริกจะได้จากการเผาผลาญสารพิวรีน ดังนั้น การรักษาโรคเก๊าท์จึงต้องควบคุมสารพิวรีนในอาหารซึ่งอาหารที่มีปริมาณพิวรีนสูง ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ เครื่องในสัตว์ทุกชนิด เนื้อสัตว์ปีก ไข่ปลา ปลาดุก ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคโคเรล ปลาอินทรี กุ้ง หอย ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ผักยอดอ่อนบางประเภท เช่น กระถิน ชะอม สะเดา ยอดมะพร้าวอ่อน น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน เห็ด กะปิ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน

 

  1. ปริมาณพิวรีนในอาหารที่ผู้ป่วยโรคเก๊าท์รับประทานได้

อาหารที่มีปริมาณพิวรีนปานกลาง คนเป็นโรคเก๊าท์สามารถรับประทานได้บ้าง ข้าวโอ๊ต เนื้อหมู เนื้อวัว ปลากะพงแดง ปลาหมึก ปู ถั่วลิสง ถั่วลันเตา หน่อไม้ ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม ดอกกะหล่ำ ปลาน้ำจืด (ยกเว้นปลาดุก) ส่วนอาหารที่มีพิวรีนน้อยหรือไม่มีเลย ที่สามารถรับประทานได้ นมและผลิตภัณฑ์จากนม ไข่ ธัญพืชต่าง ๆ ผักผลไม้ น้ำตาล ไขมัน ผลไม้เปลืองแข็งทุกชนิด วุ้นข้าว ขนมปังไม่เกินมื้อละ 2 แผ่น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 

โรคข้อเข่าเสื่อม อาการเป็นอย่างไร วิธีดูแล ป้องกัน และรักษาโรค

โรคผื่นกุหลาบ มีอาการอย่างไร โรคผื่นกุหลาบสามารถรักษาได้หรือไม่

โรคชิคุนกุนยา โรคร้ายที่มากับยุงลาย วิธีการป้องกัน อาการ และการรักษา

ที่มา : printo.it, saintlouis

บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan