นมเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ อุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายและการเจริญเติบโตของเด็ก อย่างไรก็ตาม หลายคน โดยเฉพาะเด็กๆ มักประสบปัญหา กินนมแล้วท้องเสีย อาการนี้สร้างความกังวลให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง บทความนี้จะมาอธิบายถึงสาเหตุ วิธีการรักษา และทางเลือกอื่นๆ แทนนมสำหรับเด็กที่กินนมแล้วท้องเสีย
กินนมแล้วท้องเสีย มีสาเหตุมาจากอะไร
สาเหตุหลักของการ กินนมแล้วท้องเสีย คือ การแพ้น้ำตาลแลคโตส (Lactose intolerance) ที่อยู่ในนมวัว ร่างกายของคนเรามีเอนไซม์แลคเตสทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลแลคโตสในนม แต่ในบางราย ร่างกายผลิตเอนไซม์แลคเตสไม่เพียงพอ หรือหยุดผลิตเอนไซม์แลคเตสเมื่อโตขึ้น ส่งผลให้น้ำตาลแลคโตสผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียในลำไส้ใหญ่จะย่อยน้ำตาลแลคโตส เกิดเป็นแก๊สและกรด ส่งผลให้ท้องเสีย
สาเหตุอื่นๆ ของการกินนมแล้วท้องเสีย อาจเกิดจาก แพ้โปรตีนนมวัว โดยจะมีอาการคล้ายแพ้น้ำตาลแลคโตส แต่รุนแรงกว่า หรือเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรตาไวรัส หรือ อาหารเป็นพิษ เป็นต้น
กินนมแล้วท้องเสีย มีอาการอย่างไร
เมื่อลูกกินนมแล้วท้องเสีย อาการที่พบบ่อยที่สุดคือท้องเสีย มักเกิดขึ้นภายใน 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมงหลังจากกินนมวัว ถ่ายเป็นน้ำ ปวดท้อง ท้องอืด มีแก๊สในท้อง และอาเจียน (ในบางราย)
ในกรณีที่มีอาการต่อนี้ ได้แก่ ท้องเสียรุนแรง ถ่ายเป็นน้ำบ่อย มีไข้สูง มีอาการซึม ไม่รับประทานอาหาร มีอาการขาดน้ำ เช่น ปากแห้ง ตาโหล หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ทันที
จะรู้ได้อย่างไรว่า ลูกแพ้น้ำตาลแลคโตส
ให้คุณแม่ลองจดบันทึกอาการของลูกหลังจากกินนมวัว สังเกตว่าลูกมีอาการใดบ้าง และเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ลองงดกินนมวัวและผลิตภัณฑ์จากนมวัวเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์ สังเกตว่าอาการของลูกดีขึ้นหรือไม่ หากสงสัยว่าลูกแพ้น้ำตาลแลคโตส ควรปรึกษาแพทย์ แพทย์จะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และอาจสั่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัย มีการตรวจเลือดบางชนิดที่สามารถตรวจหาการแพ้น้ำตาลแลคโตสได้
กินนมแล้วท้องเสีย ส่งผลอย่างไร
กินนมแล้วท้องเสีย ลูกท้องเสียบ่อย ส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำ ส่งผลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็น อาการท้องเสียเรื้อรัง ยังส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตในระยะยาว ลูกน้อยอาจมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ ตัวเตี้ยกว่าเกณฑ์ พัฒนาการด้านสติปัญญา ภาษา และการเรียนรู้ช้า ป่วยบ่อย มีปัญหาทางเดินอาหารเรื้อรัง อธิบายได้ดังนี้
-
การเจริญเติบโตช้า
- ร่างกายขาดสารอาหาร: การท้องเสียเรื้อรังส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหาร ร่างกายลูกน้อยไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุ ส่งผลต่อพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง และสมอง เช่น พัฒนาการด้านสติปัญญา ภาษา และการเรียนรู้
- โกรทฮอร์โมนหลั่งลดลง: การท้องเสียเรื้อรังส่งผลต่อระบบฮอร์โมน ลูกน้อยอาจมีฮอร์โมนเจริญเติบโตหลั่งลดลง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตช้า
-
ปัญหาทางเดินอาหาร
- ลำไส้แปรปรวน: การท้องเสียเรื้อรังอาจส่งผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติที่ควบคุมการทำงานของลำไส้ ทำให้เกิดภาวะลำไส้แปรปรวน ลูกน้อยอาจมีอาการท้องเสีย ท้องผูก ปวดท้อง ท้องอืด อาหารไม่ย่อย
- ลำไส้อักเสบเรื้อรัง: การท้องเสียเรื้อรังอาจส่งผลต่อเยื่อบุลำไส้ ทำให้เกิดภาวะลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง ลูกน้อยอาจมีอาการท้องเสีย ปวดท้องถ่ายเป็นมูกเลือด
-
ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
- ขาดสารอาหาร: การท้องเสียเรื้อรังส่งผลต่อการดูดซึมสารอาหาร ร่างกายเด็กขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อระบบภูมิคุ้มกัน เช่น วิตามินเอ วิตามินซี สังกะสี ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เด็กป่วยง่าย
- ระบบแบคทีเรียในลำไส้เปลี่ยนแปลง: การท้องเสียเรื้อรังส่งผลต่อระบบแบคทีเรียในลำไส้ (Microbiome) แบคทีเรียดีในลำไส้ลดลง แบคทีเรียที่ไม่ดีเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
กินนมแล้วท้องเสีย ป้องกันได้ไหม
สำหรับแนวทางป้องกัน ลูกกินนมแล้วท้องเสีย ที่ง่ายที่สุดคือ การให้นมแม่ เพราะนมแม่มีสารอาหารครบถ้วน ย่อยง่าย เหมาะสำหรับทารก โดยให้เน้นกินนมส่วนหลัง มากกว่านมส่วนหน้า เนื่องจากนมส่วนหน้ามีแลคโตสมากกว่า หากไม่สามารถให้นมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือโภชนาการเด็กเพื่อเลือกนมผสมที่เหมาะกับลูก เมื่อลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไป เริ่มให้นมวัวทีละน้อย ไม่ควรดื่มนมตอนท้องว่าง หลังจากกินนมวัว ให้คุณแม่สังเกตว่าลูกมีอาการแพ้หรือไม่
กินนมแล้วท้องเสีย แก้ยังไง
การรักษาจะขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการ โดยทั่วไปแล้ว แนวทางการรักษาจะมุ่งเน้นไปที่
- การชดเชยน้ำและเกลือแร่: ทำได้โดยการดื่มน้ำเกลือแร่ หรือรับประทานอาหารที่มีเกลือแร่สูง เช่น น้ำซุป ผลไม้
- การรักษาอาการ: แพทย์อาจสั่งยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ปวดท้อง หรือยาแก้อาเจียน
- การปรับอาหาร: หยุดให้นมวัวหรือผลิตภัณฑ์จากนมวัว เช่น ชีส เนย โยเกิร์ต ไอศกรีม เค้ก ขนมปัง คุกกี้ เวเฟอร์ ช็อกโกแลต ซุปข้น เป็นต้น
- นมผสมสูตรพิเศษ: แพทย์อาจแนะนำนมผสมสูตรปราศจากแลคโตส หรือ นมผสมโปรตีนถั่วเหลือง หรืออาหารอื่นๆ ที่ย่อยง่าย
นมทางเลือกสำหรับผู้แพ้น้ำตาลแลคโตส
หากลูกน้อยแพ้น้ำตาลแลคโตส ไม่ได้หมายความว่าต้องอดดื่มนมไปตลอดชีวิต ยังมีนมทางเลือกอีกมากมายที่ทั้งอร่อยและมีประโยชน์ต่อร่างกายของคุณ
1. นมถั่วเหลือง เป็นนมทางเลือกที่ได้รับความนิยมมากที่สุด อุดมไปด้วยโปรตีน แคลเซียม วิตามินดี และธาตุเหล็ก มีรสชาติคล้ายนมวัวหาซื้อง่ายตามซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป
2. นมอัลมอนด์ มีไขมันอิ่มตัวต่ำ อุดมไปด้วยวิตามินอี แมกนีเซียม และใยอาหาร มีรสชาติดี หอมมัน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
3. นมโอ๊ต เป็นนมทางเลือกที่ปราศจากถั่วเหลือง อุดมไปด้วยใยอาหาร เบต้ากลูแคน วิตามินบี และแร่ธาตุต่างๆ มีรสชาติอ่อนๆ เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ถั่ว
4. นมแลคโตสฟรี เป็นนมวัวที่ผ่านกระบวนการเติมเอนไซม์แลคเตส เพื่อทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลแลคโตส จนได้นมที่ไม่มีแลคโตส กินแล้วไม่เกิดอาการท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ เหมือนนมวัวทั่วไป
สรุปแล้ว ลูกกินนมแล้วท้องเสีย มักเกิดจากการแพ้แลคโตสในนม ทำให้ร่ายกายย่อยแลคโตสในนมวัวไม่ได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรพิจารณาเปลี่ยนนมให้ลูกเป็นนมชนิดอื่น หรือนมที่ไม่มีแลคโตสแทน เพื่อไม่ให้เกิดอาการท้องเสียเรื้อรังซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการด้านการเจริญเติบโต ปัญหาทางเดินอาหาร และภูมิคุ้มกันอ่อนแอได้
ที่มา: โรงพยาบาลศิริราช , กรมอนามัย , ดัชมิลค์
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ
ลูก แพ้นมวัว ดูแลอย่างไร ไม่ขาดสารอาหารสำคัญ
ลูกกินนมแม่ แพ้อาหารที่แม่ทาน จะสังเกตยังไง
เด็กยืดตัว หมายความว่ายังไง ยายบอกว่าลูกถ่ายเหลวเพราะกำลังยืดตัว ?
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!