X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

นับลูกดิ้นยังไง ในไตรมาสสุดท้าย

บทความ 5 นาที
นับลูกดิ้นยังไง ในไตรมาสสุดท้าย

เมื่อก่อนคุณแม่อาจจะนับวันรอให้ลูกดิ้น แต่เชื่อเถอะค่ะว่า มีคุณแม่บางคนเริ่มที่จะอยากเห็นหน้าลูกเเล้ว เพราะการดิ้นของลูกในไตรมาสนี้อาจทำคุณแม่จุกไปเลยก็ได้

นับลูกดิ้นยังไง คุณแม่หลายท่านสงสัย แต่เชื่อเถอะค่ะว่า มีคุณแม่บางคนเริ่มที่จะอยากเห็นหน้าลูกเเล้ว เพราะการดิ้นของลูกในไตรมาสนี้อาจทำคุณแม่จุกไปเลยก็ได้ เราไปดูกันเลยว่า ครรภ์ 7 เดือน ลูกดิ้น นับลูกดิ้นยังไง แบบไหนปกติ แบบไหนผิดปกติ และลูกอยู่ท่าไหนในไตรมาสสุดท้าย

 

นับลูกดิ้นตอนกี่เดือน ?

นับลูกดิ้นยังไง

ลูกดิ้น ครรภ์ 7 เดือน ลูกดิ้น

ลูกจะดิ้นในช่วงอายุครรภ์ประมาณ 18 – 20 สัปดาห์ หรือ ประมาณ 4 เดือนครึ่ง หากคุณแม่เคยคลอดลูกมาแล้วก่อหน้านี้ จะดิ้นไวกว่า อายุครรภ์ประมาณ 16 – 18 สัปดาห์ จนกระทั่งอายุครรภ์ประมาณ 16 – 20 สัปดาห์ ลูกจะมีการเคลื่อนไหวที่น้อยลง แต่จะมีความแรงมากขึ้น จนทำให้คุณแม่รับรู้ได้ว่าลูกกำลังดิ้นอยู่ เนื่องจากหน้าท้องคุณแม่ขยายใหญ่ขึ้น ทำให้มดลูกชนกับผนังหน้าท้อง เมื่อลูกขยับตัว คุณแม่ก็จะรับรู้ได้

 

ใน 3 เดือนสุดท้ายนี้ การสังกตว่าลูกเคลื่อนไหวมากน้อยแค่ไหน ถือว่ามีความสำคัญมากนะคะ โดย…

  1. คุณแม่ควรหาเวลาสงบๆ สัก วันละ 2 เวลา เป็นช่วงเช้าที่ลูกดิ้นเบาๆ และช่วงบ่ายที่ลูกมีการเคลื่อนไหวที่แรงขึ้นและบ่อยขึ้น
  2. ตั้งนาฬิกา และเริ่มนับว่าลูกดิ้น เตะ กลิ้งไปกลิ้งมา ครบ 10 ครั้งเมื่อไหร่ ให้หยุดนับได้ และจดเวลาไว้ด้วยนะคะ
  3. หากลูกดิ้นภายใน 1 ชั่วโมงหรือใช้เวลาน้อยกว่านั้น ได้ประมาณ 10 ครั้ง ถือว่าปกติค่ะ
  4. แต่ถ้าหากไม่ถึง 10 ครั้ง ลองหาอะไรกินหรือดื่มน้ำผลไม้ แล้วเริ่มนับใหม่นะคะ หากการดิ้น 10 ครั้งนั้นใช้เวลานาน 2 ชั่วโมง หรือมากกว่านั้น คุณแม่ลองปรึกษาคุณหมออีกครั้งค่ะ แต่ไม่ใช่ว่าการที่ลูกดิ้นน้อยจะมีบางอย่างผิดปกติเสมอไปนะคะ บางครั้งก็เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ค่ะ
  5. ยิ่งครรภ์แก่ คุณแม่ยิ่งต้องนับบ่อยขึ้นค่ะ อาจจะนับทุก 2 หรือ 3 ชั่วโมงเลยก็ได้ เนื่องจากอาจจะมีเหตุฉุกเฉินที่ทำให้ลูกดิ้นน้อยลงได้เหมือนกันค่ะ

 

ลูกดิ้นกี่ครั้งต่อวัน

โดยปกติ จะดิ้นประมาณ 200 ต่อวัน เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ และดิ้นมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อคุณแม่อายุครรภ์ประมาณ 30 – 32 สัปดาห์ การดิ้นก็จะอยู่ที่ประมาณ 375 – 500 ครั้งต่อวัน แต่หลังจากนั้นลูกจะดิ้นน้อยลง เนื่องจากลูกโตเต็มมดลูก ทำให้ไม่มีพื้นที่ในการดิ้น

 

อายุครรภ์ 7 เดือนลูกดิ้น

นับลูกดิ้นยังไง

7 เดือนลูกดิ้น

เมื่อเทียบกับเมื่อเดือนที่แล้วคุณแม่จะรู้สึกว่าลูกดิ้นแรงขึ้นเยอะ ครรภ์ 7 เดือน ลูกดิ้น  นั่นก็เป็นเพราะว่าลูกตัวโตขึ้นเยอะ มีเรี่ยวแรงเยอะมากขึ้น คุณแม่จึงรู้สึกชัดเจนขึ้นยังไงละคะ นอกจากการดิ้นของลูกแล้ว คุณแม่จะรู้สึกได้ว่าลูกมีอาการสะอึกเป็นจังหวะสม่ำเสมอกันด้วย แต่ถ้าลูกไม่สะอึกก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ปกตินะคะ ทั้งนี้การสะอึกของลูกไม่ได้ทำให้เจ้าตัวเล็กเหนื่อย หรือทำอันตรายอะไรต่อเขาค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : พัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละสัปดาห์ ร่างกายคนท้องมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง

 

ตั้งครรภ์ 7 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน

ในช่วง 7 เดือน ทารกเริ่มหมุนเปลี่ยนท่าทำให้อยู่ในท่ากลับหัวลง เข่าทั้ง 2 ข้างจะติดหน้าอก ปลายคางจะชิดกับหัวเข่า เตรียมพร้อมที่จะคลอดในไม่ช้า

 

อายุครรภ์ 8 เดือน

คุณแม่หลายคนอาจจะรู้สึกอึดอัดมากขึ้นไปอีกเมื่อเข้าเดือนที่ 8 ค่ะ ลองเปลี่ยนท่าทางดูค่ะ ถ้านั่งอยู่ก็ลองยืนหรือนอนลง เด็กๆ ก็ชอบให้คุณแม่เปลี่ยนท่าทางนะคะ และตอนที่ลูกดิ้นให้คุณแม่ลองกดเบา ๆ บริเวณนั้นดูนะคะ ลูกอาจจะรีบหดมือ ขา เข่า หรือข้อศอก แล้วดันออกมาใหม่ เป็นเกมส์เล็กๆ ที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูกได้เหมือนกัน แต่ถ้าคุณพ่อขอลองก็ลองเอาหน้าแนบพุงคุณแม่ดูนะคะ เผื่อลูกจะอยากเอามือน้อย ๆ หรือเท้าน้อย ๆ มาสัมผัสคุณพ่อบ้างก็ได้

 

ตั้งครรภ์ 8 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน

ในช่วง 8 เดือน ส่วนใหญ่แล้ว ลูกจะยังไม่กลับหัวลง แต่ไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด เพราะมีเวลาอีกหลายวันที่ทารกจะกลับหัวลง เพื่อเตรียมคลอด แต่ถ้าหากทารก 36 สัปดาห์ขึ้นไปแล้ว ยังอยู่ท่าเดิมไม่กลับหัวลง อาจจะเพราะว่าทารกตัวโตเกินกว่าจะกลับหัวลงแล้ว อาจจะต้องผ่าคลอดแทนการคลอดปกติ แต่โดยปกติแล้วมีโอกาสที่จะไม่กลับหัวน้อยมา

 

อายุครรภ์ 9 เดือน

ในเดือนสุดท้ายนี้ เจ้าตัวเล็กที่ไม่เล็กเท่าไหร่แล้ว จะเริ่มอึดอัดกับพื้นที่ในถุงน้ำคร่ำที่ดูดเหมือนจะเล็กลง กายกรรมในครรภ์ก็เริ่มทำไม่ได้แล้วค่ะ ยิ่งเด็กคนไหนที่ดิ้นตอนกลางคืนเยอะๆ และแรงๆ คุณแม่บางคนถึงกับนอนไม่หลับ แม้ว่าจะเปลี่ยนอิริยาบทสักกี่ท่าก็ตามค่ะ ดิ้นเยอะไม่พอ แรงที่มากขึ้น ก็ทำให้คุณแม่จุกได้ง่ายๆ เลยค่ะ

 

ท้อง 9 เดือน ลูกอยู่ท่าไหน

เมื่อครบ 9 เดือนแล้ว ศีรษะของลูก จะเริ่มเคลื่อน สู่อุ้งเชิงกราน เข้าสู่ระยะของการคลอดแล้ว คุณแม่คงตื่นเต้นไม่น้อย และอีกไม่นาน คุณแม่ก็จะได้เห็นหน้าเจ้าตัวน้อยกันแล้ว

 

ก่อนการคลอดลูก

นับลูกดิ้นยังไง

ก่อนการคลอดลูก

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

เมื่อลูกเอาหัวลงกระดูกเชิงกรานของคุณแม่แล้ว รูปแบบกิจกรรมการดิ้นของลูกก็อาจจะเปลี่ยนไปอีกค่ะ จริงๆ คือค่อนข้างจะหนักหน่วงขึ้น ในการเคลื่อนไหวแต่ละทีของลูก คุณแม่บางคนอาจจะรู้สึกเหมือนโดนไฟช๊อตบริเวณปากมดลูก แต่หมดห่วงได้ว่าลูกจะไม่เตะไม่ถีบคุณแม่อีกแล้วค่ะ เนื่องจากด้วยลักษณะที่เอาหัวออกก่อน มาถึงตอนนี้คุณแม่อาจจะปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นอีกนะคะ

และสำหรับเด็กๆ บางคนจะดิ้นน้อยลงบ้าง ไม่ต้องเป็นห่วงไปค่ะ เป็นเรื่องปกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้นะคะ

 

ที่มา 1

 

บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง :

วิธี นับลูกดิ้น แจกทริค นับอย่างไรถึงจะถูกต้อง และปลอดภัยสำหรับลูกน้อย

ทำไมต้องนับลูกดิ้น ความสำคัญของการนับลูกดิ้นที่แม่ท้องทุกคนควรรู้!

แม่ท้องอย่านิ่งนอนใจ!!! ลูกไม่ดิ้น! หรือ ดิ้นน้อยลง! อาจเป็นสัญญาณร้ายลูกตายในท้อง

 

parenttown

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

สิยาพัฐ บุญช่วย

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • นับลูกดิ้นยังไง ในไตรมาสสุดท้าย
แชร์ :
  • ลูกดิ้นน้อยลง ช่วงใกล้คลอด เกิดจากอะไร อันตรายไหม แล้วเมื่อไหร่ควรไปหาหมอ

    ลูกดิ้นน้อยลง ช่วงใกล้คลอด เกิดจากอะไร อันตรายไหม แล้วเมื่อไหร่ควรไปหาหมอ

  • คลายข้อสงสัย วิธีนับลูกดิ้น นับยังไง ดิ้นแบบไหนที่บ่งบอกว่าลูกปลอดภัย

    คลายข้อสงสัย วิธีนับลูกดิ้น นับยังไง ดิ้นแบบไหนที่บ่งบอกว่าลูกปลอดภัย

  • ลูกดิ้นน้อยลง ช่วงใกล้คลอด เกิดจากอะไร อันตรายไหม แล้วเมื่อไหร่ควรไปหาหมอ

    ลูกดิ้นน้อยลง ช่วงใกล้คลอด เกิดจากอะไร อันตรายไหม แล้วเมื่อไหร่ควรไปหาหมอ

  • คลายข้อสงสัย วิธีนับลูกดิ้น นับยังไง ดิ้นแบบไหนที่บ่งบอกว่าลูกปลอดภัย

    คลายข้อสงสัย วิธีนับลูกดิ้น นับยังไง ดิ้นแบบไหนที่บ่งบอกว่าลูกปลอดภัย

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ