X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

โรคเท้าช้าง โรคระบาดจากพยาธิเกิดขึ้นได้อย่างไร และรักษาได้หรือไม่

บทความ 5 นาที
โรคเท้าช้าง โรคระบาดจากพยาธิเกิดขึ้นได้อย่างไร และรักษาได้หรือไม่

โรคเท้าช้าง ดูเหมือนเป็นโรคไกลตัวของคนเมือง มักมีความเข้าใจว่า เกิดจากการที่เราถูกยุงกัดซึ่งเป็นพาหะนำโรคหลายโรค แต่จริงๆ แล้วโรคเกิดจากพยาธิตัวกลม ที่มีขนาดเล็กมากๆ เล็กจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า อีกทั้งพยาธิซึ่งเป็นพาหะของโรคนั้นอาศัยอยู่ได้และเจริญเติบโตได้ในมนุษย์เท่านั้น และเข้าไปทำร้ายร่างกายและระบบต่างๆ ให้การต่อสู้กับเชื้อโรคอื่นๆ น้อยลง

 

โรคเท้าช้าง

โรคเท้าช้าง ที่เกิดจากพยาธิตัวกลมมีความอันตรายอย่างไร

ความอันตรายของโรคเท้าช้าง (Elephantiasis) น่ากลัวกว่าที่คุณคิด เนื่องจากเมื่อพยาธิตัวกลมเข้าไปเจริญเติบโตเต็มที่ในร่างกาย พยาธิชนิดนี้จะเข้าไปอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลือง ซึ่งระบบน้ำเหลืองนี้มีหน้าที่ปรับสมดุลของเหลวในร่างกายและต่อสู้กับเชื้อโรค เมื่อระบบน้ำเหลืองล้มเหลว จะมีอาการปวดบวมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น เท้าบวม ขาบวม มือบวม ซึ่งรุนแรงที่สุดคือทำให้อวัยวะส่วนนั้นพิการได้ ยิ่งไปกว่านั้น หากยุงกัดผู้ป่วยโรคเท้าช้าง แล้วไปกัดคนอื่น ยุงนี่แหละคือพาหะนำโรคให้คนนั้นติดเชื้อจากผู้ป่วยโรคเท้าช้างได้

 

โรคเท้าช้างเกิดจากพยาธิ 2 ชนิดคือ

  • พยาธิฟิลาเรีย ชนิด Wuchereria bancrofti เกิดจากยุงที่เป็นพาหะนำโรคคือ ยุงลายชนิด Aedes desmotes, Ae. harinasutai, Ae. annandalei, Ae. imitator และ ยุงเสือชนิด Mansonia dives พบว่าตัวเต็มวัยของพยาธิจะไปอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้เกิดภาวะอัณฑะมีถุงน้ำ และปัสสาวะเป็นไขมั
  • พยาธิฟิลาเรีย ชนิด Brugia malayi เกิดจาดยุงที่เป็นพาหะนำโรค คือ ยุงเสือชนิด Mansonia uniformis, M. indiana, M. bonneae, M. annulata และ Coquilletidia crassipes จะทำให้เกิดภาวะโรคเท้าช้างที่ขาเป็นส่วนมาก

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องระวัง พยาธิ จากผักสดล้างไม่สะอาด อันตรายกับแม่และลูก

 

โรคเท้าช้าง

พยาธิตัวกลม

อาการของโรคเท้าช้างเป็นอย่างไร และติดเชื้อได้อย่างไร

เมื่อยุงเป็นพานะมากัดเรา แล้วนำพยาธิเข้าสู่ร่างกาย แล้วพยาธิตัวเต็มวัยอยู่ในระบบน้ำเหลือง คนที่เป็นโรคพยาธิฟิลาเรียทั้ง 2 ชนิด จะมีอาการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของระบบน้ำเหลือง เช่น ท่อน้ำเหลืองอักเสบ ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ มีอาการไข้เท้าช้าง ท่อน้ำเหลืองขยาย รวมถึงอาการอุดตันทางเดินของน้ำเหลือง ทำให้พังผืดและมีน้ำเหลืองคั่ง จนเกิดภาวะโรคเท้าช้าง คือบวมขึ้นเรื่อยๆ ตรงบริเวณอวัยวะส่วนนั้นที่ต่อมน้ำเหลืองมีปัญหา ซึ่งอาการของโรคเท้าช้างมักเกิดขึ้นและแสดงอาการที่พบได้หลักๆ ได้แก่

 

การติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ 

โรคเท้าช้างที่เกิดจากการติดเชื้อและไม่แสดงอาการ และสามารถตรวจพบการปนเปื้อนของเชื้อจากการตรวจเลือดด้วยการส่องกล้องจุลทรรศน์ แม้ว่าไม่มีมีอาการเจ็บป่วยหรือสัญญาณให้เห็น แต่การติดเชื้อชนิดนี้ก็จะส่งผลเสียหายต่อระบบน้ำเหลืองและไต ตลอดจนเกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันที่ถูกทำลายให้ได้รับความเสียหาย

 

การติดเชื้อแบบเรื้อรัง 

โรคเท้าช้างที่เกิดภาวะติดเชื้อเรื้อรัง คือ การติดเชื้อแล้วรักษา แต่เชื้อโรคยังหลงเหลืออยู่ในร่างกาย จะแสดงอาการบวมน้ำเหลืองและอาจนำไปสู่อาการเท้าช้างอีก สังเกตดูว่า ผิวหนังเริ่มแข็งขึ้นและหนาขึ้น ส่วนใหญ่มักเป็นที่ขา เท้า บางรายเข้าใจว่าเป็นโรคสะเก็ดเงิน หรือบางรายก็ไม่เกิดที่เท้าแต่เกิดที่แขน นอกจากนี้ในเพศหญิงอาจเกิดเชื้อโรคเข้าสู่อวัยวะเพศและเต้านม ส่วนเพศชายอาจส่งผลต่ออัณฑะ เกิดแผลในระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะมีสีขุ่นเหมือนนม แม้จะพบได้น้อยมาก แต่ถ้าพบลักษณะอาการนี้รีบพบแพทย์ด่วน

 

การติดเชื้อแบบเฉียบพลัน

โรคเท้าช้างที่เกิดจากการติดเชื้อเฉียบพลัน มักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง สาเหตุมากจากการที่ร่างกายมีความอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันเชื้อโรคอ่อนลงมาก และระบบน้ำเหลืองในร่างกายไม่แข็งแรง ซึ่งทำให้เชื้อโรคหรือพยาธิตัวกลมเข้าไปทำลายได้ง่าย โดย การติดเชื้อเฉียบพลันแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  • การติดเชื้อชนิดเฉียบพลันชนิด Acute Filarial Lymphangitis: AFL 

การติดเชื้อประเภทนี้พบได้ไม่บ่อยนัก เนื่องจากพยาธิที่โตเต็มวัยแล้วและกำลังจะตาย เข้าสู่ร่างกาย ไม่ว่าพยาธินั้นจะตายเองโดยธรรมชาติหรือตายเพราะผู้ป่วยได้รับการรักษาก็ตาม ผู้ป่วยที่ติดโรคนี้มาจะมีอาการแสดงเป็นตุ่มก้อนเจ็บขนาดเล็กขึ้นบริเวณที่พยาธิตาย หรือขึ้นตามท่อน้ำเหลืองหรือบริเวณอัณฑะด้วยก็ได้ ส่งผลให้ระบบน้ำเหลืองฟกช้ำและโตขึ้น แต่การติดเชื้อแบบเฉียบพลันชนิดนี้จะไม่มีไข้และหลายครั้งที่ตรวจไม่พบอาการไม่รุนแรงมาก

  • การติดเชื้อเฉียบพลันชนิด Acute Adeno-Lymphangitis: ADL 

โรคเท้าช้างที่ติดเชื้อประเภทนี้ พบได้บ่อยกว่าการติดเชื้อแบบ AFL เพราะจะแสดงอาการชัดเจน เช่น มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโตจนเจ็บบริเวณขาหนีบและใต้วงแขน มีอาการเจ็บ ฟกช้ำ แดง บางคนนึกว่าเป็นฝี โดยการติดเชื้อนี้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียทับซ้อน และเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งในแต่ละปี โดยเฉพาะในฤดูฝนที่มีความชื้นมากขึ้นบริเวณง่ามนิ้วเท้า นำไปสู่การติดเชื้อราที่จะทำให้ผิวหนังเกิดความเสียหาย จึงทำให้พยาธิชอนไชเข้าสู่ร่างกาย ฉะนั้น เราต้องสวมรองเท้าเวลาออกจากบ้านเสมอ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง :  5 วิธีปกป้องลูกรักจากยุงร้าย

 

โรคเท้าช้าง

โรคเท้าช้างมีการวินิจฉัยจากแพทย์อย่างไร

การวินิจฉัยว่าคุณเป็นโรคเท้าช้างหรือไม่ ค่อนข้างซับซ้อนและต้องเลือกเวลาสักหน่อย ยกตัวอย่างเช่น วิธีวินิจฉัยโรคเท้าช้างขั้นพื้นฐานที่ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ตรวจหาการติดเชื้อพยาธิที่ยังไม่โตเต็มวัยซึ่งอยู่ภายในเลือดของผู้ป่วย แต่เจ้าพยาธิเหล่านี้จะไม่เคลื่อนไหวในเลือดช่วงเวลากลางวัน ฉะนั้น การตรวจหาเจ้าพยาธิอาจจะยากมากหรือไม่พบเลย ดังนั้นการเก็บตัวอย่างเลือดจึงต้องทำตอนกลางคืน ตรงนี้แพทย์อาจนัดเวลาตรวจที่ดีที่สุด นอกจากนี้ยังมีการให้ยาไดเอทิลคาร์บามาซีนแก่ผู้ป่วยในปริมาณเล็กน้อย เพื่อเร่งให้พยาธิออกมาเคลื่อนไหวในกรณีที่ไม่พบเจ้าพยาธิ นอกจากการตรวจเลือดแล้วยังมีวิธีอื่นๆ ดังต่อไปนี้

 

  1. ตรวจหาปริมาณสารแอนตี้บอดี้ ซึ่งแพทย์จะตรวจดูปฏิกิริยาจากสารก่อภูมิแพ้ที่เกิดจากพยาธิ โดยใช้เครือ่งมือทดสอบเลือด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการต่อมน้ำเหลืองเริ่มบวมให้เห็น
  2. ตรวจปัสสาวะ เป็นการตรวจดูความขุ่นคล้ายน้ำนมของปัสสาวะ ซึ่งเป็นผลจากที่ท่อน้ำเหลืองอุดตัน จึงสามารถตรวจหาพยาธิต้นเหตุของโรคเท้าช้างในปัสสาวะได้
  3. การถ่ายภาพ แพทย์จะใช้เครื่องอัลตราซาวด์ตรวจดูการอุดตันของท่อน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบและถุงอัณฑะ แล้วถ่ายภาพออกมาเพื่อวินิจฉัยถึงขั้นตอนการรักษาต่อไป

 

แพทย์จะรักษาโรคเท้าช้างอย่างไร

1. ผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ

การรักษาโรคเท้าช้าง แพทย์จะเน้นไปที่การป้องกันไม่ให้เชื้อติดต่อไปยังผู้อื่นก่อนเสมอ ต่อมาจึงมีการรับยากำจัดพยาธิเพื่อลดปริมาณพยาธิให้น้อย จนกระทั่งผู้ป่วยไม่สามารถกระจายเชื้อต่อไปได้ หากสงสัยว่าอาจเป็นโรคนี้ควรไปพบแพทย์เพื่อให้การตรวจเป็นไปอย่างแม่นยำ อย่างที่กล่าวไป มีบางรายเป็นโรคเท้าช้างแต่ไม่แสดงอาการ แพทย์จึงให้ผู้ป่วยรับประทานยา Albendazole ขนาด 400 มิลลิกรัมร่วมกับ Hetrazan (diethylcarbamazine, DEC) ขนาด 6 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม รับประทานปีละครั้ง

บทความจากพันธมิตร
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ว่าด้วยเรื่อง ลูกเป็นภูมิแพ้ กับ ฝุ่น PM2.5 อันตรายใกล้ตัว ที่พ่อแม่ต้องระวัง
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
รู้หรือไม่? มลพิษทางอากาศ และ ฝุ่น PM 2.5 เข้าปอดลูกได้แม้อยู่ในครรภ์แม่
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
5 วิธี เสริมภูมิคุ้มกัน กุญแจสำคัญที่ทำให้ลูกรักแข็งแรง พร้อมเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby
ป้องกัน ลูกแพ้น้ำยาซักผ้า ฉบับคุณแม่มือโปร ด้วย Breeze Baby

 

2. ผู้ป่วยที่แสดงอาการ

สำหรับผู้ป่วยที่แสดงอาการของโรคเท้าช้างและรักษาด้วยยาแล้วแพทย์จะย้ำให้รักษาความสะอาดบริเวณที่มีอาการของโรคร่วมกับการทำกายภาพบำบัด เช่น การบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่บวมโตเพื่อเพิ่มการไหลเวียนดีขึ้น จริงอยู่การใช้ยาสามารถฆ่าพยาธิต้นเหตุของโรคที่อยู่ในเลือดและป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อีกต่อไป แต่ก็ไม่สามารถฆ่าพยาธิที่โตเต็มวัยที่ได้หมด ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาภาวะต่อมน้ำเหลืองบวมโดยเฉพาะหากเป็นโรคเท้าช้างปีละหลายๆ ครั้ง ดังนั้น ในชีวิตประจำวัน ควรจะปฏิบัติเบื้องต้นดังนี้

  • หมั่นดูแลทำความสะอาดส่วนที่มีอาการบวมอย่างระมัดระวัง เช่น ล้างด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ กับน้ำสะอาดทุกวัน
  • ระมัดระวังอย่าให้ติดเชื้อในบริเวณที่เกิดแผล สามารถใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราร่วมด้วย
  • หมั่นออกกำลังกายบริเวณแขนหรือขาที่บวม เพื่อให้น้ำเหลืองในร่างกายหมุนเวียนได้ดีขึ้น

 

โรคเท้าช้าง

การป้องกันโรคเท้าช้าง สามารถทำได้อย่างไร

สิ่งสำคัญที่สุดของการป้องกันโรคเท้าช้างคือ พยายามไม่ให้ถูกยุงกัด โดยยุงที่เป็นพาหะของโรคเท้าช้างมักจะออกกัดในช่วงหัวค่ำและใกล้รุ่ง ดังนั้น หากเราอยู่ในพื้นที่เสี่ยง และดูแล้วบริเวณบ้านเรามีความเสี่ยงมาก เช่น ชุกชุมไปด้วยยุง มีน้ำขัง มีดินเฉอะแฉะ ควรนอนในห้องที่ปิดมิดชิด มีมุ้งลวดกั้นประตู หน้าต่างทุกบาน อีกทั้งพยายามสวมใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว หรือทายากันยุง ฉีดสเปรย์กันยุงในช่วงพลบค่ำหรือหากต้องออกไปที่ชุมชนนอกบ้าน นอกจากนี้ พยายามติดต่อทางสำนักงานเขตให้มาฉีดฆ่ายุงเสมอ

 

ข้อควรระวังภาวะแทรกซ้อนของโรคเท้าช้าง

แม้ว่าโรคเท้าช้างอาจไม่ทำอันตรายถึงชีวิต แต่ผู้ป่วยด้วยโรคนี้จะใช้ชีวิตประจำวันค่อนข้างลำบาก สุขภาพย้ำแย่ลง โดยอาการเจ็บป่วยจากโรคเท้าช้างส่วนใหญ่เป็นผลมาจากปฏิกิริยาต่อพยาธิโรคเท้าช้างหรือการแพร่กระจายของพยาธิที่โตเต็มที่แล้วในส่วนต่างๆ ของร่างกาย

  1. ทำให้สมรรถภาพและประสิทธิภาพในการทำงานลดลงมาก
  2. โรคเท้าช้างสามารถเป็นโรคเรื้อรังไม่หายขาด จะก่อให้เกิดภาวะบวมน้ำเหลือง
  3. ทำให้มีน้ำเหลืองสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ คือ ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อบริเวณแขนขาหนาและแข็งตัวขึ้น
  4. ทำลายผิวหนังบริเวณเต้านม อวัยวะสืบพันธุ์ ลูกอัณฑะบวมโตและเจ็บ
  5. ลักษณะอาการอาจสร้างความหวาดกลัวต่อคนรอบข้าง เช่นเท้าบวมมาก แขนขาบวมน่ากลัว ผิวหนังหนามาก

 

หมายเหตุ: พยาธิตัวกลมสาเหตุของโรคเท้าช้าง สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 5-7 ปี และจะเริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้นเป็นล้าน ๆ ตัวภายในเลือด ดังนั้น ผู้ที่มีพยาธิอยู่เลือดนั้นสามารถแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นต่อไปโดยมียุงเป็นพาหะ

 

บทความน่าสนใจ :

วิธีป้องกันทารกจากยุงร้าย หนียุงยังไงให้ลูกรอด!

คิดว่าเป็นลมพิษ ที่แท้ พยาธิชอนไชผิวหนัง! ประสบการณ์น่าขนลุก โรคพยาธิชอนไชผิวหนัง

รู้หรือไม่? การตั้งท้องทำให้ขนาดเท้าบวมใหญ่ขึ้นได้

 

ที่มา: 1 , 2 , 3

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Chatchadaporn Chuichan

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • โรคเท้าช้าง โรคระบาดจากพยาธิเกิดขึ้นได้อย่างไร และรักษาได้หรือไม่
แชร์ :
  • ไขข้อข้องใจ “นมแม่” เกิดขึ้นได้อย่างไร?

    ไขข้อข้องใจ “นมแม่” เกิดขึ้นได้อย่างไร?

  • อาการโรคซึมเศร้า ในกลุ่มคนท้อง เกิดขึ้นได้อย่างไร เสี่ยงต่อเด็กในครรภ์หรือไม่

    อาการโรคซึมเศร้า ในกลุ่มคนท้อง เกิดขึ้นได้อย่างไร เสี่ยงต่อเด็กในครรภ์หรือไม่

  • สามีสงสัย!? ทำไมลูกหน้าไม่เหมือนตัวเอง ยืนกราน ตรวจ DNA สรุปผลไม่พลิก

    สามีสงสัย!? ทำไมลูกหน้าไม่เหมือนตัวเอง ยืนกราน ตรวจ DNA สรุปผลไม่พลิก

  • ข้อดี และ ข้อเสียของการให้ลูกเข้าโรงเรียนเตรียมอนุบาล

    ข้อดี และ ข้อเสียของการให้ลูกเข้าโรงเรียนเตรียมอนุบาล

  • ไขข้อข้องใจ “นมแม่” เกิดขึ้นได้อย่างไร?

    ไขข้อข้องใจ “นมแม่” เกิดขึ้นได้อย่างไร?

  • อาการโรคซึมเศร้า ในกลุ่มคนท้อง เกิดขึ้นได้อย่างไร เสี่ยงต่อเด็กในครรภ์หรือไม่

    อาการโรคซึมเศร้า ในกลุ่มคนท้อง เกิดขึ้นได้อย่างไร เสี่ยงต่อเด็กในครรภ์หรือไม่

  • สามีสงสัย!? ทำไมลูกหน้าไม่เหมือนตัวเอง ยืนกราน ตรวจ DNA สรุปผลไม่พลิก

    สามีสงสัย!? ทำไมลูกหน้าไม่เหมือนตัวเอง ยืนกราน ตรวจ DNA สรุปผลไม่พลิก

  • ข้อดี และ ข้อเสียของการให้ลูกเข้าโรงเรียนเตรียมอนุบาล

    ข้อดี และ ข้อเสียของการให้ลูกเข้าโรงเรียนเตรียมอนุบาล

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ