ทารกท้องเสีย ถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว เกิดจากสาเหตุใด ดูแลรักษายังไงดี

ลูกท้องเสีย ทารกท้องเสีย จะรับมือยังไงดี เครียดมาก ควรพาลูกไปหาหมอตอนไหนดี

อาการท้องเสีย ตามความหมายขององค์การอนามัยโลกนั้น จะดูจากความถี่ของการอุจจาระ และลักษณะของอุจจาระที่เปลี่ยนแปลงไปจากปกติ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นเนื้อเหลวตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป หรือถ่ายเป็นมูกเลือด 1 ครั้ง หรืออุจจาระเป็นน้ำปริมาณมาก 1 ครั้งขึ้นไป ภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง เป็นต้น แต่อาการท้องเสีย ตามคำจำกัดความดังที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ไม่รวมถึงทารกที่กินนมแม่นะครับ เพราะทารกที่กินนมแม่นั้น มักจะถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว แต่อุจจาระเป็นเนื้อดี แบบนี้ไม่อันตราย และไม่ได้เรียกว่า ทารกท้องเสีย

 

ท้องเสียคืออะไร

ท้องเสีย หรือ อุจจาระร่วง คือ อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบขับถ่าย คนที่ท้องเสียมักถ่ายเป็นน้ำเหลว และบางครั้ง อาจถ่ายเป็นมูกเลือด ซึ่งอาการท้องเสียนี้ มักเกิดจากการติดเชื้อทางเดินอาหาร หรือเกิดจากภาวะอาหารเป็นพิษเมื่อรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคอยู่เข้าไปในร่างกาย

 

ทารกท้องเสีย อาการเป็นอย่างไร

เด็กทารกท้องเสีย มักมีอาการ เช่น ไม่ร่าเริงสดใส ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้ง/วัน งอแง ปวดท้อง ไม่กินอาหาร เป็นต้น นอกจากนี้ เด็ก ๆ ยังอาจมีไข้อ่อน ๆ และอาเจียนได้ด้วยครับ

 

ทารกท้องเสีย ท้องเสียในเด็ก เกิดจากสาเหตุใด

ด้วยความที่เด็กในวัยนี้ยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ และไม่รู้จักวิธีป้องกันตัวเอง อีกทั้งยังมีภูมิต้านทานโรคต่ำ จึงทำให้เด็กมีอาการท้องเสียได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ ทารกท้องเสีย กว่า 70% เกิดจากการที่เด็กได้รับเชื้อโรคเข้าไปในร่างกายผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น

 

  • ได้รับเชื้อโรคเข้าไปทางปาก โดยการกินอาหารหรือดื่มนมผสมที่ปนเปื้อนเชื้อโรค
  • อมของเล่นที่มีเชื้อโรค หรือหยิบจับเอาของเล่นเข้าปาก
  • มาจากมือของเด็กที่หยิบจับสิ่งของต่าง ๆ หรือเปื้อนเชื้อโรคตอนที่คลานเล่น

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : ลูกท้องเสียกินอะไรได้บ้าง อาหาร 5 อย่าง บรรเทาอาการทารกท้องเสีย

ลูกท้องเสีย ถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว ลูกท้องเสียทำไงดี ลูกท้องเสียมีมูก ลูกท้องเสียบ่อย ลูกท้องเสียทารก 

 

นอกจากนี้ อาการท้องเสียของเด็กอาจมาจากโรคที่ไม่ติดเชื้อ เช่น

  • การแพ้นมวัว
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ
  • ผลจากเนื้องอกบางชนิด
  • ผลจากยาปฏิชีวนะบางตัว

 

สำหรับแม่มือใหม่ที่อาจไม่แน่ใจว่า การขับถ่ายของลูกในทุก ๆ วัน ปกติหรือไม่ สามารถใช้ตัวช่วยในการตรวจเช็คอุจจาระลูกน้อย ผ่านแพลตฟอร์ม EzyScan ที่สามารถประมวลผลสุขภาพเบื้องต้น จากการขับถ่ายของลูกน้อย ใช้งานง่ายดาย และทราบผลรวดเร็ว เพียงคุณแม่อัปโหลดภาพถ่ายอุจจาระของเจ้าตัวเล็ก เพื่อให้ระบบ AI ประมวลผลร่วมกับลักษณะการขับถ่ายของน้อง ก็ทราบเบื้องต้น ได้ทันทีว่าลูกรักมีอาการท้องเสียหรือท้องผูก พร้อมให้คำแนะนำเพื่อนำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม ช่วยให้ลูกน้อยมีสุขภาพการขับถ่ายที่ดียิ่งขึ้น

 

ลูกท้องเสีย ทำอย่างไรดี รับมือยังไงได้บ้าง วิธีแก้อาการท้องเสียของทารก

สำหรับทารกที่กินนมแม่ หากถ่ายบ่อย ถ่ายเหลว ก็ควรให้กินนมแม่ต่อไปเหมือนเดิม และควรให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้นกว่าปกติ ส่วนเด็กที่กินนมผสมก็ยังสามารถให้กินนมผสมได้ตามปกติ ส่วนเด็กโตที่มีอาการท้องเสีย ควรให้กินอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย อย่างเช่น ข้าวต้ม หรือโจ๊ก โดยอาจจะต้องให้ลูกกินบ่อยกว่าปกติ

 

ที่สำคัญคือไม่ควรให้เด็กกินยาหยุดถ่าย เพราะอาจจะทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค รวมถึงยังอาจทำให้เกิดปัญหาลำไส้ไม่ทำงาน ทำให้ท้องอืด อาเจียน และกินอาหารไม่ได้ และในกรณีของเด็กโต คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มต้นทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่จากร่างกาย ด้วยการให้ลูกกินสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ในปริมาณที่เหมาะสมร่วมกับให้กินอาหารที่มีคุณค่าทาง โภชนาการ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2 – 3 วัน หรือมีข้อบ่งชี้อื่นๆ ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อทำการตรวจรักษาต่อไป

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : ทารกท้องเสีย ขาดน้ำ จนเสียชีวิต เรื่องสุดเศร้า ลูก 4 เดือนเสียชีวิต

 

ท้องเสียในเด็ก แบบไหน ที่ควรไปพบแพทย์ เมื่อไหร่ควรพาลูกไปหาหมอ

หากลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันที

 

  • ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำบ่อย หรือมากกว่า 10 ครั้งต่อวัน
  • ฉี่เป็นสีเข้ม ซึ่งเป็นอาการขาดน้ำ
  • อุจจาระเป็นมูก หรือมูกเลือด
  • ไม่ยอมกินนมหรือกินอาหาร
  • อาเจียนบ่อย
  • มีไข้สูง หรือมีอาการชัก
  • หายใจหอบลึก
  • ปากแห้ง
  • หัวใจเต้นรัว

 

วิธีการที่จะป้องกันโรคท้องเสียได้ดีที่สุดก็คือการให้เด็กกินนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรก นอกจากนี้ ยังต้องใส่ใจเรื่องการรักษาความสะอาด ไม่เพียงแต่ความสะอาดของเด็กนะครับ แต่ยังรวมไปถึงพ่อแม่ และผู้เลี้ยงดู ที่ต้องหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ รวมไปถึงการทำความสะอาดขวดนม และจุกนม ส่วนในเด็กโตที่กินอาหารแข็งได้แล้ว ต้องเป็นอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ มีภาชนะปิด และควรทำความสะอาดภาชนะที่ใส่อาหารให้สะอาดอยู่เสมอ และอย่าลืมล้างมือให้ลูกอยู่เสมอนะครับ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ : 

ลูกเป็นโรต้า ท้องเสีย มีไข้ เชื้อโรคร้ายที่รุนแรง โรต้าไวรัส (Rotavirus) มีอะไรบ้าง

ไม่ง้อนม แม่ท้องกินนมไม่ได้ กินนมแล้วท้องเสีย ไม่ชอบกินนม แล้วกินอะไรแทนดี

ลูกท้องอืด ลูกท้องผูก รับมืออย่างไร อาการแบบไหนต้องรีบไปหาหมอ

ที่มา : pobpad , thaipediatrics , bangpakok3

บทความโดย

P.Veerasedtakul