X
TAP top app download banner
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้า
เข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • โภชนาการ เเม่ท้อง เเม่ให้นม
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • ตั้งชื่อลูก
  • แม่ผ่าคลอด
    • พัฒนาการเด็กผ่าคลอด
    • เตรียมตัวผ่าคลอด
    • สุขภาพเด็กผ่าคลอด
    • คู่มือคุณแม่ผ่าคลอด
    • การดูแลหลังผ่าคลอด
    • โภชนาการเด็กผ่าคลอด
  • หลังคลอด
    • คลอดธรรมชาติ
    • ผ่าคลอด
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การแท้งบุตรส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์หรือไม่? จะมีผลเสียอะไรตามมาไหม

บทความ 5 นาที
การแท้งบุตรส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์หรือไม่? จะมีผลเสียอะไรตามมาไหม

การแท้งบุตร เป็นภาวะที่คุณแม่หลายคนไม่อยากให้เกิดขึ้น ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเกิดจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ หรือความผิดปกติของทารกในครรภ์ ส่วนใหญ่แล้วการแท้งบุตรมักจะเกิดในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ทำให้คุณแม่หลายคนไม่ทันได้ระวังตัว แต่สำหรับคุณแม่ที่เคยแท้งลูกมาก่อนแล้ว อาจสงสัยว่า การแท้งบุตรส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ

 

การแท้งบุตร คืออะไร

การแท้งลูก หรือ การแท้งบุตร (Miscarriage) หมายถึง การสิ้นสุดของการตั้งครรภ์ซึ่งตัวอ่อนหรือทารกในครรภ์ถูกขับออกมาก่อนตั้งครรภ์ได้ 28 สัปดาห์* ถือเป็นภาวะผิดปกติอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ ซึ่งพบได้ประมาณ 10-15% ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด โดยการแท้งนั้นอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่เมื่อคุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 2-3 สัปดาห์ไปจนถึง 28 สัปดาห์ แต่การแท้งมักจะเกิดขึ้นในช่วงที่คุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 4-20 สัปดาห์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 13 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์)

ในประเทศไทยจะใช้เกณฑ์การตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์เป็นเกณฑ์การแท้ง ส่วนองค์การอนามัยโลกจะใช้เกณฑ์น้อยกว่า 22 สัปดาห์ และสำหรับในยุโรปหรือในสหรัฐอเมริกาจะใช้เกณฑ์การแท้งเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 20 สัปดาห์ ส่วนการที่เกณฑ์อายุครรภ์วินิจฉัยการแท้งต่างกันนั้น เป็นเพราะว่าความสามารถในการเลี้ยงทารกให้มีชีวิตรอดมีความแตกต่างกันไป

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันโรงพยาบาลที่มีแพทย์และมีอุปกรณ์ในการดูแลทารกคลอดก่อนกำหนดอย่างสมบูรณ์ก็สามารถเลี้ยงดูทารกที่คลอดได้ตั้งแต่อายุครรภ์มากกว่า 24 สัปดาห์ โรงพยาบาลบางแห่งจึงใช้เกณฑ์อายุครรภ์น้อยกว่า 24 สัปดาห์ถือเป็นการแท้ง และหากคลอดเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 24 สัปดาห์ จะถือเป็นการคลอดก่อนกำหนด ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษอีกแบบหนึ่ง

การแท้งบุตรเองโดยธรรมชาติ ในภาษาอังกฤษมักจะใช้คำว่า “Miscarriage” ส่วนคำว่า “Abortion” ที่เห็นใช้กันอยู่บ่อยนั้น ๆ ในความหมายที่แท้จริงแล้วจะหมายถึง “การที่ต้องชักนำให้เกิดการแท้งหรือสื่อถึงนัยของการทำแท้งที่ผิดกฎหมาย”แต่ในประเทศไทยนั้นจะใช้ทั้ง 2 คำนี้ในการสื่อถึงการแท้งเองตามธรรมชาติ ส่วนการทำแท้งที่ผิดกฎหมายนั้นจะใช้คำว่า “Il-legal abortion”

บทความที่เกี่ยวข้อง : แท้งลูกเกิดจากอะไร? สัญญาณอะไรบ่งบอกว่าคุณอาจแท้ง อาการเป็นไง?

Advertisement

 

การแท้งบุตร

 

สาเหตุของการแท้ง เกิดจากอะไร

คุณแม่หลายคนมักตั้งคำถามว่า “ทำไมจึงเกิดการแท้งบุตรได้ ทั้ง ๆ ที่อยากมีลูกและพยายามระมัดระวังทุกอย่างแล้ว” ซึ่งสาเหตุของการแท้งบุตรนั้นมีอยู่ด้วยกันหลากหลายสาเหตุ ดังนี้

 

1. การแท้งบุตรที่เกิดจากทารก

ประมาณ 60% หรือประมาณ 3 ใน 4 ของการแท้งทั้งหมดมักเกิดจากความผิดปกติของทารกเป็นหลัก (ความผิดปกติทางด้านโครโมโซม) ซึ่งทารกอาจไม่เจริญเติบโตเลย ไข่ที่ถูกผสมแล้วไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปเป็นตัวเด็กได้ ซึ่งมักพบเป็นลักษณะที่เรียกว่า “ไข่ฝ่อ” (Blighted ovum)

ภายในโพรงมดลูกมีรกถุงน้ำคร่ำ การตรวจปัสสาวะพบว่ายังให้ผลบวก แสดงว่ามีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นแล้วแต่ไม่มีตัวทารก เพราะมีแต่รกเท่านั้นที่เจริญเติบโตได้ต่อไปสักระยะหนึ่งแล้วคุณแม่จึงมีเลือดออก หรือทารกอาจมีความพิการบางอย่างก็เลยถูกขับออกมาเองตามกลไกธรรมชาติ ก่อนที่จะปล่อยให้มีเด็กพิการเกิดขึ้น

 

2. การแท้งที่เกิดจากคุณแม่

การแท้งที่เกิดจากความผิดปกติของคุณแม่มีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน เช่น

  • คุณแม่มีอายุมากกว่า 35 ปี หรือมีอายุน้อยกว่า 15 ปี จากข้อมูลพบว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุมากจะมีความเสี่ยงที่จะแท้งบุตรได้มากกว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุน้อย
  • เคยมีการแท้งบุตรมาก่อน
  • เคยมีการขูดมดลูกจากสาเหตุอื่น ๆ ซึ่งทำให้ตัวอ่อนที่ฝังตัวไม่สามารถเจริญเติบโตได้
  • คุณแม่ตั้งครรภ์ที่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ หรือติดยาเสพติด
  • คุณแม่ที่มีสุขภาพไม่ดี เจ็บป่วยเรื้อรังหรือมีระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานหนัก และมีความเครียดสูง ก็จะทำให้แท้งบุตรได้ง่ายขึ้น
  • มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โรคเอสแอลอี (SLE) โรคพีซีโอเอส (PCOS) โรคภูมิแพ้ตัวเอง (Lupus) หรือโรคติดเชื้อต่าง ๆ (เช่น หัด หัดเยอรมัน มาลาเรีย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์)
  • มีความผิดปกติเกี่ยวกับการสร้างฮอร์โมนจากรังไข่ ทำให้ไม่สามารถเลี้ยงตัวอ่อนได้นานพอ โดยพบว่าคุณแม่ที่มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนต่ำ เมื่อฮอร์โมนน้อยเยื่อบุโพรงมดลูกก็จะมีสภาพไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ตัวอ่อนจึงไม่สามารถเจริญเติบโตได้และทำให้มีการแท้งเกิดขึ้น
  • มีภาวะหมู่เลือดของคุณแม่และทารกเข้ากันไม่ได้ (Rh incompatability)

บทความที่เกี่ยวข้อง : สาเหตุของการแท้งลูก และวิธีป้องกัน แม่จะป้องกันการแท้งบุตรได้อย่างไร

 

การแท้งบุตร

 

  • ปากมดลูกฉีกขาดมากจากการคลอดครั้งก่อนหรือจากการทำแท้งที่ไม่ถูกวิธี จึงทำให้ปากมดลูกไม่แข็งแรงและปิดไม่สนิท จึงเกิดการแท้งได้ง่าย
  • มดลูกมีความผิดปกติ เช่น มีความผิดปกติของมดลูกแต่กำเนิดหรือมดลูกมีรูปร่างผิดปกติ, ในโพรงมดลูกมีก้อนเนื้องอกหรือมีผนังกั้นในโพรงมดลูก
  • เกิดจากการอักเสบในช่องคลอดและมดลูก การติดเชื้อในร่างกายหรืออุ้งเชิงกราน หรือการอักเสบทั่วร่างกายอย่างรุนแรง มีไข้สูง จนทำให้ทารกในครรภ์เสียชีวิตและแท้งออกมา
  • เกิดจากการติดเชื้ออย่างรุนแรงจากมารดาและเชื้อโรคได้เคลื่อนผ่านรกไปถึงทารก จนเป็นสาเหตุทำให้ทารกเสียชีวิตและแท้งในเวลาต่อมา
  • การได้รับสารหรือจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยารักษาไข้มาลาเรียในกลุ่มควินิน อาจทำให้แท้งได้เพราะมีฤทธิ์ทำให้มดลูกบีบตัว, ยารักษาโรคมะเร็งหรือการได้รับสารตะกั่ว มีผลทำให้ทารกเสียชีวิตและแท้งได้, การได้รับสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นเวลานาน ๆ ไม่ว่าจะสูดดมหรือสัมผัส ย่อมเป็นสาเหตุให้เกิดการแท้งได้เช่นกัน
  • การตั้งใจกินยาขับหรือให้คนทำแท้ง เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการแท้ง แต่ยาขับเลือดที่ขายตามท้องตลาดที่บางรายไปซื้อมากินเพื่อให้แท้งนั้นส่วนใหญ่แล้วจะไม่ทำให้แท้งได้
  • คุณแม่ขาดสารอาหารมาก ๆ โดยเฉพาะการขาดกรดโฟลิกและวิตามินซี ซึ่งจะทำให้คุณแม่แท้งบุตรได้ง่าย
  • การได้รับอุบัติเหตุ ทำให้มดลูกได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง เช่น หกล้ม เดินชนมุมโต๊ะ ถูกกระแทกบริเวณท้องน้อย ฯลฯ ก็อาจทำให้เกิดการแท้งได้เช่นกัน
  • การทำงานหรือการออกกำลังกาย ไม่ใช่เป็นสาเหตุที่ทำให้คุณแม่แท้งบุตรเสมอไป ยกเว้นในกรณีที่คุณแม่เคยแท้งบุตรมาก่อน ก็ควรทำงานเบา ๆ เลี่ยงการทำงานหนัก และงดการออกกำลังกาย

 

3. การแท้งที่เกิดจากคุณพ่อ

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คุณแม่แท้งบุตร อาจเกิดขึ้นจากคุณพ่อที่มีปัญหาทางสุขภาพ เช่น กลุ่มเลือดมีปัญหาหรืออสุจิของคุณพ่อผิดปกติ เป็นต้น

 

4. ไม่พบสาเหตุ

ในบางรายอาจหาสาเหตุไม่ได้หรือไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนของการแท้งบุตร ซึ่งก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่พบได้บ่อย

บทความที่เกี่ยวข้อง : กินอะไรเสี่ยงแท้ง ห้ามกินสิ่งเหล่านี้ถ้าไม่อยากแท้งลูก!

 

การแท้งบุตร

 

การแท้งบุตรส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์หรือไม่

จริง ๆ แล้วการแท้งบุตรส่งผลกระทบต่อร่างกายของคุณแม่หลายด้าน ซึ่งแต่ละด้านนั้น อาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายและภาวะเจริญพันธุ์ ดังต่อไปนี้

 

บทความจากพันธมิตร
เมื่อลูกมีน้ำมูก ล้างจมูกลูกอย่างไรให้ปลอดภัยและสะอาดหมดจด
เมื่อลูกมีน้ำมูก ล้างจมูกลูกอย่างไรให้ปลอดภัยและสะอาดหมดจด
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
แพ็ลฟิชฯ จัดอลัง!! ประชันแข่งขันสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษ “PalFish English Speech Contest” - ดัน “UN” ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs 17)
ชี้เป้า ALive Powered by AIA แอปพลิเคชันสำหรับครอบครัว สุดยอดแห่งปี 2021 ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรมี
ชี้เป้า ALive Powered by AIA แอปพลิเคชันสำหรับครอบครัว สุดยอดแห่งปี 2021 ที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรมี
เตรียมผักผลไม้ให้สะอาดปลอดภัยในทุกมื้ออาหารของคนที่คุณรัก ละมุนกรีนคลีนเซอร์ (Lamoon Green Cleanser) จากธรรมชาติ 100%
เตรียมผักผลไม้ให้สะอาดปลอดภัยในทุกมื้ออาหารของคนที่คุณรัก ละมุนกรีนคลีนเซอร์ (Lamoon Green Cleanser) จากธรรมชาติ 100%

1. ผลกระทบของการแท้งบุตรต่อการมีลูก

การแท้งบุตรไม่มีผลโดยตรงต่อความสามารถในการมีลูกครั้งต่อไป ผู้หญิงหลายคนที่เคยแท้งบุตรอย่างกะทันหันก็สามารถมีลูกที่สมบูรณ์แข็งแรงได้ปกติในภายหลัง แต่การแท้งบุตรอาจเกี่ยวเนื่องกับภาวะเจริญพันธุ์ทางอ้อมหากเราพิจารณาผลกระทบที่ผู้หญิงได้รับจากเหตุการณ์ดังกล่าว

 

2. ผลกระทบต่อร่างกาย

การแท้งบุตรอาจส่งผลต่อร่างกายได้มากกว่าหากเกิดขึ้นหลังสัปดาห์ที่ 10 ของการตั้งครรภ์ โดยปกติร่างกายจะกำจัดเนื้อเยื่อออกได้เองหลังจากผ่านช่วงประจำเดือนไปแล้ว 1 ครั้ง และร่างกายก็จะกลับคืนสู่สภาพปกติ แต่หากอายุครรภ์เกิน 10 สัปดาห์ จะยังคงมีเศษเนื้อเยื่อตัวอ่อนตกค้างอยู่ซึ่งจำเป็นต้องเอาออกโดยการผ่าตัด

วิธีการดังกล่าวเรียกว่า “การขูดมดลูก” เป็นการขุดเอาเนื้อเยื่อที่ติดอยู่กับผนังมดลูกออก วิธีการนี้อาจทำให้เกิดอาการติดเชื้อ มดลูกเป็นรู แผลเป็นที่ปากมดลูก หรืออาการตกเลือด ซึ่งอาจมีผลต่อความสามารถในการมีลูกของผู้หญิงในอนาคต

 

3. ผลกระทบต่อฮอร์โมน

การแท้งบุตรยังสามารถส่งผลกระทบต่อระดับฮอร์โมนภายในร่างกายได้ และอาจต้องใช้เวลา 2-3 เดือนกว่าจะกลับสู่สภาวะปกติ การแท้งบุตรอาจมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนที่ผิดปกติเพียงอย่างเดียว ดังนั้นคุณจึงควรรับการตรวจเช็กก่อนที่จะตัดสินมีลูกอีกครั้ง

นอกจากนี้คุณยังควรใส่ใจกับเรื่องอาหารการกินและโภชนาการเป็นพิเศษ การขาดสารโอเมกา-3 และกรดไขมันที่จำเป็นอื่น ๆ อาจทำให้ระดับฮอร์โมนผิดปกติได้

 

4. ผลกระทบต่ออารมณ์และสุขภาพจิต

การแท้งบุตรเป็นเหตุการณ์อันน่าสลดที่ส่งผลต่อสภาพจิตใจของผู้เป็นพ่อแม่อย่างรุนแรง อาจเกิดได้จากปัจจัยหลายอย่าง คุณจึงไม่ควรโทษตัวเอง คุณอาจจะอยากรีบลองใหม่อีกครั้งโดยเร็วที่สุด แต่พึงระลึกไว้ว่าความเครียดอาจส่งผลต่อความสามารถในการมีลูกของคุณได้เช่นกัน บางครั้งแค่เห็นภาพแม่ลูกก็อาจทำให้คุณสะเทือนใจได้ ให้เวลาตัวเองได้ทำใจและอย่ากดดันตัวเองมากเกินไป คุณควรออกไปพักผ่อนเพื่อทำให้ตัวเองและสามีกลับมาสบายใจเหมือนเดิมก่อนที่จะพยายามอีกครั้ง

 

การแท้งบุตรเกี่ยวเนื่องกับสภาวะเจริญพันธุ์ในหลายด้าน หากคุณเคยแท้งบุตรมาก่อน และอยากพยายามใหม่อีกครั้ง คุณควรปรึกษาแพทย์และตรวจร่างกายให้ละเอียดก่อน ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถให้คำแนะนำคุณเกี่ยวกับสาเหตุของการแท้งและวิธีเตรียมตัวให้คุณพร้อมสำหรับตั้งครรภ์ครั้งใหม่

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ยุติการตั้งครรภ์ หรือ การทำแท้งลูกอย่างถูกกฎหมาย

อาหารหลังแท้งลูก เมนูไหนควรกินบำรุงร่างกาย เมนูไหนควรเลี่ยง?

ติดกรรมแท้งลูก ลูกหลุดขณะท้อง หรือทำแท้ง แก้กรรมแท้งลูกได้อย่างไร

ที่มา : nhs.uk

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Angoon

  • หน้าแรก
  • /
  • การสูญเสียบุตร
  • /
  • การแท้งบุตรส่งผลต่อภาวะเจริญพันธุ์หรือไม่? จะมีผลเสียอะไรตามมาไหม
แชร์ :
  • เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

    เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

  • theAsianparent Thailand ผนึกกำลังพันธมิตร สร้างรอยยิ้มให้ชาวแม่สาย ฟื้นฟูหลังน้ำท่วม

    theAsianparent Thailand ผนึกกำลังพันธมิตร สร้างรอยยิ้มให้ชาวแม่สาย ฟื้นฟูหลังน้ำท่วม

  • นานแค่ไหน? จึงจะปลอดภัยสำหรับการ มีเพศสัมพันธ์หลังทำแท้ง !

    นานแค่ไหน? จึงจะปลอดภัยสำหรับการ มีเพศสัมพันธ์หลังทำแท้ง !

  • เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

    เรื่องจริง! ทารกในครรภ์กลายเป็นหิน ทารกหิน คืออะไร อันตรายแค่ไหน?

  • theAsianparent Thailand ผนึกกำลังพันธมิตร สร้างรอยยิ้มให้ชาวแม่สาย ฟื้นฟูหลังน้ำท่วม

    theAsianparent Thailand ผนึกกำลังพันธมิตร สร้างรอยยิ้มให้ชาวแม่สาย ฟื้นฟูหลังน้ำท่วม

  • นานแค่ไหน? จึงจะปลอดภัยสำหรับการ มีเพศสัมพันธ์หลังทำแท้ง !

    นานแค่ไหน? จึงจะปลอดภัยสำหรับการ มีเพศสัมพันธ์หลังทำแท้ง !

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • พัฒนาการลูก
  • ชีวิตครอบครัว
  • ระยะการตั้งครรภ์
  • โภชนาการ
  • ไลฟ์สไตล์
  • TAP สังคมออนไลน์
  • ติดต่อโฆษณา
  • ติดต่อเรา
  • Influencer Marketing (KOL)
  • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Vietnam flag Vietnam
© Copyright theAsianparent 2025. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว