5 วิธีกับการ “จัดการความกังวลใจ” ในแต่ละวันของพ่อแม่
5 วิธีกับการ “จัดการความกังวลใจ” ในแต่ละวัน ของพ่อแม่
ผู้เป็นพ่อแม่ มักจะกังวลเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งการเรียนรู้ของลูกในโรงเรียน การบริโภคอาหารที่ดี ความปลอดภัย สุขภาพโดยรวม และพัฒนาการช่วงชีวิตของเด็ก ท่ามกลางการพัฒนาด้านอื่น ๆ ในขณะที่ความกังวลใจในตัวผู้เป็นพ่อเป็นแม่นั้น เป็นเรื่องที่คาดว่ามีอยู่แล้ว มันจะไม่ดีเลย หากความกังวลเหล่านั้น กลายมาเป็นความหวาดระแวงและความกังวลใจอย่างมาก เมื่อคุณจินตนาการถึงสิ่งที่เป็นอันตรายที่เด็ก ๆ อาจต้องเผชิญ นี่คือ 5 วิธี ในการจัดการกับความกังวลใจในแต่ละวันของพ่อแม่
1. ให้ความรู้และให้เครื่องมือกับลูกของคุณ
ในการที่จะลดความกังวลใจของพ่อแม่ลงได้นั้น การฝึกให้ลูกคุณเรียนรู้ว่า พวกเขาควรทำอย่างไรเมื่อเผชิญกับสถานการณ์ต่าง ๆ เน้นย้ำกับพวกเขา ไม่ให้พวกเขาพูดคุยกับคนแปลกหน้า รวมทั้งไม่รับสิ่งของใด ๆ หรือไปกับคนแปลกหน้า หากลูกของคุณไปทัศนศึกษานอกสถานที่ ที่จัดกับทางโรงเรียนและเพื่อน ๆ ในชั้นเรียนของเขา บอกให้เขาอย่าแยกตัวจากกลุ่มเพื่อน การถามพวกเขาว่าพวกเขาจะรับมืออย่างไร หากหลงทางหรือได้รับบาดเจ็บ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นประโยชน์กับลูกของคุณมาก คุณต้องมั่นใจว่าลูกของคุณได้พกนกหวีดไว้กับตัวตลอดเวลา การใช้นกหวีดอาจช่วยดึงความสนใจจากผู้คนได้ หากเขาตกอยู่ในอันตรายหรือหลงทาง
หากลูกของคุณสามารถจัดการกับโทรศัพท์มือถือ และโรงเรียนอนุญาตให้ใช้ได้ คุณอาจให้เขาพกโทรศัพท์มือถือไปด้วย วิธีนี้จะช่วยให้เขาสามารถโทรศัพท์ เพื่อขอความช่วยเหลือได้ เขาต้องการความช่วยเหลือ หากลูกของคุณรู้วิธีจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันได้แล้ว คุณก็สามารถคลายความกังวลไปได้อย่างแน่นอน
การใช้นกหวีด อาจช่วยดึงความสนใจ จากผู้คนได้ หากเขาตกอยู่ ในอันตราย หรือหลงทาง
2. ทำบันทึกประจำวัน
การพูดคุยเกี่ยวกับความกังวลใจในแต่ละวันของคุณเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่มันจะดีกว่าหากคุณมีการติดตามดูความกังวลใจของคุณด้วย คุณควรมีการทำบันทึกส่วนตัว และทำรายการสิ่งที่คุณกังวลใจ และอย่าลืมทำรายวิธีการรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นด้วย ใน 2 – 3 วันหรือ 2 – 3 เดือน ให้คุณกลับไปยังบันทึกส่วนตัวของคุณและเพิ่มเติมวิธีการต่าง ๆ ในการจัดการกับสถานการณ์ที่สร้างความกังวลใจให้กับคุณ การบันทึกสิ่งที่คุณกลัว ความหวังของคุณ และอารมณ์อื่น ๆ ในบันทึกของคุณจะช่วยให้คุณได้ปลดปล่อย และคุณจะรู้สึกคลายความกังวลได้
อย่าลืมทำ รายวิธีการรับมือ กับสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นด้วย
3. ฝึกโยคะ
การฝึกสมาธิและโยคะมีส่วนช่วยคลายความกังวลของพ่อแม่ได้ การฝึกการหายใจและการได้ยืดบิดตัวจะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อในร่างกายของคุณที่มีการสะสมความตึงเครียและความกังวลอยู่ การหายใจแต่ละครั้งจะช่วยให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นมากขึ้นและทำให้จิตใจคุณโล่งขึ้น หลังจากการทำโยคะให้ร่างกายและจิตใจสดชื่น คุณอาจไม่ถูกรบกวนโดยความกังวัลใจเช่นแต่ก่อน เนื่องจากคุณจะรู้สึกผ่อนคลายและสามารถคิดได้ดีขึ้นและคิดในทางบวกนั่นเอง
การฝึกสมาธิ และโยคะ มีส่วนช่วยคลายความกังวล ของพ่อแม่ได้
4. ทำกิจกรรมที่สนุกสนาน
หากคุณทำในสิ่งที่คุณรัก คุณจะมีแนวโน้มที่มีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ น้อยลง การให้ตัวคุณเองวุ่นอยู่กับกิจกรรมอดิเรก เช่น การสะสมของสะสมต่าง ๆ การทำสมุดติดภาพ การวิ่ง การอบขนม การทำสวนหน้าบ้าน และกิจกรรมอื่น ๆ ในขณะที่จิตใจของคุณใช้เวลาไปกับกิจกรรมจะทำให้คุณไม่มีเวลาว่างไปคิดถึงความกังวลต่าง ๆ
หากคุณทำในสิ่งที่คุณรัก คุณจะมีแนวโน้มที่มีความกังวลเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ น้อยลง
5. คิดบวก
ไม่มีสิ่งใดมีพลังมากไปกว่าพลังการคิดบวก หยุดคิดจินตนาการในสถานการณ์ที่ร้าย ๆ และเป็นคนคิดบวกแทน คุณต้องการให้ครอบครัวของคุณมีความสุข ดังนั้นคุณควรคิดในทางที่ดีเท่านั้น อย่างไรก็ตาม อย่าหยุดที่การคิดว่าทุกอย่างจะจบลงอย่างสวยหรูเท่านั้น คุณจะต้องลงมือทำ – ทำให้ดีที่สุดเมื่อทำงาน (หรือเมื่อบำรุงรักษาบ้าน) และรักคู่รักของคุณและลูก ๆ ของคุณให้มาก
คุณต้องการให้ครอบครัวของคุณ มีความสุข ดังนั้น คุณควรคิดในทางที่ดีเท่านั้น
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความที่เกี่ยวข้อง :
Childmind.org – How to Avoid Passing Anxiety on to Your Kids
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
เลี้ยงลูกแล้วเครียด มีวิธีอะไร ช่วยบรรเทา ความเครียดได้บ้าง?
อยากให้ลูก เรียนเก่ง แบบไม่เครียด ไม่ต้องเร่งรัด พ่อแม่ต้อง ทำอย่างไร?
เตือนภัยจาก มือถือและแท็บเล็ต กรมสุขภาพจิตแนะ นั่งให้น้อย เล่นให้เยอะ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!