X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

Do's and Don'ts เมื่อลูกเล่นอาหารเวลากิน

บทความ 5 นาที
Do's and Don'ts เมื่อลูกเล่นอาหารเวลากิน

ปัญหาการกินยากกินเย็นของลูกน้อย เป็นปัญหาโลกแตกที่หลาย ๆ ครอบครัวต้องเจอ ให้อะไรก็ไม่กิน กินยากกินเย็น หรือบางคนเล่นอาหารที่กินซะเลย แม่จ๋าอย่าปวดหัว!!! มาดูกันว่า วิธีปราบเจ้าตัวน้อย มีอะไรบ้างที่ควรและไม่ควรทำ เมื่อลูกเล่นอาหารหรือไม่ยอมกินอาหาร ติดตามอ่านค่ะ

Do’s and Don’ts เมื่อ ลูกเล่นอาหาร เวลากิน

Dos and Donts เมื่อลูกเล่นอาหารเวลากิน

Do’s and Don’ts เมื่อลูกเล่นอาหารเวลากิน

ผศ.นพ.ชาตรี วิฑูรชาติ กุมารแพทย์ และ จิตแพทย์ เด็กและวัยรุ่น  ให้คำแนะนำ เกี่ยวกับ เทคนิค ปราบ ลูกเล่นอาหาร ลูก กินยาก ว่าอะไรที่พ่อแม่ ควรทำ และ ไม่ควรทำ ไว้ดังนี้

Do’s เมื่อลูกเล่นอาหารเวลากิน

1. คุณพ่อคุณแม่ ควรรับประทาน อาหารร่วมโต๊ะ กับ ลูก ไม่ต้องแยกป้อน หรือ ให้รับประทาน เอง เพื่อ ลูกจะได้ อยากลองอาหาร แบบที่ผู้ใหญ่เขาทานกัน

2. ทำอาหารใ ห้น่ากิน ถูกใจลูก ไม่ใช่คุณแม่ ทำอาหารไม่อร่อย นะคะ แต่คุณแม่ ควรรู้ว่า ลูกชอบอาหารรสชาติ แบบไหน  ชอบแบบน้ำ หรือ แบบแห้ง  ฝึกการกิน ให้ลูก  ช่วงแรก เริ่มควรเตรียม แต่อาหาร ที่ลูกชอบ กินง่าย ตกแต่ง ให้น่ากิน เพื่อสร้าง แรงจูงใจ ให้อยากกินเอง และ ที่สำคัญควรปรับเปลี่ยน รูปแบบ และ เมนูอาหาร ให้หลากหลาย เพื่อให้ เด็กเกิดความอยากอาหาร มากขึ้น

3. ฝึกลูก ให้กินอาหาร เป็นเวลา สม่ำเสมอ และควรกินพร้อม ๆ กันทั้งครอบครัว เพื่อเป็นแบบอย่างและสร้างบรรยากาศการกินอาหารให้เด็ก

4. สร้างความมีส่วนร่วมในการเตรียมอาหาร  เพื่อให้ลูกเกิดความรู้สึกอยากกิน ไม่ว่าจะเป็นการชวนลูกเข้าครัวไปเด็ดผัก ล้างผัก จัดวางจานชามบนโต๊ะ หรือออกความเห็นว่าแต่ละมื้อควรทำอะไรกินดี หรืออื่น ๆ เท่าที่ลูกจะสามารถทำได้ตามวัยของเขานะคะ

ทีนี้พอเห็นอาหารบนโต๊ะที่เขามีส่วนร่วมเขาจะเกิดความภาคภูมิใจและกินมันอย่างเอร็ดอร่อย ลืมเล่นอาหารไปเลยคะ ก็จานนี้หนูช่วยทำก็ไม่กล้าเล่นนะสิคะ!!

5. สร้างบรรยากาศการกินให้สนุกสนาน ชักชวนหรือโน้มน้าวให้ลูกกินด้วยคำพูดดี ๆ ท่าทีสบาย ๆ ไม่เร่งรัด บังคับ ขู่เข็ญ หรืออ้อนวอนให้ลูกกินเป็นอันขาด เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีให้ลูกมีความสุข สนุกที่จะกิน ไม่เบื่อที่จะกิน พร้อมสร้างบรรยากาศที่ดีด้วยการชวนคุยถามไถ่ถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ เพื่อให้ลูกเล่าไปกินไปด้วยก็ดีค่ะ จะยิ่งช่วยให้ลูกรู้สึกเจริญอาหารมากขึ้นนะคะ

6. เปิดโอกาสให้ลูกช่วยเหลือตัวเองในเรื่องการกินให้มากที่สุดตามวัย โดยค่อย ๆ ลดการให้ความช่วยเหลือลงตามลำดับ เช่น ลูกต่ำกว่า 3 ขวบ ให้ลูกมีโอกาสถือหรือหยิบอาหารเข้าปากด้วยตัวเองบ้าง แม้จะเลอะเทอะไปบ้างก็ต้องยอม ลูกวัย 4 ขวบ ส่วนใหญ่สามารถตักอาหารเข้าปากได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องป้อน เพียงแต่ให้ความช่วยเหลือบางส่วนเท่านั้น

Advertisement

Don’ts เมื่อลูกเล่นอาหารเวลากิน

1. คุณแม่อย่าให้ลูกทานอาหารว่างหรือขนมก่อนมื้ออาหารหลัก เพราะเมื่อเจ้าหนูอิ่มแล้ว เขาก็ไม่อยากทาน ที่นี้แหละ เขาจะถือโอกาสเล่นอาหารซะเลย

2. คุณพ่อคุณแม่ ไม่ใช้วิธีผิด ๆ เพื่อให้เด็กกินมากขึ้น เช่น การตี ดุว่า บังคับ ใช้อารมณ์กับลูกหรือการตามใจ ต่อรอง หรือให้รางวัลเกินความจำเป็น

3. คุณแม่อย่าตามใจลูกด้วยการเดินตามป้อน แต่ให้ลูกนั่งทานอาหารที่โต๊ะพร้อมกับคุณพ่อคุณแม่

4. ขณะรับประทานอาหารไม่เปิดทีวีดูไปด้วย หรือให้ลูกเล่นของเล่นไปด้วย เพราจะทำให้เด็กไม่สนใจเรื่องกิน ทำให้กินช้า อมข้าวและอิ่มเร็วโดยที่ยังกินได้น้อย

5. กำหนดเวลารับประทานอาหารค่ะ คือ คุณพ่อคุณแม่กำหนดระยะเวลาในการรับประทานประมาณ 30-45 นาที เมื่อถึงเวลาที่กำหนดให้เก็บจาน แม้ว่าจะยังกินไม่หมดหรือกินได้น้อยก็ตาม โดยไม่ต้องแสดงความวิตกกังวลหรือโกรธ แต่ให้งดของหวาน ขนม หรืออาหารว่างต่างๆ ทั้งหมดก่อนจะถึงมื้อถัดไปเพื่อให้เด็กเกิดความหิว ซึ่งจะกระตุ้นให้เจริญอาหาร  และรับผิดชอบเรื่องการกินมากขึ้น

6. ไม่ให้นมมากเกินไป เพราะเมื่อลูกอายุเกิน 1 ปี ควรกินข้าวเป็นอาหารหลัก วันละ 3 มื้อ ส่วนนมจะเป็นอาหารเสริมเท่านั้น จึงต้องลดปริมาณลงเหลือวันละ 3-4 มื้อ และควรให้นมหลังอาหารเท่านั้น เพราะเมื่อลูกอิ่มนมแล้วเขาก็ไม่อยากทานอาหารต่อ

ทราบถึงวิธีการปราบลูกไม่ให้เล่นอาหารหรือลูกกินยากกันแล้วนะคะ  ว่าอะไรควร อะไรไม่ควรปฏิบัติ ลงมื้อเลยค่ะ รับรองเจ้าหนูต้องหันมากินอาหารอย่างเอร็ดอร่อยในฝีมือคุณแม่แน่นอน

อ้างอิงข้อมูลจาก

https://www.manager.co.th

https://baby.kapook.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

คุณหมอเผย! กลเม็ด CLICK! พลิกวิกฤติพฤติกรรมลูกตัวเล็ก กินยาก

5 วิธีแก้ปัญหาลูกกินยากที่คุณแม่ฉลาดเตรียมให้

 

บทความจากพันธมิตร
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
การมีสติ ฉบับเด็ก ๆ เป็นอย่างไร ฝึกลูกให้มีสติ ท่ามกลางโลกที่วุ่นวาย
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ส่งเสริมพัฒนาการเด็กยุคใหม่ด้วย ทักษะ Executive Function
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
ปี 2567 เด็กป่วยด้วยโรคอะไร? LUMA แบ่งปันสถิติให้เข้าใจมากขึ้น
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023
Value Health (Kids) ประกันสุขภาพสำหรับลูกน้อย เจ้าของรางวัล Most Promising จากเวที TAP Awards 2023

TAP-ios-for-article-footer-with button (1)

https://th.theasianparent.com/ios-app

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • Do's and Don'ts เมื่อลูกเล่นอาหารเวลากิน
แชร์ :
  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

  • ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก”  สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

    ต้องแยกแยะ “สุภาพ” กับ “โกหก” สอนลูกพูดความจริง เมื่อการสร้างภาพและรักษาน้ำใจไม่ใช่ทางออก

  • ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

    ครอบครัวแบบไหนไม่ทำร้ายเด็ก สร้างพื้นที่ปลอดภัย เป็นความสบายใจให้ลูก

  • เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

    เคล็ดลับสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูก เลี้ยงลูกแบบ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน (Kind but Firm)

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว