เพราะวุฒิภาวะของเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถช่วยตัวเองได้ในกรณีที่ต้องมาติดอยู่ในรถเพียงลำพังไม่ว่าจะเป็นรถโรงเรียนเรียนหรือรถยนต์ส่วนตัว ซึ่งร่างกายเล็ก ๆ ก็ไม่สามารถทนรับกับความร้อนและการขาดหายใจภายในรถที่ติดอยู่นานนับชั่วโมง
ทั้งนี้ได้มีผลงานของเด็กอาชีวะสุดเจ๋ง ผลิตอุปกรณ์ช่วยป้องกันในกรณีที่ “เด็กติดในรถ” โดยอาจารย์และนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคลำปาง ได้ร่วมกันคิดค้นเครื่องต้นแบบเครื่องช่วยเด็กติดในรถ ซึ่งเครื่องดังกล่าวจะทำงานนำร่องด้วยระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับความเคลื่อนไหว
โดยเครื่องจะทำงานทันทีเมื่อมีการล็อครถด้วยระบบรีโมท ประมาณ 15 วินาที และเมื่อพบสิ่งมีชีวิตภายในรถหรือพบการเคลื่อนไหวภายในรถ เครื่องจะส่งสัญญาณร้องเป็นเสียงไซเรน พร้อมมีไฟกระพริบขึ้นที่ตัวรถ และมีการส่งข้อความคำว่า Help Me ผ่านระบบโทรศัพท์ไปยังมือถือจำนวน 5 เครื่องที่ตั้งหมายเลขไว้ และแสดงแผนที่จุดที่ตั้งของรถด้วย ขณะเดียวกันประตูรถจะเปิดออก ซึ่งจะสามารถช่วยชีวิตเด็กที่ติดอยู่ภายในรถได้
และอีกหนึ่งอุปกรณ์สำหรับช่วยเด็กติดรถ จากรายงานสำนักข่าวเดลินิวส์ คือ เครื่องควบคุมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในรถยนต์ ผลงานของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครปฐม ซึ่งจะทำงานโดยอัตโนมัติเมื่อพบว่ามีผู้ติดอยู่ในรถ และตรวจวัดค่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกิน 1,000 ppm ซึ่งเป็นระดับที่ส่งผลให้เด็กที่ติดอยู่ในรถรู้สึกอึดอัด และจะส่งเสียงดังแจ้งเตือนเป็นคำพูดว่า “มีสิ่งมีชีวิตอยู่ภายในรถ” หากแจ้งเตือน 3 ครั้งแล้วยังไม่มีการเปิดรถ พัดลมจะทำงานและกระจกรถจะเลื่อนลงอัตโนมัติ เพื่อช่วยชีวิตให้เด็กที่ติดอยู่ในรถมีอากาศหายใจ
ทั้งนี้ การผลิตอุปกรณ์ช่วยเตือนดังกล่าว ในกรณีที่มีเด็กหรือบุคคลที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ติดอยู่ในรถ ถือเป็นเรื่องดีสำหรับการช่วยแก้สถานการณ์ในปัจจุบัน แต่อย่างไรก็ตามพ่อแม่ผู้ปกครองควรสอนลูกหลานตัวเล็กให้รู้จักการเอาตัวรอดหากเจอกับสถานการณ์แบบนี้ เช่น สอนให้ลูกรู้จักตำแหน่งของแตรรถและการกดแตร หรือการปลดล็อกรถ และเน้นย้ำว่าให้ทำตอนที่ไม่มีผู้ปกครองอยู่ในรถด้วย เป็นการป้องกันอีกทางหนึ่ง แต่สิ่งที่สำคัญคือการตรวจตราและใส่ใจของคนขับรถที่ไม่ควรประมาทหากมีเด็กนั่งอยู่ในรถด้วยทุกครั้งนะคะ
ที่มา : www.voicetv.co.th
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
โร้ดไอแลนด์เตรียมออกกฎหมายห้ามทิ้งเด็กในรถแล้ว
อย่าให้เด็กนั่งอยู่ในรถคนเดียว! 15 นาทีอาจเสียชีวิตได้
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!