เพราะผิวหนังของเด็กทารกจะบอบบางและไวต่อการระคายเคืองเป็นพิเศษ ผดผื่นจึงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเด็กเล็ก ทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายท่านกังวลใจและอยากรู้ว่าผดผื่นที่เกิดขึ้นกับลูกนั้นเป็นแบบไหน อันตรายหรือเปล่า ผดผื่น ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก ควรดูแลอย่างไรดี บทความนี้จะพาไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับผดผื่นในทารกเพื่อให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจและสามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมค่ะ
ผดผื่นในเด็กทารก คืออะไร ?
ผดผื่นในทารก เป็นปัญหาผิวหนังที่พบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็ก ผดผื่นโดยทั่วไปจะพบเป็นตุ่มแดงเล็กๆ คัน หรือเป็นตุ่มใสๆ ขนาดเล็ก กระจายอยู่ตามบริเวณที่อับชื้น เช่น รอบคอ รักแร้ ขาหนีบ หรือบริเวณที่สัมผัสกับผ้าอ้อม แต่ผดผื่นบางชนิดจะหายไปได้เอง เช่น ผื่นร้อน ผื่นอับชื้น แต่หากปล่อยไว้ไม่ดูแล อาจทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำซ้อนได้
แต่สำหรับ ผดผื่น ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างไป มีอาการผื่นแดง ลมพิษ คัน หายใจติดขัด คันคอและปาก มีอาการบวมที่ปาก ลิ้น และลำคอ ร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ ดังนั้นควรสังเกตอาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิด และปรึกษาแพทย์เมื่อมีความสงสัยและมีอาการรุนแรงขึ้น
ประเภทของผดผื่นในเด็กทารก มีอะไรบ้าง ?
ผื่นแพ้ หรือ ผดผื่น เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็กเล็ก เนื่องจากผิวของเด็กทารกแรกเกิดมีลักษณะบอบบาง ระคายเคืองได้ง่าย จึงไวต่อสิ่งที่มากระทบอย่างมาก ทำให้เกิดผดผื่นตามมาได้ง่าย ซึ่งผดผื่นที่พบได้บ่อย ๆ คือ
ผดร้อน มีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ คันแดง หรือตุ่มใสๆ เลือกให้ลูกใส่เสื้อผ้าโปร่งๆ สบายที่ระบายลมได้ดี
ผื่นผ้าอ้อม สังเกตได้จากผื่นแดง ปื้นแดง หรือผิวหนังลอกเป็นแผ่นๆ บริเวณขาหนีบ อวัยวะเพศ และก้นจากการอับชื้นหรือแพ้ผ้าอ้อม
ผื่นแพ้กลากน้ำนม ลักษณะเด่นของผื่นชนิดนี้คือเป็นจุดวงกลมหรือวงรีสีขาว หรือวงด่างๆ ให้หลีกเลี่ยงการพาลูกถูกแสงแดดเป็นเวลานาน ไม่อาบน้ำล้างหน้าให้ลูกบ่อยจนเกินไป
ผื่นลมพิษ มักเกิดจากการแพ้อาหารและสารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ เชื้อรา ขนสัตว์ ให้หลีกเลี่ยงสิ่งที่ลูกแพ้ดังกล่าว
ไขบนหนังศีรษะ มีลักษณะคล้ายเกล็ดเล็กๆ ติดอยู่บนหนังศีรษะ คิ้ว หรือใบหน้า อาการนี้เกิดจากการที่ต่อมไขมันบนหนังศีรษะของทารกทำงานผิดปกติ ทำให้มีการผลิตไขมันมากเกินไป
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง จะมีลักษณะผิวหนังแห้ง แดง คัน และอาจมีตุ่มน้ำใส หรือตุ่มหนองร่วมด้วย บริเวณที่พบผื่นบ่อย คือใบหน้า ข้อพับ ข้อศอก ซอกคอ หากคุณพ่อหรือคุณแม่มีพันธุกรรมภูมิแพ้ เด็กจะมีความเสี่ยงเกิดภูมิแพ้ได้
ผื่นแพ้อาหาร ซึ่งมักจะเกิดขึ้นภายในหนึ่งถึงสองชั่วโมงหลังจากรับประทานอาหาร มีอาการผื่นแดง ลมพิษ คัน หายใจติดขัด คันคอและปาก มีอาการบวมที่ปาก ลิ้น และลำคอ ปัจจัยหลักๆคือเรื่องพันธุกรรม ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารชนิดนั้นๆ หรือมีส่วนประกอบที่ทำให้เกิดอาการแพ้ดังกล่าว
หลังจากที่รู้แล้วว่า ผดผื่นของลูกมีอะไรแบบไหนบ้าง แต่ผดผื่นที่คุณแม่ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกคือ ผดผื่น ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก ที่เกิดจากการแพ้อาหาร เพราะเป็นอันตรายและมีผลกระทบในเรื่องระบบการหายใจ ระบบการทำงานของหัวใจ และระบบทางเดินอาหารได้อีก
ผดผื่น ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก เกิดขึ้นได้ยังไง ?
การแพ้อาหาร เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตอบสนองต่ออาหารบางชนิด เช่น นมวัว ไข่ แป้ง หรืออาหารทะเล เช่น กุ้ง ปลา ทำให้เกิดปฏิกริยาการหลั่งสารฮีสตามีนในร่างกายออกมา ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดผื่นแดง คัน บวม หรือมีตุ่มน้ำใสขึ้นตามผิวหนัง โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ข้อพับ หรือบริเวณที่สัมผัสกับผ้าอ้อม เนื่องจากทารกมีระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรง จึงมีโอกาสแพ้อาหารได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ และอาจแพ้สารอาหารที่ได้รับผ่านทางนมแม่ได้ด้วย ผดผื่น ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก หากมีอาการรุนแรงอาจถึงขั้นช็อกได้
ลักษณะผื่นแพ้อาหารในทารก
เมื่อลูกน้อยมีอาการแพ้อาหาร จะมีอาการแสดงออกให้เห็น และอาจมีอาการรุนแรงน้อยมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับการแพ้อาหารนั้นรุนแรงแค่ไหน โดยทั่วไปอาการจะแสดงดังนี้
- คันบริเวณคอและปาก
- คันตา น้ำตาไหล
- อาการบวมที่ริมฝีปาก ตา ลิ้น ใบหน้า หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
- อาการลมพิษ หรือผื่นแดง
- ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน
- ลูกน้อยมีอาการเสียงแหบ
- ไอแห้ง คัดจมูก จาม น้ำมูกไหล หายใจมีเสียงหวีด หายใจลำบาก
- ลูกน้อยแสดงพฤติกรรมเอามือเข้าปาก เกา หรือดึงลิ้น ดึงหู ร้องไห้ รวมถึงอาจมีพฤติกรรมผิดแปลกไปจากปกติ
- งัวเงีย เซื่องซึม มึนงง
ผื่นแพ้อาหาร อาการแบบไหน ต้องรีบหาหมอ
สัญญาณเตือนที่บ่งบอกว่าลูกน้อยมีอาการแพ้อาหารรุนแรง ต้องรีบหาหมอเพื่อทำการรักษาทันที
- ลูกน้อยมีอารมณ์แปรปรวนมาก หงุดหงิด ร้องไห้งอแงมากและไม่ยอมหยุด
- ผื่นหรือลมพิษขึ้นเต็มตัว และมีอาการคันรุนแรง
- อาการบวมที่ตา ริมฝีปาก ลิ้น ใบหน้า และบริเวณอื่น ๆ
- อาเจียนมาก ท้องเสีย
- หัวใจเต้นเร็วขึ้น
- หายใจลำบากหรือหายใจถี่ หายใจมีเสียงดังหวีด
- งัวเงีย เซื่องซึม วิงเวียนศีรษะหรือเป็นลม
รวม 5 อาหารยอดฮิตที่เด็กแพ้ง่าย
- นมและผลิตภัณฑ์นมวัว เด็กวัยแรกเกิดถึง 4 เดือน ที่ได้รับนมที่มีโปรตีนนมวัวเป็นส่วนผสม มีโอกาสแพ้โปรตีนนมวัวได้สูง นอกจากนี้ มีการตั้งข้อสังเกตว่า คุณแม่ที่ดื่มนมระหว่างตั้งครรภ์และให้นมแม่มากกว่าปกติ ก็ทำให้ลูกมีโอกาสแพ้โปรตีนนมวัวได้เช่นกัน
- ไข่ ในไข่ขาวมีโปรตีนชื่อว่าโอวัลบูมิน ซึ่งเป็นโปรตีนที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้ ช่วงเริ่มให้อาหารเสริม คุณหมอจึงมักแนะนำให้คุณแม่ให้แต่ไข่แดงก่อน และให้ลูกกินไข่ขาวเมื่อมีอายุ 6 เดือนขึ้นไป เพื่อลดโอกาสการเกิดอาการแพ้โปรตีนไข่ขาว
- แป้งสาลี มักเป็นการแพ้แป้งสาลีในอาหารประเภทขนมปัง สปาเก็ตตี้ และมะกะโรนี ซึ่งมีส่วนผสมของแป้งสาลีค่อนข้างมาก จึงมีโอกาสที่จะกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย
- ถั่วเหลือง ถั่งลิสง ระบบภูมิคุ้มกันของเด็กบางคนอาจไวต่อโปรตีนในถั่วเหลืองและถั่วลิสงมากเกินไป ทำให้เกิดอาการแพ้
- อาหารทะเล อย่าง กุ้ง หอย ปู ปลา มีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้มากกว่าปลาหรือสัตว์น้ำจืด หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้ลูกกินเนื้อสัตว์ประเภทเนื้อปลา จึงควรเริ่มจากปลาน้ำจืดก่อน เช่น ปลาช่อน ปลาดุก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพ้
วิธีรับมือกับผื่นแพ้อาหารในทารก
การดูแลรักษาผื่นแพ้อาหารในทารกที่สำคัญที่สุด คือ การหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ ซึ่งเป็นการรักษาที่ตรงจุดที่สุด คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตอาการของลูกน้อยให้ดี หลังจากให้กินอาหารแต่ละชนิดเข้าไป เพื่อตรวจเช็คดูว่า ลูกน้อยมีปัญหาหรือมีอาการแพ้อาหารนั้นหรือไม่ และหลีกเลี่ยงอาหารชนิดนั้นๆ ไปเลยค่ะ
นอกจากนี้ การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนประกอบคล้ายคลึงกันก็สำคัญเช่นกันค่ะ เช่น ถ้าลูกน้อยแพ้นมวัว ก็ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนมวัวทุกชนิด รวมถึงอาหารแปรรูปที่อาจมีส่วนผสมของนมวัวอยู่ด้วย สำหรับคุณแม่ที่ให้ลูกกินนมแม่อยู่ก็ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้เช่นกัน เนื่องจากสารก่อภูมิแพ้อาจผ่านทางน้ำนมไปสู่ลูกน้อยได้ และควรจดบันทึกอาหารที่ให้ลูกน้อยกินทุกครั้ง เพราะหากลูกน้อยมีอาการแพ้ที่รุนแรง จะได้อธิบายพูดคุยกับคุณหมอได้ค่ะ
อาการลูกแพ้อาหารที่แม่กิน
ภาวะการแพ้อาหารผ่านนมแม่ คือ ปฏิกิริยาต่อต้านนมแม่ที่ลูกแสดงออกมา มีทั้งผื่นแดงขึ้นบนผิวหน้า การเกาศีรษะจนเป็นหนอง กินนมในปริมาณน้อย น้ำหนักตัวไม่เพิ่ม ร้องไห้งอแงผิดปกติ เป็นต้น โดยสาเหตุเกิดจากการแพ้อาหารบางอย่างที่คุณแม่กินเข้าไป อาการแต่ละอย่างที่แสดงออกมาอาจมีความแตกต่างกันออกไปตามสภาพร่างกายของเด็ก ดังนั้นคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตอาการหลังลูกกินนมให้ดี พร้อมทั้งบันทึกการกินของคุณแม่เองด้วย เพื่อจะช่วยให้คุณแม่ได้รู้ว่าลูกแพ้อาหารชนิดใดที่คุณแม่กินเข้าไป
ลูกแพ้อาหารผ่านนมแม่ ควรแก้อย่างไร
ผื่นแดงของลูกน้อยมักเกิดขึ้นบ่อย จนบางครั้งคุณแม่เองก็อาจไม่รู้ว่าเกิดจากสาเหตุอะไรกันแน่ มีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดผดผื่นดังกล่าว แต่ที่ชัดเจนที่สุดก็คือ เกิดจากภาวะแพ้อาหารผ่านนมแม่นั่นเอง
- หาสาเหตุให้เจอลูกแพ้อะไร โดยคุณแม่ควรสังเกตอาการที่ลูกแสดงออกหลังจากกินนม เมื่อคุณแม่กินอาหารประเภทไข่ นมวัว อาหารทะเล เป็นต้น เพราะอาหารดังกล่าวนี้มักทำให้ลูกแพ้ได้ง่าย
- จดบันทึกการกินของคุณแม่และอาการของลูกน้อย จะช่วยให้คุณแม่รู้ได้ว่าลูกแพ้อาหารชนิดใดบ้าง เพราะเด็กแต่ละคนอาจมีอาการแพ้อาหารหลากหลายชนิดได้เช่นกัน อีกทั้งวิธีนี้ยังช่วยให้คุณแม่มั่นใจได้ว่าตัวเองสามารถกินอาหารชนิดใดได้บ้าง เพื่อไม่ให้ลูกเผชิญกับภาวะแพ้อาหารผ่านนมแม่
- งดอาหารที่เสี่ยงต่อการแพ้ อาหารที่มีความเสี่ยงต่อการแพ้ เช่น ไข่ ถั่ว นมวัว หรืออาหารทะเล แนะนำให้งดไปก่อนเมื่อลูกเผชิญกับภาวะแพ้อาหารผ่านนมแม่ แนะนำให้งดประมาณ 3 สัปดาห์ จากนั้นจึงค่อยกลับมากินทีละอย่างพร้อมทั้งสังเกตอาการ ทั้งนี้เพื่อจะได้รู้ว่าลูกแพ้อาหารที่มีความเสี่ยงเหล่านี้หรือไม่
- สังเกตอาการของลูก การที่คุณแม่ควรสังเกตอาการที่ลูกแสดงออกหลังกินนมแม่ทุกครั้ง และควรทำอย่างต่อเนื่อง หากทราบถึงชนิดอาหารที่ทำให้ลูกแพ้ คุณแม่จำเป็นที่จะต้องงดกินอาหารชนิดนั้นอย่างน้อย 6 เดือน ถึง 1 ปี หรือจนกว่าลูกจะหย่านมแม่
- ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีที่คุณแม่สงสัยถึงอาการที่ลูกแสดงออกว่าอาจจะเป็นภาวะแพ้อาหารผ่านนมแม่ แต่ยังคงไม่มั่นใจ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ค่ะ เพราะคุณหมอจะมีวิธีทดสอบหาสาเหตุ เพื่อรับมือกับการแก้ปัญหาต่อไป
ต้องป้องกันยังไง ไม่ให้ลูกมีอาการผื่นแพ้อาหาร
แม้ว่าจะยังไม่มีวิธีการป้องกันการแพ้อาหารได้อย่าง 100% แต่เราก็สามารถลดความเสี่ยงในการเกิด ผดผื่น ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก ได้ด้วยวิธีเหล่านี้ค่ะ
- ให้ลูกกินนมแม่ การให้ลูกกินนมแม่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันอาการแพ้อาหารในช่วง 6 เดือนแรก เพราะนมแม่มีสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารก และลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้
- การให้อาหารเสริม ควรเริ่มให้อาหารเสริมกับลูกน้อยเมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป เพื่อให้ระบบย่อยอาหารและภูมิคุ้มกันของเด็กมีความพร้อมมากขึ้น เมื่อระบบย่อยอาหารของลูกยังไม่พร้อมรับอาหารใหม่ๆ อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้ได้
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเสี่ยง ในช่วงขวบปีแรก ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีความเสี่ยงในการก่อให้เกิดอาการแพ้ เช่น ถั่ว และอาหารทะเล เพราะมีโปรตีนที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ได้ง่ายในเด็กเล็ก
แม้ว่าการปฏิบัติตามวิธีเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการแพ้อาหารให้ลูกน้อยได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจะไม่แพ้อาหารเลย ผดผื่น ลักษณะผื่นแพ้อาหาร ทารก เป็นเรื่องที่ควรกังวล การสังเกตอาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิดและปรึกษาแพทย์เป็นประจำ จะช่วยให้คุณแม่สามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างเหมาะสมและมีสุขภาพ โภชนาการ พัฒนาการที่ดี
ที่มา : Premiere Home Health Care , โรงพยาบาล BNH , หาหมอ.com , Helloคุณหมอ , Sanook , โรงพยาบาลกรุงเทพ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ผื่นคัน เกาแล้วลาม วิธีแก้อาการคัน ผดผื่น ตุ่มแดง จากผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก
ลูกแพ้อาหารกลุ่มเสี่ยงที่แม่กิน ผ่านทางนมแม่ อุทาหรณ์ที่อยากเตือนแม่ให้นม
การแพ้นมวัว และแพ้อาหารในเด็ก เป็นยังไงบ้าง? สิ่งที่พ่อแม่หลายคนควรรู้!
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!