สิ่งที่สำคัญในการยึดเหนี่ยวจิตใจนอกจากจารีต และศีลธรรมแล้ว ก็ยังมี จริยธรรม ที่เป็นหลักในการปฏิบัติตัวเพื่อให้คนในสังคมสามารถอยู่ด้วยกันได้อย่างปกติสุข ไม่เกิดความขัดแย้ง ส่งผลดีต่อคนในสังคมทุกคน วันนี้เราจึงจะมาชวนเด็ก ๆ เรียนรู้เรื่องจริยธรรมว่าเป็นอย่างไร สำคัญแค่ไหนบ้าง
จริยธรรม คืออะไร ?
คำว่า “จริยธรรม (Ethics)” ซึ่งมาจากการผสมคำจากคำว่า “จริย” ที่หมายถึง ความประพฤติ หรือกิริยาทั้งทางกาย, วาจา และใจที่ควรต่อการประพฤติ ส่วนคำว่า “ธรรม” มีความหมายอยู่หลายประการไม่ว่าจะเป็นคุณงามความดี, หลักคำสอนของศาสนา หรือหลักปฏิบัติ แต่ในที่นี้ธรรมอาจเจาะจงไปที่หลักในการปฏิบัติมากกว่า เมื่อนำคำทั้งสองมารวมกันเป็น “จริยธรรม” จึงมีความหมายว่า “หลักของความประพฤติ” หรือ “แนวทางปฏิบัติของการประพฤติ” นั่นเอง จริยธรรม เป็นสิ่งที่ควรประพฤติของคนในสังคม มีที่มาจากบทบัญญัติ หรือหลักธรรมคำสั่งสอนของศาสนา เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : คุณธรรมที่เด็กควรทราบ มีอะไรบ้าง? คุณธรรมไหนที่ควรปลูกฝังเด็ก
ความสำคัญของจริยธรรม
หลักในการปฏิบัติตัวของคนในสังคมมีความสำคัญมากต่อการอยู่ร่วมกันภายในสังคม จริยธรรมมีความคล้ายกับจารีต และศีลธรรม นั่นคือไม่จำเป็นต้องเป็นกฎหมาย แต่เป็นสิ่งที่ผู้คนในสังคมจะมีความเข้าใจว่าสิ่งไหนทำได้ สิ่งไหนทำไม่ได้ สิ่งไหนทำแล้วดี สิ่งไหนทำแล้วไม่ดี เป็นต้น จริยธรรมจึงเป็นแนวคิดเพื่อให้เกิดการยึดเหนี่ยว หรือเป็นแนวทางที่จะปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเอง และคนอื่น ๆ ในสังคม ไม่ให้การอยู่ร่วมกันเกิดปัญหาขึ้น
หากมีคนไม่สนใจจริยธรรม ทำสิ่งต่าง ๆ ตามใจตนเอง บางอย่างอาจไม่ได้ผิดกฎหมาย ซึ่งอาจไม่สามารถเอาผิดได้ตามกฎหมาย เช่น การแซงหน้าคนอื่นตอนซื้ออาหาร หรือการเดินชนผู้อื่นแล้วไม่ขอโทษ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดการบ่มจิตใจของคนผู้นั้นเอง เมื่อทำจนเป็นเรื่องปกติ จากการทำเรื่องที่ถูกมองว่าเล็กน้อย ก็จะกลายเป็นการกระทำเรื่องที่รุนแรงมากขึ้นได้ หรืออาจทำให้มีจิตใจที่ไม่คิดถึงผู้อื่น ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นต้น
วิดีโอจาก : Muangthai Book
รู้หรือไม่จริยธรรมมีองค์ประกอบ 11 ข้อ
จริยธรรมที่เรามักได้ยินกัน ประกอบไปด้วยองค์ประกอบน้อยใหญ่มากถึง 11 ข้อ โดยส่วนมากแล้วสิ่งเหล่านี้มีที่มาที่เกี่ยวเนื่องกับหลักการปฏิบัติตัวตามศาสนา เพื่อให้คนทำสิ่งที่ถูกต้องนั่นเอง ได้แก่
- ความรับผิดชอบ (Accountability) : มุ่งมั่นในการทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่ ใช้ความเพียรพยายาม และความรอบคอบ รวมถึงพยายามพัฒนาตนเองเพื่อให้สิ่งที่ตนได้รับมอบหมายได้ผลดีขึ้น รวมไปจนถึงการรับผล รับผิดชอบที่ตามมาจากการกระทำของตนเอง
- ความซื่อสัตย์ (Honesty) : เป็นการกระทำด้วยความเหมาะสมตรงไปตรงมา ทั้งทางกาย, วาจา และใจ มีความซื่อตรงตามความเป็นจริง ไม่โกหกต่อตนเอง และคนอื่น ๆ ด้วย
- มีระเบียบวินัย (Disciplined) : เป็นการควบคุมความประพฤติให้เป็นไปอย่างถูกต้อง และมีความเหมาะสมตามมารยาท, ข้อบังคับของกฎหมาย และศีลธรรม
- ความสามัคคี (Harmony) : ความเป็นใจเดียวกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความพร้อมร่วมมือกันเพื่อทำสิ่งใด ๆ ให้เกิดความสำเร็จลุล่วง โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนของรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว
- ความมีเหตุผล (Rationality) : เป็นความสามารถในการใช้ปัญญา ในการปฏิบัติ รู้จักที่จะไตร่ตรอง สามารถพิสูจน์ได้ ไม่หลงงมงาย โดยจะไม่ผูกพันกับอารมณ์ และความเชื่อส่วนตัวของตนเอง เพราะสิ่งที่ตนเองคิดมาตลอดอาจเป็นสิ่งที่ผิดได้
- การประหยัด (Thrifty) : การใช้สิ่งของต่าง ๆ อย่างพอเหมาะ พอควร ใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมทั้งการรู้จักระมัดระวัง และมีความยับยั้งความต้องการของตนเองให้เหมาะสมพอดี ซึ่งเป็นที่มาของการฟุ่มเฟือย
- ความกตัญญูกตเวที (Gratitude) : คือ ความรู้ เข้าใจ และสำนึกในสิ่งที่ผู้อื่นเคยทำกับเรา ไม่ว่าจะมาจากครอบครัว หรือจากบุคคลอื่น ๆ ก็ตาม
- ความเสียสละ (Sacrifice) : เป็นการปล่อยความเห็นแก่ตัวออกไปจากตนเอง ไม่นำมาปฏิบัติตาม การให้ และการแบ่งปันแก่บุคคลอื่นโดยไม่หวังสิ่งตอบแทนใด ๆ กลับมา
- เมตตาและกรุณา (Loving Kindness and Compassion) : ความรักใคร่ และความปรารถนาจะให้ผู้อื่นพบเจอกับความสุข มีความกรุณา คือ มีความสงสาร คอยคิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากความทุกข์ที่กำลังเผชิญอยู่
- ความอุตสาหะ (Diligence) : เป็นความพยายามอย่างแข็งขัน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความสำเร็จในงานที่ตนเองรับผิดชอบอยู่
- ความยุติธรรม (Justice) : เป็นการปฏิบัติทั้งกาย และใจ โดยยึดหลักด้วยความเที่ยงตรง สอดคล้องกับความเป็นจริง และทำอย่างมีเหตุผล ไม่มีความลำเอียงใด ๆ หรือมีความต้องการส่วนตัวเป็นสิ่งนำ
ระวังสื่อออนไลน์ เพราะจริยธรรมอยู่ทุกที่
ปัจจุบันเกิดสื่อออนไลน์ขึ้น และเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตอย่างรวดเร็ว ทำให้เราได้เห็นการแสดงออกของบุคคลในสังคมทั้งในทางที่ดี และในทางที่ดี เนื้อหาหลายอย่างสามารถเข้าไปดูได้โดยไม่ผ่านการคัดกรองอายุของผู้เข้าชม เช่น Live Facebook เป็นต้น เพียงแค่เด็ก ๆ เลื่อนผ่านก็อาจเห็นสิ่งที่ผิดจริยธรรมได้ง่าย ๆ สำหรับใครที่คิดว่าเรื่องจริยธรรมนั้นเป็นเรื่องไกลตัว คงต้องคิดใหม่ เนื่องจากจริยธรรมปรากฏให้เห็นในทุกการดำเนินชีวิต
เพียงแค่เราออกไปข้างนอก หรือเห็นข่าวรายงานเกี่ยวกับขยะในแม่น้ำ ขยะในคลองตามจุดต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ก็เกิดจากคนที่ทำผิดจริยธรรม หรือการยืมเงินแล้วตั้งใจไม่ใช้ หรือต้องให้เจ้าหนี้คอยตามทวงตลอดเวลา ลูกหนี้บางคนมีเงินแต่ไม่คืน ก็ถือว่าผิดจริยธรรมเหมือนกัน รวมไปถึงคนที่ดื่มสุรา แล้วไปขับรถต่อ ถึงแม้ว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุใด ๆ แต่ก็ผิดจริยธรรม เป็นต้น
เมื่อจริยธรรมเป็นเรื่องไกลตัว เด็ก ๆ ก็ควรให้ความสำคัญ หลักในการปฏิบัติตามอาจดูมีหลายข้อตั้ง 11 ข้อ ซึ่งคงเยอะเกินไป จึงอาจจดจำง่าย ๆ ว่าถ้าคิดดี ทำดี ไตร่ตรองก่อนทำทั้งกับบุคคลอื่น และต่อตนเอง เท่านี้ก็ถือว่าได้ทำในสิ่งที่ดีไม่ผิดจริยธรรมแล้ว
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
5 วิธีสอนลูกให้มีจิตใจดีงาม ทำอย่างไร ให้ลูกเป็นคนน่ารัก
10 วิธีในการสอนลูกของคุณให้มี ความซื่อสัตย์และมีน้ำใจ
14 ข้อที่จะบอกว่าคุณเป็น “พ่อแม่รังแกฉัน” กันหรือเปล่า
ที่มา : baanjomyut, angsila
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!