X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการทารก 7 สัปดาห์ เรื่องควรรู้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

บทความ 5 นาที
พัฒนาการทารก 7 สัปดาห์ เรื่องควรรู้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่

เหตุการณ์สำคัญ และ พัฒนาการทารก 7 สัปดาห์ เรื่องควรรู้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ วันนี้เราได้รวบรวมมาฝากเพื่อเตรียมความพร้อมให้ลูกน้อยเติบโตสมวัยกัน พร้อมแล้วมาดูกันเลยดีกว่าค่ะ

ไม่น่าเชื่อว่าลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่อายุ 7 สัปดาห์แล้ว และกำลังจะเป็นเด็กอายุ 2 เดือนแล้ว ! ตอนนี้คุณพ่อคุณแม่อาจมีความรู้สึกหลากหลายอารมณ์ ในหลาย ๆ ด้าน และอาจเริ่มรู้สึกมั่นใจในความสามารถการดูแลและมีความเข้าใจลูกน้อยมากขึ้น แต่ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ ๆ ในแต่ละวัน ถือเป็นเรื่องปกติ เราจึงจะมาเตรียมความพร้อมและการตั้งรับไปด้วยกัน

การเจริญเติบโตของทารก 7 สัปดาห์

ทารกจะเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกหลังคลอด และเมื่อลูกน้อยของคุณอายุ 7 สัปดาห์ จะพบกับความเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัวลูกน้อยที่เพิ่มขึ้นประมาณ 200 กรัมต่อสัปดาห์ ดังนั้นน้ำหนักทารกอายุ 7 สัปดาห์ของคุณจึงอาจเพิ่มขึ้นประมาณ 0.9-1 กิโลกรัม อย่างไรก็ตาม หากลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่มีน้ำหนักน้อยกว่าหรือมากกว่านี้ ก็ไม่ต้องรู้สึกเครียดหรือกังวลไปค่ะ เพราะการเติบโตของทารกแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป

  • ช่วงเวลาการนอน ในสัปดาห์นี้เป็นช่วงเวลาที่เด็กจะมีโอกาสในการร้องไห้ที่บ่อยและยาวนานขึ้น เพราะลูกน้อย้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว มีการตื่นตัว ทำให้นอนหลับยากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็นและกล่อมลูกเข้านอนในเวลากลางคืน จึงแนะนำควรฝึกให้ลูกน้อยนอนหลับให้เป็นเวลาในตอนกลางคืนลูกน้อยควรยืดระยะเวลาการนอนหลับให้ยาวขึ้น ลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่ควรจะนอนหลับสนิทติดต่อกันเป็นเวลา 5-6 ชั่วโมง และเวลานอนที่เพียงพอรวมแล้วประมาณ 15 หรือ 16 ชั่วโมงต่อวัน อาจจะเริ่มจากการงีบหลับระหว่างวันทีละเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้นานขึ้น
  • การสัมผัสเป็นสิ่งสำคัญ คุณพ่อคุณแม่ควรโอบกอดให้ความอบอุ่นกับลูกน้อย นวดลูก อุ้ม หรือการเข้าเต้าในการให้นมลูก เพราะการสัมผัสช่วยลดความเครียดให้แก่ทารกได้ นอกจากนี้การเข้าเต้าจะช่วยให้เด็กอิ่มท้องเร็วขึ้น เพิ่มโอกาสการนอนหลับ
  • การมองเห็น ลูกน้อยสามารถมองสิ่งของต่าง ๆ ได้ในระยะไกลถึงประมาณ 45 เซนติเมตร และมองเห็นได้กว้างถึง 180 องศา
  • การได้ยินเสียง รับรู้ฟังเสียงรอบข้างได้ชัดเจนมากขึ้น มีการหันมองตามแห่งเกิดเสียง สามารถแยกเสียงต่าง ๆ ได้
  • การสื่อสาร เด็กในวัยนี้ยังคงร้องไห้เป็นการสื่อสารหลัก แต่จะมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่มากขึ้น คุณพ่อคุณแม่จะเริ่มสังเกตได้ว่าลูกน้อยยิ้มชอบหรือพอใจ ถึงแม้ลูกจะยังพูดไม่ได้แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรหมั่นสื่อสารกับลูกน้อย พูดคุย ร้องเพลงกับลูกเป็นประจำเพื่อช่วยกระตุ้นพัฒนาการระบบประสาท
  • พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อ ในวัยนี้ลูกสามารถยกหรือเงยศีรษะขึ้นได้ในเวลาอันสั้น สามารถหันมองสิ่งรอบข้างได้ มีการพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก มัดใหญ่ กล้ามเนื้อคอ แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่หาของเล่นโมบายมาเพื่อฝึกฝนกล้ามเนื้อการจับสิ่งของให้กับลูก ฝึกให้ลูกทำ Tummy Time หรือการฝึกพลิกคว่ำเป็นประจำทุกวัน
  • พัฒนาการทางภาษา ในวัยนี้ลูกจะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ได้แล้ว เด็กจะให้ความสนใจกับเสียงตัวเอง และอาจส่งเสียงเพื่อตอบโต้ได้
  • พัฒนาการทางสติปัญญา ลูกน้อยจะเริ่มจดจำใบหน้า เสียงของคุณพ่อคุณแม่ หรือบุคคลใกล้ชิดที่คุ้นเคยได้แล้ว

 

พัฒนาการทารก 7 สัปดาห์

 

สารอาหารเพื่อ พัฒนาการทารก 7 สัปดาห์

หากคุณแม่ให้นมลูก และลูกน้อยดูเหมือนจะมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ให้พูดคุยปรึกษากับกุมารแพทย์หรือที่ปรึกษาด้านการให้นมบุตร เพราะบางครั้งคุณแม่ไม่สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอสำหรับการเจริญเติบโตของทารก อาจเป็นเพราะความไม่สมดุลของฮอร์โมน แพทย์อาจแนะนำให้ลูกน้อยทานอาหารเสริมเพราะลูกกินนมแม่เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต

หากคุณแม่ให้นมสูตรผสมแต่ลูกมีการเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร อาจต้องเปลี่ยนสูตร เพื่อช่วยให้ลูกน้อยของคุณเติบโตอย่างที่ควรจะเป็น โดยถามกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนว่าเปลี่ยนสูตรสารอาหารอย่างไรบ้าง

 

พัฒนาการทารก 1-2 เดือน วิธีกระตุ้นพัฒนาการเด็ก

วิดีโอจาก Youtube : ChocoDiary

 

คุณแม่หลังคลอด

นอกจากพัฒนากาลูกที่คุณพ่อคุณแม่ให้ความสนใจแล้ว หากกล้ามเนื้อหน้าท้องของคุณแม่หลังคลอด หลังจากคลอดลูกแล้ว หากคุณแม่สังเกตเห็นว่าท้องยื่นออกมาและรู้สึกอ่อนแอในแกนกลางของคุณ มีอาการปวดหลังส่วนล่าง หรือมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เป็นเวลานานเกิน 8 สัปดาห์หลังคลอด ให้ปรึกษาแพทย์เพื่อประเมินการทำกายภาพบำบัด ฟื้นฟูกล้ามเนื้อกลับมาสู่สภาวะปกติ

 

สัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพในทารก 7 สัปดาห์ มีดังนี้

  • ลูกร้องไห้อย่างไม่มีสาเหตุ
  • ในระยะเวลาหลายชั่วโมงลูกน้อยไม่ขับถ่าย
  • ลูกมีอาการอ่อนแรง เหนื่อยล้า งัวเงีย ไม่ตื่นตัว ไม่สนใจสิ่งรอบตัว
  • ลูกไม่ขยับลูกตามองตามสิ่งของโดยรอบ และไม่รับรู้ถึงสิ่งของที่อยู่ตรงหน้า

หากลูกน้อยมีอาการที่กล่าวมาข้างต้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาสาเหตุ วิธีการแก้ไขได้ทันทีเพื่อไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการที่สมวัยของลูก ที่สำคัญคือต้องพาลูกน้อยไปตรวจสุขภาพดูพัฒนาการ รับวัคซีนทุกครั้งที่มีนัดกับคุณหมอ ในอีกไม่นานลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่จะอายุครบ 2 เดือน การหากิจกรรมทำกับลูกน้อยเป็นประจำ เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้สมวัย เช่น การพูดคุย ร้องเพลง อ่านหนังให้ลูกฟัง

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ได้ทราบและเข้าถึงพัฒนาการทารก 7 สัปดาห์ มากขึ้นนะคะ และครั้งหน้าจะมีพัฒนาการของเด็กวัยต่าง ๆ มาฝากกันอีกแน่นอนค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

กิจกรรมสำหรับเด็ก 7 สัปดาห์ ช่วยเสริมพัฒนาการให้ลูกน้อยสมวัย ที่พ่อแม่ควรรู้ !!

คุณแม่ระวัง 2 เดือนแรกของลูกน้อย อาจเสี่ยงต่อแก๊งวายร้าย IPD

เคล็ดลับคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่ เสริมพัฒนาการเด็ก 2 เดือน มาดูกันเถอะ!

ที่มาข้อมูล : 1 , 2

บทความจากพันธมิตร
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
มารู้จักกับ Phenomenon-Based Learning กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษานอกห้องเรียนมากกว่าการท่องจำ
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Suchanya Dheerasunt

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • พัฒนาการทารก 7 สัปดาห์ เรื่องควรรู้ สำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่
แชร์ :
  • อยากให้ลูกผิวดี ทำอย่างไร? เคล็ดลับง่าย ๆ ช่วยให้ลูกน้อยผิวสวย

    อยากให้ลูกผิวดี ทำอย่างไร? เคล็ดลับง่าย ๆ ช่วยให้ลูกน้อยผิวสวย

  • สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่ละยุคสมัยแตกต่างกันอย่างไร มาชมไปพร้อมกัน

    สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่ละยุคสมัยแตกต่างกันอย่างไร มาชมไปพร้อมกัน

  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

  • อยากให้ลูกผิวดี ทำอย่างไร? เคล็ดลับง่าย ๆ ช่วยให้ลูกน้อยผิวสวย

    อยากให้ลูกผิวดี ทำอย่างไร? เคล็ดลับง่าย ๆ ช่วยให้ลูกน้อยผิวสวย

  • สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่ละยุคสมัยแตกต่างกันอย่างไร มาชมไปพร้อมกัน

    สมัยก่อนประวัติศาสตร์ แต่ละยุคสมัยแตกต่างกันอย่างไร มาชมไปพร้อมกัน

  • ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

    ลูกผิวเป็นขุย ทำอย่างไรดี รีบแก้ไขก่อนเกิดการติดเชื้อ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ