พ่อแม่ลองละยัง? วิธีเช็คว่า “ลูกมีปัญหาด้านการเรียนรู้” หรือไม่
พ่อแม่ลองละยัง? วิธีเช็คว่า “ลูกมีปัญหาด้านการเรียนรู้” หรือไม่
มองหาปัญหา
ดูเหมือนว่าลูกของคุณหยิบจับสิ่งของได้ช้ากว่าเด็กคนอื่น ๆ หรือเปล่า? แม้เด็กแต่คนจะมีวิถีการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันก็จริงอยู่ แต่ก็มีปฏิกิริยาบางสิ่ง ที่คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นคอยสังเกต เพื่อที่เช็คว่าลูกของคุณมีปัญหาทางการเรียนรู้หรือไม่
คุณพ่อคุณแม่หลายคู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ มักจะมีความกังวลใจหากพบเห็นว่าลูกของตนมีพัฒนาการในการเรียนรู้ช้ากว่าเด็กคนอื่น ๆ โดยส่วนใหญ่แล้วคุณพ่อคุณแม่ไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องกังวลเรื่องนี้หรอกค่ะ แต่หากคุณยังคงสงสัยและข้องใจกับพฤติกรรมบางอย่างของลูกน้อยของคุณอยู่ เรามีวิธีต่าง ๆ ที่จะเช็คว่าลูกของคุณมีปัญหาทางการเรียนรู้จริง ๆ หรือไม่
การร้องไห้ เป็นอากัปกิริยาอย่างแรก ๆ ที่ลูกน้อยแสดงออก เพื่อต้องการจะสื่อสารกับคุณ
สัญญาณแรกที่ควรมองหา
1. เมื่อลูกของคุณอายุราว 6 เดือนถึง 1 ปีเต็ม สัญญาณบ่งบอกอาการเริ่มแรกที่ชัดเจนที่สุดคือการขยับ และการเคลื่อนไหวของอวัยวะของเขา เช่น การขยับขา แขน การกลิ้งตัว หรือ พยายามที่จะยืน
2. ไม่กี่สัปดาห์หลังจากที่คุณพาลูกน้อยกลับบ้าน คุณต้องมีโอกาสที่จะได้เห็นลูกของคุณมีปฏิกิริยากับเสียงต่าง ๆ รอบตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงของแม่ของเขาเอง
3. การร้องไห้ เป็นอากัปกิริยาอย่างแรก ๆ ที่ลูกน้อยแสดงออก เพื่อต้องการจะสื่อสารกับคุณ หากพบว่าลูกน้อยไม่ค่อยร้องงอแงเมื่อถึงเวลาที่เขาควรจะหิวข้าว หรือต้องการที่จะเปลี่ยนผ้าอ้อม นี่อาจเป็นสัญญาณว่า ลูกของคุณอาจมีปัญหาทางการเรียนรู้
4. ในระยะเวลาไม่กี่เดือน คุณควรเริ่มเห็นลูกพยายามยื่นมือ และมีอาการตอบสนองต่อผู้คนรอบข้าง
มีหลากหลายช่วงอายุของเด็กที่สามารถ แสดงอาการของความผิดปกติในการเรียนรู้ของเด็กได้
ช่วงอายุของเด็ก สามารถแสดงอาการ ของความผิดปกติ ในการเรียนรู้ ของเด็กได้
สัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติในการเรียนรู้ของเด็กเล็ก
เด็กเล็ก ๆ ก็เหมือนฟองน้ำ พวกเขาซึมซับทุกสิ่งทุกอย่างที่พบเห็นรอบตัว ช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่หมอจะคอยสังเกตว่าเด็ก ๆ จะมีพัฒนาการอย่างที่พวกเขาควรจะเป็นหรือไม่ ช่วงนี้ยังเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเช็คดูว่า เขามีปัญหาทางการเรียนรู้หรือไม่ได้อีกด้วย
คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตลูกน้อยของคุณได้ง่ายมากยิ่งขึ้น หากลูกของคุณอยู่ในศูนย์เตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนของเด็กเล็ก คุณสามารถคอยสังเกตพฤติกรรมของลูกคุณ เวลาเขาอยู่กับเด็กคนอื่น ๆ ได้ เพราะในบางครั้ง ลูกของคุณอาจจะทำหรือแสดงออกบางสิ่งบางอย่าง ที่แตกต่างไปจากที่เขาอยู่กับคุณก็เป็นได้ สิ่งที่คุณควรสังเกตลูกของคุณคือ:
1. ช่วงอายุนี้มือและสายตาของลูก ควรมีพัฒนาการที่เห็นได้ชัดเจน หากคุณพบเห็นว่าลูกลังเลที่จะใช้มือ หรือใช้ตาของเขามองบางสิ่งบางอย่างรอบตัว นี่อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความผิดปกติในการเรียนรู้ของเขาได้ คุณควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการขั้นสุดท้าย
2. เมื่อลูกคุณเริ่มก้าวเข้าสู่วัยเตาะแตะ พวกเขาควรที่จะเริ่มสร้างประโยคพูดขึ้นมาได้เองเป็นประโยคสั้น ๆ ได้ ไม่ต้องยาวมาก แค่ประโยคที่มีแค่คำสองคำ แต่เขาจะต้องเริ่มเข้าใจในสิ่งที่คุณพูดกับเขา แม้เขาดูเหมือนไม่ตั้งใจฟังก็ตาม
3. วัยเตาะแตะแบบนี้เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นช่วงที่เด็ก ๆ จะเลียนแบบทุกสิ่งทุกอย่างที่พบเห็น ลูกอาจแอบสังเกตคุณและทำตามสิ่งที่คุณทำ หากคุณเห็นว่าลูกคุณไม่สนใจ ที่จะทำอะไรตามคุณเลยแม้แต่น้อย ลองปรึกษาแพทย์ดูเพื่อวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้น
วัยเตาะแตะแบบนี้เป็นที่รู้กันดีว่าเป็นช่วงที่เด็ก ๆ จะเลียนแบบทุกสิ่งทุกอย่างที่พบเห็น
ช่วงวัยเข้าเรียน
เด็กวัยเข้าเรียนจะเริ่มแสดงลักษณะเฉพาะของตัวเองออกมา และหากเขามีปัญหาทางการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสามารถในการอ่านและสมาธิ ปัญหาจะปรากฏเด่นชัดในช่วงนี้
1. หากลูกของคุณแสดงออกถึงปัญหาการทำความเข้าใจในเรื่องที่เขาอ่าน และไม่สามารถตอบคำถามในเรื่องที่อ่านอย่างง่าย ๆ ได้ เขาต้องได้รับการทดสอบให้แน่ชัด
2. สัญญาณที่บ่งบอกถึงปัญหาในการอ่านทำความเข้าใจของลูกนั้น เริ่มต้นจากการที่ลูกมีอาการสับสนในตัวอักษร และตัวเลขที่ทำให้เขาอ่านผิดอ่านถูก อาจมีอาการเขียนกลับหลัง ลูกอาจได้รับการทดสอบที่โรงเรียน เพื่อวินิจฉัยปัญหาที่พบและทำการรักษา โรงเรียนยังสามารถช่วยรับมือกับปัญหาด้านพัฒนาการของลูกคุณ และช่วยพัฒนาทักษะการอ่านและเขียนให้ลูกของคุณได้
คำแนะนำเหล่านี้ช่วยคุณได้ไหมคะ ข้อไหนที่ได้ผลที่สุด เราอยากทราบฟีดแบ็คจากคุณ
เด็กวัยเข้าเรียน จะเริ่มแสดง ลักษณะเฉพาะ ของตัวเองออกมา
The Asianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และในเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น The Asianparent ที่ติดตามการตั้งครรภ์ ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งานฟรี เพื่อติดตามพัฒนาการของทารก ตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุด และผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก The Asianparent เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
บทความที่เกี่ยวข้อง :
parenting.firstcry
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
ช่วยเด็กที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
ลูกหัวช้า ทำอย่างไร ให้ลูกเป็นเลิศ
ไม่ได้โง่นะ! แค่บกพร่องทาง การคิดคำนวณ
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!