X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เอ็ดเวิร์ดซินโดรม คืออะไร อาการของกลุ่มนี้ และการรักษาเป็นอย่างไร

บทความ 5 นาที
เอ็ดเวิร์ดซินโดรม คืออะไร อาการของกลุ่มนี้ และการรักษาเป็นอย่างไรเอ็ดเวิร์ดซินโดรม คืออะไร อาการของกลุ่มนี้ และการรักษาเป็นอย่างไร

คุณแม่วัย 39 ปีท่านหนึ่ง คลอดบุตรสาว ครบกำหนด แต่น้ำหนักแรกเกิดน้อย เพียง 2,000 กรัม คุณหมอแจ้งว่าลูกหายใจหอบเหนื่อยและมีลักษณะที่ผิดปกติแต่กำเนิดหลายอย่าง ซึ่งเข้าได้กับกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward’s Syndrome) โดยคุณหมอได้อธิบายให้คุณแม่ฟังดังนี้

เอ็ดเวิร์ดซินโดรม กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด โรคที่เกิดจากพันธุกรรม หากลูกน้อยมีอาการของกลุ่มนี้คุณพ่อคุณแม่จะทำอย่างไร และมีวิธีการรักษากลุ่มอาการเหล่านี้หรือไม่ วันนี้ theAsianparent ได้นำข้อมูลเกี่ยวกับ กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด มาฝาก

 

กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward’s Syndrome) เอ็ดเวิร์ดซินโดรม คืออะไร ? trisomy18คือ อะไร

 

เอ็ดเวิร์ดซินโดรม

เอ็ด เวิร์ด ซิ น โดร ม กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด ภาพประกอบ chromosomaldisorder

เอ็ดเวิร์ดซินโดรม กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (Edward’s Syndrome) คือ โรคทางพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของจำนวนของโครโมโซม เกิดจากโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง (Trisomy 18) พบในทารกเพศหญิงมากกว่าชาย พบได้ประมาณ 1 ใน 6,000-8,000 ของทารกแรกเกิดที่มีชีวิต โดยชื่อของกลุ่มอาการได้มาจากชื่อของนายแพทย์ชาวอังกฤษผู้ค้นพบความผิดปกตินี้

 

กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด ความผิดปกติของกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดมีลักษณะอย่างไร ?

เอ็ดเวิร์ดซินโดรมเด็กที่มีความผิดปกติของกลุ่มอาการนี้จะแสดงออกตั้งแต่แรกเกิดโดยมีน้ำหนักแรกเกิดน้อย ศีรษะและคางเล็กผิดปกติ ขากรรไกรสั้น อาจมีปากแหว่ง เพดานโหว่ มีลักษณะมือผิดรูปร่าง เช่น นิ้วทับซ้อนกันขณะกำมือ นิ้วมือบิดงอและกำแน่นเข้าหากัน นิ้วมือไม่เจริญพัฒนา มีความผิดปกติของอวัยวะภายใน ได้แก่ ไต หัวใจพิการแต่กำเนิด ปอดและระบบทางเดินอาหารผิดปกติ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติของระดับสติปัญญาถึงขั้นปัญญาอ่อน หรือมีไอคิวต่ำมากจนไม่สามารถประเมินได้

 

การวินิจฉัยกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด เอ็ดเวิร์ดซินโดรม ทำได้อย่างไร ?

เอ็ดเวิร์ดซินโดรม

เอ็ด เวิร์ด ซิ น โดร ม กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด เอ็ดเวิร์ดซินโดรม

การวินิจฉัยกลุ่มอาการนี้สามารถทำได้โดยการตรวจความผิดปกติของจำนวนของโครโมโซมของทารก จะพบโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง โดยสามารถทำได้ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ เมื่อคุณแม่ฝากครรภ์ ในไตรมาสแรก ที่อายุครรภ์ 10-14 สัปดาห์ คุณหมอจะแนะนำการตรวจคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์ด้วยการเจาะเลือดร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์ หากพบภาวะความผิดปกติที่น่าสงสัยคุณหมอก็จะแนะนำให้ทำการเจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจโครโมโซมของทารก นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีการตรวจวินิจฉัยวิธีใหม่โดยการเจาะเลือดของแม่แล้วนำไปตรวจดู DNA ของทารก เพื่อตรวจหาความผิดปกติของโครโมโซมทารกได้ จึงสามารถนำมาช่วยวินิจฉัย กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด และกลุ่มอาการดาวน์

 

อาการของเอ็ดเวิร์ดที่สังเกตได้ชัดคืออะไร ? 

  • น้ำหนักแรกเกินน้อยผิดปกติ
  • ศีรษะเล็ก ผิดรูป
  • ใบหูต่ำกว่าปกติ
  • มีคางและปากที่เล็ก
  • ปากแหว่งเพดานโหว่
  • นิ้วเกยกัน มืออยู่ในลักษณะที่กำหมัดแน่น
  • เท้าโค้งผิดปกติ ส้นนูน
  • เกิดภาวะลำไส้นอกช่องท้อง
  • การรับรู้ช้ากว่าปกติ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ลูกเป็น ปากแหว่งเพดานโหว่ ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ กลัวลูกเป็นปากแหว่งเพดานโหว่

 

อาการอื่น ๆ ที่อาจจะพบได้ ก็คือปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ โรคไต ระบบทางเดินหายใจ  และความสามารถในการรับอาหารที่กินได้น้อยกว่าปกติ หากมีปากผิดรูป หรืออวัยวะภายในช่องปากไม่สมบูรณ์ ในบางกรณีอาจเกิดไส้เลื่อนที่ผนังช่องท้อง เกิดความผิดปกติกับกระดูกอย่างกระดูกสันคด ปอด หรือระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ มีการบกพร่องทางการเรียนรู้อย่างรุนแรง

 

มีการรักษากลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดหรือไม่ ?

กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซม ไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ ทารกกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดในปัญหาต่างๆ ที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต เช่น หัวใจพิการแต่กำเนิด ติดเชื้ออย่างรุนแรง และควรได้รับการรักษาตามอาการ หรือ ประคับประคอง สำหรับปัญหาของระบบอื่นๆของร่างกาย เช่น การใส่สายให้อาหารในกรณีที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร เป็นต้น

 

การพยากรณ์โรคของกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดเป็นอย่างไร ?

เอ็ดเวิร์ดซินโดรม

เอ็ด เวิร์ด ซิ น โดร ม กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด เอ็ดเวิร์ดซินโดรม

เนื่องจากทารกกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดมีความผิดปกติหลายระบบที่สำคัญของร่างกายจึงมีโอกาสเสียชีวิตสูง ส่วนมากมักเสียชีวิตภายในขวบปีแรก อัตราการรอดชีวิตเป็นดังนี้ คือ ทารกแรกเกิด มีเพียง 40% ที่จะมีอายุอยู่ได้เกิน 1 เดือน หลังจากนั้นจะมีเพียง 5 % ที่อยู่รอดได้จนอายุเกิน 1 ขวบ และมีเพียง 1% เท่านั้นที่อยู่รอดได้จนอายุเกิน 10 ขวบ

 

หากลูกคนแรกได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดแล้วลูกคนต่อไปจะมีโอกาสเกิดซ้ำสูงหรือไม่ ?

สำหรับโอกาสที่จะเกิดกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดซ้ำในลูกคนต่อไป อยู่ที่ประมาณ น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1% ขึ้นอยู่กับลักษณะความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 18 โดยเมื่อมีลูกได้รับการวินิจฉัยว่ามีกลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดคุณหมอจะให้คำแนะนำทางด้านพันธุกรรมแก่คุณพ่อคุณแม่ และจะให้ฝากครรภ์ตั้งแต่ระยะไตรมาสแรกเพื่อการดูแลอย่างใกล้ชิดในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง : โรคทางพันธุกรรม ที่ลูกอาจติดจากพ่อแม่ มีอะไรบ้าง จะรับมืออย่างไร

 

การป้องกันเอ็ดเวิร์ด ซินโดรม

กลุ่มนี้อาจจะไม่สามารถป้องกันได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากเกิดจากพันธุกรรม รวมทั้งมีความเสี่ยงของการเกิดโรคสูง เมื่อมารดามีอายุมากขึ้น หากสงสัยว่าโรคมีโรคนี้หรือไม่ แพทย์จะทำการตรวจเลือด เพื่อนำไปวิเคราะห์อย่างละเอียด นอกจากนี้ แพทย์อาจให้มารดาเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุกรรม เพื่อรับคำแนะนำและอธิบายผลการตรวจโครโมโซมได้โดยละเอียด ความเสี่ยงของการเกิดเอ็ดเวิร์ด ซินโดรมในการตั้งครรภ์ครั้งถัดไป และการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของโครโมโซมก่อนการคลอดบุตรได้อีกด้วย

 

บทความจากพันธมิตร
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
โลกใบใหม่ที่ไม่ได้มีแต่ความเงียบงัน ขั้นตอนการฟื้นฟูหลัง ผ่าตัดฝังประสาทหูเทียม
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

ภาวะแทรกซ้อนของเอ็ดเวิร์ด

เนื่องจากเกิดจากการผิดปกติของร่างกาย ทำให้ร่างกายเด็กผิดปกติอย่างร้ายแรง อัตาการรอดชีวิตจึงมีเพียงแค่ครึ่งเดียว มีร้อยละ 10 เท่านั้น ที่จะอยู่รอดได้ในปีแรก และมักจะมีปัญหาตามมา ดังนี้

  • ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินหายใจ
  • การได้ยิน การฟัง
  • การมองเห็น
  • การกินอาหาร การรับรส
  • ภาวะชัก 
  • หัวใจล้มเหลว

 

ที่มา : 1 

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ :

งานวิจัยเผย โครงสร้างสมองส่วนควบคุมอารมณ์สามารถถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกสาวได้

ตรวจคัดกรองดาวน์ซินโดรมวิธีไหนดี

เด็กดาวน์ซินโดรมโดนทิ้ง กว่า 20 รอบ จนมาเจอ หนุ่มเกย์รับไปเลี้ยง ทำให้ชีวิตดีขึ้น

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • เอ็ดเวิร์ดซินโดรม คืออะไร อาการของกลุ่มนี้ และการรักษาเป็นอย่างไร
แชร์ :
  • โรคmds Myelodysplastic syndrome ลูกเป็นโรคร้าย เลือดออก จุดจ้ำเลือดทั่วตัว

    โรคmds Myelodysplastic syndrome ลูกเป็นโรคร้าย เลือดออก จุดจ้ำเลือดทั่วตัว

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • 7 มาสคาร่า ที่ดีที่สุด ช่วยให้ขนตางอน ยาว กันน้ำได้ดี ปัดแล้วปัง

    7 มาสคาร่า ที่ดีที่สุด ช่วยให้ขนตางอน ยาว กันน้ำได้ดี ปัดแล้วปัง

app info
get app banner
  • โรคmds Myelodysplastic syndrome ลูกเป็นโรคร้าย เลือดออก จุดจ้ำเลือดทั่วตัว

    โรคmds Myelodysplastic syndrome ลูกเป็นโรคร้าย เลือดออก จุดจ้ำเลือดทั่วตัว

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • 7 มาสคาร่า ที่ดีที่สุด ช่วยให้ขนตางอน ยาว กันน้ำได้ดี ปัดแล้วปัง

    7 มาสคาร่า ที่ดีที่สุด ช่วยให้ขนตางอน ยาว กันน้ำได้ดี ปัดแล้วปัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ