X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

รับมือก่อนสาย! เมื่อคุณพ่อมือใหม่ซึมเศร้าหลังคลอด

บทความ 3 นาที
รับมือก่อนสาย! เมื่อคุณพ่อมือใหม่ซึมเศร้าหลังคลอดรับมือก่อนสาย! เมื่อคุณพ่อมือใหม่ซึมเศร้าหลังคลอด

คุณอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่ แต่รู้ไหมคะว่า คุณพ่อก็มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดเหมือนกัน ซึ่งเราเรียกว่า PPND (paternal postnatal depression)

ผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารกุมารแพทย์พบว่า ระดับความซึมเศร้าของคุณพ่อมือใหม่เพิ่มขึ้นถึง 68% ในช่วง 5 ขวบปีแรกของลูกน้อย โดยเฉพาะเวลาที่คุณพ่อต้องดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด

Will Courtenay ผู้เขียนหนังสือ Dying to Be Men และผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ SadDaddy.com กล่าวว่า ภาวะซึมเศร้าในคุณพ่อมือใหม่ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ความจริงแล้ว ในแต่ละวัน คุณพ่อมือใหม่ในสหรัฐอเมริกา มีอาการซึมเศร้ามากถึง 3,000 คน ดังนั้นคุณพ่อก็ต้องการความช่วยเหลือเช่นกัน แต่ปัญหาใหญ่ของคุณพ่อมือใหม่ก็คือ เขาจะรู้หรือไม่ว่าตัวเองกำลังเผชิญกับภาวะนี้อยู่

ทำไมคุณพ่อถึงมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

เป็นที่ทราบกันดีว่า ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนอย่างรวดเร็วหลังหลังคลอด ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของคุณแม่ก็เกิดจากฮอร์โมนเช่นกัน

Dr. Courtenay กล่าวว่า ฮอร์โมนของคุณพ่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในช่วงตั้งครรภ์และหลังจากที่คุณแม่คลอดลูก ทั้งนี้ ไม่ใช่แค่ระดับฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนลดลงเท่านั้น แต่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนยังเพิ่มขึ้นด้วย

Christina Hibbert ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตของคุณพ่อหลังคลอด กล่าว่า การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนดังกล่าว สามารถทำให้คุณพ่อเกิดอาการซึมเศร้าหลังได้จากที่ลูกน้อยคลอดออกมา

การผันผวนของฮอร์โมน ผนวกกับสารเคมีในสมองที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากการอดนอนสามารถทำให้คุณพ่อเกิดภาวะซึมเศร้าได้สูงสุดในช่วง 3-6 เดือนแรกหลังคลอด

นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ของชีวิตคู่ที่เปลี่ยนแปลงไป  ปัญหาทางด้านการเงิน หรือความเครียดจากการเจ็บป่วย การร้องโคลิค หรือการคลอดก่อนกำหนดของลูกน้อย ก็เป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของคุณพ่อมือใหม่ได้เช่นกัน

ไม่ใช่แต่คุณแม่เท่านั้นที่ต้องรับมือกับลูกน้อยแรกเกิด คุณพ่อจำนวนมากก็มีความกังวล และความเครียดในเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบของเขาเช่นกัน

คุณแม่คาดหวังว่าคุณพ่อจะเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลเจ้าตัวน้อย แต่คุณพ่อส่วนใหญ่มักไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน ดังนั้น เมื่อคุณพ่ออยากจะเข้ามาช่วย เขาไม่รู้ว่าหรอกว่าสิ่งที่เขาต้องเจอจริงๆ นั้นเป็นอย่างไร และมักไม่รู้ว่าตัวเองต้องทำอะไร  จะช่วยอย่างไร จึงทำให้เกิดความเครียด ซึ่งมักจะนำไปสู่อาการซึมเศร้าของคุณพ่อ

สังเกตอาการซึมเศร้าหลังคลอดของคุณพ่อ

อาการซึมเศร้าหลังคลอดของคุณพ่อต่างจากอาการ Daddy Blues ที่จะหายไปเมื่อคุณพ่อได้พักผ่อนนอนหลับ หรือไปออกกำลังกาย สังสรรค์กับเพื่อน แต่วิธีเหล่านี้จะใช้ไม่ได้กับคุณพ่อที่มีภาวะซึมเศร้าหลังคลอดที่อาการจะรุนแรงและยาวนานกว่า หากคุณพ่ออาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 สัปดาห์ควรปรึกษาแพทย์ หากปล่อยไว้อาการจะมีแต่แย่ลง

Dr. Hibbert กล่าวว่า หากคุณพ่อพยายามที่จะทำกิจกรรมอย่างอื่นเพื่อหนีจากอาการซึมเศร้า เช่น ทำงานหนักขึ้น หรือเล่นกีฬา คุณพ่อก็อาจจะพบกับอาการอย่างอื่นตามมา เช่น ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่มีแรงจูงใจ เป็นต้น

ในด้านร่างกาย ความเครียดจะทำให้คุณพ่อมีอาการปวดศีรษะ ปวดท้อง น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลง สำหรับด้านพฤติกรรม คุณพ่อจะไม่อยากพูดถึงหรือไม่ยอมรับว่าตัวเองกำลังมีปัญหา พฤติกรรมการกิน และการนอนเปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะดื่มเหล้า และแสดงความรุนแรง อีกด้วย

โน้มน้าวให้คุณพ่อรับความช่วยเหลือ

หากคุณคิดว่าสามีของคุณกำลังเผชิญกับภาวะนี้ ควรโน้มน้าวให้เขารับความช่วยเหลือเพื่อสุขภาพของตัวเขาเอง และของทุกคนในครอบครัว การปล่อยไว้อาจเกิดผลเสียในระยะยาว สามารถทำลายชีวิตแต่งงาน และครอบครัวได้ Dr. Courtenay กล่าวว่า งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดส่งผลกระทบในระยะยาวต่อพัฒนาการด้านพฤติกรรม สังคม และจิตใจของเด็ก โดยเฉพาะเด็กผู้ชาย ซึ่งสามารถเห็นผลกระทบนี้ได้ในเด็กอายุตั้งแต่ 2 ขวบ ไปจนถึงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น ในกรณีที่ทั้งคุณแม่และคุณพ่อมีภาวะซึมเศร้าทั้งคู่ ผลกระทบต่อพัฒนาการของลูกน้อยจะยิ่งรุนแรงขึ้น

ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดต้องรักษา

Dr. Courtenay กล่าวถึงผลการวิจัยว่า การบำบัดด้วยการพูดคุยร่วมกับการใช้ยาเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด อย่างไรก็ตามมีวิธีการรักษาที่หลากหลายตั้งแต่แพทย์พื้นบ้านไปจนถึงแพทย์ทางเลือก แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องมั่นใจว่าผู้เชี่ยวชาญในการรักษาและผู้ช่วยได้รับใบอนุญาตทางวิชาชีพอย่างถูกต้อง

สิ่งที่คุณแม่สามารถช่วยได้ คือการให้กำลังใจ บอกคุณพ่อว่า เขาไม่จำเป็นต้องโทษตัวเองที่เป็นเช่นนี้  สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความผิดของเขา เขาไม่ใช่คุณพ่อที่แย่ เพียงแต่เขาต้องยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น การรักษาที่เหมาะสม สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้

ที่มา www.fitpregnancy.com

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ

ทำไมหลังมีลูกแล้ว ฉันถึงรู้สึกแย่…การเป็นแม่ควรจะมีความสุขไม่ใช่หรือ?

4 เรื่องกังวลใจของพ่อแม่มือใหม่เกี่ยวกับลูกน้อย

 

TAP mobile app

บทความจากพันธมิตร
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
ประกันสำหรับเด็ก เลือกแบบไหนดี มีไว้อุ่นใจ คุ้มครองครบ มีทุนสำรองเพื่ออนาคตของลูกรัก
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
เพราะการศึกษาลูกเป็นสิ่งสำคัญ เพิ่มความมั่นคงทางการเงินในอนาคต ด้วยประกันสะสมทรัพย์ Saving 20/10
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ  ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
อัปเดต แอปพลิเคชันดูแลสุขภาพ ALive Powered by AIA ใคร ๆ ก็มีไว้ในสมาร์ตโฟน
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ
5 เคล็ดลับการเลือก รถยนต์อเนกประสงค์สำหรับครอบครัว ปลอดภัย พร้อมไปทุกที่ได้อย่างมั่นใจ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • รับมือก่อนสาย! เมื่อคุณพ่อมือใหม่ซึมเศร้าหลังคลอด
แชร์ :
  • ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาการ เป็นอย่างไร แม้แต่แม่ชมพู่ก็เป็นซึมเศร้าหลังคลอด ทำไมเป็นกันเยอะ

    ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาการ เป็นอย่างไร แม้แต่แม่ชมพู่ก็เป็นซึมเศร้าหลังคลอด ทำไมเป็นกันเยอะ

  • ซึมเศร้าหลังคลอด สังเกตอย่างไร อาการที่พบบ่อย ของคุณแม่หลังคลอดลูก

    ซึมเศร้าหลังคลอด สังเกตอย่างไร อาการที่พบบ่อย ของคุณแม่หลังคลอดลูก

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

app info
get app banner
  • ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาการ เป็นอย่างไร แม้แต่แม่ชมพู่ก็เป็นซึมเศร้าหลังคลอด ทำไมเป็นกันเยอะ

    ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด อาการ เป็นอย่างไร แม้แต่แม่ชมพู่ก็เป็นซึมเศร้าหลังคลอด ทำไมเป็นกันเยอะ

  • ซึมเศร้าหลังคลอด สังเกตอย่างไร อาการที่พบบ่อย ของคุณแม่หลังคลอดลูก

    ซึมเศร้าหลังคลอด สังเกตอย่างไร อาการที่พบบ่อย ของคุณแม่หลังคลอดลูก

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารไลฟ์สไตล์ที่น่าสนใจไปให้กับคุณ