เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักโรคเบาหวาน แต่น้อยคนนักที่จะรู้จัก “โรคเบาจืด” ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติ ของการปัสสาวะ ที่ยังไม่มีการรักษาให้หายขาด มาดูกันว่าโรคนี้ มีสาเหตุและที่มาอย่างไร พร้อมวิธีการดูแล และป้องกันไม่ให้เกิดโรค
โรคเบาจืดคืออะไร?
โรคเบาจืด (Diabetes Insipidus) เป็นโรคที่ร่างกายเกิดการสูญเสียความสมดุลของน้ำ ซึ่งเป็นโรคที่พบไม่ได้บ่อย โดยมีผลมาจากความผิดปกติของฮอร์โมน ที่มีชื่อว่า ไดยูเรดิก (Antidiuretic Hormone) ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการกระหายน้ำรุนแรง แม้ว่าจะดื่มน้ำเข้าไปแล้วก็ตาม ส่งผลให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมากผิดปกติ และทำให้มีการขับปัสสาวะมากเกินไป โดยผู้ป่วยโรคนี้ ที่มีอาการหนัก อาจต้องเข้าห้องน้ำ ปัสสาวะ มากกว่าวันละ 20 ลิตร
โรคเบาจืดมีกี่ชนิด?
โรคเบาจืด แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ที่พบได้บ่อย และ 2 ชนิดที่พบได้น้อย ดังนี้
โรคเบาจืดที่พบได้บ่อย
- เกิดจากความผิดปกติของสมอง (Cranial Diabetes Insipidus) ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุด มีสาเหตุมาจากความเสียหายของต่อมใต้สมอง ส่วนไฮโปทาลามัส อาจเกิดจาก การติดเชื้อที่สมอง การผ่าตัด เนื้องอกที่สมอง หรือ การบาดเจ็บที่ศีรษะ เป็นต้น ซึ่งทำให้สมอง ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนที่ควบคุม เกี่ยวกับการปัสสาวะได้
- เกิดจากความผิดปกติของไต (Nephrogenic Diabetes Insipidus) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติ ของระบบการทำงานของไต ที่เกิดความเสียหาย ทำให้ไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก หรือ อาจเกิดจากการใช้ยาในผู้ป่วยปัญหาสุขภาพจิต เป็นต้น
นอกเหนือจากโรคเบาจืด 2 ชนิดนี้แล้ว ยังมีอีก 2 ชนิดที่พบได้น้อย ดังนี้
- เกิดจากความผิดปกติของกลไกการควบคุมการกระหายน้ำ (Dipsogenic Diabetes Insipidus) ซึ่งเป็นชนิดที่เกิดจากความผิดปกติ ของกลไกการทำงาน เกี่ยวกับการกระหายน้ำ
- เกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Insipidus)
โรคเบาจืดเกิดจากอะไร?
โรคเบาจืดมีสาเหตุที่แตกต่างออกไป ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนแอนติไดยูเรดิก (Antidiuretic Hormone : AHD) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการสมดุลของน้ำในร่างกาย เมื่อฮอร์โมนเกิดลดต่ำลง จะทำให้ร่างกายขาดน้ำ เพราะไตขับน้ำในรูปแบบของปัสสาวะมากผิดปกติ ทำให้ระดับฮอร์โมนไม่เพียงพอต่อร่างกาย
สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของการเกิดโรคเบาจืด คือ เกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง ซึ่งอาจมีที่มาจากการติดเชื้อ การบาดเจ็บ หรือ การผ่าตัด ทำให้ร่างกาย ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนที่ควบคุมการปัสสาวะได้
อีกสาเหตุหนึ่ง อาจมาจากความผิดปกติของไต ที่ไม่สามารถดูดซืมน้ำ กลับเข้าไปในร่างกาย เพื่อรักษาความสมดุล และ อาจเกิดสภาวะทางจิต ที่มีผลข้างเคียงมาจากการใช้ยา เป็นต้น
อาการโรคเบาจืดเป็นอย่างไร?
- กระหายน้ำบ่อยผิดปกติ ซึ่งผู้ป่วยจะรู้สึกกระหายน้ำอยู่ตลอด แม้จะดื่มน้ำแล้วก็ตาม
- ปัสสาวะบ่อยมากกว่าปกติ โรคเบาจืด ทำให้ผู้ป่วยปัสสาวะบ่อย อาจมากถึง ทุก ๆ 15-20 นาที และอาจมีปริมาณมากถึง 20 ลิตร ต่อวัน
- อ่อนเพลีย เพราะเกิดจากการเสียเกลือแร่จากปัสสาวะ และพักผ่อนไม่เพียงพอ เพราะต้องคอยเข้าห้องน้ำอยู่ตลอดเวลา
- ขาดสมดุลจากเกลือแร่ ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ ร่างกายอ่อนแรง เกิดอาการตะคริว เมื่อยกล้ามเนื้อ และอาจปวดศีรษะ
อาการเบาจืดในเด็ก
- ร้องไห้ผิดปกติ
- อุณหภูมิร่างกายสูง
- หงุดหงิดง่ายผิดปกติ
- น้ำหนักลด
- มีอัตราการเติบโตช้ากว่าเด็กปกติ
- ปัสสาวะรดที่นอน
- เบื่ออาหาร
- เหนื่อยตลอดเวลา
การรักษาโรคเบาจืด
การรักษาโรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของสมอง
การรักษาโรคเบาจืดชนิดนี้ มุ่งเน้นการรักษาไปที่การทดแทนปริมาณฮอร์โมนที่ขาดไป ด้วยฮอร์โมนสังเคราะหร์ขื่อว่า เดสโมเพรสซิน (Desmopressin) แต่หากผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงมากนัก ผู้ป่วยอาจไม่จำเป็นต้องรักษา และเพิ่มปริมาณการดื่มน้ำให้มากขึ้นแทน โดยการรักษา แพทย์จะให้ผู้ป่วยใช้ยาชนิดพ่น ยารับประทาน หรือ ยาฉีด ขึ้นอยู่กับความสะดวกของผู้ป่วย
การรักษาโรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของไต
การรักษาผู้ป่วยโรคเบาจืดชนิดนี้ หากมีสาเหตุมาจากการใช้ยา อาจจำเป็นต้องมีการหยุดใช้ยา เพื่อให้อาการทุเลาลงได้ แต่ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาเองโดยไม่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และหากอาการของโรคไม่รุนแรง อาจไม่จำเป็นต้องทำการรักษา แต่แพทย์จะให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เพื่อช่วยให้ปริมาณปัสสาวะลดลง และผู้ป่วยควรดื่มน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะการขาดน้ำ และแพทย์อาจใช้ยาอื่นร่วมด้วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น
การรักษาโรคเบาจืดที่เกิดจากความผิดปกติของกลไกการควบคุมการกระหายน้ำ และ โรคเบาจืดที่เกิดจากการตั้งครรภ์
การรักษาโรคเบาจืดชนิดนี้ จะมุ่งเน้นไปที่การลดปริมาณของของเหลวที่ผู้ป่วยได้บริโภคเข้าไป ซึ่งอาจสั่งใช้ฮอร์โมนแอนติไอยูเรติกสังเคราะห์ เพื่อช่วยให้ปริมาณของปัสสาวะลดลงได้ และหากผู้ป่วยมีอาการทางจิตร่วมด้วย การรักษาจะต้องทำการรักษาอาการทางจิตก่อน เพื่อให้อาการเบาจืดทุเลาลงด้วย
ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาจืด
เป็นอาการที่พบได้บ่อยในโรคเบาจืด ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของโรค ที่ทำให้ผู้ป่วยได้รับน้ำอย่างไม่เพียงพอ แม้จะดื่มน้ำในปริมาณมากแล้วก็ตาม ซึ่งหากอาการรุนแรงมาก ๆ อาจเป็นอันตรายได้ แต่ภาวะขาดน้ำจากโรคเบาจืด สามารถรักษาได้ด้วยการปรับสมดุลของน้ำในร่างกาย แต่หากอาการรุนแรงมาก ๆ ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับสารน้ำ ผ่านทางหลอดเลือดดำ เพื่อช่วยพยุงให้อาการดีขึ้น
-
ภาวะเกลือแร่ในร่างกายเสียสมดุล
การปัสสาวะบ่อย ๆ ทำให้ร่างกายเสียสมดุลของเกลือแร่ และแร่ธาตุต่าง ๆ ทำให้สมดุลของเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ ทำให้มีผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น ระบบกล้ามเนื้อ ซึ่งอาการข้างเคียงนี้ จำเป็นต้องได้รับการรักษา เนื่องจากหากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที อาจทำให้ระดับเกลือแร่ในร่างกายต่ำมาก และระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานอย่างผิดปกติ อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
การป้องกันโรคเบาจืด
สาเหตุของการเกิดโรคเบาจืด มาจากความผิดปกตอของฮอร์โมนในร่างกาย ดังนั้นจึงไม่สามารถป้องกันได้ แต่สามารถลดความเสี่ยงได้ ด้วยการป้องกันสาเหตุที่ส่งผลให้สมองผิดปกติ และ กระทบต่อฮอร์โมนที่เกี่ยวข้อง เช่น หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือน บริเวณศีรษะ และ หลีกเลี่ยงการใช้ยา โดยไม่จำเป็น หรือ ซื้อยารับประทานเอง เป็นต้น
โรคเบาจืด แม้จะไม่ใช่โรคที่มีอาการอันตราย และรุนแรง แต่ก็ส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเราไม่น้อย และอาจก่อผลเสียต่อระบบอื่น ๆ ในร่างกายได้ หากพบว่ามีอาการที่เกี่ยวข้อง เช่น ปัสสาวะผิดปกติ หรือ กระหายน้ำตลอดเวลา ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อทำการปรึกษา วินิจฉัยโรค เพื่อจะได้รักษาโรคอย่างทันท่วงที
ที่มาข้อมูล pobpad chubb
บทความที่น่าสนใจ :
คนท้องหิวน้ำบ่อย ผิดปกติไหม อันตรายหรือเปล่า จำเป็นต้องไปพบแพทย์ไหม
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคใกล้ตัวที่สาว ๆ ไม่ควรมองข้าม
โรคทางเดินปัสสาวะติดเชื้อคืออะไร ทำไมแม่ท้องถึงไม่ควรเป็น
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!