ทำอย่างไรดี เมื่อเลี่ยงไม่ได้ ทางเลือกสุขภาพจาก “อาหารฟาสต์ฟู้ด”
ทำอย่างไรดี เมื่อเลี่ยงไม่ได้ ทางเลือกสุขภาพจาก “อาหารฟาสต์ฟู้ด”
นอกจากอาหารฟาสต์ฟู้ดจะเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคอ้วนในเด็กแล้ว มันยังเป็นมหันตภัยร้ายที่อยู่ทั่วทุกหัวถนน ถึงแม้ว่าร้านอาหารเหล่านี้จะไม่เคยออกมาเปิดเผยข้อมูลทางโภชนาการ แต่ใคร ๆ ก็รู้ว่าอาหารฟาสต์ฟู้ดเหล่านี้อุดมไปด้วยแป้ง น้ำตาล โซเดียม และไขมันที่เกินความต้องการของร่างกาย จนเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
พลังงานที่ร่างกายต้องการ
ไม่มีตัวเลขตายตัวว่าเด็ก ๆ ต้องการพลังงานเท่าไหร่ในแต่ละวัน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับอายุ รูปร่าง และความแอคทีฟ เด็กวัยเรียนทั่วไปจะต้องการพลังงานประมาณวันละ 1600-2000 แคลอรี่ และเพิ่มขึ้นตามอายุ เด็กผู้ชายวัยรุ่นต้องการพลังงานมากกว่าเด็กผู้หญิง และเด็กที่แอคทีฟก็ต้องการพลังงานมากกว่าเด็กที่ไม่แอคทีฟ ไม่ว่าจะหญิงหรือชาย
เด็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องกังวลเกี่ยวกับจำนวนแคลอรี่ เพราะร่างกายจะรู้โดยอัตโนมัติว่าต้องการพลังงานเพิ่มเมื่อไหร่ สิ่งสำคัญคือต้องรู้จักการกินให้พอดี ไม่มากเกินความต้องการ เพราะพลังงานส่วนเกินจะถูกสะสมไว้ในรูปของไขมัน อันเป็นสาเหตุของโรคร้ายต่าง ๆ ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ลูกของคุณเป็นโรคอ้วน พยายามให้เขากินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ กินให้พอดี และหลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น น้ำอัดลม ของหวาน และอาหารฟาสต์ฟู้ด
ขนมขบเคี้ยว ตัวทำลายสุขภาพ
สะดวกและเร็ว
น่าเศร้าที่พ่อแม่หลายคนไม่เห็นอาหารฟาสต์ฟู้ดเป็นปัญหาแต่กลับเห็นเป็นตัวช่วย ร้านอาหารเหล่านี้ได้รับความนิยมมากในปัจจุบันเพราะมันขาย “ความด่วน” ที่หลายคนต้องการ ผู้ปกครองที่มีตารางชีวิตแน่นเอี๊ยดมักไม่มีเวลาเตรียมอาหารให้ลูก ฟาสต์ฟู้ดจึงกลายเป็นทางออกสำหรับชีวิตอันรีบเร่ง
แม้ทุกคนจะรู้ว่าอาหารฟาสต์ฟู้ดไม่ดี แต่ทุกคนก็ยังกินมัน เพราะต้องการความสะดวกเป็นหลัก ร้านอาหารเหล่านี้จึงยังขายดิบขายดี ในขณะที่ลูกค้าผู้ซื่อสัตย์กำลังค่อย ๆ ป่วยเป็นโรคสารพัด
เด็ก ๆ เองก็ชื่นชอบร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดเหล่านี้ ใครบ้างละที่จะไม่ชอบอาหารที่มาพร้อมกับของเล่น ในร้านที่มีบรรยากาศเหมือนดิสนีย์แลนด์ ร้านฟาสต์ฟู้ดเหล่านี้ทุ่มเงินมหาศาลเพื่อทำการตลาดเจาะกลุ่มเด็ก ๆ โดยเฉพาะ เพราะเด็กสามารถโน้มน้าวให้ผู้ปกครองตามใจได้อย่างน่าอัศจรรย์ ครั้นจะโทษเด็กที่อยากกินแฮปปี้มีลส์ก็ไม่ได้ซะด้วย
กินฟาสต์ฟู้ด “เพื่อสุขภาพ”
ถ้าจะให้ห้ามไม่ให้เด็ก ๆ กินฟาสต์ฟู้ดเด็ดขาดก็ดูจะโหดร้ายไปหน่อย อาหารฟาสต์ฟู้ดไม่ได้เลวร้ายนักตราบใดที่คุณไม่ได้ให้ลูกกินเป็นอาหารหลัก ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพระบุว่าการกินอาหารฟาสต์ฟู้ดเดือนละไม่เกิน 2 ครั้ง จะไม่ส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก
ครั้งหน้าที่ไปร้านฟาสต์ฟู้ด ลองพยายามเลือกอาหารให้เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้
1. จำกัดปริมาณอาหารโดยให้ลูกสั่งชุดสำหรับเด็กเท่านั้น อย่าให้ลูกเพิ่มไซส์ เพิ่มนู่นนี่เด็ดขาด แม้พนักงานจะบอกว่าคุ้มกว่าก็ตาม
2. จะดีมากถ้าคุณสามารถบอกให้ลูกไม่สั่งของทอดหรือแป้ง เช่น เฟรนช์ฟราย นักเก็ต หอมทอด หรือไก่ทอด พยายามให้เขากินอาหารประเภทต้ม นึ่ง หรืออบแทน
3. เลือกอาหารจานเคียงเป็นมันอบ หรือสลัดแทน เพราะมันดีต่อสุขภาพมากกว่าเฟรนช์ฟรายที่มาในชุด
4. ก่อนที่จะสั่งอาหาร อธิบายให้ลูกฟังว่าน้ำอัดลมไม่ดีต่อสุขภาพยังไง และให้ลูกดื่มน้ำเปล่า หรือนมแทน
5. หาผลไม้ หรือแครอทสด ให้ลูกกินรองท้องก่อนไปกินฟาสต์ฟู้ด
6. เป็นตัวอย่างที่ดีโดยการสั่งอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้ลูกเห็น
มาดูแคลอรี่จากอาหารฟาสต์ฟู้ดกัน
นี่เป็นรายการอาหารฟาสต์ฟู้ดพร้อมจำนวนแคลอรี่ของแต่ละเมนู
แม็คโดนัลด์
– เฟรนช์ฟราย ใหญ่ (170กรัม) – 570 แคลอรี่
– ชีสเบอร์เกอร์ (121กรัม) – 320 แคลอรี่
– บิ๊กแมค (214กรัม) – 540 แคลอรี่
– ไอศกรีมฮอทฟัดจ์ซันเดย์ (179กรัม) – 340 แคลอรี่
– ไก่ทอด (223กรัม) – 500 แคลอรี่
– แมคฟิช (156กรัม) – 470 แคลอรี่
– นักเก็ตไก่ 4 ชิ้น (71กรัม) – 190 แคลอรี่
เบอร์เกอร์คิง
– หัวหอมทอด ใหญ่ (150กรัม) – 500 แคลอรี่
– แฮมเบอร์เกอร์ ปกติ (121กรัม) – 290 แคลอรี่
– ว๊อพเปอร์ (290กรัม) – 670 แคลอรี่
– เบคอน ชีสเบอร์เกอร์ (140กรัม) – 400 แคลอรี่
หาผลไม้ หรือแครอทสด ให้ลูกกินรองท้องก่อนไปกินฟาสต์ฟู้ด
เคเอฟซี
– ทวิสเตอร์ (252กรัม) – 550 แคลอรี่
– ไก่ทอดสูตรต้นตำรับ (59กรัม) – 140 แคลอรี่
– ไก่ทอดสูตรต้นตำรับ (120กรัม) – 360 แคลอรี่
– ไก่ทอดสูตรกรอบพิเศษ (60กรัม) – 160 แคลอรี่
– ไก่ป๊อบ (71กรัม) – 270 แคลอรี่
พิซซ่าฮัท
– พิซซ่าชีสแพน (111กรัม) – 361 แคลอรี่
– พิซซ่าขอบชีส (162กรัม) – 445 แคลอรี่
– พิซซ่า หน้ามีทเลิฟเวอร์ (130กรัม) – 344 แคลอรี่
– มีทเลิฟเวอร์ขอบชีส (196กรัม) – 543 แคลอรี่
– พิซซ่าซูเปอร์ซุพรีม (136กรัม) – 401 แคลอรี่
– ซูเปอร์สุพรีมขอบชีส (198กรัม) – 505 แคลอรี่
เลือกอาหารจานเคียงเป็นมันอบ หรือสลัดแทน
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความที่เกี่ยวข้อง :
Healthline.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
บทความใกล้เคียง: กินแป้งให้เป็นเพื่อลดพุง
บทความแนะนำ: คุณมีเวลาให้ลูกน้อยไปหรือเปล่า
บทความใกล้เคียง: ลูกกินมากเกินไปหรือเปล่า
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!