TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน มีอะไรบ้าง? สำรวจพัฒนาการหนูน้อยอย่างละเอียด

บทความ 8 นาที
พัฒนาการเด็ก 3 เดือน มีอะไรบ้าง? สำรวจพัฒนาการหนูน้อยอย่างละเอียด

ขวบปีแรกของลูกเป็นช่วงวัยที่ลูกมีพัฒนาการรวดเร็วที่สุด มาเช็คพัฒนาการลูกน้อยวัย 3 เดือนกันดีกว่า ว่ามีพัฒนาการอะไรบ้างที่ลูกน้อยควรทำได้

เมื่อลูกน้อยอายุได้ 3 เดือน คุณพ่อคุณแม่ก็คงจะสงสัยใช่ไหมว่าเมื่อลูกอายุได้ 3 เดือนจะมีการพัฒนาการด้านใดบ้าง เมื่อลูกอายุได้ 3 เดือน เราไม่เรียกเจ้าตัวน้อยว่าเด็กแรกเกิดแล้วนะ แต่เราจะเรียกว่า ทารกแทน แม้ว่าลูกน้อยจะโตขึ้นมาอีกสเต็ปหนึ่งแล้ว แต่ลูกก็ยังต้องเรียนรู้อีกมากและมีอะไรที่ทำให้คุณแม่ทึ่งใน พัฒนาการเด็ก 3 เดือน ของเขาได้อีกเยอะเลยล่ะมีอะไรบ้าง

 

พัฒนาการเด็ก 3 เดือน จะมีการพัฒนาด้านด้านใดบ้าง?

พัฒนาการลูกวัย 3 เดือน

 

พัฒนาการทารก 3 เดือน พัฒนาการด้านร่างกาย

ร่างกายแข็งแรงขึ้นทั้งส่วนบนและส่วนล่าง

เมื่อลูกน้อยอายุได้ 3 เดือน ลูกน้อยจะมีพัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อคอที่มีความแข็งแรงมากขึ้น และในเวลาที่ลูกนอนคว่ำเขาจะสามารถที่จะใช้แขนดันพื้นยกหน้าอกและศรีษะขึ้นมาเองได้ แถมยังสามารถที่จะยืดขา และเตะได้อีกด้วย

ควบคุมกล้ามเนื้อคอได้ดีขึ้น

ลูกน้อยจะมีกล้ามเนื้อคอที่แข็งแรงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อคุณอุ้มลูกขึ้นมาตรงๆ จะสังเกตได้ว่าศีรษะลูกจะไม่โงนเงนอีกแล้ว

การประสานสัมพันธ์ดีขึ้น

ลูกน้อยสามารถที่จะกำมือ แบมือ เอามือมาประสานกัน หรือเอามือปัดของเล่นสีสันสดใสที่ห้อยอยู่ตรงหน้าได้อีกด้วย เรียกได้ว่าเป็นการสำรวจสิ่งต่าง ๆ ด้วยมือของเขาเองนั้นเอง

เอามือเข้าปาก

ในช่วง 3 เดือน ลูกน้อยจะชอบคว้าของเล่นเข้าปาก หรือเอามือเข้าปาก คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะเลือกของเล่นที่ปลอดภัยให้กับ และควรระวังอย่าให้มีของเล่น หรืออะไรต่าง ๆ ที่เป็นชิ้นเล็ก ๆ อยู่ใกล้ลูก เนื่องจากลูกน้อยอาจจะคว้าของเล่นเข้าปาก หรืออาจจะกลืนลงไปติดคอได้

พลิกคว่ำ

เมื่อลูกอายุได้ 3 เดือน ลูกจะสามารถพลิกคว่ำได้แล้ว ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะต้องระวังในเรื่องของการเปลี่ยนผ้าอ้อม หรือการเล่นกับลูกบนเตียงให้ดี ถ้าดูไม่ดีลูกอาจจะเกิดการบาดเจ็บได้ ลูกวัย 3 เดือน ลูกจะไม่นอนนิ่ง ๆ แล้ว การเผลอเพียงนิดเดียวอาจจะเกิดอุบัติเหตุได้

บทความที่เกี่ยวข้อง : พ่อแม่ต้องรู้! วิธี เสริมพัฒนาการเด็ก 3 เดือน เด็กวัยนี้ต้องมีพัฒนาการอะไรบ้าง?

 

พัฒนาการทารก 3 เดือน พัฒนาการด้านประสาทสัมผัส

การสัมผัส

ทารกวัยนี้จะสนใจสิ่งต่าง ๆ รอบตัว อยากจะสัมผัสและรู้สึกถึงผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน

การได้ยิน

คุณจะสังเกตเห็นว่าลูกน้อยสามารถหันศีรษะและยิ้มตอบต่อเสียงของคุณ และเริ่มที่จะแสดงออกว่าชอบฟังเพลงแล้ว

การมองเห็น

ถ้าคุณจ้องมองลูก เขาก็จะจ้องตาคุณกลับ และลูกวัยนี้ยังมีความสุขกับการจ้องมองตัวเองในกระจกอีกด้วย

 

พัฒนาการทารก 3 เดือน พัฒนาการด้านสติปัญญา

เหตุและผล

เมื่อลูกน้อยตีของเล่นที่ห้อยอยู่ให้เคลื่อนไหว เขาจะเริ่มเข้าใจเหตุและผลของสิ่งต่าง ๆ จากนั้นสมองของลูกน้อยจะเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ ด้วยกันเมื่อเขาได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

มองตามวัตถุที่เคลื่อนที่

ตาทั้งสองทำงานประสานกันได้ดีในการเคลื่อนไหวและปรับโฟกัส  โดยเฉพาะเมื่อมีวัตถุกำลังเคลื่อนที่ผ่านหน้าไป เช่น ของเล่น หรือมือของคุณแม่

ยิ้มเพื่อตอบสนองสังคม

ยิ้มหวาน ๆ ของลูกไม่ได้มีไว้เฉพาะคุณพ่อคุณแม่อีกต่อไป เพราะตอนนี้ลูกน้อยเริ่มเผื่อแผ่รอยยิ้มไปยังคนอื่น ๆ ที่ยิ้มให้เขาก่อนด้วย

เป็นมิตร

ลูกน้อยจะเริ่มสนใจทารกคนอื่น ๆ รอบตัว รวมถึงภาพสะท้อนตัวเองในกระจกด้วย

การเข้าใจอารมณ์

ลูกน้อยพยายามเข้าใจอารมณ์และการสื่อสาร ด้วยการเริ่มเชื่อมโยงสิ่งที่คุณพูดกับสีหน้าที่คุณแสดงออก เช่น การยิ้มแย้ม การหัวเราะ การขมวดคิ้วเมื่อไม่พอใจ ส่งเสียงเรียกคนคุ้นเคย ในวัยนี้เด็กจะมีการเล่นกับตัวเองมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการให้มีคนเล่นด้วย ไม่ชอบอยู่ตามลำพัง คุณพ่อคุณแม่จึงควรใช้เวลาในการเล่นกับลูกอย่างสม่ำเสมอ

 

พัฒนาการทารก 3 เดือน พัฒนาการด้านภาษา

การสื่อสาร

ในวัยนี้ การร้องไม่ใช่วิธีการหลักในการสื่อสารอีกต่อไป ลูกน้อยเริ่มแสดงความรู้สึกด้วยวิธีการอื่น เช่น การส่งเสียง อ้อแอ้ โอ้ อู้ อ้า เป็นต้น

ภาษาทารก

ยิ่งคุณคุยกับลูกมากเท่าไหร่ ลูกน้อยก็จะพัฒนาด้านการพูด โดยจะพยายามทำเสียง และท่าทางเพื่อสื่อสารกับคุณเร็วขึ้นเท่านั้น

 

กิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการลูกน้อยวัย 3 เดือน

เรามีวิธีที่คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านต่าง ๆ ให้กับลูกน้อยวัย 3 เดือนมาฝากกัน

อ่านนิทานแสนสนุก

ลูกน้อยของคุณอาจยังไม่เข้าใจคำพูดที่คุณพูด และยังอ่านหนังสือไม่ออก แต่การอ่านออกเสียงดัง ๆ ให้ลูกน้อยฟัง ไม่ว่าเขาจะอายุน้อยแค่ไหน ก็สามารถที่จะช่วยให้เขาคุ้นเคยกับเสียง คำ ภาษาที่แตกต่าง และยังช่วยให้เขารู้จักคุณค่า และความสนุกจากหนังสืออีกด้วย

สิ่งที่ต้องเตรียม : หนังสือภาพสีสันสดใส

บทความจากพันธมิตร
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
รีวิวเจาะลึกนมผง เด่นเรื่องสมอง เสริม DHA และพัฒนาการรอบด้านของเด็ก แถมมีสารอาหารแน่น มาดูกันชัดๆ ว่ากล่องไหน ตอบโจทย์แม่ที่สุด
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
ไม่ใช่แค่ยุงกัด...แต่คือวิกฤต เมื่อ “ไข้เลือดออก” สร้างผลกระทบที่ลึกซึ้งมากกว่าที่คิดในครอบครัว
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน
อาหารมื้อแรก สำหรับลูกรัก กินอะไรดี? เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน

พัฒนาการที่ได้: การมอง ภาษา การพูด การออกเสียง

 

คว้าจับ ขยับมือ

ในช่วงนี้ลูกน้อยคอแข็งขึ้น และสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวศีรษะได้ดีขึ้น ต้องการการช่วยประคองน้อยลง เขาจะสนุกกับการเอื้อมคว้า และจับของเล่น และสิ่งต่าง ๆ เพื่อเรียนรู้โลกรอบตัวเขา คุณพ่อคุณแม่ลองยื่นของเล่นสีสดใส ที่เป็นห่วง หรือที่เป็นแบบเขย่าได้ให้ลูกเอื้อมคว้า หรือแขวนโมบายที่ลูกสามารถเอื้อมมือถึงได้ และดูเวลาที่เขายืดแขนเพื่อคว้าจับ

สิ่งที่ต้องเตรียม : ของเล่นที่เป็นห่วง ของเล่นที่เขย่าแล้วมีเสียง สีสันสดใสที่เหมาะกับวัย

พัฒนาการที่ได้: การเคลื่อนไหว การประสานสัมพันธ์มือ และตา

 

พลังแห่งดอกไม้

ลูกน้อยอายุได้ 3 เดือน จะพยายามใช้ประสาทสัมผัสด้านการดมกลิ่น เพื่อแยกแยะความแตกต่างระหว่างคนที่เขารู้จัก และคนแปลกหน้า ลองนำของที่มีกลิ่นหลาย ๆ แบบมาให้ลูกลองดมดุ เช่น กลิ่นดอกไม้ กลิ่นเครื่องเทศ กลิ่นคุกกี้ แล้วดูว่ากลิ่นแบบไหนที่ลูกชอบ

สิ่งที่ต้องเตรียม : ดอกไม้ เครื่องเทศ คุกกี้ หรือสิ่งอื่นๆ ที่มีกลิ่นหอม

พัฒนาการที่ได้: การดมกลิ่น

 

สัมผัสจับดู

ทักษะด้านการสัมผัสของลูกกำลังพัฒนาขึ้น คุณจะเห็นว่าลูกสนุกกับการสำรวจทุกอย่างรอบตัวโดยการสัมผัส และรู้สึกด้วยมือ และนิ้ว กระตุ้นให้ลูกรู้จักแบ่งประเภทผิวสัมผัสที่แตกต่างกัน เช่น ผ้ากำมะหยี่นุ่ม  ผ้าฝ้ายขนปุย หนังผิวเรียบ ผิวสัมผัสขรุขระ และอื่น ๆ

สิ่งที่ต้องเตรียม : สิ่งต่าง ๆ ที่มีผิวสัมผัสแตกต่างกัน

พัฒนาการที่ได้: การสัมผัส การเคลื่อนไหว

 

ด้านโภชนาการของลูกวัย 3 เดือน

จากการศึกษาได้พบว่า การให้ลูกรับประทานอาหารแข็งเร็วมากจนเกินไปอาจจะเป็นผลอันตรายต่อลูกน้อยของคุณในวัย 3 เดือนได้ เมื่อต้องเลี้ยงลูกน้อยวัย 3 เดือน ควรให้ลูกน้อยรับประทานนมแม่ต่อไปเนื่องจากการดื่มนมแม่นั้นมีสารอาหารที่ครบถ้วนที่ทารกวัย 3 เดือนต้องการ หากคุณแม่คนไหนที่ไม่สามารถให้นมลูกน้อยดื่มได้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ทางเลือกเดียวคือนมสูตร โดยทางเด็กวัย 3 เดือนที่เป็นผู้ชายต้องการ 644.6 แคลอรี่ต่อวัน ส่วนผู้หญิงต้องการ 609 แคลอรี่ต่อวัน โดยประมาณนมแม่ หรือนมสูตรสำหรับลูกน้อยของคุณแม่ มีดังนี้

  • นมแม่ : 19.3 – 30.4 ออนซ์/วัน
  • สูตร : 24 ออนซ์/วัน

เนื่องจากลูกน้อยของคุณนั้นยังไม่มีระบบย่อยอาหารที่สมบูรณ์จึงมีโอกาศสูงที่ลูกจะไม่สามารถแปรรูป หรือย่อยอาหารที่แข็งได้ การที่ให้ลูกกินของแข็งมากจนเกินไปอาจจะนำไปสู่โรคอ้วน หรือกระตุ้นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่เป็นไปได้ ทำให้เกิดปัญหาทางเดินอาหาร หรือแม้แต่อันตรายจากการสำลักซึ่งอาจจะทำเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ อย่าลืมว่าทารกที่กำลังเติบโตไม่ได้ต้องการเพียงแค่อาหารเพื่อที่จะบำรุงร่างกายอย่างเดียวเท่านั้น แต่ทารกยังต้องการการนอนหลับที่เพียงพออีกด้วย

 

พัฒนาการเด็กวัย 3 เดือน

 

เคล็ดลับสำหรับพ่อแม่

คุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ อาจจะได้รับคำแนะนำมากมายในการเลี้ยงดูชูกจากคนรู้จักที่หวังดีกับคุณมากมาย แต่อยากที่จะให้คุณระวังเรื่องการอย่าบริโภคข้อมูลมากจนเกินไป ต่อไปนี้จะมาแนะนำเคล็บลับสำหรับคุณพ่คุณแม่ที่อาจจะเลี้ยงลูกไม่ค่อยเก่งกัน มีดังนี้

 

การเติบโตของลูก

คุณพ่อคุณแม่อาจจะสังเกตว่าลูกน้อยของคุณนั้นเริ่มที่จะตัวสูงขึ้น และผอมลง นั้นไม่ใช่ว่าลูกของคุณรับสารอาหารต่าง ๆ ไม่เพียงพอ แต่เป็นเพราะอยู่ในช่วงที่กระดูก และกล้ามเนื้อของลูกกำลังที่จะเติบโตขึ้น และแขนขาของลูกตอนนี้คลายออกได้มากขึ้นกว่าเมื่อก่อนแล้วด้วย

 

นอนหลับยาวตลอดคืน

แม้ว่าทารกส่วนใหญ่จะเริ่มนอนยาวเมื่ออายุได้ 3 เดือน แต่ก็ไม่จำเป็นว่าเด็กทุกคนจะต้องเหมือนกัน ลูกของคุณอาจจะยังไม่สามารถที่จะทำได้ในตอนนี้ก็เท่านั้นเอง

คุณอาจรู้สึกเหน็ดเหนื่อย อ่อนแรงจากการไม่ได้นอนตอนกลางคืนสะสมเรื่อยมาตั้งแต่หลังคลอด และคุณอาจได้รับคำแนะนำให้ปล่อยให้ลูกร้องไปเลย เดี๋ยวก็หลับไปเอง อย่างไรก็ตามวิธีดังกล่าวอาจไม่เหมาะกับลูกของคุณ และอาจขัดกับความเชื่อในการเลี้ยงลูกของคุณ ดังนั้น แนะนำให้เชื่อสัญชาตญาณของตัวเอง และทำในสิ่งที่คุณคิดว่าถูกต้องดีกว่า

 

อย่าเพิ่งรีบให้อาหารเสริม

ที่บ้านคุณอาจมีคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย ที่พยายามจะป้อนอาหารเสริมให้กับหลานรัก เช่น อาหารเสริมสำเร็จรูป หรือกล้วยบด เพื่อให้อิ่มนานและหลับได้ยาวตลอดคืน แต่จากการศึกษาหลายต่อหลายชิ้นต่างยืนยันว่า การให้อาหารเสริมกับทารกเป็นอันตรายอย่างมาก เนื่องจากระบบย่อยอาหารของลูกยังไม่พร้อม จึงไม่สามารถย่อยอาหารอื่นได้นอกจากนม การให้อาหารเสริมก่อน 6 เดือนยังนำไปสู่การเป็นโรคอ้วนในเด็ก ก่อให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ ก่อให้เกิดปัญหาทางเดินอาหาร หรือแม้กระทั่ง อันตรายจากการสำลักอาหาร ซึ่งอาจะเป็นอันตรายถึงชีวิต

 

หากลูกวัย 3 เดือน เป็นแบบนี้ ปกติไหม

โดยปกติแล้ว เด็กทารกวัย 3 เดือน มีพฤติกรรมและพัฒนาการตามวัยหลายอย่างที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต ซึ่งบางอย่างอาจเป็นเรื่องปกติของพัฒนาการเด็กในวัยนี้ แต่บางอย่างก็อาจจะเป็นสัญญาณของความผิดปกติที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยหรือรับการรักษาจากแพทย์ค่ะ มีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

  • หัวแบน หรือ หัวเบี้ยว

หากลูกมีอาการ หัวแบน หรือ หัวเบี้ยว ในวัยนี้ ไม่ต้องตกใจไปค่ะ การหัวแบนไม่ได้ส่งผลเสียต่อทารกแต่อย่างใดค่ะ เมื่อโตขึ้นก็จะดูแบนหรือเบี้ยวน้อยลงไปได้เองค่ะ

ทั้งนี้ปัญหาลูกหัวแบนหัวเบี้ยวนั้น เกิดขึ้นมาจากท่านอนของลูก เช่น ท่านอนหงาย ซึ่งแม้ว่าจะเป็นท่านอนที่ปลอดภัยต่อเด็กมากที่สุด แต่หากนอนในท่านี้นาน ๆ จะทำให้ศีรษะของลูกถูกกดทับ และสามารถทำให้ลูกหัวแบนได้ ทางที่ดีควรลองพยายามเปลี่ยนท่านอนให้ลูกได้นอนหันข้าง สลับกันไปมาบ้าง และหมอนที่ใช้ก็ควรเป็นหมอนที่นิ่มกำลังดี ไม่มีรูหรือหลุมตรงกลางค่ะ

 

  • ลูกดึงผมตัวเอง

บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะสังเกตเห็นว่าลูกในวีย 3 เดือน มักดึงผมตัวเองบ่อย ๆ ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ เป็นช่วงเวลาที่ทารกกำลังพยายามทำความรู้จักกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ ที่อยู่รอบตัว และตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ค่ะ เช่น อยากที่จะลองสัมผัสเส้นผม อยากเห็นเส้นผม ก็เลยพยายามจะดึงผมของตัวเอง

นอกจากนี้เด็กทารกมักจะดึงผมตัวเองเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ต่าง ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็น การรู้สึกตกใจกับเสียงต่าง ๆ หรือ แสงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวที่มากมายแสดงออกว่าต้องการที่เล่น หรือบ่งบอกถึงความรู้สึกเหนื่อยหรือหิว

 

  • ถ่ายเป็นสีเขียว

ปกติแล้วทารกวัยแรกเกิด – 6 เดือน มักจะมีอุจจาระสีเหลืองหรือเหลืองเข้ม เนื่องจากช่วงวัยนี้จะกินแค่นมแม่เพียงอย่างเดียว เด็กที่กินนมแม่จึงมักจะมีอุจจาระสีเหลืองเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าลูก 3 เดือนถ่ายเป็นสีเขียวบ้าง ก็ไม่ต้องตกใจไปนะคะ เด็กที่กินนมแม่หรือกินนมผง สามารถมีลักษณะอุจจาระเป็นสีเขียวได้บ้างในบางครั้งค่ะ โดยส่วนมากแล้ว อุจจาระสีเขียวมักจะเกิดจากยาหรือวิตามินที่ทารกกินเข้าไป หรืออาจมาจากยาหรือวิตามินที่แม่กินเข้าไป ส่งผ่านทางน้ำนม ก็เป็นสาเหตุที่สามารถทำให้ทารกอุจจาระเป็นสีเขียวได้เช่นเดียวกันค่ะ

 

  • คอเอียง

ในช่วงวัยนี้ หากลูกมีอาการคอเอียง เราสามารถแบ่งอาการนี้ได้ออกเป็น 2 แบบ คือหัวเอียงปกติ หรือหัวเอียงแบบไม่ปกติ ซึ่งแบบประเภทที่ 2 นี่แหละค่ะ ที่จะต้องไปพบแพทย์

หัวเอียงปกติ หมายถึง การที่ศีรษะของเด็กเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง แต่ยังสามารถจะหันคอได้ จับศีรษะให้ตั้งตรงได้ ถือว่าปกติ ซึ่งลักษณะเช่นนี้มักเกิดจากการที่ลูกอยู่ในท่าเดิมนาน ๆ เช่น นอนตะแคง กินนมก็กินแต่ข้างเดียว การที่ลูกอยู่แต่ท่าเดิมแบบนี้นาน  ๆ อาจทำให้คอเอียงได้ สามารถแก้ได้ด้วยการสลับฝั่งให้ลูกบ้าง

ส่วนปัญหาหัวเอียง คอเอียงที่ต้องไปพบแพทย์คือ มีปัญหาหัวเอียงแต่ไม่สามารถจับศีรษะให้ตั้งตรงได้ ไม่สามารถหันคอได้ กรณีเช่นนี้ควรพาลูกไปพบแพทย์ทันทีค่ะ เพราะอาจมีความผิดปกติของกล้ามเนื้อคอ หรือความผิดปกติรุนแรงอื่น ๆ ได้

 

  • ชอบอมมือ

เด็กในวัย 3 เดือนจะชอบอมมือ ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติที่พบได้ทั่วไปค่ะ เพราะการอมมือจะช่วยทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย สงบ และปลอดภัย อาการอมมือก็จะค่อย ๆ หายไปได้ เมื่อลูกมีอายุมากขึ้นเองตามช่วงวัยอื่น ๆ ค่ะ สิ่งที่ควรระวังเป็นอย่างยิ่ง คือนิ้วมือที่สกปรก เพราะอาจจะทำให้ทารกได้รับเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกายได้ ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่อาจทดแทนได้ ด้วยการใช้จุกนมปลอมแทนค่ะ

เมื่อไหร่ที่ควรกังวลเกี่ยวกับพัฒนาการของลูกน้อย

แม้ว่าเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่ไม่เท่ากัน แต่คุณแม่ก็ควรสังเกตพัฒนาการบางอย่างที่อาจผิดปกติสำหรับลูกน้อยวัย 3เดือน เช่น

  • ไม่ตอบสนองต่อเสียงดัง เช่น เสียงปิดประตู เสียงสัญญาณกันขโมย
  • ไม่สนใจมองมือตัวเอง
  • ไม่ยิ้มตอบเมื่อได้ยินเสียงของแม่
  • ไม่มองตามวัตถุที่เคลื่อนที่
  • ไม่คว้าจับ และถือวัตถุ
  • ไม่ยิ้มให้คนอื่น
  • ไม่สามารถควบคุมศีรษะได้
  • ไม่เอื้อมมือเพื่อคว้าของเล่น หรือสิ่งต่างๆ รอบตัว
  • ไม่พูดอ้อแอ้ หรือไม่พูดภาษาทารก ไม่เลียนแบบเสียงที่คุณทำ
  • ไม่เอาของเข้าปาก
  • กรอกตาข้างเดียว หรือทั้งสองข้างไปในทิศทางต่างๆ ได้อย่างลำบาก
  • ไม่สบตา
  • ไม่สนใจใบหน้าใหม่ๆ หรือ ดูเหมือนกลัวใบหน้าใหม่และสิ่งรอบตัวอย่างมาก

หากลูกน้อยมีอาการดังกล่าวข้างต้น หรือคุณแม่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับพัฒนาการของลูก แนะนำให้ปรึกษาพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติโดยเร็วค่ะ

ลูกน้อยวัย 3 เดือนของคุณทำอะไรได้บ้างแล้วคะ โชว์พัฒนาการของลูกได้ที่ช่องคอมเมนต์ด้านล่างเลยค่ะ

 

ที่มา sg.theasianparent.com, Enfababy

 

บทความที่น่าสนใจอื่น ๆ

ทำไมเจ้าตัวเล็กถึงชอบร้องและตื่นนอนตอนกลางคืน?

“แม่หลายคนให้ลูกกินอาหารแข็งเร็วไป” กรมป้องกันและควบคุมโรคเผย

12 ลักษณะอุจจาระทารก อึของเบบี๋แต่ละแบบบอกอะไรคุณแม่ได้บ้าง

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • พัฒนาการเด็ก 3 เดือน มีอะไรบ้าง? สำรวจพัฒนาการหนูน้อยอย่างละเอียด
แชร์ :
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

powered by
  • ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

    ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ฯ เตือน ของเล่นอันตราย ตุ๊กตาโมนิ หรือ ของเล่นกดสิว แถมเข็มฉีดยา

  • 20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

    20 กิจกรรมเสริม IQ EQ ให้ลูกวัย 3-6 ปี ฉลาด สมาธิดี ควบคุมอารมณ์ได้

  • เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้
    บทความจากพันธมิตร

    เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยตั้งแต่วันแรก จุดเริ่มต้นที่คุณแม่สร้างได้

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว